สำรวจ |
แนะนำ |
สอบเข้า |
ออนไลน์ |
ผลการค้นหาสำหรับ จะนะ
Home » Tutor » ผลการค้นหาสำหรับ จะนะ
แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามความเกี่ยวข้องกับคำค้นหา จะนะ จัดเรียงตามวันที่ แสดงโพสต์ทั้งหมด
แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามความเกี่ยวข้องกับคำค้นหา จะนะ จัดเรียงตามวันที่ แสดงโพสต์ทั้งหมด
25 กรกฎาคม 2559
อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ
ขี้เกียจจนเหลือไม่อีกกี่วันจะสอบ ทำไงดี ??? ใครเป็นมั่ง
ขี้เกียจเป็นนิสัย จนอีกไม่กี่วันจะสอบแล้ว ทำไงดี ???
#คนเขียนเองก็เป็น555เป็นเรื่องที่ยากมากในการอ่านหนังสือ เนื่องจากความขี้เกียจหรือมีข้ออ้างเป็นพื้นฐานของนักเรียนทุกคนจริงไหมจ๊ะ ขึ้นอยู่กับว่าจะสลัดมันหลุดได้ยังไง ยากมากๆว่าจะอ่านวันละข้อก่อนนอน พอเอาเข้าจริงหลับคาหนังสือบางอ่ะ มีเสียงไลน์ เฟสดัง ไปเปิดดูแป๊บเดียว ลืมหนังสือไปเลย ชิมิ อิอิ
งั้นวันนี้ครูพี่อิ๋วก็มีเทคนิคดีๆมาฝาก ที่จะทำข้อสอบให้ทันในระยะประชิดแบบนี้
มีคนที่ยังคิดว่าตัวเองไม่แม่นและยังมัวแต่ไปอ่านเนื้อหาในหนังสืออยู่ #ถือว่าผิดมากด้วยประสบการณ์มันป่าวประโยชน์ ให้น้องๆของครูนี่ ไปหัดทำข้อสอบจริงเลย อ้าวไม่แน่นเนื้อหาไปทำโจทย์ได้ไง #ให้ทำโจทย์เลยเพราะจะได้รู้แนวข้อสอบว่าออกลักษณะไหน #ออกเรื่องอะไรเยอะๆจะได้มาเน้นอ่านเนื้อหาและสรุปสูตรในเรื่องที่ออกบ่อยๆเพราะในแต่ละบทใช่ว่าจะออกทุกหัวข้อและบางบทก็ไม่ออกเลย แบบนี้ยังจะไปเสียเวลาอ่านเนื้อหา ก่อนยังไม่รู้แนวไปทำไมนะจะรู้แนวข้อสอบจากไหนนะ
ถ้าหนูขยันเหมือนตอนนี้ที่หนูสนใจเล่นเกมส์ เล่นเฟส หนูจะคอยตามเทคโนโลยีหรือหาลู่ทางโหลดมันมาเล่น มาใช้ให้ได้จริงไหม??? หนูใช้พี่กุ๊ก (google)ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องเรียน จริงๆในเน็ทมีทุกอย่างที่หนูสนใจจะหานะ พิมพ์ไปสิ แนวข้อสอบ /ข้อสอบ gat/pat ปี ... อะไรประมาณนี้ มันขึ้นมาให้หมดอ่ะ ช่วงแรกที่เรายังไม่เก่งอาจโหลดเอาที่มีเฉลยมาอ่านก่อนและหัดทำโดยแอบดูเฉลยไปก่อน แล้วค่อยลองทำซ้ำโดยไม่ดูอีกทีว่าทำได้ไหมเนอะ หรือใครถนัดเรียนจากการฟังมากกว่าอ่านก็มีคลิปวิดีโอเฉลยใน youtube ที่ฟรีมากมาย เพียงพิมพ์เนื้อหาเรื่องที่อยากเรียน หรือหาเรียนออนไลน์เสียเงินหน่อยก็ได้เพื่อได้ข้อสอบและได้เทคนิคการทำโจทย์ใหม่ด้วยนะจ๊ะ อันนี้แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละคน ซึ่งมีวิธีหรือความชอบในรูปแบบการเรียนที่ไม่เหมือนกันนะจ๊ะพอเริ่มหัดทำข้อสอบบ่อยๆและเยอะขึ้นก็เริ่มรู้แนวการออกสอบ เริ่มทำตัวเป็นผู้เกร็งข้อสอบได้ละทีนี้ 555 จากนั้นถ้าขยันอีกหน่อยทำสรุปจ้า พวกเนื้อหาที่ออกบ่อย สรุปให้สั้นและง่ายสุด พวกสูตรด้วย แยกเป็นเรื่องๆง่ายต่อการจดจำ นำมาใช้ นร.ผู้ ญ จะทำสรุปออกมาเป็นระเบียบสวยงาม ใช้ปากกาหลากสี ใหดูน่าอ่าน อาจจะมีเด็ก ผช บางกลุ่มที่ชอบเหมือนกันนะ
เมื่อหัดฝึกซ้อมทำข้อสอบเยอะๆแล้ว ก็มีความมั่นใจในระดับหนึ่งว่าคงไม่ได้ไปเทแน่ละ ต้องมีบางข้อสินะที่ทำได้อย่างมั่นใจ แค่นี้คะแนนก็มากกว่าที่คาดหวังไว้แล้ว พอถึงเวลาจะสอบจริงเช่นพรุ่งนี้จะสอบแล้ว อย่าทวนหรือลนอ่านจนเช้าไม่พักผ่อนนะ สมองจะล้า เบลอที่อ่านมาป่าวประโยชน์ ที่แน่ๆไม่มีไอ้ที่อ่านออกเลยจริงๆนะ เคยมาแล้ว 555 เซ็งเป็ดสุดๆ สุดท้ายก็ต้องนับวันเกิดเลือกช้อยอยู่ดี ใครเคยทำมั่ง สารภาพมา อิอิ
นอกเหนือจากนี้คือบนบานศาลกล่าว ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจอีกอย่างแล้วแต่จิตศรัทธานะจ๊ะ แต่ถ้าคิดจะโกงนี่ ถ้าไม่เจ๋ง ก็เจ๊งอย่างเดียวนะจ๊ะ อย่าเล๊ยยย เชื่อครูนะ
ท้ายสุดขอให้ Dek 60 ทุกคนจงแคล้วคลาด ปลอดภัย ออกมาจากสนามสอบนะจ๊ะ #กาให้ได้ #กาให้โดน นะจ๊ะ
จาก ครูอิ๋วติวเตอร์
04 กันยายน 2566
28 กุมภาพันธ์ 2559
อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ
สอนลูกอย่างไร ให้เป็นเด็กเรียนเก่ง
สิ่งหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายจะรู้สึกภูมิใจในตัวลูก (หรือภูมิใจในการเลี้ยงลูก) คือการที่ลูกเป็นเด็กเรียนเก่ง ซึ่งจะเห็นได้จากบทสนทนาของคุณพ่อคุณแม่เมื่อมาเจอกันไม่ว่าจะที่ไหนก็มักจะถามไถ่กันทุกครั้งว่า ลูกเรียนเป็นอย่างไรบ้าง? คุณพ่อหรือคุณแม่ที่ลูกสอบได้เกรด 4 หรือเกรด A หรือเกรดเฉลี่ยดีๆก็มักจะพูดเสียงดังฟังชัด ส่วนคุณพ่อคุณแม่ที่ลูกเรียนไม่ค่อยดีซักเท่าไหร่ก็จะเสียงเบาหน่อย และก็มักจะถามว่า
"เลี้ยงลูกอย่างไรถึงได้เรียนเก่งแบบนี้"
วันนี้เรามาดูว่าคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเรียนเก่งเค้าสอนลูกกันอย่างไร
6 วิธีสอนลูกให้เป็นเด็กเรียนเก่ง
1. สอนให้ลูกรักการอ่าน
ข้อนี้ถือว่าสำคัญมากๆ เพราะการเรียนรู้เบื้องต้นสำหรับเด็กเล็กๆคือการอ่าน ยิ่งน้องอ่านหนังสือได้เร็วเท่าไหร่ การเรียนรู้ด้วยการอ่านก็จะเริ่มเร็วเท่านั้น และไม่จำเป็นว่าต้องให้น้องอ่านหนังสือด้านการเรียนเท่านั้น หังสืออะไรก็อ่านได้ สำคัญคือขอให้น้องชอบที่จะอ่านก่อน โดยมีคุณพ่อคุณแม่คอยประคองอยู่ข้างๆ หมายถึงค่อยๆพูดค่อยๆคุยกับลูกถึงเรื่องราวต่างๆ อาจจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือความรู้ทั่งฃวไปซึ่งจะทำให้น้องเกิดความสนใจแล้วเดี๋ยวก็จะไปหาหนังสืออ่านได้เอง ข้อนี้คอนเฟิร์มด้วยลูกผมเอง ว่าเป็นเด็กที่ความรู้รอบตัวเยอะมาก ลองเอาไปปล่อยร้านหนังสือเถอะนั่งอ่านได้เป็นวันๆ
2. ให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเรียนรู้
การได้อยู่ในสภาพแวดล้อมแบบไหนก็จะทำให้เด็กเป็นแบบนั้นได้ง่าย เด็กๆที่โตมาในวงเหล้า ในวงการพนันเค้าก็จะเห็นเรื่องเหล่านั้นเป็นเรื่องธรรมดา และเด็กๆที่โตมาท่ามกลางพ่อแม่พี่น้องที่นั่งอ่านหนังสือ หรือเรียนรู้แบบอื่นๆ ก็จะเห็นเรื่องการอ่านและการเรียนรู้เป็นเรื่องปกติ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกเรียนเก่ง ก็ต้องทำให้ลูกเห็นก่อนนะครับ บอกอย่างเดียวบางทีเด็กไม่เข้าใจหรอกนะครับ
3. สอนให้ลูกรู้จักคิดต่อยอดได้เอง
