สำรวจ |
แนะนำ |
สอบเข้า |
ออนไลน์ |
ผลการค้นหาสำหรับ มีน
Home » Tutor » ผลการค้นหาสำหรับ มีน
แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามความเกี่ยวข้องกับคำค้นหา มีน จัดเรียงตามวันที่ แสดงโพสต์ทั้งหมด
แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามความเกี่ยวข้องกับคำค้นหา มีน จัดเรียงตามวันที่ แสดงโพสต์ทั้งหมด
15 สิงหาคม 2558
อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ
พัฒนาการในญี่ปุ่น
แม้ว่าในอดีต ภาษาญี่ปุ่นจำเป็นต้องเขียนด้วยอักษรจีน แต่ในปัจจุบันก็มีความแตกต่างระหว่างอักษรคันจิของญี่ปุ่นและอักษรจีนอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ตัวอักษรที่ญี่ปุ่นประดิษฐ์ขึ้นเอง ตัวอักษรเดียวกันแต่มีความหมายภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่นต่างกัน และการย่ออักษรคันจิที่เรียกว่า ชินจิไท (新字体, 新字體 Shinjitai) หลังสงครามโลกครั้งที่สองโคะคุจิ
โคะคุจิ (ญี่ปุ่น: 国字 Kokuji ?) อันแปลว่า ตัวอักษรแห่งชาตินั้น หมายถึง ตัวอักษรคันจิที่ประดิษฐ์ขึ้นในญี่ปุ่น หรือ "วะเซคันจิ" (ญี่ปุ่น: 和製漢字 Wasei kanji ?) อักษรโคะคุจิมีอยู่หลายร้อยตัว แต่ใช้กันบ่อยๆเพียงไม่กี่ตัว ตัวอย่างของอักษรโคะคุจิที่ใช้กันทั่วไปมีดังต่อไปนี้- 峠 (とうげ tōge) แปลว่า สันเขา
- 榊 (さかき sakaki) แปลว่า ต้นซะคะคิ
- 畑 (はたけ hatake) แปลว่า ทุ่ง, ไร่
- 辻 (つじ tsuji) แปลว่า ถนน, ทางแยก
- 働 (どう dō, はたら(く) hatara(ku)) แปลว่า งาน, ทำงาน
- 腺 (せん sen) แปลว่า ต่อม (ตัวอักษรตัวนี้ได้นำไปเผยแพร่ในประเทศจีนด้วย)
คกคุน
คกคุน (ญี่ปุ่น: 国訓 Kokkun ?) หมายถึง ตัวอักษรจีน ที่ชาวญี่ปุ่นให้ความหมายภาษาญี่ปุ่นต่างไปจากความหมายดั้งเดิมในภาษาจีน ตัวอย่างเช่น- 藤 ภาษาญี่ปุ่น: fuji, ฟุจิ แปลว่า ต้นวิสเทอเรีย แต่ ภาษาจีนกลาง: téng, เติ๋ง แปลว่า หวาย, อ้อย
- 沖 ภาษาญี่ปุ่น: oki, โอะคิ แปลว่า ห่างจากชายฝั่ง แต่ ภาษาจีนกลาง: chōng, ชง แปลว่า ชำระล้าง
- 椿 ภาษาญี่ปุ่น: tsubaki, สึบะกิ แปลว่า ดอกคาเมลเลีย แต่ ภาษาจีนกลาง: chūn, ชุน แปลว่า ต้นไม้แห่งสวรรค์ (Ailanthus, ต้นไม้วงศ์มะยมป่า)
เสียงของคันจิ
เนื่องจากอักษรคันจิคืออักษรจีนที่นำมาใช้ในภาษาญี่ปุ่น อักษรคันจิหนึ่งจึงตัวอาจอ่านได้หลายแบบ อาจถึงสิบแบบหรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับรูปประโยค เป็นคำประสม หรือตำแหน่งคำในประโยคนั้นๆ การอ่านออกเสียงตัวอักษรคันจินั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ- เสียงอง (ญี่ปุ่น: 音読み on'yomi ?) แปลว่า อ่านเอาเสียง เป็นการออกเสียงคันจิของคำนั้นตามเสียงภาษาจีน
- เสียงคุน (ญี่ปุ่น: 訓読み kun'yomi ?) แปลว่า อ่านเอาความหมาย เป็นการออกเสียงคันจิของคำนั้นในภาษาญี่ปุ่น
เสียงอง (การอ่านแบบจีน)
องโยะมิ (ญี่ปุ่น: 音読み on'yomi ?) หรือ เสียงอง เป็นการอ่านคันจิในเสียงภาษาจีนแต่สำเนียงญี่ปุ่น ใช้สำหรับคำภาษาญี่ปุ่นที่ยืมจากภาษาจีน หรือ "คังโกะ" (漢語 Kango) ซึ่งคำเหล่านี้นำเข้ามาใช้ในญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยโบราณ จากหลากหลายภูมิภาคและยุคสมัยของจีน คำเดียวกันจึงออกเสียงต่างกันไป อย่างไรก็ตาม สำหรับอักษรคันจิที่ประดิษฐ์ขึ้นในญี่ปุ่นเอง จะไม่มีเสียงอง ยกเว้นคันจิบางตัว เช่น 働 ซึ่งแปลว่า ทำงาน นั้นมีทั้งเสียงองและเสียงคุน เสียงอง คือ dō และเสียงคุน คือ hatara(ku) ส่วน 腺 ที่แปลว่า ต่อม เป็นคันจิที่ญี่ปุ่นประดิษฐ์เอง แต่มีแต่เสียงอง คือ sen ไม่มีเสียงคุนองโยะมิ สามารถแบ่งได้ 4 กลุ่มดังนี้
- โกะอง (ญี่ปุ่น: 呉音 go-on ?) หรือ เสียงอู๋ เป็นการออกเสียงที่รับเข้ามาในยุคราชวงศ์เหนือใต้ของจีน หรืออาณาจักรแพกเจของเกาหลี ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 และคริสต์ศตวรรษที่ 6 "โกะ" หมายถึง แคว้นอู๋ หรือง่อก๊ก (บริเวณใกล้เคียงเมืองเซี่ยงไฮ้ในปัจจุบัน) แต่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับภาษาจีนอู๋แต่อย่างใด
- คันอง (ญี่ปุ่น: 漢音 kan-on ?) หรือ เสียงฮั่น เป็นการออกเสียงที่รับเข้ามาในยุคราชวงศ์ถัง ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 9 ส่วนใหญ่มาจากสำเนียงของเมืองหลวงในเวลานั้น คือ ฉางอาน (長安) ซึ่งปัจจุบันคือเมือง ซีอาน (西安) คำว่า "คัน" หมายถึง ชนชาติฮั่น (漢) อันเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศจีน
- โทอง (ญี่ปุ่น: 唐音 tō-on ?) หรือ เสียงถัง เป็นการออกเสียงที่รับเข้ามาในช่วงราชวงศ์หลังๆ ของจีน เช่น ราชวงศ์ซ่ง (宋) และ ราชวงศ์หมิง (明) การอ่านคันจิในยุคเฮอัง และยุคเอะโดะ จะอ่านตามสำเนียงนี้ หรือเรียกกันว่า "โทโซอง" (唐宋音, tōsō-on).
- คันโยอง (ญี่ปุ่น: 慣用音 kan'yō-on ?) แปลตามศัพท์ได้ว่า เสียงอ่านที่เป็นที่ยอมรับ เป็นการอ่านที่ออกเสียงผิดมาตั้งแต่เริ่มใช้คำคำนั้น แต่ได้ใช้กันต่อมาจนเป็นที่ยอมรับในที่สุด
(คำอ่านในวงเล็บเป็นคำอ่านที่ไม่ค่อยพบ)
การอ่านคันจิ ตามเสียงองส่วนมาก จะเป็นเสียงคันอง สำหรับโกะอง จะอยู่ในศัพท์ทางพุทธศาสนา เช่น 極楽 (gokuraku, สวรรค์) และอยู่ในคำภาษาญี่ปุ่นที่ยืมจากภาษาจีน (คังโกะ) ยุคแรก เช่น ตัวเลข เป็นต้น ส่วนโทองนั้น อยู่ในคันจิยุคหลังๆบางคำ เช่น 椅子 (isu, เก้าอี้) 布団 (futon, ฟูกปูนอน) และ 行灯 (andon, โคมกระดาษ) เป็นต้น
ในภาษาจีน อักษรจีนหนึ่งตัวส่วนมากจะอ่านได้เพียงเสียงเดียว ยกเว้น อักษรบางตัวอ่านได้หลายเสียงและให้ความหมายต่างกัน หรือเป็นคำพ้องรูป (ภาษาจีนกลาง: 多音字, duōyīnzì) เช่น 行 (พินอิน: háng แปลว่า แถว, มืออาชีพ หรือ xíng แปลว่า เดินทาง, ปฏิบัติ) (ภาษาญี่ปุ่น: gō, gyō) ซึ่งคุณลักษณะนี้ ได้ถ่ายทอดสู่ภาษาญี่ปุ่นเช่นกัน
นอกจากนี้ คำภาษาจีนยุคกลาง (ภาษาจีนกลาง:中古漢語, Zhōnggǔ Hànyǔ, Middle Chinese) บางคำจะมี Entering tone (入聲, rùshēng) คือเสียงของคำที่สะกดด้วย ป, ต, ก คล้ายกับคำตายในภาษาไทย คุณลักษณะนี้ไม่มีในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งมีระบบเสียงพยางค์เป็นแบบพยัญชนะ-สระ (Consonant-Vowel, CV) หรือกล่าวง่ายๆว่าภาษาญี่ปุ่นไม่มีตัวสะกดนั่นเอง ดังนั้น เสียงองของคำเหล่านี้ จึงต้องประกอบด้วย 2 ช่วงเสียง (Mora) ในพยางค์เดียว แต่ช่วงเสียงหลังเป็นเสียงที่เบากว่าช่วงเสียงแรก ช่วงเสียงหลังนี้ มักจะใช้เสียง i, ku, ki, tsu, chi หรือ n เสียงใดเสียงหนึ่ง แทนเสียงตัวสะกดของคำยืมจากภาษาจีนยุคกลางดังกล่าว อาจเป็นไปได้ว่า เสียงควบ หรือโยอง (拗音, Yōon) ในภาษาญี่ปุ่น มีที่มาจากการยืมคำภาษาจีน เนื่องจากคำภาษาญี่ปุ่นดั้งเดิมไม่มีคุณลักษณะนี้
เสียงองมักจะอยู่ในคำประสมที่เขียนด้วยคันจิสองตัว (熟語, Jukugo) โดยชาวญี่ปุ่นได้ยืมคำภาษาจีนเหล่านี้มาใช้ ซึ่งเหมือนกับการที่ภาษาไทย ยืมคำภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมรมาใช้ การยืมภาษาอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ภาษาดั้งเดิมยังไม่มีคำให้เรียกสิ่งนั้น ยืดยาวไม่กระชับ ไม่เฉพาะเจาะจง หรือไม่ไพเราะ คำยืมจะให้ความรู้สึกไพเราะ เป็นทางการ และหรูหรามากหว่า แต่หลักการอ่านคำประสมนี้ไม่ครอบคลุมถึงการอ่านชื่อของชาวญี่ปุ่นทั่วไป ที่นามสกุล หรือชื่อ หรือทั้งนามสกุลและชื่อ ประกอบด้วยอักษรคันจิสองตัว แต่จะอ่านด้วยเสียงคุน (อย่างไรก็ตาม เสียงองก็ยังพบได้ในชื่อตัว โดยเฉพาะชื่อตัวของผู้ชาย)