เด็กเรียนเก่งแบบทั่วๆไป อาจจะเก่งเพราะความจำดี ฝึกหนัก เรียนเยอะ นั่นก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องแต่เด็กเก่งแบบนี้จะมีข้อจำกัด และอาจไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะประสบความสำเร็จในชีวิตการทำงานด้วยซึ่งก็น่าจะมีไม่น้อยเลยที่เป็นนักเรียนที่เรียนเก่ง แต่ทำงานไม่เก่ง เพราะความรู้ที่เรียนมามันก็อาจล้าสมัยได้ และบางเรื่องก็ไม่ได้นำมาใช้ในการทำงานเลย ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้เด็กๆพัฒนาตัวเองได้อยู่ตลอดเวลาคือการให้รู้จักคิดต่อยอดความรู้ได้เอง ตรงนี้คุณพ่อคุณแม่หลายคนคงจะคิดว่าแล้วจะสอนลูกอย่างไร ให้คิดต่อยอดได้ ลำพังสอนคณิตศาสตร์ก็แย่แล้ว จริงๆก็เป็นเรื่องยากพอสมควรอาจต้องให้คุณครูเก่งๆเป็นคนสอนน้อง แต่สำหรับคุณพ่อคุณแม่เริ่มต้นแบบง่ายๆก่อนครับโดยสอนให้ลูกเล่นเกมส์ แบบที่เป็นเกมส์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้ความคิดเช่น เกมส์ 24 หรือให้ลูกเล่นหมากฮอส หมากล้อมก็ได้ครับ
4. สอนให้ลูกเป็นนักฟัง
อีกอย่างของการเรียนรู้คือการฟัง ไม่ว่าจะเป็นการฟังที่ไหนก็ตามถ้าเด็กๆฟังเป็น จับประเด็นถูก สรุปได้ นั่นเท่ากับน้องๆประสบความสำเร็จไปเกินครึ่งแล้วนะครับ จริงๆแล้วการฟังนี่ไม่ใช่ต้องฝึกเฉพาะลูกนะครับ คุณพ่อคุณแม่ก็ควรจะฝึกเอาไว้ด้วย เพราะการเป็นนักฟังที่ดี จะทำให้เราเข้าใจอะไรๆได้ง่ายขึ้นเยอะ เด็กๆก็เหมือนกันครับ และเพราะการเรียนของเด็กๆในห้องเรียนส่วนใหญ่ก็เป็นการฟังถ้าน้องฟังและทำความเข้าใจได้ที่เหลือก็ง่ายขึ้นเยอะเลย ทีนี้เราจะสอนให้น้องๆฟังเป็น กันอย่างไร สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ลูกยังเล็กมากๆก็เริ่มด้วยการเล่านิทานให้น้องฟังเลยครับ จะเป็นนิทานก่อนนอนหรือจะเล่าตอนไหนก็ได้ครับที่สะดวกๆ ที่สำคัญคือเล่าเรื่องไปพร้อมกับตั้งคำถามเป็นระยะๆ ให้ลูกได้คิดได้ตอบกลับมา ซึ่งจะทำให้เด็กรู้จักฟังและนำมาคิดซึ่งถือว่าเป็นการฝึกการฟังและฝึกสมาธิไปด้วยครับ อยากให้ลูกเรียนเก่งคนเป็นพ่อเป็นแม่ก็ต้องสละเวลาให้ลูกบ้างนะครับ
5. สอนให้ลูกเป็นนักเขียน
เชื่อหรือไม่ว่า การเขียนจะทำให้เราใช้สมองในการประมวล เรียบเรียงและจัดระเบียบความรู้ให้สามารถนำออกมาใช้ได้ง่ายและเร็วขึ้น ถ้าเด็กๆชอบที่จะเขียนไม่ว่าจะเขียนไดอะรี่ เขียนนิทาน นิยาย เรื่องสั้น หรือเขียนอะไรก็ตาม หรือให้น้องฝึกเขียน Mind Map ก็ยิ่งดี ซึ่งจะทำให้เค้ามีทักษะในการจัดหมวดหมู่ความรู้ที่มีในหัวได้ด้วย ข้อนี้ผู้เขียนคอนเฟิร์มได้เหมือนกันเพราะลูกผู้เขียนก็ชอบที่จะเขียนอ่านและเขียนนิยาย และน้องก็สามารถเก็บและนำความรู้มาใช้ได้อย่างดี
6. สอนให้ลูกเป็นครู
สุดท้ายคือการสอนให้ลูกรู้จักที่จะสอนคนอื่น เช่นสอนเพื่อนหรือสอนน้อง การสอนจะทำให้น้องยิ่งเก่งขึ้นในเรื่องนั้นๆ เพราะน้องจะต้องประมวลความรู้ที่มี จัดเรียงและถ่ายทอดออกมา ครั้งแรกๆอาจจะยังสอนแบบงง งง อยู่แต่เชื่อเถอะว่ายิ่งสอนมากน้องจะยิ่งเก่งมากขึ้น และประโยชน์อีกอย่างในการฝึกให้ลูกรู้จักที่จะสอนคนอื่น คือการสอนให้รู้จักแบ่งปัน และจะทำให้เด็กๆใจเย็นขึ้น มีสมาธิขึ้นอีกด้วย
"เลี้ยงลูกอย่างไรถึงได้เรียนเก่ง" อาจไม่ใช่คำถามที่ต้องถามใครอีกต่อไป แต่อาจเป็นคำถามที่คุณพ่อคุณแม่ที่อ่านบทความนี้แล้วนำไปใช้ จะได้รับแบบตอบไม่ทันกันเลยทีเดียว แต่การจะทำได้ก็ไม่ใช่ว่าจะง่ายนัก เพราะในชีวิตประจำวันของแต่ละครอบครัวนั้น ทั้งคุณพ่อคุณแม่ยังต้องมีภาระอื่นๆอีกมาก รวมถึงตัวลูกๆด้วยที่ยังต้องมีกิจกรรมอื่นๆและต้องเจอกับปัจจัยที่มีผลด้านลบอื่นๆอีกมากมาย คงจะมีน้อยครอบครัวนักที่จะสอนลูกให้เป็นเด็กเก่งแบบทั้ง 6 ข้อนี้ได้อย่างสะดวกสบายไร้อุปสรรค เชื่อว่ามีหลายครอบครัวที่อยากให้ลูกเรียนเก่งและตั้งใจที่จะทำ แต่ก็ต้องเจออุปสรรคมากบ้างน้อยบ้าง
การเริ่มต้นที่จะสอนลูกก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมากแล้วครับ คุณพ่อคุณแม่คงไม่ต้องคาดหวังว่าลูกจะเป็นเด็กเรียนเก่งที่สุด หรือเก่งมากๆก็ได้ จริงๆแล้วขอให้เค้า
- ชอบที่จะคิด ชอบที่จะเรียนรู้เรียนรู้ แต่อาจไม่ได้เรียนเก่งมาก
- มีทักษะในการอ่าน ฟัง เขียน บ้างไม่ต้องขนาดถึงกับเป็นนักเขียน
- รู้จักที่จะแบ่งปัน
แค่นี้ลูกๆของท่าน จะประสบความสำเร็จในชีวิตแน่นอนครับถึงแม้ว่าจะไม่ใช่เด็กเรียนเก่งก็ตาม
#ชอบบทความนี้แบ่งปันให้เพื่อนๆอ่านได้นะครับ^^
25 มีนาคม 2559
อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ
ช่วงนี้เป็นช่วงที่โรงเรียนต่างๆกำลังประกาศผลการเรียนกันอยู่ คุณพ่อคุณแม่หลายคนที่มีลูกเป็นเด็กเรียนดีอยู่แล้วสอบครั้งไหนก็ได้เกรด 4 ตลอด... น้องบางคนก็พอได้อยู่ เกรดอาจจะมีขึ้นมีลงบ้างแต่ก็ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ก็มีน้องๆหลายคนที่เกรดไม่ขึ้นซักที วนเวียนอยู่ที่ เกรด1 เกรด 2 ตลอด น้องอาจจะเครียดเรื่องผลการเรียนบ้าง แต่คนที่กลุ้มใจมากกว่าคงไม่พ้นคุณพ่อคุณแม่ วันนี้เลยอยากพาคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายที่ผลการเรียนของลูกไม่กระเตื้องขึ้นซักที
26 มีนาคม 2559
อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ
อยู่ในช่วงปิดเทอมใหญ่กันแล้ว น้องๆหลายคนต้องไปเรียนซัมเมอร์ที่โรงเรียน บางคนก็ยังคงเรียนพิเศษ อาจจะไปเรียนที่สถาบัน หรือเรียนพิเศษโดยมีครูมาสอนที่บ้าน ก็แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละบ้าน แต่สิ่งหนึ่งที่ส่วนมากจะเป็นเหมือนกันหมดคือน้องๆจะเล่นเกมส์มากขึ้น โดยเฉพาะเกมส์ในมือถือที่จะเล่นที่ไหนก็ได้ น้องบางคนเล่นจนติดไปเรียนก็แทบจะไม่ได้เรียน วันนี้เลยพามาดูการแก้ไขเมื่อลูกติดเกมส์กันครับ
ปัญหาลูกติดเล่นเกมส์ ในปัจจุบันเหมือนจะเป็นกันหลายบ้านเลยทีเดียว สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ลูกยังเล็กและยังไม่ติดเกมส์ ก็สามารถป้องกันไม่ให้ลูกติดเกมส์ได้ โดยให้เวลากับลูกๆ อย่าปล่อยให้น้องอยู่คนเดียวอย่างอิสระมากเกินไป และร่วมกันทำกิจกรรมอื่นๆเป็นประจำ เช่นเล่นกีฬา ออกกำลังกาย ไปดูหนังบ้าง มีโอกาสก็พูดคุยกันอย่างสม่ำเสมอ
แต่สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ลูกเริ่มโตมาบ้าง อายุ 7-8 ขวบขึ้นแล้ว และเริ่มจะติดเล่นเกมส์แบบเล่นกันเป็นครึ่งค่อนวัน ข้าวปลาไม่ค่อยหิว กิจกรรมอย่างอื่นก็ไม่สน และอาจจะถึงขั้นการเรียนเริ่มตก อย่างนี้คงไม่ดีแน่
การที่ลูกติดเกมส์ สาเหตุมาจากหลายทางทั้งภายในภายนอก สาเหตุภายนอกก็เพราะเทคโนโลยีมันก้าวไปเร็วมาก แต่ละวันๆมีเกมส์ออกมาใหม่ๆเกือบทุกวัน คนคิดเกมส์ก็สรรหาเกมส์ที่ทำให้เด็กๆติดกันง่ายดายเหลือเกิน ทั้งกราฟฟิกสวยงาม ดนตรีประกอบ วิธีการเล่นและแรงจูงใจในการเล่นที่ล่อหลอกเด็กๆได้เป็นอย่างดี
ส่วนสาเหตุภายในก็คือคุณพ่อคุณแม่ไม่ค่อยมีเวลาให้กับลูกมากนักเพราะจำเป็นต้องทำมาหากินกันตัวเป็นเกลียวหัวเป็นน็อตอยู่ คุณพ่อคุณแม่บางคนยังรู้สึกว่าลูกติดเกมส์ยังดีกว่าลูกออกไปเที่ยวข้างนอกกลับบ้านดึกๆดื่นๆ บางครอบครัวถึงขนาดหาเครื่องเล่นเกมส์สารพัดมาให้ลูกเล่นเลยด้วยซ้ำโดยหวังว่าลูกจะติดเกมส์และกลับมาเล่นที่บ้านดีกว่าไปเล่นที่อื่น
ก็แล้วแต่ความคิดของแต่ละคนครับ จริงๆแล้วการเล่นเกมส์ก็ไม่ใช่ผลเสียซะทีเดียวนะครับ ประโยชน์ก็พอมีบ้าง เช่นเรื่องของทักษะการใช้เทคโนโลยี่ บางเกมส์เล่นไปก็ได้เรื่องของภาษาบ้าง แต่ถ้าจะให้ดีก็ควรเล่นเกมส์แบบมีวินัยบ้าง คือตามเวลาและไม่ติดจนเกินไปไม่ใช่เล่นกันที 7-8 ชั่วโมงจนข้าวปลาไม่กิน การบ้านไม่ทำ กิจกรรมอื่นไม่สนเลย
วันนี้เรามาดูว่าถ้าลูกติดเกมส์จนเกินไป คุณพ่อคุณแม่จะมีวิธีการอย่างไรดีที่จะทำให้ลูกลดลงมา หรือไม่ติดเกมส์จนเกินไป มาดูกันเลยครับ
1. พูดคุยกันด้วยเหตุผล
ก่อนอื่นเลยคือ ต้องใช้เหตุผลมาพูดคุยกันก่อน ไม่ควรห้ามแบบเด็ดขาด หรือยึดเครื่องเล่นเกมส์โดยไม่ให้เหตุผลเลย ควรคุยกันก่อนว่าลูกมีหน้าที่ความรับผิดชอบอะไรบ้าง ควรจะแบ่งเวลาไปทำอย่างอื่นด้วย และอธิบายถึงข้อดีข้อเสียของการเล่นแต่เกมส์อย่างเดียวกับการแบ่งเวลาให้ถูกต้อง และที่สำคัญอย่าได้ไปเปรียบเทียบลูกตัวเองกับลูกของคนอื่นเด็ดขาด เด็กๆจะรู้สึกไม่ไดีและอาจไม่สนใจเหตุผลอื่นๆเลยก็ได้ครับ2.ช่วยกันกำหนดกฏกติการ่วมกัน
ทีนี้หลังจากพูดคุยกันด้วยเหตุผลแล้วลองมากำหนดกฏกติกา ร่วมกันว่าเราจะทำอย่างไรดี กำหนดเวลา และระยะเวลาเล่นอย่างไร3.ไม่ให้ลูกได้ใช้คอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ตคนเดียว
หลังจากพูดคุยทำความเข้าใจกัน และกำหนดกติกาแล้วก็ต้องมีการควบคุมด้วย โดยจะไม่ให้มีคอมพิวเตอร์ หรือแทบเล็ตอยู่ในห้องนอน เพื่อป้องกันการละเมิดกติกา4. หัดเล่นเกมส์กับลูกบ้าง
หลังจากวางกติกากันแล้ว เพื่อให้ลูกรู้สึกว่าอยากจะทำให้คุณพ่อคุณแม่สบายใจ คุณพ่อคุณแม่ก็ควรจะทำให้ลูกรู้สึกว่าเราสามารถคุยภาษาเดียวกันด้วยการเล่นเกมส์กับลูกบ้าง หรือพูดคุยเรื่องเกมส์กับลูกบ้าง ข้อนี้สำคัญนะครับเพราะคุณพ่อคุณแม่จะได้เข้าใจลูก และเข้าใจเกมส์ที่ลูกเล่นสามารถแนะนำลูกๆได้ว่าจะเล่นเกมส์แบบไหน จะหาความรู้จากการเล่นส์เกมส์ได้อย่างไรบ้าง5.ให้ทำกิจกรรมอื่นๆ
ถ้าการกำหนดเวลาการเล่นเกมส์เป็นไปตามที่กำหนดร่วมกัน ทีนี้เวลาของน้องๆจะมีเหลือ คุณพ่อคุรแม่ก็ควรจะหากิจกรรมอื่นๆให้น้องทำทดแทนด้วยนะครับ เพื่อไม่ให้น้องรู้สึกว่าว่างเกินและไม่มีอะไรจะทำ จะเป็นเล่นกีฬา ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ หรือกิจกรรมอะไรก็ได้ที่มีประโยชน์และน้องชอบ ซึ่งก็จะทำให้น้องเลิกติดเกมสืได้แบบถาวร และไม่จำเป็นต้องมาควบคุมกันอีกเลยก็ได้นะครับ
สำคัญที่สุด คือคุณพ่อคุณแม่ต้องมีเวลาให้ลูกๆบ้าง รู้จักที่จะจัดระเบียบเวลาของตัวเองด้วยนะครับ อย่าให้ลูกบอกว่า พ่อแม่ยังจัดเวลาของตัวเองไม่ได้เลยนะครับ
Cr : https://www.facebook.com/HowToTeachYourKids/
18 เมษายน 2560
อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ
เนื้อเพลง Zen Zen Zense
Anime : Kimi no Na wa. (Your Name.)
やっと眼を覚ましたかい
yatto me o samashita kaiในที่สุดเธอก็ลืมตาขึ้นมาแล้วสินะ
それなのになぜ眼も合わせやしないんだい?
sore nanoni naze me mo awase ya shinaindai?แต่กระนั้นทำไมเธอกลับไม่สบตาฉันเลยล่ะ?
「遅いよ」と怒る君
“osoi yo” to okoru kimi“มาสายนะ” เธอกล่าวอย่างโกรธๆ
これでもやれるだけ飛ばしてきたんだよ
kore demo yareru dake tobashitekitanda yoแต่ถึงจะเป็นแบบนี้ ฉันก็บินมาหาเท่าที่จะทำได้แล้วนะ
心が身体を追い越してきたんだよ
kokoro ga karada o oikoshitekitanda yoหัวใจมันแซงมาถึงก่อนร่างกายซะอีกนะ
君の髪や瞳だけで胸が痛いよ
kimi no kami ya hitomi dake de mune ga itai yoแค่เส้นผมหรือดวงตาของเธอก็ทำให้ฉันปวดใจแล้ว
同じ時を吸いこんで離したくないよ
onaji toki o suikonde hanashitakunai yoสูดช่วงเวลาที่เราอยู่ด้วยกัน ไม่อยากจะปล่อยมันไปหรอกนะ
遥か昔から知る その声に
haruka mukashi kara shiru sono koe niเสียงของเธอที่ฉันรู้จักมานานแสนนานแล้ว
生まれてはじめて 何を言えばいい?
umarete hajimete nani o ieba ii?เป็นครั้งแรกในชีวิตนี้ ฉันควรจะพูดอะไรดี?
君の前前前世から僕は 君を探しはじめたよ
kimi no zen zen zensei kara boku wa kimi o sagashihajimeta yoฉันเริ่มออกตามหาเธอมาตั้งแต่ชาติก่อนๆ ของเธอเชียวนะ
そのぶきっちょな笑い方をめがけて やってきたんだよ
sono bukiccho na waraikata o megakete yattekitanda yoมาที่นี่เพื่อดูแลรอยยิ้มเคอะเขินของเธอไงล่ะ
君が全然全部なくなって チリヂリになったって
kimi ga zenzen zenbu nakunatte chirijiri ni nattatteแม้เธอจะสูญสลายจนหมด ถูกพัดกระจัดกระจายไป
もう迷わない また1から探しはじめるさ
mou mayowanai mata ichi kara sagashihajimeru saฉันก็ไม่ลังเล ที่จะเริ่มนับ 1 ใหม่อีกครั้งเพื่อตามหาเธอ
むしろ0から また宇宙をはじめてみようか
mushiro zero kara mata uchuu o hajimetemiyou kaหรือจะลองเริ่มจักรวาลทั้งหมดอีกครั้งจาก 0 เสียเลยดีนะ
どっから話すかな
dokkara hanasu kanaจะเริ่มจากตรงไหนดีนะ
君が眠っていた間のストーリー
kimi ga nemutteita aida no sutooriiเรื่องราวที่เกิดขึ้นในระหว่างที่เธอหลับมาตลอด
何億 何光年分の物語を語りにきたんだよ
nanoku nankounenbun no monogatari o katari ni kitanda yoฉันมาเพื่อจะเล่าเรื่องราวที่ผ่านมาไม่รู้กี่ร้อยล้าน กี่ปีแสงให้เธอฟัง
けどいざその姿この眼に映すと
kedo iza sono sugata kono me ni utsusu toแต่ตอนนี้นึกออกแต่ตัวตนของเธอที่สะท้อนอยู่ในตาฉัน
君も知らぬ君とジャレて 戯れたいよ
kimi mo shiranu kimi to jarete tawamuretai yoอยากจะหยอกเย้าและกวนเธอในแบบที่เธอก็ไม่รู้จัก
君の消えぬ痛みまで愛してみたいよ
kimi no kienu itami made aishitemitai yoฉันจะพยายามรักแม้กระทั่งความเจ็บปวดที่ไม่ลบเลือนของเธอ
銀河何個分かの 果てに出逢えた
ginga nankobun kano hate ni deaetaเราได้พบกันแล้วตรงสุดทางช้างเผือกอันมากมาย
その手を壊さずに どう握ったならいい?
sono te o kowasazu ni dou nigitta nara ii?จะกุมมือเธออย่างไรโดยที่ไม่ให้มันสลายไปดี?