เสียงคุน (การอ่านแบบญี่ปุ่น)
คุนโยะมิ (ญี่ปุ่น: 訓読み Kun'yomi ?) หรือ เสียงคุน แปลตามตัวอักษรได้ว่า อ่านเอาความหมาย เป็นการอ่านคันจิโดยใช้คำภาษาญี่ปุ่นดั้งเดิม หรือยะมะโตะโคะโตะบะ (大和言葉 Yamato kotoba) ที่มีความหมายใกล้เคียงกับตัวอักษรจีนนั้น คันจิหนึ่งตัวสามารถมีเสียงคุนได้หลายเสียงเช่นเดียวกับเสียงอง แต่คันจิบางตัวไม่มีเสียงคุนเลยก็ได้ตัวอย่างเช่น 東 ที่แปลว่า ทิศตะวันออก มีเสียงองคือ tō แต่ภาษาญี่ปุ่นก็มีคำที่แปลว่าทิศตะวันออกอยู่แล้ว คือ higashi และ azuma ดังนั้นเสียงคุนของ 東 คือ higashi และ azuma ในทางตรงกันข้าม 寸 (ภาษาจีนกลาง: cùn) ซึ่งหมายถึง หน่วยวัดความยาวหน่วยหนึ่งของจีน (ประมาณ 30 มิลลิเมตร หรือ 1.2 นิ้ว) ญี่ปุ่นไม่มีหน่วยที่สามารถเทียบได้ คันจิตัวนี้จึงมีแต่เสียงอง คือ sun และไม่มีเสียงคุน อักษรโคะคุจิ (อักษรคันจิที่ประดิษฐ์ขึ้นในญี่ปุ่น) จะมีแค่เสียงคุน ไม่มีเสียงอง
เสียงคุน มีโครงสร้างพยางค์แบบ(พยัญชนะ)สระ หรือ (C)V ซึ่งเป็นโครงสร้างพยางค์ของคำญี่ปุ่นแท้ (ยะมะโตะโคะโตะบะ) เสียงคุนของคำนามและคำคุณศัพท์ปกติจะยาว 2-3 พยางค์ ในขณะที่ เสียงคุนของคำกริยายาว 1-2 พยางค์ โดยจะไม่นับอักษรฮิระงะนะเรียกว่า โอะกุริงะนะ ซึ่งอยู่ท้ายคันจิ เนื่องจากโอะกุริงะนะเป็นเพียงตัวเสริมคำ ไม่ได้เป็นเสียงหนึ่งของคันจิตัวนั้น ผู้ที่เพิ่งเริ่มศึกษาคันจิมักจะจดจำการอ่านคันจิที่มีเสียงคุนหลายพยางค์ได้ยาก อย่างไรก็ตาม คันจิที่มีเสียงคุน 3-4 พยางค์หรือมากกว่านั้นก็มีอยู่น้อย ตัวอย่างเช่น 承る (uketamawaru ได้ยิน รับรู้) และ 志 (kokorozashi ความตั้งใจ ) มีเสียงคุน 5 พยางค์ในคันจิตัวเดียว ถือเป็นคันจิที่มีเสียงคุนยาวที่สุดในคันจิชุดโจโยคันจิ
ในหลายกรณี คำภาษาญี่ปุ่นคำเดียวอาจเขียนได้ด้วยคันจิหลายตัว โดยเมื่อเขียนต่างกัน ก็จะให้ความรู้สึกของคำต่างกัน แต่ความหมายใกล้เคียงกัน ตัวอย่างเช่น คำว่า なおす(naosu) เมื่อเขียนด้วย 治す จะแปลว่า "รักษาอาการป่วย" แต่เมื่อเขียนด้วย 直す จะแปลว่า "ซ่อมแซม หรือแก้ไข" บางครั้ง เมื่อเขียนต่างกัน ความหมายก็ต่างกันอย่างชัดเจน แต่ก็ไม่เสมอไป นักวิชาการผู้เขียนหนังสืออ้างอิงต่างๆ เช่น พจนานุกรม ก็อาจมีความเห็นต่อคันจิประเภทนี้ต่างกัน พจนานุกรมเล่มหนึ่งบอกว่าความหมายคล้ายกัน อีกเล่มอาจบอกว่าต่างกันก็ได้ ดังนั้น ชาวญี่ปุ่นเองก็อาจสับสนได้ว่าควรจะใช้คันจิตัวไหนในการเขียนคำประเภทนี้ จนสุดท้าย เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดในการใช้คันจิ ก็ต้องเขียนเป็นฮิระงะนะในที่สุด ตัวอย่างของคำที่เขียนได้ด้วยคันจิอีกคำ คือ もと (moto) เขียนได้ด้วยคันจิอย่างน้อย 5 ตัว ได้แก่ 元, 基, 本, 下, และ 素 ซึ่งมีคันจิ 3 ตัวที่มีความหมายแทบไม่ต่างกัน
การอ่านคันจิด้วยภาษาท้องถิ่นของญี่ปุ่น ก็จัดอยู่ในเสียงคุนเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษาริวกันอัน ในแถบหมู่เกาะทางใต้ของญี่ปุ่น
เสียงอ่านแบบอื่นๆ
จูบะโกะ (ญี่ปุ่น: 重箱 jūbako) หรือ ยุโต ญี่ปุ่น: 湯桶 yutō ?) คือ คำประสมคันจิหลายตัวที่อ่านด้วยเสียงองและเสียงคุนผสมกัน ซึ่งชื่อทั้งสองเองก็เป็นคำประสมประเภทนี้ด้วยเช่นกัน โดยคำประเภทจูบะโกะ คันจิตัวแรกจะอ่านด้วยเสียงอง และตัวหลังอ่านด้วยเสียงคุน แต่คำแบบยุโต จะอ่านผสมทั้งเสียงองและเสียงคุน ตัวอย่างเช่น 場所 (basho, คุน-อง สถานที่) 金色 (kin'iro, อง-คุน สีทอง) และ 合気道 (aikidō, คุน-อง-อง ไอคิโด) เป็นต้นนะโนะริ (ญี่ปุ่น: 名乗り nanori ?) คือ คันจิบางตัวที่ไม่ค่อยมีผู้รู้วิธีอ่าน มักจะใช้กับชื่อบุคคล และมันจะอ่านด้วยเสียงคุน บางครั้งก็ใช้กับชื่อสถานที่ ซึ่งอ่านแบบพิเศษ และไม่ใช้กับสิ่งอื่น
กิคุน (ญี่ปุ่น: 義訓 gikun ?) หรืออีกชื่อคือ จุคุจิคุน (ญี่ปุ่น: 熟字訓 jukujikun ?) คือ การอ่านคำประสมคันจิที่ไม่ได้ไม่ได้แยกตามคันจิแต่ละตัว และไม่คำนึงว่าคันจิตัวนั้นจะออกเสียงองหรือเสียงคุน แต่จะอ่านด้วยคำภาษาญี่ปุ่นดั้งเดิมตามความหมายของคำประสมนั้น ตัวอย่างเช่น 今朝 (เช้านี้) ไม่ได้อ่านว่า ima'asa (เสียงคุน) หรือ konchō (เสียงอง) แต่จะอ่านด้วยภาษาญี่ปุ่นดั้งเดิม 2 พยางค์ว่า kesa (เช้านี้)
อะเตะจิ (ญี่ปุ่น: 当て字, 宛字 ateji ?) คือ คันจิที่ใช้เขียนคำยืมจากภาษาต่างประเทศ โดยใช้แทนเสียงมากกว่าความหมาย ซึ่งมีลักษณะคล้ายมันโยงะนะ ตัวอย่างเช่น 亜細亜 (ajia) ในสมัยก่อนใช้เขียนคำว่า เอเชีย จนในปัจจุบัน ใช้ 亜 เขียนในคำประสม เพื่อแทนความหมายถึงทวีปเอเชีย เช่น 東亜 (tōa เอเชียตะวันออก) อีกคำหนึ่งคือ 亜米利加 (amerika อเมริกา) ตัวอักษร 米 ถูกหยิบมาใช้ เพื่อประสมกับ 国 (koku ประเทศ) กลายเป็น 米国 (beikoku สหรัฐอเมริกา) เป็นคำระดับพิธีการ
ควรอ่านด้วยเสียงใด?
แม้ว่าจะมีหลักการการอ่านคันจิว่าเมื่อใดควรอ่านเป็นเสียงองหรือเสียงคุน แต่ก็ยังคงมีข้อยกเว้น แม้แต่ชาวญี่ปุ่นผู้เป็นเจ้าของภาษาเองก็ยังยากที่จะอ่านคันจิโดยไม่มีความรู้มาก่อน โดยเฉพาะชื่อบุคคลและสถานที่กฎข้อแรกคือ ถ้ามีอักษรคันจิตัวเดียว หรือมีอักษรโอะกุริงะนะตามหลังเพื่อการผันคำเป็นคำกริยาหรือคำคุณศัพท์ คันจิตัวนั้นมักจะอ่านด้วยเสียงคุน ตัวอย่างเช่น 月 (tsuki พระจันทร์) 情け (nasake ความเห็นใจ) 赤い (akai แดง) 新しい (atarashii ใหม่) 見る (miru ดู) 必ず (kanarazu แน่นอน) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อาจมีข้อยกเว้นสำหรับบางคำ
ถ้ามีอักษรคันจิสองตัว ประกอบกันเป็นคำประสม (熟語 jukugo) มักจะอ่านด้วยเสียงอง ตัวอย่างเช่น 情報 (jōhō ข้อมูล) 学校 (gakkō โรงเรียน) และ 新幹線 (shinkansen รถไฟชินคันเซ็น) เป็นต้น คำประสมคันจิหลายตัวบางคำ ออกเสียงต่างไปจากเมื่อคันจิตัวนั้นอยู่ตัวเดียวโดยสิ้นเชิง แต่ความหมายของคันจิตัวนั้นยังคงเดิม
ตัวอย่างเช่น 北 (ทิศเหนือ) และ 東 (ทิศตะวันออก) เมื่ออยู่ตัวเดียวจะอ่านด้วยเสียงคุนว่า kita และ higashi ตามลำดับ แต่เมื่อประกอบกันเป็นคำประสม 北東 (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) จะอ่านเป็นเสียงองว่า hokutō อย่างไรก็ตาม คันจิหนึ่งตัวอาจมีเสียงองหลายเสียง เมื่อคันจิตัวนั้นไปประสมในคำต่างกัน ก็อาจออกเสียงต่างกันด้วยก็ได้ เช่น 生 เมื่อไปประกอบเป็นคำว่า 先生 (sensei ครู) จะอ่านว่า sei แต่ถ้าไปประกอบเป็นคำว่า 一生 (isshō ทั้งชีวิต) จะอ่านว่า shō
บางครั้ง ความหมายของคำจะเป็นตัวกำหนดเสียงอ่านด้วย เช่น 易 เมื่อแปลว่า ง่าย จะอ่านว่า i แต่ถ้าแปลว่า การพยากรณ์ จะอ่านว่า eki ทั้งคู่เป็นเสียงอง
อย่างไรก็ตาม มีคำประสมจำนวนหนึ่งที่อ่านด้วยเสียงคุน แต่มีจำนวนไม่มากนัก ตัวอย่างเช่น 手紙 (tegami จดหมาย) และ 神風 (kamikaze กามิกาเซ่) เป็นต้น คำประสมบางคำอาจมีอักษรโอะกุริงะนะผสมอยู่ด้วย เช่น 空揚げ (karaage ไก่ทอดแบบจีน) และ 折り紙 (origami โอะริงะมิ) โดยอาจตัดโอะกุริงะนะ แต่ก็ได้ความหมายคงเดิม (นั่นคือ 空揚 และ 折紙)
คันจิบางตัว แม้อยู่ตัวเดียวก็อ่านด้วยเสียงอง เช่น 愛 (ai รัก) 禅 (zen นิกายเซน) 点 (ten คะแนน, จุด) ส่วนมาก คันจิเหล่านี้มักไม่มีเสียงคุน อย่างไรก็ตาม ยังคงมีข้อยกเว้นเช่นกัน ตัวอย่างเช่น 金 เมื่อหมายถึง เงินตรา, โลหะ จะอ่านด้วยเสียงคุนว่า kane แต่ถ้าหมายถึง ทอง จะอ่านว่า kin ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริบทของประโยค ว่าจะหมายถึงอะไร