君の前前前世から僕は 君を探しはじめたよ
kimi no zen zen zensei kara boku ha kimi o sagashihajimeta yoฉันเริ่มออกตามหาเธอมาตั้งแต่ชาติก่อนๆ ของเธอเชียวนะ
その騒がしい声と涙をめがけ やってきたんだよ
sono sawagashii koe to namida o megake yattekitanda yoมาที่นี่เพื่อดูแลรักษาเสียงอันโหวกเหวกและน้ำตาของเธอไงล่ะ
そんな革命前夜の僕らを誰が止めるというんだろう
sonna kakumei zenya no bokura o dare ga tomeru to iundarouใครบอกว่าจะหยุดพวกเราในคืนก่อนการปฏิวัติได้นะ?
もう迷わない 君のハートに旗を立てるよ
mou mayowanai kimi no haato ni hata o tateru yoแต่ฉันก็ไม่ลังเล ชักธงขึ้นไว้ที่หัวใจของเธอ
君は僕から諦め方を 奪い取ったの
kimi wa boku kara akiramekata o ubaitotta noเพราะเธอน่ะปล้นวิธียอมแพ้จากฉันไปหมดแล้วไง
前前前世から僕は 君を探しはじめたよ
zen zen zensei kara boku wa kimi o sagashihajimeta yoฉันเริ่มออกตามหาเธอมาตั้งแต่ชาติก่อนๆ เลยนะ
そのぶきっちょな笑い方をめがけて やってきたんだよ
sono bukiccho na waraikata o megakete yattekitanda yoมาที่นี่เพื่อดูแลรอยยิ้มเคอะเขินของเธอไงล่ะ
君が全然全部なくなって チリヂリになったって
kimi ga zenzen zenbu nakunatte chirijiri ni nattatteแม้เธอจะสูญสลายจนหมด ถูกพัดกระจัดกระจายไป
もう迷わない また1から探しはじめるさ
mou mayowanai mata ichi kara sagashihajimeru saฉันก็ไม่ลังเล ที่จะเริ่มนับ 1 ใหม่อีกครั้งเพื่อตามหาเธอ
何光年でも この歌を口ずさみながら
nankounen demo kono uta o kuchizusaminagaraพลางฮัมบทเพลงนี้ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีแสงก็ตาม
07 มีนาคม 2562
มาดูรีวิวสอบทุนนักบินสายการบินไทยแอร์เอเซีย [Review Student Pilot Thai AirAsia] จากรุ่นพี่ 3 คน 3 ปี
อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ
15 สิงหาคม 2558
อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ
พัฒนาการในญี่ปุ่น
แม้ว่าในอดีต ภาษาญี่ปุ่นจำเป็นต้องเขียนด้วยอักษรจีน แต่ในปัจจุบันก็มีความแตกต่างระหว่างอักษรคันจิของญี่ปุ่นและอักษรจีนอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ตัวอักษรที่ญี่ปุ่นประดิษฐ์ขึ้นเอง ตัวอักษรเดียวกันแต่มีความหมายภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่นต่างกัน และการย่ออักษรคันจิที่เรียกว่า ชินจิไท (新字体, 新字體 Shinjitai) หลังสงครามโลกครั้งที่สองโคะคุจิ
โคะคุจิ (ญี่ปุ่น: 国字 Kokuji ?) อันแปลว่า ตัวอักษรแห่งชาตินั้น หมายถึง ตัวอักษรคันจิที่ประดิษฐ์ขึ้นในญี่ปุ่น หรือ "วะเซคันจิ" (ญี่ปุ่น: 和製漢字 Wasei kanji ?) อักษรโคะคุจิมีอยู่หลายร้อยตัว แต่ใช้กันบ่อยๆเพียงไม่กี่ตัว ตัวอย่างของอักษรโคะคุจิที่ใช้กันทั่วไปมีดังต่อไปนี้- 峠 (とうげ tōge) แปลว่า สันเขา
- 榊 (さかき sakaki) แปลว่า ต้นซะคะคิ
- 畑 (はたけ hatake) แปลว่า ทุ่ง, ไร่
- 辻 (つじ tsuji) แปลว่า ถนน, ทางแยก
- 働 (どう dō, はたら(く) hatara(ku)) แปลว่า งาน, ทำงาน
- 腺 (せん sen) แปลว่า ต่อม (ตัวอักษรตัวนี้ได้นำไปเผยแพร่ในประเทศจีนด้วย)
คกคุน
คกคุน (ญี่ปุ่น: 国訓 Kokkun ?) หมายถึง ตัวอักษรจีน ที่ชาวญี่ปุ่นให้ความหมายภาษาญี่ปุ่นต่างไปจากความหมายดั้งเดิมในภาษาจีน ตัวอย่างเช่น- 藤 ภาษาญี่ปุ่น: fuji, ฟุจิ แปลว่า ต้นวิสเทอเรีย แต่ ภาษาจีนกลาง: téng, เติ๋ง แปลว่า หวาย, อ้อย
- 沖 ภาษาญี่ปุ่น: oki, โอะคิ แปลว่า ห่างจากชายฝั่ง แต่ ภาษาจีนกลาง: chōng, ชง แปลว่า ชำระล้าง
- 椿 ภาษาญี่ปุ่น: tsubaki, สึบะกิ แปลว่า ดอกคาเมลเลีย แต่ ภาษาจีนกลาง: chūn, ชุน แปลว่า ต้นไม้แห่งสวรรค์ (Ailanthus, ต้นไม้วงศ์มะยมป่า)
เสียงของคันจิ
เนื่องจากอักษรคันจิคืออักษรจีนที่นำมาใช้ในภาษาญี่ปุ่น อักษรคันจิหนึ่งจึงตัวอาจอ่านได้หลายแบบ อาจถึงสิบแบบหรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับรูปประโยค เป็นคำประสม หรือตำแหน่งคำในประโยคนั้นๆ การอ่านออกเสียงตัวอักษรคันจินั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ- เสียงอง (ญี่ปุ่น: 音読み on'yomi ?) แปลว่า อ่านเอาเสียง เป็นการออกเสียงคันจิของคำนั้นตามเสียงภาษาจีน
- เสียงคุน (ญี่ปุ่น: 訓読み kun'yomi ?) แปลว่า อ่านเอาความหมาย เป็นการออกเสียงคันจิของคำนั้นในภาษาญี่ปุ่น
เสียงอง (การอ่านแบบจีน)
องโยะมิ (ญี่ปุ่น: 音読み on'yomi ?) หรือ เสียงอง เป็นการอ่านคันจิในเสียงภาษาจีนแต่สำเนียงญี่ปุ่น ใช้สำหรับคำภาษาญี่ปุ่นที่ยืมจากภาษาจีน หรือ "คังโกะ" (漢語 Kango) ซึ่งคำเหล่านี้นำเข้ามาใช้ในญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยโบราณ จากหลากหลายภูมิภาคและยุคสมัยของจีน คำเดียวกันจึงออกเสียงต่างกันไป อย่างไรก็ตาม สำหรับอักษรคันจิที่ประดิษฐ์ขึ้นในญี่ปุ่นเอง จะไม่มีเสียงอง ยกเว้นคันจิบางตัว เช่น 働 ซึ่งแปลว่า ทำงาน นั้นมีทั้งเสียงองและเสียงคุน เสียงอง คือ dō และเสียงคุน คือ hatara(ku) ส่วน 腺 ที่แปลว่า ต่อม เป็นคันจิที่ญี่ปุ่นประดิษฐ์เอง แต่มีแต่เสียงอง คือ sen ไม่มีเสียงคุนองโยะมิ สามารถแบ่งได้ 4 กลุ่มดังนี้
- โกะอง (ญี่ปุ่น: 呉音 go-on ?) หรือ เสียงอู๋ เป็นการออกเสียงที่รับเข้ามาในยุคราชวงศ์เหนือใต้ของจีน หรืออาณาจักรแพกเจของเกาหลี ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 และคริสต์ศตวรรษที่ 6 "โกะ" หมายถึง แคว้นอู๋ หรือง่อก๊ก (บริเวณใกล้เคียงเมืองเซี่ยงไฮ้ในปัจจุบัน) แต่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับภาษาจีนอู๋แต่อย่างใด
- คันอง (ญี่ปุ่น: 漢音 kan-on ?) หรือ เสียงฮั่น เป็นการออกเสียงที่รับเข้ามาในยุคราชวงศ์ถัง ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 9 ส่วนใหญ่มาจากสำเนียงของเมืองหลวงในเวลานั้น คือ ฉางอาน (長安) ซึ่งปัจจุบันคือเมือง ซีอาน (西安) คำว่า "คัน" หมายถึง ชนชาติฮั่น (漢) อันเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศจีน
- โทอง (ญี่ปุ่น: 唐音 tō-on ?) หรือ เสียงถัง เป็นการออกเสียงที่รับเข้ามาในช่วงราชวงศ์หลังๆ ของจีน เช่น ราชวงศ์ซ่ง (宋) และ ราชวงศ์หมิง (明) การอ่านคันจิในยุคเฮอัง และยุคเอะโดะ จะอ่านตามสำเนียงนี้ หรือเรียกกันว่า "โทโซอง" (唐宋音, tōsō-on).
- คันโยอง (ญี่ปุ่น: 慣用音 kan'yō-on ?) แปลตามศัพท์ได้ว่า เสียงอ่านที่เป็นที่ยอมรับ เป็นการอ่านที่ออกเสียงผิดมาตั้งแต่เริ่มใช้คำคำนั้น แต่ได้ใช้กันต่อมาจนเป็นที่ยอมรับในที่สุด
(คำอ่านในวงเล็บเป็นคำอ่านที่ไม่ค่อยพบ)
การอ่านคันจิ ตามเสียงองส่วนมาก จะเป็นเสียงคันอง สำหรับโกะอง จะอยู่ในศัพท์ทางพุทธศาสนา เช่น 極楽 (gokuraku, สวรรค์) และอยู่ในคำภาษาญี่ปุ่นที่ยืมจากภาษาจีน (คังโกะ) ยุคแรก เช่น ตัวเลข เป็นต้น ส่วนโทองนั้น อยู่ในคันจิยุคหลังๆบางคำ เช่น 椅子 (isu, เก้าอี้) 布団 (futon, ฟูกปูนอน) และ 行灯 (andon, โคมกระดาษ) เป็นต้น
ในภาษาจีน อักษรจีนหนึ่งตัวส่วนมากจะอ่านได้เพียงเสียงเดียว ยกเว้น อักษรบางตัวอ่านได้หลายเสียงและให้ความหมายต่างกัน หรือเป็นคำพ้องรูป (ภาษาจีนกลาง: 多音字, duōyīnzì) เช่น 行 (พินอิน: háng แปลว่า แถว, มืออาชีพ หรือ xíng แปลว่า เดินทาง, ปฏิบัติ) (ภาษาญี่ปุ่น: gō, gyō) ซึ่งคุณลักษณะนี้ ได้ถ่ายทอดสู่ภาษาญี่ปุ่นเช่นกัน
นอกจากนี้ คำภาษาจีนยุคกลาง (ภาษาจีนกลาง:中古漢語, Zhōnggǔ Hànyǔ, Middle Chinese) บางคำจะมี Entering tone (入聲, rùshēng) คือเสียงของคำที่สะกดด้วย ป, ต, ก คล้ายกับคำตายในภาษาไทย คุณลักษณะนี้ไม่มีในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งมีระบบเสียงพยางค์เป็นแบบพยัญชนะ-สระ (Consonant-Vowel, CV) หรือกล่าวง่ายๆว่าภาษาญี่ปุ่นไม่มีตัวสะกดนั่นเอง ดังนั้น เสียงองของคำเหล่านี้ จึงต้องประกอบด้วย 2 ช่วงเสียง (Mora) ในพยางค์เดียว แต่ช่วงเสียงหลังเป็นเสียงที่เบากว่าช่วงเสียงแรก ช่วงเสียงหลังนี้ มักจะใช้เสียง i, ku, ki, tsu, chi หรือ n เสียงใดเสียงหนึ่ง แทนเสียงตัวสะกดของคำยืมจากภาษาจีนยุคกลางดังกล่าว อาจเป็นไปได้ว่า เสียงควบ หรือโยอง (拗音, Yōon) ในภาษาญี่ปุ่น มีที่มาจากการยืมคำภาษาจีน เนื่องจากคำภาษาญี่ปุ่นดั้งเดิมไม่มีคุณลักษณะนี้
เสียงองมักจะอยู่ในคำประสมที่เขียนด้วยคันจิสองตัว (熟語, Jukugo) โดยชาวญี่ปุ่นได้ยืมคำภาษาจีนเหล่านี้มาใช้ ซึ่งเหมือนกับการที่ภาษาไทย ยืมคำภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมรมาใช้ การยืมภาษาอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ภาษาดั้งเดิมยังไม่มีคำให้เรียกสิ่งนั้น ยืดยาวไม่กระชับ ไม่เฉพาะเจาะจง หรือไม่ไพเราะ คำยืมจะให้ความรู้สึกไพเราะ เป็นทางการ และหรูหรามากหว่า แต่หลักการอ่านคำประสมนี้ไม่ครอบคลุมถึงการอ่านชื่อของชาวญี่ปุ่นทั่วไป ที่นามสกุล หรือชื่อ หรือทั้งนามสกุลและชื่อ ประกอบด้วยอักษรคันจิสองตัว แต่จะอ่านด้วยเสียงคุน (อย่างไรก็ตาม เสียงองก็ยังพบได้ในชื่อตัว โดยเฉพาะชื่อตัวของผู้ชาย)
เสียงคุน (การอ่านแบบญี่ปุ่น)
คุนโยะมิ (ญี่ปุ่น: 訓読み Kun'yomi ?) หรือ เสียงคุน แปลตามตัวอักษรได้ว่า อ่านเอาความหมาย เป็นการอ่านคันจิโดยใช้คำภาษาญี่ปุ่นดั้งเดิม หรือยะมะโตะโคะโตะบะ (大和言葉 Yamato kotoba) ที่มีความหมายใกล้เคียงกับตัวอักษรจีนนั้น คันจิหนึ่งตัวสามารถมีเสียงคุนได้หลายเสียงเช่นเดียวกับเสียงอง แต่คันจิบางตัวไม่มีเสียงคุนเลยก็ได้ตัวอย่างเช่น 東 ที่แปลว่า ทิศตะวันออก มีเสียงองคือ tō แต่ภาษาญี่ปุ่นก็มีคำที่แปลว่าทิศตะวันออกอยู่แล้ว คือ higashi และ azuma ดังนั้นเสียงคุนของ 東 คือ higashi และ azuma ในทางตรงกันข้าม 寸 (ภาษาจีนกลาง: cùn) ซึ่งหมายถึง หน่วยวัดความยาวหน่วยหนึ่งของจีน (ประมาณ 30 มิลลิเมตร หรือ 1.2 นิ้ว) ญี่ปุ่นไม่มีหน่วยที่สามารถเทียบได้ คันจิตัวนี้จึงมีแต่เสียงอง คือ sun และไม่มีเสียงคุน อักษรโคะคุจิ (อักษรคันจิที่ประดิษฐ์ขึ้นในญี่ปุ่น) จะมีแค่เสียงคุน ไม่มีเสียงอง
เสียงคุน มีโครงสร้างพยางค์แบบ(พยัญชนะ)สระ หรือ (C)V ซึ่งเป็นโครงสร้างพยางค์ของคำญี่ปุ่นแท้ (ยะมะโตะโคะโตะบะ) เสียงคุนของคำนามและคำคุณศัพท์ปกติจะยาว 2-3 พยางค์ ในขณะที่ เสียงคุนของคำกริยายาว 1-2 พยางค์ โดยจะไม่นับอักษรฮิระงะนะเรียกว่า โอะกุริงะนะ ซึ่งอยู่ท้ายคันจิ เนื่องจากโอะกุริงะนะเป็นเพียงตัวเสริมคำ ไม่ได้เป็นเสียงหนึ่งของคันจิตัวนั้น ผู้ที่เพิ่งเริ่มศึกษาคันจิมักจะจดจำการอ่านคันจิที่มีเสียงคุนหลายพยางค์ได้ยาก อย่างไรก็ตาม คันจิที่มีเสียงคุน 3-4 พยางค์หรือมากกว่านั้นก็มีอยู่น้อย ตัวอย่างเช่น 承る (uketamawaru ได้ยิน รับรู้) และ 志 (kokorozashi ความตั้งใจ ) มีเสียงคุน 5 พยางค์ในคันจิตัวเดียว ถือเป็นคันจิที่มีเสียงคุนยาวที่สุดในคันจิชุดโจโยคันจิ
ในหลายกรณี คำภาษาญี่ปุ่นคำเดียวอาจเขียนได้ด้วยคันจิหลายตัว โดยเมื่อเขียนต่างกัน ก็จะให้ความรู้สึกของคำต่างกัน แต่ความหมายใกล้เคียงกัน ตัวอย่างเช่น คำว่า なおす(naosu) เมื่อเขียนด้วย 治す จะแปลว่า "รักษาอาการป่วย" แต่เมื่อเขียนด้วย 直す จะแปลว่า "ซ่อมแซม หรือแก้ไข" บางครั้ง เมื่อเขียนต่างกัน ความหมายก็ต่างกันอย่างชัดเจน แต่ก็ไม่เสมอไป นักวิชาการผู้เขียนหนังสืออ้างอิงต่างๆ เช่น พจนานุกรม ก็อาจมีความเห็นต่อคันจิประเภทนี้ต่างกัน พจนานุกรมเล่มหนึ่งบอกว่าความหมายคล้ายกัน อีกเล่มอาจบอกว่าต่างกันก็ได้ ดังนั้น ชาวญี่ปุ่นเองก็อาจสับสนได้ว่าควรจะใช้คันจิตัวไหนในการเขียนคำประเภทนี้ จนสุดท้าย เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดในการใช้คันจิ ก็ต้องเขียนเป็นฮิระงะนะในที่สุด ตัวอย่างของคำที่เขียนได้ด้วยคันจิอีกคำ คือ もと (moto) เขียนได้ด้วยคันจิอย่างน้อย 5 ตัว ได้แก่ 元, 基, 本, 下, และ 素 ซึ่งมีคันจิ 3 ตัวที่มีความหมายแทบไม่ต่างกัน
การอ่านคันจิด้วยภาษาท้องถิ่นของญี่ปุ่น ก็จัดอยู่ในเสียงคุนเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษาริวกันอัน ในแถบหมู่เกาะทางใต้ของญี่ปุ่น
เสียงอ่านแบบอื่นๆ
จูบะโกะ (ญี่ปุ่น: 重箱 jūbako) หรือ ยุโต ญี่ปุ่น: 湯桶 yutō ?) คือ คำประสมคันจิหลายตัวที่อ่านด้วยเสียงองและเสียงคุนผสมกัน ซึ่งชื่อทั้งสองเองก็เป็นคำประสมประเภทนี้ด้วยเช่นกัน โดยคำประเภทจูบะโกะ คันจิตัวแรกจะอ่านด้วยเสียงอง และตัวหลังอ่านด้วยเสียงคุน แต่คำแบบยุโต จะอ่านผสมทั้งเสียงองและเสียงคุน ตัวอย่างเช่น 場所 (basho, คุน-อง สถานที่) 金色 (kin'iro, อง-คุน สีทอง) และ 合気道 (aikidō, คุน-อง-อง ไอคิโด) เป็นต้นนะโนะริ (ญี่ปุ่น: 名乗り nanori ?) คือ คันจิบางตัวที่ไม่ค่อยมีผู้รู้วิธีอ่าน มักจะใช้กับชื่อบุคคล และมันจะอ่านด้วยเสียงคุน บางครั้งก็ใช้กับชื่อสถานที่ ซึ่งอ่านแบบพิเศษ และไม่ใช้กับสิ่งอื่น
กิคุน (ญี่ปุ่น: 義訓 gikun ?) หรืออีกชื่อคือ จุคุจิคุน (ญี่ปุ่น: 熟字訓 jukujikun ?) คือ การอ่านคำประสมคันจิที่ไม่ได้ไม่ได้แยกตามคันจิแต่ละตัว และไม่คำนึงว่าคันจิตัวนั้นจะออกเสียงองหรือเสียงคุน แต่จะอ่านด้วยคำภาษาญี่ปุ่นดั้งเดิมตามความหมายของคำประสมนั้น ตัวอย่างเช่น 今朝 (เช้านี้) ไม่ได้อ่านว่า ima'asa (เสียงคุน) หรือ konchō (เสียงอง) แต่จะอ่านด้วยภาษาญี่ปุ่นดั้งเดิม 2 พยางค์ว่า kesa (เช้านี้)
อะเตะจิ (ญี่ปุ่น: 当て字, 宛字 ateji ?) คือ คันจิที่ใช้เขียนคำยืมจากภาษาต่างประเทศ โดยใช้แทนเสียงมากกว่าความหมาย ซึ่งมีลักษณะคล้ายมันโยงะนะ ตัวอย่างเช่น 亜細亜 (ajia) ในสมัยก่อนใช้เขียนคำว่า เอเชีย จนในปัจจุบัน ใช้ 亜 เขียนในคำประสม เพื่อแทนความหมายถึงทวีปเอเชีย เช่น 東亜 (tōa เอเชียตะวันออก) อีกคำหนึ่งคือ 亜米利加 (amerika อเมริกา) ตัวอักษร 米 ถูกหยิบมาใช้ เพื่อประสมกับ 国 (koku ประเทศ) กลายเป็น 米国 (beikoku สหรัฐอเมริกา) เป็นคำระดับพิธีการ
ควรอ่านด้วยเสียงใด?