เมื่ออักษรคันจิหนึ่งตัว อ่านได้หลายแบบ ทำให้เกิดคำพ้องรูปขึ้นมา ในบางครั้ง เมื่ออ่านต่างกัน อาจให้ความหมายต่างกันด้วย เช่น 上手 ซึ่งสามารถอ่านได้ 3 แบบ ได้แก่ jōzu (ชำนาญ) uwate (ส่วนบน) kamite (ส่วนบน) และ 上手い อ่านว่า umai (ชำนาญ) ในกรณีหลัง เป็นการเติมฟุริงะนะเพื่อลดความกำกวมชองคำนั้น
คำประสมแบบจูบะโกะ (重箱 jūbako) หรือ ยุโต (湯桶 yutō) คือ คำประสมคันจิหลายตัวที่อ่านด้วยเสียงองและเสียงคุนผสมกัน ซึ่งกล่าวไปแล้วในหัวข้อข้างบนนั้น ไปค่อยพบมากนัก โดยความเป็นจริงแล้ว เสียงของคำประสมที่เป็นไปได้ มี 4 ชนิด ได้แก่ อง-อง คุน-คุน คุน-อง และ อง-คุน
ชื่อสถานที่ที่มีชื่อเสียง เช่น กรุงโตเกียว (東京 Tōkyō) และประเทศญี่ปุ่น (日本 Nihon หรือ Nippon) นั้นอ่านด้วยเสียงอง อย่างไรก็ตาม ชื่อสถานที่ส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นมักอ่านด้วยเสียงคุน เช่น 大阪 (Ōsaka โอซะกะ) 青森 (Aomori อะโอะโมะริ) และ 箱根 (Hakone ฮาโกเนะ) เป็นต้น นอกจากนี้ เมื่อคันจิของชื่อเมืองถูกหยิบไปใช้ในลักษณะชื่อย่อ อาจจะอ่านไม่เหมือนเดิม เช่น ชื่อมหาวิทยาลัยบางแห่ง อย่าง มหาวิทยาลัยโอซะกะ (大阪大学 Ōsaka daigaku) มีชื่อย่อคือ 阪大 (Handai) มหาวิทยาลัยวาเซดะ (早稲田大学 Waseda Daigaku) มีชื่อย่อคือ 早大 (Sōdai) จะเห็นได้ว่าเมื่อเป็นชื่อเต็ม จะอ่านด้วยเสียงคุน แต่เมื่อย่อเหลือคันจิสองตัว จะอ่านด้วยเสียงอง ยกเว้น มหาวิทยาลัยโตเกียว (東京大学 Tōkyō Daigaku) มีชื่อย่อคือ 東大 (Tōdai) เนื่องจาก Tō เป็นเสียงองของ 東 อยู่แล้ว
นามสกุลของชาวญี่ปุ่น ปกติมักจะอ่านด้วยเสียงคุน เช่น 山田 (Yamada) 田中 (Tanaka) 鈴木 (Suzuki) เป็นต้น ส่วนชื่อตัวนั้น แม้จะไม่ถูกจัดเป็นคำแบบจูบะโกะ (重箱 jūbako) หรือ ยุโต (湯桶 yutō) ก็ตาม แต่ก็มักมีทั้งเสียงคุน เสียงอง และนะโนะริ (名乗り nanori) รวมกัน เช่น 大助 (Daisuke อง-คุน) 夏美 (Natsumi คุน-อง) เป็นต้น ทั้งนี้ มักขึ้นอยู่กับพ่อแม่ผู้ตั้งชื่อลูกของตนเองว่าต้องการให้อ่านแบบใด โดยไม่ขึ้นกับกฎเกณฑ์ และยากที่จะอ่านโดยไม่มีคำอ่านกำกับ พ่อแม่บางคนอาจตั้งชื่อให้ลูกด้วยคำวิลิศมาหรา เช่น 地球 (Āsu) และ 天使 (Enjeru) ซึ่งตามปกติควรอ่านว่า chikyū (แปลว่า โลก) และ tenshi (แปลว่า เทวดา) ตามลำดับ แต่ชื่อทั้งคู่ก็ไม่พบเห็นกันเท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม ชื่อชาวญี่ปุ่นส่วนมากมักอยู่ในรูปแบบเรียบง่ายและตั้งซ้ำๆกันใน แต่ผู้อ่านก็ควรศึกษาการอ่านชื่อมาก่อน เพิ่มให้ง่ายต่อการเดาวิธีอ่าน
ตัวช่วยในการอ่าน
เนื่องจากการอ่านคันจิมีความกำกวม บางครั้ง จึงมีการเขียนอักษรประกอบคำ (Ruby character) ขึ้นซึ่งเรียกว่า ฟุริงะนะ (振り仮名 furigana) เป็นอักษรคะนะ เขียนไว้ด้านบนหรือด้านขวาของตัวอักษรเพื่อบอกเสียงอ่านของคันจิตัวนั้น โดยเฉพาะในหนังสือสำหรับเด็ก หนังสือเรียนสำหรับชาวต่างชาติ และมังงะ มักจะมีฟุริงะนะกำกับอักษรคันจิอยู่เสมอ นอกจากนี้ ยังใช้ในหนังสือพิมพ์ สำหรับอักษรคันจิตัวที่ไม่ค่อยพบ หรืออ่านแปลกๆ หรือไม่รวมอยู่ในชุดอักษรคันจิที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่เรียกว่า โจโยคันจิ (常用漢字 Jōyō kanji ?จำนวนอักษรคันจิ
ยังเป็นที่โต้เถียงว่า จำนวนอักษรจีนหรืออักษรคันจิมีทั้งหมดกี่ตัว พจนานุกรมไดคันวะ จิเตน (大漢和辞典 Dai Kan-Wa jiten แปลว่า มหาพจนานุกรมจีนญี่ปุ่น) ได้รวบรวมอักษรคันจิไว้ประมาณ 50,000 ตัว ซึ่งถือว่าครอบคลุมมาก ส่วนในประเทศจีน มีพจนานุกรมภาษาจีนเล่มหนึ่งรวมรวมไว้ถึง 100,000 ตัว ซึ่งรวมถึงอักษรที่มีรูปแบบครุนเครือด้วย แต่อักษรคันจิที่ใช้กันจริงในประเทศญี่ปุ่นมีอยู่เพียงประมาณ 2,000-3,000 ตัวเท่านั้นการปฏิรูปและชุดอักษรคันจิ
ใน พ.ศ. 2489 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ปฏิรูปอักขรวิธีของภาษาญี่ปุ่น เพื่อให้เยาวชนสามารถศึกษาภาษาญี่ปุ่นได้ง่ายขึ้น การปฏิรูปครั้งนี้รวมถึงปฏิรูปอักษรคันจิที่ใช้ในงานเขียนต่าง ๆ ด้วย จำนวนอักษรคันจิที่จะใช้ถูกกำหนดให้น้อยลง มีการประกาศชุดอักษรคันจิอย่างเป็นทางการ โดยกำหนดว่านักเรียนระดับชั้นต่าง ๆ ต้องเรียนรู้คันจิตัวไหนบ้าง อักษรคันจิบางตัวถูกย่อให้มีขีดน้อยลงและเขียนง่ายขึ้น คันจิแบบย่อนี้เรียกว่า "ชินจิไต" (新字体 shinjitai) หรือ รูปแบบอักษรใหม่ ซึ่งคันจิแบบย่อบางตัวจะมีลักษณะเหมือนกับ อักษรจีนตัวย่อ ในการปฏิรูปครั้งนี้ อักษรคันจิถูกกำหนดให้มีรูปแบบเป็นมาตรฐานแน่นอน คันจิที่มีรูปแบบครุมเครือก็ถูกประกาศเลิกใช้อย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม อักษรคันจิที่ไม่ได้อยู่ในชุดมาตรฐาน ที่เรียกว่า "เฮียวไงจิ" (表外字 hyōgaiji) ก็ยังคงใช้กันอยู่โดยทั่วไปชุดอักษรคันจิ มีดังต่อไปนี้
เคียวอิคุคันจิ (教育漢字 Kyōiku kanji)
เคียวอิคุคันจิ (ญี่ปุ่น: 教育漢字 Kyōiku kanji ?) หรือ "คันจิเพื่อการศึกษา" ประกอบด้วย อักษรคันจิ 1,006 ตัว สำหรับสอนในโรงเรียนประถมศึกษา โดยเริ่มแรก มีอักษรคันจิ 881 ตัว จนเมื่อ พ.ศ. 2524 ได้เพิ่มเป็น 1,006 ตัวดังปัจจุบัน อักษรคันจิชุดนี้ถูกแบ่งชุดอักษรย่อย เรียกกันว่า ชุดอักษรคันจิแบ่งตามระดับชั้นเรียน (学年別漢字配当表 Gakunen-betsu kanji haitōhyō หรือ gakushū kanji) โดยแบ่งว่า นักเรียนระดับชั้นไหน ต้องเรียนรู้คันจิตัวใดบ้างโจโยคันจิ (常用漢字 Jōyō kanji)
โจโยคันจิ (ญี่ปุ่น: 常用漢字 Jōyō kanji ?) หรือ "คันจิในชีวิตประจำวัน" ประกอบด้วย อักษรคันจิ 1,945 ตัว ซึ่งรวมเคียวอิคุคันจิอยู่ด้วย และเพิ่มคันจิอีก 939 ตัวที่สอนในโรงเรียนมัธยม ในงานพิมพ์ต่างๆ อักษรคันจิที่อยู่นอกโจโยคันจิ มักจะมีฟุริงะนะกำกับอยู่ โจโยคันจิประกาศใช้ใน พ.ศ. 2524 เพื่อแทนที่ชุดอักษรคันจิเก่าที่เรียกว่า โทโยคันจิ (当用漢字 Tōyō kanji) หรือ "คันจิที่ใช้ทั่วไป" ซึ่งใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2489 กระทรวงการศึกษา วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้ปรับปรุงจำนวนอักษรคันจิในโจโยคันจิมาโดยตลอด โดยอยู่บนหลักการที่ว่า "อักษรคันจิตัวนั้น จำเป็นต้องรู้ และใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน"จินเมโยคันจิ (人名用漢字 Jinmeiyō kanji)
จินเมโยคันจิ (ญี่ปุ่น: 人名用漢字 Jinmeiyō kanji ?) หรือ "คันจิสำหรับชื่อบุคคล" ประกอบด้วย อักษรคันจิ 2,928 ตัว โดยมีโจโยคันจิและอักษรคันจิเพิ่มอีก 983 ตัวที่พบในชื่อบุคคล อักษรคันจิชุดนี้ ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2495 เมื่อแรกเริ่ม มีอักษรคันจิเพียง 92 ตัว แต่ได้มีการประกาศเพิ่มตัวอักษรบ่อยครั้ง จนมีจำนวนเท่ากับปัจจุบัน เมื่อเอ่ยถึงตัวอักษรชุดจินเมโยคันจิ อาจหมายถึงตัวอักษรทั้ง 2,928 ตัว หรือหมายถึงแค่ 983 ตัวที่ใช้สำหรับชื่อบุคคลเท่านั้นก็ได้เฮียวไกจิ (表外字 Hyōgaiji)
เฮียวไกจิ (ญี่ปุ่น: 表外字 Hyōgaiji ?) หรือ "ตัวอักษรนอกรายชื่อ" หมายถึง อักษรคันจิที่ไม่ได้อยู่ในชุดโจโยคันจิและจินเมโยคันจิ อักษรคันจิประเภทนี้ มักเป็นอักษรจีนตัวเต็ม แต่บางครั้ง อาจเป็นอักษรชินจิไตแบบขยาย (拡張新字体 kakuchō shinjitai) ก็ได้ประเภทของคันจิ
ประเภทของคันจิ แบ่งได้ 6 ประเภท คือโชเกโมจิ (象形文字)
เป็นคันจิที่กำเนิดขึ้นแรกสุดแสดงรูปลักษณะของสิ่งต่างๆส่วนใหญ่เป็นชื่อสิ่งของ คันจิประเภทนี้มีประมาณ 600 ตัว ตัวอย่างเช่น 目 แปลว่า ตา, 木 แปลว่า ต้นไม้ชิจิโมจิ (指事文字)
เป็นคันจิที่ใช้ในรูปลักษณะต่างๆแสดงความหมายสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสิ่งที่ไม่มีรูปโดยใช้ขีดหรือเส้น และในบางครั้งจะนำ โชเกโมจิ (象形文字) มาประสมด้วย คันจิประเภทนี้มี ประมาณ 135 ตัว ตัวอย่างเช่น 上 แปลว่า บน, 下 แปลว่า ล่างไคอิโมจิ (会意文字)
เป็นคันจิที่นำคันจิที่สำเร็จรูปแล้วมาประกอบกันเป็นคันจิใหม่ที่มีความหมายใหม่ ตัวอย่างเช่น 峠 (ช่องเขา) เกิดจากการนำคันจิ 山 (ภูเขา), 上 (บน) และ 下 (ล่าง) มารวมกัน 休 (หยุดพัก) เกิดจากการนำคันจิ 人 (คน) และ 木 (ต้นไม้) มารวมกันเคเซโมจิ (形声文字)
เป็นคันจิที่นำคันจิที่แสดงความหมายกับส่วนที่แสดงเสียงมาประกอบกันเป็นคันจิใหม่ที่มีความหมายใหม่ คันจิประเภทนี้มีประมาณร้อยละ 90 ของคันจิทั้งหมดตัวอย่างเช่น คันจิที่ประกอบด้วยรูปร่าง 言 เช่น 語, 記, 訳, 説, ฯลฯ จะมีความหมายเกี่ยวข้องกับ"คำ/ภาษา/ความหมาย"เสมอ คันจิที่ประกอบด้วยรูปร่าง 雨 (ฝน) เช่น 雲, 電, 雷, 雪, 霜, ฯลฯ มักจะมีความหมายเกี่ยวข้องกับ"สภาพอากาศ" คันจิที่ประกอบด้วยรูปร่าง 寺 อยู่ทางขวา มักจะมีเสียงองว่า "shi" หรือ "ji" บางครั้งเราสามารถเดาความหมายหรือการอ่านจากรูปร่างของคันจิได้ อย่างไรก็ตามก็ยังมีข้อยกเว้น เช่น 需 และ 霊 ล้วนไม่มีความหมายเกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ และ 待 ก็มีเสียงองว่า "tai"
เท็นชูโมจิ (転注文字)
เป็นคันจิที่ใช้ในความหมายอื่นไม่ใช่ความหมายเดิมของคันจิตัวนั้นๆคะชะกุโมจิ (仮借文字)
เป็นคันจิที่ยืมมาแต่เสียงอ่านโดยไม่เกี่ยวข้องกับความหมายการเรียนคันจิ
กระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่นได้กำหนดอักษรคันจิที่ใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวันซึ่งใช้เป็นประจำ โดยกำหนดให้อยู่ในหลักสูตรการศึกษาของนักเรียนญี่ปุ่น เรียกว่าโจโยคันจิ (常用漢字) มีทั้งหมด 1,945 ตัว อย่างไรก็ตามคันจิที่ใช้ในชีวิตประจำวันมีมากกว่า 3,000 ตัว โดยเด็กนักเรียนญี่ปุ่นจะต้องจดจำคันจิที่อยู่นอกเหนือหลักสูตรเหล่านี้เอง คันจิที่นอกเหนือจากคันจิ เช่น คันจิที่ใช้เป็นชื่อคน (จินเมโยคันจิ 人名用漢字) หลักสูตรของเด็กนักเรียนญี่ปุ่นจะเริ่มเรียนตัวอักษรคันจิตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1 เริ่มต้นที่ประมาณ80ตัว เทียบเท่ากับการสอบวัดระดับคันจิระดับ 10 (คันจิเคนเต 漢字検定)โดยเด็กญี่ปุ่นจะเรียนพื้นฐานคันจิทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเสียงอง เสียงคุน โอะกุริงะนะ จำนวนขีด บุชุของอักษร การผสมคำ การใช้คำ ความหมาย เด็กญี่ปุ่นประมาณ ป.5-ป.6 ก็จะสามารถอ่านคันจิที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้หมดแล้วการเรียงลำดับของคันจิ
ลำดับของอักษรคันจิสามารถเรียงได้ตามลำดับดังนี้คือ
- ลำดับของบุชุ (部首)
- จำนวนขีด(総画数)
- เสียงของคันจิ
31 มกราคม 2562
19 เมษายน 2560
อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ
สถานที่ช้อปปิ้งยอดนิยมในประเทศจีน (เมืองกวางโจว)
กวางโจวหรือ กว่างโจว กวางเจา เป็นเมืองเอกของมณฑลกวางตุ้ง กวางโจวเป็นเมืองใหญ่สุดทางภาคใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีนเนื่องจากเป็นมณฑลซึ่งเป็นที่ตั้งของเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 3 แห่งของจีน คือ เซินเจิ้น จูไห่ และ ซัวเถา นอกจากนั้นเมืองกว่างโจวยังมีสำเนียงเฉพาะถิ่นที่ถือว่าเป็นมาตรฐานของ ฮ่องกง และมาเก๊า เรียกว่า สำเนียงกว่างโจวอีกด้วย เมืองกว่างโจวตั้งอยู่ปากแม่น้ำจูเจียง และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีความประวัติศาสตร์ ยาวนานกว่า 2,800 ปี เป็นจุดเริ่มของเส้นทางสายไหมทางทะเลในครั้งอดีต และยังเคยเป็นเมืองท่าเสรีแห่งแรกและแห่งเดียวที่เปิดต้อนรับชาวตะวันตกที่เข้ามาติดต่อค้าขาย
การเดินทาง ที่กวางโจวมีบัตรสำหรับการเดินทางและการใช้จ่ายในบัตรใบเดียวที่เรียกว่าบัตร “หยางเฉิงทง” หาซื้อได้จากเคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋วที่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เพียงพูดคำว่า“หยางเฉิงทงข่า” ราคาซื้ออยู่ที่ 80 หยวน เป็นค่ามัดจำ 30 หยวน มูลค่าที่ใช้ได้ 50 หยวน การเติมเงินต้องเติมที่ร้านค้าสะดวกซื้อที่มีสัญลักษณ์คล้ายรูปตัว V ที่อยู่บนบัตร ซึ่งร้าน 7-Eleven ส่วนใหญ่ก็รับเติมทั้งนั้น การเติมเงินไม่ต้องพูดอะไรมากโชว์บัตรและเงินที่ต้องการเติม (เติมขั้นต่ำ 50 หยวน) พนักงานก็จะให้แตะบัตรที่เครื่องตรงเคาน์เตอร์เหมือน 7-Eleven บ้านเรา ส่วนการคืนบัตรเพื่อขอค่ามัดจำ 30 หยวนคืน มี 4 จุด แต่ที่สะดวกคืนจะอยู่ที่สถานีรถไฟฟ้า Tiyu Xi Lu ทางออก G และสถานี Gongyuanquian ทางออก J
เมืองกวางโจวมีตลาดค้าส่งที่ขายสินค้าอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นตลาดค้าส่งเสื้อผ้าแฟชั่น ของกิฟต์ช็อป เฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งบ้าน สมุนไพร จิวเวอรี เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องประดับ ฯลฯ เรียกได้ว่ามีตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยันเรือรบเลยทีเดียว มาดูกันว่าตลาดค้าส่งที่น่าสนใจอยู่ที่ไหนกันบ้าง
ตึก Baima Costume Market (ไป๋หม่า)
ตึกไป๋หม่า เป็นตลาดค้าส่งเสื้อผ้ายอดฮิตของแม่ค้าชาวไทยที่ชอบไปช้อปปิ้งหาซื้อเสื้อผ้าราคาส่งมาขายตามแพลตทินั่ม ประตูน้ำ ถามแม่ค้าคนไหนก็ต้องร้อง “อ๋อ!” อย่างแน่นอน ตึกนี้มีทั้งหมด 8 ชั้นด้วยกัน แต่ละชั้นหนาแน่นไปด้วยร้านค้าขายเสื้อผ้าสตรี ซึ่งจะมีเสื้อผ้าแบบใหม่ๆ เข้ามาทุกวัน แต่ละร้านจะมีพนักงานสาวใส่เสื้อผ้าคอลเลคชั่นของร้านยืนเป็นพรีเซนเตอร์ให้คนมาซื้อได้เห็นกันไปเลยว่าใส่แล้วจะสวยแบบนี้ เกรดสินค้าที่นี่อยู่ในระดับกลาง จนถึงดีมาก ราคาไม่แพงจนเกินไป ทั้งเสื้อผ้าผู้หญิง ผู้ชาย ชุดลำลอง ชุดราตรี มีแบบให้เลือกเยอะมาก การเดินทางมาที่นี่สะดวกสบาย จึงเป็นที่นิยมของพ่อค้า แม่ค้านั่นเอง
การเดินทางไปตึกไป๋หม่า : MRT สถานี Guangzhou Railway Station ทางออก D แล้วเดินข้ามถนนมา แล้วเดินไปตามถนน Zhannan ตึกจะอยู่ซ้ายมือ
รวมประโยคภาษาจีนการซื้อของขายของพื้นฐาน
这件衣服多少钱?
Zhè jiàn yīfú duōshǎo qián?
เจ้อเจี้ยน อีฝู ตัวเส่า เฉียน
เสื้อตัวนี้ราคาเท่าไหร่
我想试试这条裙子。
Wǒ xiǎng shì shì zhè tiáo qúnzi.
หวอ เสี่ยง ซื่อซื่อ เจ้อ เถียว ฉุนจื่อ
ดิฉันอยากลองกระโปรงตัวนี้
这条裤子大了点儿。
Zhè tiáo kùzi dàle diǎn er.
เจ้อ เถียว คู่จื่อ ต้าเลอ เตี่ยนร์
กางเกงตัวนี้หลวมไปหน่อยครับ
我想试试大号的。
Wǒ xiǎng shì shì dà hào de.
หวอ เสี่ยง ซื่อซื่อ ต้า ห้าว เตอ
ผมอยากลองไซต์ Lครับ
您想要哪个颜色的?
Nín xiǎng yào nǎge yánsè de?
หนิน เสี่ยง เย่า หน่าเก้อ เหยียนเซ่อ เตอ
คุณอยากได้สีไหนครับ
这个尺码我穿不了。
Zhège chǐmǎ wǒ chuān bùliǎo.
เจ้อเก้อ ฉือหม่า หว่อ ชวน ปู้ เหลี่ยว
ไซต์นี้ผมใส่ไม่ได้ครับ
这款衣服有长袖的吗?
Zhè kuǎn yīfú yǒu cháng xiù de ma?
เจ้อ ข่วน อี๋ฝู โหย่ว ฉาง ซิ่ว เตอ มะ
เสื้อตัวนี้มีแบบแขนยาวไหมคะ
我想买短裤。
Wǒ xiǎng mǎi duǎnkù.
หวอ เสียง หมาย ต่วนคู่
ผมอยากซื้อกางเกงขาสั้นครับ
你想试什么尺码的?
Nǐ xiǎng shì shénme chǐmǎ de?
หนี เสี่ยง ซื่อ เสินเมอ ฉือหม่า เตอ
คุณอยากลองไซต์อะไรครับ
还有更小的尺码吗?
Hái yǒu gèng xiǎo de chǐmǎ ma?