แม้ว่าจะมีหลักการการอ่านคันจิว่าเมื่อใดควรอ่านเป็นเสียงองหรือเสียงคุน แต่ก็ยังคงมีข้อยกเว้น แม้แต่ชาวญี่ปุ่นผู้เป็นเจ้าของภาษาเองก็ยังยากที่จะอ่านคันจิโดยไม่มีความรู้มาก่อน โดยเฉพาะชื่อบุคคลและสถานที่กฎข้อแรกคือ ถ้ามีอักษรคันจิตัวเดียว หรือมีอักษรโอะกุริงะนะตามหลังเพื่อการผันคำเป็นคำกริยาหรือคำคุณศัพท์ คันจิตัวนั้นมักจะอ่านด้วยเสียงคุน ตัวอย่างเช่น 月 (tsuki พระจันทร์) 情け (nasake ความเห็นใจ) 赤い (akai แดง) 新しい (atarashii ใหม่) 見る (miru ดู) 必ず (kanarazu แน่นอน) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อาจมีข้อยกเว้นสำหรับบางคำ
ถ้ามีอักษรคันจิสองตัว ประกอบกันเป็นคำประสม (熟語 jukugo) มักจะอ่านด้วยเสียงอง ตัวอย่างเช่น 情報 (jōhō ข้อมูล) 学校 (gakkō โรงเรียน) และ 新幹線 (shinkansen รถไฟชินคันเซ็น) เป็นต้น คำประสมคันจิหลายตัวบางคำ ออกเสียงต่างไปจากเมื่อคันจิตัวนั้นอยู่ตัวเดียวโดยสิ้นเชิง แต่ความหมายของคันจิตัวนั้นยังคงเดิม
ตัวอย่างเช่น 北 (ทิศเหนือ) และ 東 (ทิศตะวันออก) เมื่ออยู่ตัวเดียวจะอ่านด้วยเสียงคุนว่า kita และ higashi ตามลำดับ แต่เมื่อประกอบกันเป็นคำประสม 北東 (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) จะอ่านเป็นเสียงองว่า hokutō อย่างไรก็ตาม คันจิหนึ่งตัวอาจมีเสียงองหลายเสียง เมื่อคันจิตัวนั้นไปประสมในคำต่างกัน ก็อาจออกเสียงต่างกันด้วยก็ได้ เช่น 生 เมื่อไปประกอบเป็นคำว่า 先生 (sensei ครู) จะอ่านว่า sei แต่ถ้าไปประกอบเป็นคำว่า 一生 (isshō ทั้งชีวิต) จะอ่านว่า shō
บางครั้ง ความหมายของคำจะเป็นตัวกำหนดเสียงอ่านด้วย เช่น 易 เมื่อแปลว่า ง่าย จะอ่านว่า i แต่ถ้าแปลว่า การพยากรณ์ จะอ่านว่า eki ทั้งคู่เป็นเสียงอง
อย่างไรก็ตาม มีคำประสมจำนวนหนึ่งที่อ่านด้วยเสียงคุน แต่มีจำนวนไม่มากนัก ตัวอย่างเช่น 手紙 (tegami จดหมาย) และ 神風 (kamikaze กามิกาเซ่) เป็นต้น คำประสมบางคำอาจมีอักษรโอะกุริงะนะผสมอยู่ด้วย เช่น 空揚げ (karaage ไก่ทอดแบบจีน) และ 折り紙 (origami โอะริงะมิ) โดยอาจตัดโอะกุริงะนะ แต่ก็ได้ความหมายคงเดิม (นั่นคือ 空揚 และ 折紙)
คันจิบางตัว แม้อยู่ตัวเดียวก็อ่านด้วยเสียงอง เช่น 愛 (ai รัก) 禅 (zen นิกายเซน) 点 (ten คะแนน, จุด) ส่วนมาก คันจิเหล่านี้มักไม่มีเสียงคุน อย่างไรก็ตาม ยังคงมีข้อยกเว้นเช่นกัน ตัวอย่างเช่น 金 เมื่อหมายถึง เงินตรา, โลหะ จะอ่านด้วยเสียงคุนว่า kane แต่ถ้าหมายถึง ทอง จะอ่านว่า kin ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริบทของประโยค ว่าจะหมายถึงอะไร
เมื่ออักษรคันจิหนึ่งตัว อ่านได้หลายแบบ ทำให้เกิดคำพ้องรูปขึ้นมา ในบางครั้ง เมื่ออ่านต่างกัน อาจให้ความหมายต่างกันด้วย เช่น 上手 ซึ่งสามารถอ่านได้ 3 แบบ ได้แก่ jōzu (ชำนาญ) uwate (ส่วนบน) kamite (ส่วนบน) และ 上手い อ่านว่า umai (ชำนาญ) ในกรณีหลัง เป็นการเติมฟุริงะนะเพื่อลดความกำกวมชองคำนั้น
คำประสมแบบจูบะโกะ (重箱 jūbako) หรือ ยุโต (湯桶 yutō) คือ คำประสมคันจิหลายตัวที่อ่านด้วยเสียงองและเสียงคุนผสมกัน ซึ่งกล่าวไปแล้วในหัวข้อข้างบนนั้น ไปค่อยพบมากนัก โดยความเป็นจริงแล้ว เสียงของคำประสมที่เป็นไปได้ มี 4 ชนิด ได้แก่ อง-อง คุน-คุน คุน-อง และ อง-คุน
ชื่อสถานที่ที่มีชื่อเสียง เช่น กรุงโตเกียว (東京 Tōkyō) และประเทศญี่ปุ่น (日本 Nihon หรือ Nippon) นั้นอ่านด้วยเสียงอง อย่างไรก็ตาม ชื่อสถานที่ส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นมักอ่านด้วยเสียงคุน เช่น 大阪 (Ōsaka โอซะกะ) 青森 (Aomori อะโอะโมะริ) และ 箱根 (Hakone ฮาโกเนะ) เป็นต้น นอกจากนี้ เมื่อคันจิของชื่อเมืองถูกหยิบไปใช้ในลักษณะชื่อย่อ อาจจะอ่านไม่เหมือนเดิม เช่น ชื่อมหาวิทยาลัยบางแห่ง อย่าง มหาวิทยาลัยโอซะกะ (大阪大学 Ōsaka daigaku) มีชื่อย่อคือ 阪大 (Handai) มหาวิทยาลัยวาเซดะ (早稲田大学 Waseda Daigaku) มีชื่อย่อคือ 早大 (Sōdai) จะเห็นได้ว่าเมื่อเป็นชื่อเต็ม จะอ่านด้วยเสียงคุน แต่เมื่อย่อเหลือคันจิสองตัว จะอ่านด้วยเสียงอง ยกเว้น มหาวิทยาลัยโตเกียว (東京大学 Tōkyō Daigaku) มีชื่อย่อคือ 東大 (Tōdai) เนื่องจาก Tō เป็นเสียงองของ 東 อยู่แล้ว
นามสกุลของชาวญี่ปุ่น ปกติมักจะอ่านด้วยเสียงคุน เช่น 山田 (Yamada) 田中 (Tanaka) 鈴木 (Suzuki) เป็นต้น ส่วนชื่อตัวนั้น แม้จะไม่ถูกจัดเป็นคำแบบจูบะโกะ (重箱 jūbako) หรือ ยุโต (湯桶 yutō) ก็ตาม แต่ก็มักมีทั้งเสียงคุน เสียงอง และนะโนะริ (名乗り nanori) รวมกัน เช่น 大助 (Daisuke อง-คุน) 夏美 (Natsumi คุน-อง) เป็นต้น ทั้งนี้ มักขึ้นอยู่กับพ่อแม่ผู้ตั้งชื่อลูกของตนเองว่าต้องการให้อ่านแบบใด โดยไม่ขึ้นกับกฎเกณฑ์ และยากที่จะอ่านโดยไม่มีคำอ่านกำกับ พ่อแม่บางคนอาจตั้งชื่อให้ลูกด้วยคำวิลิศมาหรา เช่น 地球 (Āsu) และ 天使 (Enjeru) ซึ่งตามปกติควรอ่านว่า chikyū (แปลว่า โลก) และ tenshi (แปลว่า เทวดา) ตามลำดับ แต่ชื่อทั้งคู่ก็ไม่พบเห็นกันเท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม ชื่อชาวญี่ปุ่นส่วนมากมักอยู่ในรูปแบบเรียบง่ายและตั้งซ้ำๆกันใน แต่ผู้อ่านก็ควรศึกษาการอ่านชื่อมาก่อน เพิ่มให้ง่ายต่อการเดาวิธีอ่าน
ตัวช่วยในการอ่าน
เนื่องจากการอ่านคันจิมีความกำกวม บางครั้ง จึงมีการเขียนอักษรประกอบคำ (Ruby character) ขึ้นซึ่งเรียกว่า ฟุริงะนะ (振り仮名 furigana) เป็นอักษรคะนะ เขียนไว้ด้านบนหรือด้านขวาของตัวอักษรเพื่อบอกเสียงอ่านของคันจิตัวนั้น โดยเฉพาะในหนังสือสำหรับเด็ก หนังสือเรียนสำหรับชาวต่างชาติ และมังงะ มักจะมีฟุริงะนะกำกับอักษรคันจิอยู่เสมอ นอกจากนี้ ยังใช้ในหนังสือพิมพ์ สำหรับอักษรคันจิตัวที่ไม่ค่อยพบ หรืออ่านแปลกๆ หรือไม่รวมอยู่ในชุดอักษรคันจิที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่เรียกว่า โจโยคันจิ (常用漢字 Jōyō kanji ?จำนวนอักษรคันจิ