ไห โหย่ว เกิ้ง เสี่ยว เตอ ฉือหม่า มะ
มีไซต์เล็กกว่านี้ไหมคะ
我要穿比这个大的尺码。
Wǒ yào chuān bǐ zhège dè de chǐmǎ.
หว่อ เย่า ชวน ปี่เจ้อเก้อ ต้า เตอ ฉือหม่า
ผมต้องใส่ไซต์ใหญ่กว่านี้ครับ
中号的没有了。
Zhōng hào de méiyǒule
จงห้าว เตอ เหมย โหย่ว เลอ
ไซต์M ไม่มีแล้วค่ะ
这件衣服还有其他颜色的吗?
zhè jiàn yīfú hái yǒu qítā yánsè de ma?
เจ้อ เจี้ยน อีฝู ไห โหย่ว ฉีทา เหยียนเซ่อ เตอ มา
เสื้อตัวนี้ยังมีสีอื่นอีกไหม
我想试试蓝色的。
Wǒ xiǎng shì shì lán sè de.
หว่อ เสี่ยง ซื่อซื่อ หลานเซ่อ เตอ
ผมอยากลองตัวสีฟ้าครับ
这双鞋子还有其他颜色吗?
Zhè shuāng xié zǐ hái yǒu qítā yánsè ma?
เจ้อ ซวง เสียจื่อ ไห โหย่ว ฉีทา เหยียนเซ่อ มะ
รองเท้าคู่นี้มีสีอื่นไหมครับ
您穿几码的?
Nín chuān jǐ mǎ de?
หนิน ชวน จี๋ หม่า เตอ
คุณใส่เบอร์เท่าไหร่ครับ
我穿41号。 Wǒ chuān sìshíyī hào.
หว่อ ชวน ซื่อสืออี ห้าว
ผมใส่เบอร์41ครับ
我想试试37码的。
Wǒ xiǎng shì shì sānshíqī mǎ de.
หวอ เสี่ยง ซื่อซื่อ ซานสือชี หม่า เตอ
ดิฉันอยากลองเบอร์37ค่ะ
有38号的吗?
Yǒu sānshíbā hào de ma?
โหย่ว ซานสือปา ห้าว เตอ มะ
มีเบอร์38ไหมคะ
这双有点挤了。
Zhè shuāng yǒudiǎn jǐle
เจ้อ ซวง โหยวเตี๋ยน จี่ เลอ
คู่นี้คับไปหน่อยครับ
我想两只一起试。
wǒ xiǎng liǎng zhī yīqǐ shì.
หวอ เสี่ยง เหลี่ยงจือ อี้ฉี่ ซื่อ
ผมอยากลองใส่ทั้งสองคู่เลยครับ
我想看看运动鞋。
Wǒ xiǎng kàn kàn yùndòng xié.
หวอ เสี่ยง ค่านค่าน ยุ่นต้ง เสีย
ผมอยากดูรองเท้ากีฬาครับ
你想看高跟的还是低跟的?
Nǐ xiǎng kàn gāo gēn de háishì dī gēn de?
ห เสี่ยง ค่าน เกาเกิน เตอ ไหซื่อ ตี เกิน เตอ
คุณอยากดูส้นสูงหรือส้นต่ำครับ
我想买凉鞋。
Wǒ xiǎng mǎi liángxié.
หวอ เสียง หม่าย เหลียงเสีย
ฉันอยากซื้อรองเท้าแตะค่ะ
我还想试试另一个颜色。
Wǒ hái xiǎng shì shì lìng yīgè yánsè.
หว่อ ไห เสี่ยง ซื่อซื่อ ลิ่ง อี๋เก้อ เหนียนเซ่อ
ผมอยากลองอีกสีหนึ่งครับ
这个颜色还有其他号码的吗?
Zhègè yánsè hái yǒu qítā hàomǎ de ma?
เจ้อเก้อ เหยียนเซ่อ ไห โหย่ว ฉีทา ห้าวหม่า เตอ มะ
สีนี้ยังมีเบอร์อื่นอีกไหมครับ
你想试多大码的?
Nǐ xiǎng shì duō dà mǎ de?
หนี เสี่ยง ซื่อ ตัว ต้า หม่า เตอ
คุณอยากลองเบอร์เท่าไหร่
我想看看这只钻戒?
Wǒ xiǎng kàn kàn zhè zhǐ zuànjiè?
หวอ เสี่ยง ค่าน ค่าน เจ้อ จื่อ จ้วนเจี้ย
ดิฉันขอดุแหวนเพชรวงนี้หน่อยค่ะ
我想试试这条手链。
Wǒ xiǎng shì shì zhè tiáo shǒuliàn.
หวอ เสี่ยง ซื่อ ซื่อ เจ้อ เถียว โส่วเลี่ยน
ผมอยากลองสร้อยข้อมือเส้นนี้ครับ
这条珍珠项链真漂亮。
Zhè tiáo zhēnzhū xiàngliàn zhēn piàoliang.
เจ้อ เถียว เจีนู เซี่ยงเลี่ยน เจิน เพี่ยวเลี่ยง
สร้อยไข่มุกเส้นนี้สวยมากค่ะ
这对耳环多少钱?
Zhè duì ěrhuán duōshǎo qián?
เจ้อ ตุ้ย เอ่อหวน ตัวเส่าเฉียน
ต่างหูคู่นี้ราคาเท่าไหร่คะ
我想试试这条丝巾。
Wǒ xiǎng shì shì zhè tiáo sī jīn.
หวอ เสี่ยง ซื่อ ซื่อ เจ้อ เถียว ซือจิน
ผมอยากลองผ้าพันคอผืนนี้
你想看看婚戒吗?
Nǐ xiǎng kàn kàn hūn jiè ma?
หนี เสี่ยง ค่านค่าน ฮุน เจี้ย มะ
คุณอยากดูแหวนแต่งงานหรือครับ
我想看看钱包。
Wǒ xiǎng kàn kàn qiánbāo.
หวอ เสี่ยง ค่านค่าน เฉียวเปา
ดิฉันอยากดูกระเป่าเงินค่ะ
你喜欢鳄鱼皮的皮包吗?
Nǐ xǐhuān èyú pí de píbāo ma?
หนี สี่ฮวน เอ้อหยี ผี เตอ ผีเปา มะ
คุณชอบกระเป๋าหนังจระเข้ไหมคะ
你要试试珍珠鱼皮吗?
Nǐ yào shì shì zhēnzhū yú pí ma?
หนี่ เย่า ซื่อซื่อ เจินจูหยี ผี มะ
คุณจะลองดูกระเป๋าหนังปลากระเบนไหมคะ
这个包有棕色的吗?
Zhège bāo yǒu zōngsè de ma?
เจ้อเก้อ เปา โหย่ว จงเซ่อ เตอ มะ
กระเป๋าใบนี้มีสีน้ำตาลไหมครับ
我想买泰丝的丝巾。
Wǒ xiǎng mǎi tài sī de sī jīn.
หวอ เสียง หม่าย ไท่ซือ เตอ ซือจิน
ผมอยากซื้อผ้าพันคอไหมไทยครับ
我想试试这顶帽子。
Wǒ xiǎng shì shì zhè dǐng màozi.
หวอ เสี่ยง ซื่อ ซื่อ เจ้อ ติ่ง เม่าจื่อ
ดิฉันอยากลองหมวกใบนี้
这个多少钱?
Zhègè duōshǎo qián?
เจ้อเก้อ ตัวเส่า เฉียน
อันนี้ราคาเท่าไหร่คะ
在哪里付钱?
Zài nǎlǐ fù qián?
จ้าย หนาหลี่ ฟู่ เฉียน
จ่ายเงินที่ไหนครับ
我用银联卡付款可以吗?
Wǒ yòng yínlián kǎ fùkuǎn kěyǐ ma?
หว่อ โย่ง อิ๋นเหลียนข่า ฟู่ข่วน เขออี่ มะ
ผมใช้บัตรยูเนียนเพย์จ่ายได้ไหมครับ
这家商场有什么促销活动码?
Zhè jiā shāngchǎng yǒu shén me cùxiāo huódòng mǎ?
เจ้อเจีย วางฉ่าง โหย่ว เสินเมอ ชู่เซียว หั่วต้ง มะ
ห้างนี้มีโปรโมชั่นอะไรไหมครับ
分开付钱。 Fēnkāi fù qián.
เฟินคาย ฟู่ เฉียน
แยกกันจ่ายค่ะ
这里不能用银联卡。
Zhèlǐ bùnéng yòng yínlián kǎ.
เจ้อหลี่ ปู้ เหนิงโย่ง อิ๋นเหลียนข่า
ที่นี่ใช้บัตรยูเนี่ยนเพย์ไม่ได้ค่ะ
要给你包起来吗?
Yào gěi nǐ bāo qǐlái ma? เย่า เก๋ย
หนี่ เปาฉี่ ไหล มะ
คุณอยากจะห่อด้วยไหมครับ
包装服务费也算进去了吗?
Bāozhuāng fúwù fèi yě suàn jìnqùle ma?
เปาจวง ฝูอู้เฟ่ย เหย่ ซ่วน จิ้นชวี่ เลอ มะ
รวมค่าบริการห่อด้วยแล้วหรือยังครับ
请到收银台付款。
Qǐng dào shōuyín tái fùkuǎn.
ฉิ่งเต้า โซว อิ๋นไถ ฟู่ข่วน
กรุณาไปจ่ายเงินที่เคาเตอร์ด้วยค่ะ
这家商场提供免费包装服务。
Zhè jiā shāngchǎng tígōng miǎnfèi bāozhuāng fúwù.
เจ้อเจีย ซางฉ่าง ถีก้ง เหมี่ยนเฟ่ย เปาจวง ฝูอู้
ห้างนี้มีบริการห่อฟรีครับ
收银台在哪里?
Shōuyín tái zài nǎlǐ?
โซว อิ๋นไถ จ้าย หนาหลี่
เคาเตอร์จ่ายเงินอยู่ไหนครับ
买两件可以打八折。
Mǎi liǎng jiàn kěyǐ dǎ bā zhé.
หมาย เหลี่ยงเจี้ยน เขออี่ ต่า ปา เจ๋อ
ซื้อสองชิ้นได้รับส่วนลด20%ค่ะ
你想要换哪一个?
Nǐ xiǎng yào huàn nǎ yīgè?
หนี เสี่ยง เย่า ฮ่วน หน่า อี้เก้อ
คุณอยากเปลี่ยนอันไหนครับ
我想换别的尺码可以吗?
Wǒ xiǎng huàn bié de chǐmǎ kěyǐ ma?
หวอ เสี่ยง ฮ่วน เปี๋ย เตอ ฉือ หม่า เขออี่ มะ
ดิฉันขอเปลี่ยนไซต์อื่นได้ไหมคะ
这个包坏了。
Zhè gè bāo huàile.
เจ้อเก้อ เปา ฮว่าย เลอ
กระเป๋าใบนี้เสียแล้ว
这件衣服在七天之内可以换。
Zhè jiàn yīfú zài qītiān zhī nèi kěyǐ huàn.
เจ้อเจี้ยน อีฝู จ้าย ชีเทียน จือ เน่ย เขออี่ ฮ่วน
เสื้อตัวนี้จะเปลี่ยนให้ภายในเจ็ดวันค่ะ
请给我一下购物小票。
Qǐng gěi wǒ yīxià gòuwù xiǎo piào.
ฉิ่ง เก๋ย หว่อ อี๋เซี่ย โก้วอู้ เสี่ยว เพี้ยว
ขอบิลซื้อของด้วยค่ะ
我想换一下这条裙子。
Wǒ xiǎng huàn yīxià zhè tiáo qúnzi.
หวอ เสี่ยง ฮ่วน อี๋เซี่ย เจ้อเถียว ฉุนจื่อ
ดิฉันอยากเปลี่ยนกระโปรงตัวนี้ค่ะ
我想换成其他颜色。
Wǒ xiǎng huàn chéng qítā yánsè.