ยังเป็นที่โต้เถียงว่า จำนวนอักษรจีนหรืออักษรคันจิมีทั้งหมดกี่ตัว พจนานุกรมไดคันวะ จิเตน (大漢和辞典 Dai Kan-Wa jiten แปลว่า มหาพจนานุกรมจีนญี่ปุ่น) ได้รวบรวมอักษรคันจิไว้ประมาณ 50,000 ตัว ซึ่งถือว่าครอบคลุมมาก ส่วนในประเทศจีน มีพจนานุกรมภาษาจีนเล่มหนึ่งรวมรวมไว้ถึง 100,000 ตัว ซึ่งรวมถึงอักษรที่มีรูปแบบครุนเครือด้วย แต่อักษรคันจิที่ใช้กันจริงในประเทศญี่ปุ่นมีอยู่เพียงประมาณ 2,000-3,000 ตัวเท่านั้นการปฏิรูปและชุดอักษรคันจิ
ใน พ.ศ. 2489 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ปฏิรูปอักขรวิธีของภาษาญี่ปุ่น เพื่อให้เยาวชนสามารถศึกษาภาษาญี่ปุ่นได้ง่ายขึ้น การปฏิรูปครั้งนี้รวมถึงปฏิรูปอักษรคันจิที่ใช้ในงานเขียนต่าง ๆ ด้วย จำนวนอักษรคันจิที่จะใช้ถูกกำหนดให้น้อยลง มีการประกาศชุดอักษรคันจิอย่างเป็นทางการ โดยกำหนดว่านักเรียนระดับชั้นต่าง ๆ ต้องเรียนรู้คันจิตัวไหนบ้าง อักษรคันจิบางตัวถูกย่อให้มีขีดน้อยลงและเขียนง่ายขึ้น คันจิแบบย่อนี้เรียกว่า "ชินจิไต" (新字体 shinjitai) หรือ รูปแบบอักษรใหม่ ซึ่งคันจิแบบย่อบางตัวจะมีลักษณะเหมือนกับ อักษรจีนตัวย่อ ในการปฏิรูปครั้งนี้ อักษรคันจิถูกกำหนดให้มีรูปแบบเป็นมาตรฐานแน่นอน คันจิที่มีรูปแบบครุมเครือก็ถูกประกาศเลิกใช้อย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม อักษรคันจิที่ไม่ได้อยู่ในชุดมาตรฐาน ที่เรียกว่า "เฮียวไงจิ" (表外字 hyōgaiji) ก็ยังคงใช้กันอยู่โดยทั่วไปชุดอักษรคันจิ มีดังต่อไปนี้
เคียวอิคุคันจิ (教育漢字 Kyōiku kanji)
เคียวอิคุคันจิ (ญี่ปุ่น: 教育漢字 Kyōiku kanji ?) หรือ "คันจิเพื่อการศึกษา" ประกอบด้วย อักษรคันจิ 1,006 ตัว สำหรับสอนในโรงเรียนประถมศึกษา โดยเริ่มแรก มีอักษรคันจิ 881 ตัว จนเมื่อ พ.ศ. 2524 ได้เพิ่มเป็น 1,006 ตัวดังปัจจุบัน อักษรคันจิชุดนี้ถูกแบ่งชุดอักษรย่อย เรียกกันว่า ชุดอักษรคันจิแบ่งตามระดับชั้นเรียน (学年別漢字配当表 Gakunen-betsu kanji haitōhyō หรือ gakushū kanji) โดยแบ่งว่า นักเรียนระดับชั้นไหน ต้องเรียนรู้คันจิตัวใดบ้างโจโยคันจิ (常用漢字 Jōyō kanji)
โจโยคันจิ (ญี่ปุ่น: 常用漢字 Jōyō kanji ?) หรือ "คันจิในชีวิตประจำวัน" ประกอบด้วย อักษรคันจิ 1,945 ตัว ซึ่งรวมเคียวอิคุคันจิอยู่ด้วย และเพิ่มคันจิอีก 939 ตัวที่สอนในโรงเรียนมัธยม ในงานพิมพ์ต่างๆ อักษรคันจิที่อยู่นอกโจโยคันจิ มักจะมีฟุริงะนะกำกับอยู่ โจโยคันจิประกาศใช้ใน พ.ศ. 2524 เพื่อแทนที่ชุดอักษรคันจิเก่าที่เรียกว่า โทโยคันจิ (当用漢字 Tōyō kanji) หรือ "คันจิที่ใช้ทั่วไป" ซึ่งใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2489 กระทรวงการศึกษา วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้ปรับปรุงจำนวนอักษรคันจิในโจโยคันจิมาโดยตลอด โดยอยู่บนหลักการที่ว่า "อักษรคันจิตัวนั้น จำเป็นต้องรู้ และใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน"จินเมโยคันจิ (人名用漢字 Jinmeiyō kanji)
จินเมโยคันจิ (ญี่ปุ่น: 人名用漢字 Jinmeiyō kanji ?) หรือ "คันจิสำหรับชื่อบุคคล" ประกอบด้วย อักษรคันจิ 2,928 ตัว โดยมีโจโยคันจิและอักษรคันจิเพิ่มอีก 983 ตัวที่พบในชื่อบุคคล อักษรคันจิชุดนี้ ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2495 เมื่อแรกเริ่ม มีอักษรคันจิเพียง 92 ตัว แต่ได้มีการประกาศเพิ่มตัวอักษรบ่อยครั้ง จนมีจำนวนเท่ากับปัจจุบัน เมื่อเอ่ยถึงตัวอักษรชุดจินเมโยคันจิ อาจหมายถึงตัวอักษรทั้ง 2,928 ตัว หรือหมายถึงแค่ 983 ตัวที่ใช้สำหรับชื่อบุคคลเท่านั้นก็ได้เฮียวไกจิ (表外字 Hyōgaiji)
เฮียวไกจิ (ญี่ปุ่น: 表外字 Hyōgaiji ?) หรือ "ตัวอักษรนอกรายชื่อ" หมายถึง อักษรคันจิที่ไม่ได้อยู่ในชุดโจโยคันจิและจินเมโยคันจิ อักษรคันจิประเภทนี้ มักเป็นอักษรจีนตัวเต็ม แต่บางครั้ง อาจเป็นอักษรชินจิไตแบบขยาย (拡張新字体 kakuchō shinjitai) ก็ได้ประเภทของคันจิ
ประเภทของคันจิ แบ่งได้ 6 ประเภท คือโชเกโมจิ (象形文字)
เป็นคันจิที่กำเนิดขึ้นแรกสุดแสดงรูปลักษณะของสิ่งต่างๆส่วนใหญ่เป็นชื่อสิ่งของ คันจิประเภทนี้มีประมาณ 600 ตัว ตัวอย่างเช่น 目 แปลว่า ตา, 木 แปลว่า ต้นไม้ชิจิโมจิ (指事文字)
เป็นคันจิที่ใช้ในรูปลักษณะต่างๆแสดงความหมายสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสิ่งที่ไม่มีรูปโดยใช้ขีดหรือเส้น และในบางครั้งจะนำ โชเกโมจิ (象形文字) มาประสมด้วย คันจิประเภทนี้มี ประมาณ 135 ตัว ตัวอย่างเช่น 上 แปลว่า บน, 下 แปลว่า ล่างไคอิโมจิ (会意文字)
เป็นคันจิที่นำคันจิที่สำเร็จรูปแล้วมาประกอบกันเป็นคันจิใหม่ที่มีความหมายใหม่ ตัวอย่างเช่น 峠 (ช่องเขา) เกิดจากการนำคันจิ 山 (ภูเขา), 上 (บน) และ 下 (ล่าง) มารวมกัน 休 (หยุดพัก) เกิดจากการนำคันจิ 人 (คน) และ 木 (ต้นไม้) มารวมกันเคเซโมจิ (形声文字)
เป็นคันจิที่นำคันจิที่แสดงความหมายกับส่วนที่แสดงเสียงมาประกอบกันเป็นคันจิใหม่ที่มีความหมายใหม่ คันจิประเภทนี้มีประมาณร้อยละ 90 ของคันจิทั้งหมดตัวอย่างเช่น คันจิที่ประกอบด้วยรูปร่าง 言 เช่น 語, 記, 訳, 説, ฯลฯ จะมีความหมายเกี่ยวข้องกับ"คำ/ภาษา/ความหมาย"เสมอ คันจิที่ประกอบด้วยรูปร่าง 雨 (ฝน) เช่น 雲, 電, 雷, 雪, 霜, ฯลฯ มักจะมีความหมายเกี่ยวข้องกับ"สภาพอากาศ" คันจิที่ประกอบด้วยรูปร่าง 寺 อยู่ทางขวา มักจะมีเสียงองว่า "shi" หรือ "ji" บางครั้งเราสามารถเดาความหมายหรือการอ่านจากรูปร่างของคันจิได้ อย่างไรก็ตามก็ยังมีข้อยกเว้น เช่น 需 และ 霊 ล้วนไม่มีความหมายเกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ และ 待 ก็มีเสียงองว่า "tai"
เท็นชูโมจิ (転注文字)
เป็นคันจิที่ใช้ในความหมายอื่นไม่ใช่ความหมายเดิมของคันจิตัวนั้นๆคะชะกุโมจิ (仮借文字)