หวอ เสี่ยง ฮ่วน เฉิง ฉีทา เหยียนเซ่อ
ผมอยากเป็นเป็นสีอื่น
您用了吗?
Nín yòngle ma?
หนิน โย่ง กั้ว เลอ มะ คุณได้ใช้แล้วหรือยัง
如果没有发票就不能换
Rúguǒ méiyǒu fāpiào jiù bùnéng huàn
หรู กั่ว เหมยโหย่ว ฟาเพี้ยว ปู้เหนิง ฮ่วน
ถ้าไม่มีบิลก็เปลี่ยนไม่ได้
特价商品不能换。
tèjià shāngpǐn bùnéng huàn.
เท่อเจี้ย วางผิ่น ปู้เหนิง ฮ่วน
สินค้าราคาพิเศษเปลี่ยนไม่ได้ครับ
我这就给您去拿新的。
Wǒ zhè jiù gěi nín qù ná xīn de.
หว่อ เจ้อ จิ้ว เก่ย หนิน ชวี่ หนา วิน เตอ
เดี๋ยวผมจะช่วยหาอันใหม่ให้ครับ
我想换其他款式可以吗?
Wǒ xiǎng huàn qítā kuǎnshì kěyǐ ma?
หวอ เสี่ยง ฮ่วน ฉีทา ข่วนซื่อ เขออี่ มะ
ผมขอเปลี่ยนเป็นแบบอื่นได้ไหมครับ
我想换换这双鞋。
Wǒ xiǎng huàn huàn zhè shuāng xié.
หวอ เสี่ยง ฮ่วนฮ่วน เจ้อ ซวง
เสีย ดิฉันอยากเปลี่ยนรองเท้าคู่นี้ค่ะ
20 มิถุนายน 2559
อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ
วันนี้มาเรียนภาษาเกาหลีพื้นฐานง่ายๆ
สำหรับการใช้ในชีวิตประจำวันกันครับ
ภาษาเกาหลีมีความจำเป็นขนาดไหน ?
ถ้าจะบอกว่าปัจจุบันนี้ภาษาเกาหลีมีความสำคัญและจำเป็นไม่แพ้ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน หรือภาษาอื่นๆเลย ไม่ว่าจะเป็นน้องๆที่ชอบนักร้องเกาหหลี ชอบดูซีรี่ส์เกาหลี หรือการจะทำธุริจ สั่งสินค้าเกาหลีซึ่งเป็นที่นิยม รวมถึงการพูดภาษาเกาหลีได้ก็มีโอกาสในการทำงานมากขึ้นและจะมากขึ้นเรื่อยๆ ดูจากการพัฒนาของสินค้ารวมถึงแบรนด์สินค้าจากประเทศเกาหลีหลายๆแบรนด์ เช่นซัมซุง ดังนั้นผู้ที่สนใจภาษาเกาหลีหรือคุณพ่อคุณแม่ที่อยากให้ลูกๆพูดภาษาที่ 3 ได้นอกจากภาษาไทย และภาษาอังกฤษแล้ว ภาษาเกาหลีก็น่าสนใจไม่น้อยนะครับ วันนี้เรามาดูประโยคภาษาเกาหลีเบื้องต้น กันก่อนครับคำศัพท์การทักทาย
- 안녕 (อันยอง) สวัดดี
- 처음(ชออึม) ครั้งแรก
- 븹다(เบบดา) พบกัน
- 감사 하 나(กำซาฮาดา) ขอบคุณ
- 당신(ดังซิน) คุณ
- 평안 하 다(พยองอันฮาดา) สบายดี
- 반갑 다(บันกับดา) ยินดี
- 여보 세 요(ยอโบเซโย้) ฮัลโหล
- 성함 / 이름(ซองฮำ/อีรืม) ชื่อ
- 무엇(มูออด) อะไร
คำศัพท์การขอโทษ
- 미안 하 다(มีอันฮาดา) ขอโทษ
- 유감 스 럽 다(ยูกำซือหรอบดา) เสียใจ
- 용서 하 다(ยงซอฮาดา) ขออภัย
- 잘못 하 다(จัลมดฮาดา) ทำผิด
- 괜잖 다(แกวนซันทา) ไม่เป็นไร
คำศัพท์การถาม
- 누구(นูกู) ใคร
- 왜(แว) ทำไม
- 어떻 게(ออคอเค) อย่างไร
- 어디 서(ออดีซอ) ที่ไหน
คำศัพท์บุคลและครอบครัว
- 남자(นัมจา) ผู้ชาย
- 여자(ยอจา) ผู้หญิง
- 게이(เกอี) กระเทย
- 어른(ออ รึน) ผู้ใหญ่
- 님자 아 이 (นัมจาอาอี) เด็กชาย
- 여자 아 이 (ยอจาอาอี) เด็กหญิง
- 아버 지(อาบอจี) พ่อ
- 어머 니(ออมอนี) แม่
- 아들 (อาดึล) ลูกชาย
- 딸 (ตัล) ลูกสาว
- 형(ฮย็อง) พี่ชาย(น้องชายเรียกพี่ชาย)
- 오빠(โอปา) พี่ชาย(น้องสาวเรียกพี่ชาย)
- 누나(นูนา) พี่สาว(น้องชายเรียกพี่สาว)
- 언니(อ็อนนี) พี่สาว(น้องสาวเรียกพี่สาว)
- 남동 생(นัมดงแซ็ง) น้องชาย
- 여동 생(ยอดงแซ็ง) น้องสาว
- 사촌(ซาชน) ลูกพี่ลูกน้อง
- 남편(นัมพย็อน) สามี
- 아내(อาแน) ภรรยา
- 친구(ชินกู) เพื่อน
- 애인 /연인 (แออิน/ยออิน) แฟน/คู่รัก
ประโยคใช้บ่อย
- 안녕하세요. อัน นยอง ฮา เซ โย
- 안녕히 가세요. อันยองฮี คา เซโย / ลาก่อน (พูดกับคนที่ไป)*
- 안녕히 계세요. อันยองฮี คเย เซโย / ลาก่อน (พูดกับคนที่อยู่)*
- 안녕히 주무세요. อันยองฮี ชูมู เซโย / ราตรีสวัสดิ์
- 감사합니다. คัมซา ฮัมนีดา /ขอบคุณ
- 미안합니다. มีอัน ฮัมนีดา / ขอโทษ
- 실례합니다. ชิล รเย ฮัมนีดา / ขอโทษ (ลักษณะที่เสียมารยาท)
- 괜찮습니다. แคว็นชั่น ซึมนีดา / ไม่เป็นไร (ตอบรับคำขอโทษ/ ขอบคุณ)
- 천만에요. ชอนมา เนโย / ไม่เป็นไร (ตอบรับคำขอบคุณ)
ประโยคสนทนาที่พบบ่อยๆ
- 이름이뭐예요? อี-รึม-มี-มวอ-เย-โย๊? ชื่ออะไรค่ะ?
- 저는 태국 사람입니다. ชอ-นึน-แท-กุก-ซา-รัม-อิม-นี-ดา ฉันเป็นคนไทยค่ะ
- 한국어 공부는 얼마나 했어요? ฮัน-กู-กอ-คง-บู-นึน-ออล-มา-นา-แฮซ-ซอ-โย๊? เรียนภาษาเกาหลีมานานแค่ไหน…
- 영어 할 줄 수 있습니까? ยอง-งอ-ฮัล-ซู-อิซ-ซึม-นี-ก้า? พูดภาษาอังกฤษได้มั้ยค่ะ?
- 난 한국어 조금 할수 있어요. นัน-ฮัน-กู-กอ-โช-กึ้ม- ฮัล-ซู-อิซ-อ-โย ฉันพูดเกาหลีได้นิดหน่อย
- 미안 해요 มี-อัน-แน(แฮ)-โย ขอโทษ (เพื่อน คนสนิม)
- 죄송합니다 เชว-ซง-ฮัม-นี-ดา ขอโทษ (ผู้ที่อายุเยอะกว่า)
- 감사합니다. คม-ซา-ฮัม-นี-ดา ขอบคุณ (ผู้ที่อายุเยอะกว่า)
- 고맙습니다 โก-มับ-ซึม-นี-ดา ขอบคุณ (คนรู้จัก )
- 고마워요 โก-มา-วอ-โย ขอบใจ (เพื่อน คนสนิท)
- 나 어떻게해. นา-ออ-ตอด-เค-แฮ ฉันควรทำยังไง (ใด้ยินในหนังบ่อยๆ อิอิ)
- 어디서. ออ-ดี-ซอ ที่ไหน
- 피곤 해요. พี่-กน-แฮ-โย เหนื่อยจังเรย
- 괜찮아요 แคว็น-ชั่น-นา-โย ไม่เป็นไร
- 잘자요. ฝันดี (Good night)
- 배고파요. แพ-โก-พ่า-โย ฉันหิว
- 제발 เช-บัล ได้โปรด
- 반갑습니다 พัน-กับ-ซึม-นี-ดา ยินดีที่ได้รู้จัก
- 반가워요 พัน-กา-วอ-โย ยินดีที่ได้รู้จัก
- 도와주세요. โด-วา-จู-เซ-โย ช่วยด้วย
- 아니오 อา-นี-โย ไม่
- 네 เน ค่ะ,ได้
- 안돼! อัน-เดว ไม่ได้,ไม่มีทาง
- 맞아요 มา-จา-โย ถูกต้อง
- 더워 ดอ-วอ ร้อน
- 오늘은 어때요?? โอ-นึล-ออ-แต-โย๊ วันนี้เป็นไงบ้าง
- 너무 귀여워요. นอ-มู-ควี-ยอ-วอ-โย น่ารักมาก
วลียอดฮิต
- รักเธอเต็มหัวใจ 나는 너를 나의 마음 만큼 사랑합니다. (นานึน นอรึล นาเอ มาอึม มันคึม ซารังฮัมนีดา)
- คุณรักเขาไหม (당신은) 그녀/그 를 사랑해요? (ทังชีนึน) คือนยอ/คือ รึล ซารังแฮโย๊)
- คิดถึงนะ 보고싶어. (โพโกชีพอ)
- คิดถึงมากๆ 너무 보고싶어 (นอมู โพโกชิบพอ)
- คิดถึงจริงๆ 정말 보고싶어 (ชองมัล โพโกชิบพอ)
- คุณจะรักชั้นได้มั้ย? 저는 …이름…씨를 사랑해도 돼요? (ชานึน..ชื่อคนที่ถาม..ชี่รึล..ซารังแฮโด ทเวโยะ?)
- เลิกกันเถอะ 그만 만나자 , 헤어지자 (คือมัน มันนาจา,เฮอาจีจา)
- ไปตายซะ ! 죽어 버려라 ! (ชุกอ พอรยอรา !)
- อยากตายมากหรอ? 줄을래? (ชุรึลแร?)
- เป็นห่วงคุณจัง 정말 걱정해요. (ชองมัล คักจังแฮโย)
- ช่างมันเหอะ 괜찮아. (แควนชานา) (ถ้าพูดกับคนที่อายุมากกว่า ต้องสุภาพเติม “โย” ข้างหลัง)
- โถ่เอ๊ย 유감하다. (ยูรัมฮาดา)
- แจ๋ว 좋아 (โชอา!)
- ฝันดี 잘 자요. (ชัล ชาโย)
- บ๊ายบาย 바이바이 (บ๊ายบาย)
- สุดที่รัก 저기 (ชอกี)
- ลาก่อน 잘 가요. (ชัล กาโย)
- รักษาสุขภาพด้วยนะ 간강하세요. (คันกังฮาเซโย)
- ฉันจะรักนายตลอดไป 영원히 사랑해요. (ยองวอนฮี ซารังแฮโย)
- คนโกหก 지짓말을 한사람! (ชีจีชารึล ฮันซารัม!)
- คนใจร้าย 마음이 나쁜 사람! (มาอือมี นาปึน ซารัม!)
- คนไม่จริงใจ 성실한 사림! (ซังชินฮัน ซารัม!)