เป็นคันจิที่ยืมมาแต่เสียงอ่านโดยไม่เกี่ยวข้องกับความหมายการเรียนคันจิ
กระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่นได้กำหนดอักษรคันจิที่ใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวันซึ่งใช้เป็นประจำ โดยกำหนดให้อยู่ในหลักสูตรการศึกษาของนักเรียนญี่ปุ่น เรียกว่าโจโยคันจิ (常用漢字) มีทั้งหมด 1,945 ตัว อย่างไรก็ตามคันจิที่ใช้ในชีวิตประจำวันมีมากกว่า 3,000 ตัว โดยเด็กนักเรียนญี่ปุ่นจะต้องจดจำคันจิที่อยู่นอกเหนือหลักสูตรเหล่านี้เอง คันจิที่นอกเหนือจากคันจิ เช่น คันจิที่ใช้เป็นชื่อคน (จินเมโยคันจิ 人名用漢字) หลักสูตรของเด็กนักเรียนญี่ปุ่นจะเริ่มเรียนตัวอักษรคันจิตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1 เริ่มต้นที่ประมาณ80ตัว เทียบเท่ากับการสอบวัดระดับคันจิระดับ 10 (คันจิเคนเต 漢字検定)โดยเด็กญี่ปุ่นจะเรียนพื้นฐานคันจิทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเสียงอง เสียงคุน โอะกุริงะนะ จำนวนขีด บุชุของอักษร การผสมคำ การใช้คำ ความหมาย เด็กญี่ปุ่นประมาณ ป.5-ป.6 ก็จะสามารถอ่านคันจิที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้หมดแล้วการเรียงลำดับของคันจิ
ลำดับของอักษรคันจิสามารถเรียงได้ตามลำดับดังนี้คือ
- ลำดับของบุชุ (部首)
- จำนวนขีด(総画数)
- เสียงของคันจิ
19 มีนาคม 2562
อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ
เฉลยแนวข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ
ดูข้อสอบที่นี่
18 เมษายน 2560
อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ
เนื้อเพลง Take You Home (바래다줄게)
: BAEKHYUN (백현) STATION
알아, 아무렇지도 않은 척해 봐도
อา รา อา มู รอ จี โด อา นึน ชอ เค บวา โดผมรู้ ถึงคุณจะทำเหมือนไม่มีอะไรก็เถอะ
기다린단 걸 애써 웃어 보는
คี ดา ริน ดัน กอล เอ ซอ อุ ซอ โบ นึน
คุณกำลังรอ กับเสียงหัวเหราะฝืนๆ
눈가에 묻은 슬픔
นุน กา เอ มู ดึน ซึล พึม
และความเศร้าในดวงตา
내가 어쩔 수 없단 걸
เน กา ออ จอล ซู ออบ ดัน กอล
ผมทำอะไรไม่ได้เลย
느낄 수 있어
นือ กิล ซู อิ ซอ
แต่ก็รู้สึกถึงมัน
괜찮아 미안하단 말
แควน ชา นา มี อัน ฮา ดัน มัล
ไม่เป็นไร ไม่ต้องขอโทษหรอก
곁에 있는 것만으로
คยอ เท อิท นึน กอท มา นือ โร
แค่ได้อยู่ข้างๆ คุณน่ะ
충분해, 하지 마
ชุง บู เน ฮา จี มา
ก็พอแล้ว ไม่เป็นไรเลย
아냐 됐다 그냥 네 맘
อา นยา ดเวท ดา คือ นยัง นี มัม
ถ้ามันจะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น
편하면 들어줄게
พยอ นา มยอน ทือ รอ จุล เก
ผมจะรับฟังคุณเอง
네 남자 아니지만
นี นัม จา อา นี จี มัน
ถึงผมจะไม่ใช่ผู้ชายของคุณ
조금만 지켜봐 줘 (I need you girl)
โช กึม มัน ชิ คยอ บวา จวอ (I need you girl)
แต่ก็ช่วยมองผมหน่อยนะ (I need you girl)
너의 그 사람 아니지만
นอ เอ คือ ซา รัม อา นี จี มัน
ถึงผมจะไม่ใช่คนๆ นั้นของคุณก็ตาม
너를 안아줄 순 없어도 널 집에 데려갈
นอ รึล อา นา จุล ซุน ออบ ซอ โด นอล ชิ เบ เท รยอ กัล
แม้จะโอบกอดคุณไว้ไม่ได้ แต่ผมก็เป็นผู้ชายไหล่กว้างคนนึง
넓은 등을 가진 그런 남자야
นอล บึน ทือ งึล คา จิน คือ รอน นัม จา ยา
ที่จะพาคุณกลับถึงบ้านได้
바래다줄게
พา เร ดา จุล เกผมจะไปส่งคุณเอง
내게 기대
เน เก คี เด
เชื่อผมนะ
아무렇지도 않은 척해 봐도
อา มู รอ จี โด อา นึน ชอ เค บวา โด
ถึงคุณจะทำเหมือนไม่มีอะไร
기다린단 걸 애써 미소 짓는
คี เด ริน ดัน กอล เอ ซอ มี โซ จิท นึน
คุณกำลังรอ กับรอยยิ้มนั้น
입가에 묻은 슬픔
อิบ กา เอ มู ดึน ซึล พึมที่แฝงไปด้วยความเศร้า
네가 어쩔 수 없단 걸
นี กา ออ จอล ซู ออบ ดัน กอล
ผมทำอะไรไม่ได้เลย
느낄 수 있어
นือ กิล ซู อิ ซอ
แต่ก็รู้สึกถึงมัน
괜찮아 미안하단 말
แควน ชา นา มี อัน ฮา ดัน มัล
ไม่เป็นไร ไม่ต้องขอโทษหรอก
곁에 있는 것만으로
คยอ เท อิท นึน กอท มา นือ โร
แค่ได้อยู่ข้างๆ คุณน่ะ
충분해, 하지 마
ชุง บู เน ฮา จี มา
ก็พอแล้ว ไม่เป็นไรเลย
아냐 됐다 그냥 네 맘
อา นยา ดเวท ดา คือ นยัง นี มัม
ถ้ามันจะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น
편하면 들어줄게
พยอ นา มยอน ทือ รอ จุล เกผมจะรับฟังคุณเอง
네 남자 아니지만
นี นัม จา อา นี จี มัน
ถึงผมจะไม่ใช่ผู้ชายของคุณ
조금만 지켜봐 줘 (I need you girl)
โช กึม มัน ชิ คยอ บวา จวอ (I need you girl)
แต่ก็ช่วยมองผมหน่อยนะ (I need you girl)
너의 그 사람 아니지만
นอ เอ คือ ซา รัม อา นี จี มันถึงผมจะไม่ใช่คนๆ นั้นของคุณก็ตาม
너를 안아줄 순 없어도 널 집에 데려갈
นอ รึล อา นา จุล ซุน ออบ ซอ โด นอล ชิ เบ เท รยอ กัล
แม้จะโอบกอดคุณไว้ไม่ได้ แต่ผมก็เป็นผู้ชายไหล่กว้างคนนึง
넓은 등을 가진 그런 남자야
นอล บึน ทือ งึล คา จิน คือ รอน นัม จา ยา
ที่จะพาคุณกลับถึงบ้านได้
바래다줄게
พา เร ดา จุล เก
ผมจะไปส่งคุณเอง
내게 기대
เน เก คี เด
เชื่อผมนะ
이 말도 안 되는 어설픈 위로만으로
อี มัล โด อัน ดเว นึน ออ ซอล พึน วี โร มา นือ โร
เขาไม่รู้ได้ยังไงกันนะ ว่าคุณจะยิ้ม
(힘이 되었단 걸 그때의 난)
(ฮี มี ดเว ออท ดัน กอล คือ เต เอ นัน)
(ที่ผมมอบความเข้มแข็งให้คุณได้)
널 웃게 할 수 있단 걸 그 앤 왜 모르는지
นอล อุท เก ฮัล ซู อิท ดัน กอล คือ เอน เว โม รือ นึน จี
กับเพียงแค่คำปลอบโยนตลกๆ พวกนี้
내 모습 그대로를
เน โม ซึบ คือ เด โร รึล
ผมจะเป็นแบบนี้แหละ
조금만 지켜봐 줘 (I love you girl)
โช กึม มัน ชี คยอ บวา จวอ (I love you girl)
ช่วยมองผมหน่อยนะ (I love you girl)
너의 그 사람 아니지만
นอ เอ คือ ซา รัม อา นี จี มัน
ถึงผมจะไม่ใช่คนๆ นั้นของคุณก็ตาม
지금 안아볼 순 없대도 네 곁을 지켜줄
ชี กึม อา นา บล ซุน ออบ เด โด นี คยอ ทึล ชี คยอ จุลถึงตอนนี้จะโอบกอดคุณไว้ไม่ได้ แต่ผมก็เป็นผู้ชายที่มีหัวใจคนนึง
넓은 맘을 가진 그런 남자야
นอล บึน มา มึล คา จิน คือ รอน นัม จา ยา
ผมจะปกป้องคุณเอง
바래다줄게
พา เร ดา จุล เกผมจะไปส่งคุณ
내게 기대
เน เก คี เด
เชื่อใจผมนะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)