- อยากบอกว่านายใจร้ายจริงๆ 당신은 마음이 정말 나쁜 사람이라고 하고 싶어요. (ทังชีนึน มาอือมี ชองมัล นาปึน ซารามีราโก ฮาโก ชีพอโย)
- แต่ถึงอย่างนั้นฉันก็รักนาย 그런데 저는 당산을 사랑해요. (คือรอนเด ชอนึน ทังชานึล ซารังแฮโย)
- อย่าลืมฉันนะ 요가 다이를 사랑해요. (โยกา ทาอีรึล ซารังแฮโย)
- คุณคือคนสำคัญในชีวิตของฉัน 제 삶속에세 당신은 중요한 사람이에요. (เช ซัมโซเกเซ ทังชินึน ชูโยฮัน ซารามีอีเอโย)
- ฉันรักคุณคนเดียวเท่านั้น…นอกจากคุณฉันไม่เอา 당신만 사랑해요. (ทังชินมัน ซารังแฮโย)
- เคยเห็นฉันในสายตาของคุณบ้างไหม 나 네마음 안에 있는 적이 있어? (นา เนมาอึม อาเน อิดนึน ชากี อิซซอ?)
- ไม่มีใครที่ทำให้ฉันร้องไห้ได้มากเท่าคุณ 아무도 너만큼 나를 대단히울려. (อามูโด นอมันกึม นารึล แทดันฮี อุลรเย)
- แต่ถึงยังไงฉันก็รักคุณอยู่ดี 아무리 난 널 사랑해. (อามูรี นัน นอล ซารังแฮ)
- ฉันล่ะเบื่อคุณจริงๆ เลย 정말 자쯩나!! (ชองมัล ชาจึงนา)
- ฉันเริ่มรำคาญคุณแล้วนะ 자쯩나!! (ชาจึงนา)
- ทำไมชั้นคิดถึงคุณจัง 왜 나는 너를 보고싶어. (แว นานึน นอรุล โพโกชิพอ)
- ฉันไม่รู้จะบอกกับคุณยังไงว่ารักคุณ 날 사랑한다고 말할 줄 몰라. (นอล ซารังฮันดาโก มัลฮัล ชุล มุลรอ)
- รักกันตลอดไป 영원히 사랑해요. (ยองวอนฮี ซารังแฮโย)
- เรารักกัน 서로 사랑해요. (ซอโร ซารังแฮโย)
- ฉันจะไม่มีวันลืมคุณ 너를 잊을 수 없어. (นอรึล อีจึล ซู ออบซอ)
- ฉันจะรักคุณคนเดียวตลอดไป 나는 오직 당신을 영원히 사랑합니다. (นานึน โอจิก ทังชินึล ยองวอนฮี ซารังฮัมนีดา)
- ฉันเกลียดเธอ! 널 미워! (นอล มีวอ)
- ฉันมีอะไรจะบอกเธอ 네게 할말이 있어요. (เนเก ฮัลมารี อิดซอโย)
- จูบฉันสิ 키스해줘. (คิ-ซึ-แฮ-จวอ)
- รักฉันสิ 사랑해줘. (ซารังแฮจวอ)
- ให้ฉันอยู่คนเดียวเถอะ 내버려 둬! (แนบอรยอ ทวอ)
- ยุ่งอยู่เหรอ? 바쁘세요? (พาปือเซโย?)
- หิวเหรอ? 배 고파요? (แพ โคพาโย?)
- ขอให้พระเจ้าคุ้มครองคุณ 너에게 행운이 있기를 비나이다! (นอเอเก แฮงุนี อิดกีรึล พีนาอีดะ)
- เธอน่ารักมากเลย 너무 예뻐요. (นอมู เยปอโย)
- ฉันจะเก็บเธอไว้ในความทรงจำและหัวใจตลอดไป 나는 당신을 기억과 마음을 영원히 간직할합니다. (นานึน ทังชินึล คีออกกวา มาอือมึล ยองวอนฮี คันจิกฮัลฮัมนีดา)
- ขอบคุณสำหรับทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านมานะ (พูดกับเพื่อน) 과거의 모든 것이 주셔서 감사해. (ควากอเอ โมดึน กอชี ชูซยอซอ คัมซาแฮ)
เก็บตกภาษาเกาหลีเพิ่มเติม
- 사랑해요. ซารังแฮโย/ ซารังฮัมนีดา = รัก
- 좋아해요. โชอาแฮโย = ชอบ
- 미워해요. มีวอแฮโย = เกลียด
- 증오해요. ชึงโงแฮโย = รังเกียจ
- 싫어해요. ชีรอแฮโย = ไม่ชอบ (ใช้แค่คำนี้ก็พอแล้วค่ะ)
- 여보세요? (ยอ-โบ-เซ-โย๊ะ) ฮัลโหล ใช้รับโทรศัทพ์
- 시간이 있어요? (ชี-กา-นี อิ-ซอ-โย๊ะ) ว่างไหม
- 약속이 있어요? (ย๊าก-โซ-กี อิ-ซอ-โย๊ะ) มีนัดหรือคะ
- 뭐 해요? (มวอ-แฮ-โย๊ะ) ทำอะไร
- 어떻게 해요? (ออ-ตอ-เค แฮ-โย๊ะ) ทำอย่างไร
- 잠깐만요. (ชัม-กัน-มัน-โย๊ะ) = เดี๋ยวคะ
- 천천히 하세요. (ช่อน-ช่อน-ฮี ฮา-เซ-โย) = พูดช้าๆหน่อยคะ
- 희춘를 알아요? (ฮี-ชุล-รึล อา-รา-โย๊ะ) = รู้จักฮีชุลไหม
- 좋아해요. (โช-อา-แฮ-โย) = ชอบ
- 싫어해요. (ชี-รอ-แฮ-โย) = ไม่ชอบ
- 가 요? (คา-โย๊ะ) = ไปไหม
- 어디에 가요? (ออ-ดิ-เอ คา-โย๊ะ) = ไปที่ไหนคะ
- 누구하고 가요? (นู-กู-ฮา-โก คา-โย๊ะ) = ไปกับใครคะ
- 어떻게 가요? (ออ-ตอ-เค คา-โย๊ะ) = ไปอย่างไรคะ
- 화가나요? (ฮวา-กา-นา-โย๊ะ) = โกรธหรือคะ
- 밥먹었어요? (พัม- มอ-กอ-ซอ-โย๊ะ) = กินข้าวหรือยัง
- 많이 먹어. (มา-นี มอ-กอ) = กินเยอะๆนะ
- 애인 있어요? (แอ-อิน อิ-ซอ-โย๊ะ) = มีแฟนหรือยัง
- 맞아요. (มา-จา-โย) = ถูกต้อง
- 얼마예요? (ออล-มา-เย-โย๊ะ) = เท่าไหร่คะ
- 다음 주에 만나요. (ทา-อึม ชู-เอ มัน-นา-โย) = พบกันสัปดาห์หน้า
- 가자 (คา-จา) = ไปกันเถอะ
- 먹자 (ม๊อก-จา) = กินกันเถอะ
- 맛있어 (มา-ชิ-ซ๊อ) = อร่อยมั๊ย
- 갈께 (คัล-เก) = ไปก่อนนะ
- 안녕히 주무세요? = ราตรีสวัสดิ์ (ใช้พูดกับผู้ใหญ่)
- 잘 자 (ชัล-จา) = ราตรีสวัสวดิ์ / ฝันดีนะ
- 알았어요? (อา-รา-ซอ-โย๊ะ) = เข้าใจไหม
- 알았지 (อา-รา-จิ๊) = เข้าใจแล้วใช่ไหม
- 알았어 (อา-รา-ซอ) = เข้าใจแล้ว
- 잘 지내요? (ชัล ชี-แน-โย๊ะ) = สบายดีไหม
- 행복하세요. (แฮง-โบ-คา-เซ-โย) = ขอให้มีความสุข
- 축하합니다. (ชู-คา-ฮัม-นิ-ดา) = ยินดีด้วยคะ
- 축하해. (ชู-คา-แฮ) = ยินดีด้วยนะ
- 왜 (เว) = ทำไม
- 하자마 (ฮา-จิ-มา) = อย่าทำ
- 가지마 (คา-จิ-มา) = อย่าไป
- 잊지마 (อิด-จิ-มา) = อย่าลืม
- 보고싶어요. โพ-โก-ชี-พอ-โย = คิดถึง (อยากเจอ)
- 생각해요. แซง-กา-แค-โย = คิดถึง (นึกถึง)
- 정말요. (ชอง-มัล-โย๊ะ) = จริงหรือ
- 진짜 (ชิน-จ๊ะ) = จริงหรือ
- 죽을래 (ชู-กึล-แร) = อยากตายหรือไง (อิ อิ เอาไว้พูดกับเพื่อนสนิทเท่านั้น ไม่งั้นอาจตายได้)
- 내일 보자 (แน-อิล โพ-จา) = เจอกันพรุ่งนี้
17 มิถุนายน 2559
อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ
10 ภาษาที่น่ารู้ เพิ่มโอกาสการทำงาน
ช่วงฟุตบอลยุโรป (2016) แบบนี้น้องๆที่สนใจเรื่องของกีฬาฟุตบอลคงจะสนุกสนานกับการได้ดูทีมที่ชื่นชอบลงสนามกันทุกวันเลยนะครับ อย่าดูกันจนไม่ได้หลับไม่ได้นอนกันนะครับเดี๋ยวจะส่งผลเสียเรื่องการเรียนหรือการทำงานกัน
มาเข้าเรื่องของภาษากันดีกว่า นอกจากภาษาอังกฤษที่เราต้องเรียนกันมาตั้งแต่เด็กอยู่แล้ว และเป็นภาษาสากลที่คนทำงานหรือทำธุรกิจส่วนใหญ่จำเป็นต้องรู้อยู่แล้วนั้น น้องๆรู้หรือไม่ว่าภาษาที่ 3 หรือภาษาอื่นๆก็ยังมีความสำคัญไม่แพ้ภาษาอังกฤษ สำหรับบางอาชีพแล้วนั้นการรู้ภาษาที่ 3 เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งอีกด้วย เช่น แอร์โฮสเตส สจ๊วต และเดี๋ยวนี้การค้าขายของประเทศไทยกับประเทศในแถบเอเชียด้วยกันนั้นมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ หลายๆองค์กรหลายๆบริษัทจำเป็นต้องการบุคลากรที่พูดภาษานั้นๆได้เช่น ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น และภาษาเกาหลี
หรือคนที่มีความเชี่ยวชาญภาษาต่างประเทศภาษาใดภาษาหนึ่งก็มีโอกาสในการทำงานมากกว่าคนอื่น หรือทำเป็นอาชีพสริมหรืออาชีพหลักขงตัวเองก็ได้ เช่นเป็นครูสอนภาษา เป็นล่ามแปลภาษา เป็นไกด์นำเที่ยว หรือรับแปลเอกสารก็มีรายได้ดีไม่น้องนะครับ
ดังนั้นการรู้และเชี่ยวชาญภาษาต่างชาตินอกจากภาษาอังกฤษแล้วเป็นเรื่องที่ดี วันนี้เรามาดูกันครับว่ามีภาษาใดอีกบ้างที่น่าเรียนเอาไว้
ก่อนไปดู 10 ภาษาน่าเรียนเรามาทักทายกันเป็นภาษาที่ 3 นั้นๆกันก่อนครับ
"สวัสดี"
ภาษาจีนกลางพูดว่า "Ni hao" (หนี-ห่าว)
ภาษาญี่ปุ่นพูดว่า “Hajimemashite” (ฮะ-จิ-เมะ-มะ-ชิ-เตะ)
ภาษาเกาหลีพูดว่า “안녕하세요.” (อัน-นยอง-ฮา-เซ-โย)
ภาษาเยอรมันพูดว่า “Hallo” (ฮา-โล)
ภาษาสเปนพูดว่า "Hola" (โอ-ลา)
ภาษาโปรตุเกสพูดว่า “Olá” (โอ-ล๊ะ)
ภาษาฝรั่งเศสพูดว่า “Bonjour” (บงชูร์)
ภาษารัสเซียพูดว่า “Zdravstvuite” (สดร๊าสต-วุย-ถิ)
ภาษาอาหรับพูดว่า "Al salaam a’alaykum" (อัสสะลามมุอะลัยกุม)
ภาษาฮินดีพูดว่า “Namaste / Namaskar” (นมัสเต / นมัสการ)
1. ภาษาจีนกลาง (Mandarin / 普通话)
ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลกประกอบไปด้วยหลากหลายชาติพันธุ์ จึงเป็นเหตุให้มีภาษาจีนกว่า 300 ภาษาในแต่ละพื้นที่ แต่ภาษาที่ใช้เป็นภาษาราชการของประเทศจีนคือ “ภาษาจีนกลาง” หรือ “ภาษาแมนดาริน” จากการรายงานในปี 2014 ภาษาจีนกลางเป็นภาษาที่มีคนพูดมากที่สุดในโลกกว่า 1 พันล้านคน มากเป็นสองเท่าของจำนวนคนที่พูดภาษาอังกฤษ และยังได้บรรจุเป็นภาษาของสหประชาติ (UN) อีกด้วย เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศจีนเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก และได้รับการคาดการณ์ไว้ว่าในปี ค.ศ.2020 ประเทศจีนจะขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ในด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมโลกอย่างแน่นอน การเรียนรู้ภาษาจีนกลางจึงจำเป็นและสำคัญมากในอนาคต รวมไปถึงผลการสำรวจภาษาที่มีการใช้มากที่สุดในอินเตอร์เน็ตภาษาจีนติดอยู่ในอันดับที่ 2 ของโลก รองจากภาษาอังกฤษ แม้จะเป็นภาษาที่ถือได้ว่ายากต่อการเรียนรู้ภาษาหนึ่ง แต่หากคุณสามารถสื่อสารทั้งเขียนและพูดภาษาจีนกลางได้เป็นอย่างดีแล้วหละก็ รับรองว่ามีผลต่ออาชีพหน้าที่การงานในอนาคตอย่างแน่นอน
2. ภาษาญี่ปุ่น ( Japanese/ 日本語 )
ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก มีทั้งการลงทุนและขยายธุรกิจไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก จึงทำให้ภาษาญี่ปุ่นยังคงเป็นภาษาที่มีอิทธิพลมาก ผู้คนทั่วโลกต้องการที่จะศึกษาภาษาญี่ปุ่นเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารทำธุรกิจกับนายทุนจากประเทศญี่ปุ่นนั่นเอง และนอกเหนือจากด้านของการทำธุรกิจแล้ว ภาษาญี่ปุ่นยังมีความน่าสนใจในด้านของวรรณกรรมต่างๆ การที่เราสามารถเรียนรู้และเข้าใจภาษาญี่ปุ่นได้ก็สามารถทำให้เราอ่านหนังสือดีๆ ของประเทศญี่ปุ่นได้อีกมากด้วยเช่นกัน ปัจจุบันบริษัทญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยคิดเป็น 40% ของบริษัทต่างชาติทั้งหมด ในหลายองค์กรจึงต้องการบุคลากรที่มีความรู้ด้านภาษาญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก เนื่องจากคนในประเทศญี่ปุ่นยังพูดภาษาอังกฤษได้น้อย จึงต้องการคนที่สื่อสารภาษาญี่ปุ่นได้ดี จึงทำให้มีค่าตอบแทนที่ค่อนข้างสูง ปัจจุบันมีผู้ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาทางการกว่า 130 ล้านคนทั่วโลก แม้จะเป็นภาษาที่สำคัญในด้านธุรกิจและเศรษฐกิจระหว่างประเทศมาก แต่ภาษาญี่ปุ่นก็เป็นภาษาที่ค่อนข้างยากถึงขั้นต้องเรียกว่าพิสดารเลยทีเดียว เพราะมีไวยากรณ์ที่ซับซ้อน มีความละเอียดอ่อนมาก เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ และสถานะของบุคคลอีกด้วย
3. ภาษาเกาหลี (Korean/ 한국어)
เกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีความมหัศจรรย์ทางด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมากในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะยังคงเป็นหนึ่งประเทศที่เติบโตเร็วที่สุดในเชิงพาณิชย์สำรับอนาคตข้างหน้า โดยจะเห็นได้ว่าในประเทศไทยมีบริษัทที่มาลงทุนจากประเทศเกาหลีเป็นจำนวนมาก และโดยพื้นฐานแล้วคนเกาหลีส่วนใหญ่ก็จะไม่ค่อยมีทักษะทางด้านภาษาอังกฤษเท่าใดนัก จึงมีความต้องการคนที่สามารถพูดและสื่อสารภาษาเกาหลีได้ค่อนข้างสูง เพื่อมาทำงานในบริษัท หรือติดต่อด้านธุรกิจกับประเทศเกาหลีนั่นเอง ในสมัยก่อนคนไทยไม่ได้ให้ความสำคัญกับภาษาเกาหลีมากนัก ทั้งที่จริงแล้วประเทศไทยกับเกาหลีมีความสัมพันธ์กันหลายด้านอย่างเช่น การค้า เศรษฐกิจ ความมั่นคงทางศาสนา และการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันวัฒนธรรมเกาหลีก็ได้เข้ามามีบทบาทกับประเทศไทยมากขึ้นในเรื่องของแฟชั่น ภาพยนตร์ และดนตรี ทำให้มีสถานศึกษาและโรงเรียนกวดวิชาบางแห่งเปิดสอนภาษาเกาหลีขึ้นอย่างมากมาย หากใครจะเลือกภาษาเกาหลีมาเป็นภาษาที่ 3 ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย
4. ภาษาเยอรมัน (German/ Deutsch)
แม้ภาษาเยอรมันจะไม่ได้เป็นหนึ่งในภาษาของสหประชาชาติ แต่ก็เป็นภาษาราชการของประเทศมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจของยุโรปหลายประเทศ นอกจากประเทศเยอรมนีที่ใช้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาราชการแล้ว ยังมีประเทศใกล้เคียงที่ใช้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาพูดอีกด้วย เช่น ออสเตรีย, เบลเยียม, เดนมาร์ก, ฮอลแลนด์, ลิกเตนสไตน์, ลักเซมเบิร์ก และสวิตเซอร์แลนด์ รวมแล้วประมาณ 100 ล้านคน จึงทำให้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาที่มีคนพูดมากที่สุดในยุโรปอีกด้วย อย่างประเทศเยอรมนีที่มีความแข็งแกร่ง และมีเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจมากที่สุดในสหภาพยุโรป ความสามารถในการพูดภาษาเยอรมันจึงมีประโยชน์และสำคัญมากในด้านการทำธุรกิจระหว่างประเทศกับประเทศในแถบยุโรป หรือแม้แต่ประเทศไทยเองก็มีบริษัทมากมายที่มาจากประเทศเยอรมัน จึงเป็นที่คาดการณ์ว่าผู้ที่สามารถสื่อสารภาษาเยอรมันได้จะทำให้มีอัตราค่าจ้างสูงขึ้นประมาณ 4% และยังเป็นภาษาที่ง่ายต่อการเรียนรู้เพราะมีลักษณะคล้ายภาษาอังกฤษ แต่จะยากในส่วนของไวยากรณ์
5. ภาษาสเปน (Spanish / Español)
ภาษาสเปนถูกใช้เป็นภาษาราชการในสามทวีป รวมแล้วกว่า 20 ประเทศทั่วโลก และยังพบว่ามีคนพูดภาษาสเปนได้ถึง 400 ล้านคน จากการสำรวจในปี 2014 นอกจากนี้ภาษาสเปนยังเป็นภาษาที่สองของประเทศสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ดูได้จากผลการสำรวจสำมะโนประชากรในสหรัฐอเมริกาพบว่า ภาษาสเปน เป็นภาษาเริ่มแรกที่ใช้พูดกันในครอบครัวในช่วงอายุตั้งแต่ 5 ขวบขึ้นไปประมาณ 38.3 ล้านคน และมีแนวโน้มว่าจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นภาษาที่มีความสำคัญในด้านของเศรษฐกิจและธุรกิจระหว่างประเทศ จำเป็นต่อการประกอบอาชีพของประชากร ภาษาสเปนจึงเป็นที่นิยมมากในการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยของประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้มีการคาดการณ์ไว้ว่า คนที่มีสามารถพูดและสื่อสารภาษาสเปนได้ดีจะทำให้มีอัตราค่าจ้างเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 1.7 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ภาษาสเปนยังเป็นภาษาที่ใช้ในอินเตอร์เน็ตมากที่สุดอยู่ในอันดับที่ 3 รองจากภาษาจีน และภาษาอังกฤษ นั่นเอง6. ภาษาโปรตุเกส (Portuguese/ Português)
แม้ว่าความต้องการของภาษาโปรตุเกสจะไม่ฮอตเท่ากับภาษาสเปน แต่ภาษาโปรตุเกสก็เป็นภาษาราชการในหลายประเทศทั่วโลก อาทิเช่น ประเทศโปรตุเกส บราซิล แองโกลา โมซัมบิก และประเทศติมอร์-เลสเต เป็นต้น รวมแล้วมีคนพูดภาษาโปรตุเกสได้กว่า 200 ล้านคนทั่วโลก จัดอยู่ในอันดับที่ 6 ภาษาที่มีคนพูดได้มากที่สุดในโลก หากพิจารณาในด้านของเศรษฐกิจแล้วจะเห็นได้ว่าประเทศส่วนใหญ่ที่ใช้ภาษาโปรตุเกสจะเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาอยู่ในแถบทวีปอเมริกาใต้ โดยเฉพาะประเทศบราซิลที่มีขนาดใหญ่และมีประชากรจำนวนมาก กำลังต้องการที่จะขยายเศรษฐกิจออกไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก แต่ยังขาดแคลนคนที่สามารถพูดและใช้ภาษาโปรตุเกสได้เป็นอย่างดี ถือเป็นข้อได้เปรียบและมีประโยชน์มากเพราะคนที่มีความรู้ด้านภาษาโปรตุเกสนี้มีน้อย แต่การเรียนรู้ภาษาโปรตุเกสต้องบอกเลยว่ายากกว่าภาษาสเปน แต่ก็ไม่ยากเท่ากับภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศส
7. ภาษาฝรั่งเศส (French/ Français)
ภาษาฝรั่งเศส เรียกได้ว่าเป็นภาษาที่โรแมนติกและไพเราะมากที่สุดในโลก อีกทั้งยังเป็นภาษาที่มีประวัติศาสตร์โดดเด่นมากในยุโรปก่อนที่ภาษาอังกฤษจะเกิดขึ้นเสียอีก และยังคงเป็นภาษาที่มีบทบาทมาจนถึงปัจจุบันถือเป็น 1 ใน 5 ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารในที่ประชุมองค์การสหประชาชาติ (UN) เนื่องจากที่ฝรั่งเศสเคยเป็นประเทศอาณานิคมของหลายประเทศทั่วโลก จึงทำให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นอีกหนึ่งภาษาที่มีการใช้อย่างแพร่หลายสูงถึง 129 ล้านคนทั่วโลก (Top Ten Most Spoken Languages In The World In 2014) กว่า 40 ประเทศ และยังเป็น 1 ใน 10 ของภาษาที่พบมากที่สุดในอินเตอร์เน็ต ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่ง่ายต่อการเรียนรู้เพราะคล้ายกับภาษาอังกฤษมาก ยกตัวอย่างในประเทศแคนาดามีผู้ที่ต้องการเรียนรู้ภาษาฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก เพราะตำแหน่งงานส่วนใหญ่จะต้องใช้ภาษาฝรั่งเศสในการสื่อสาร จนถึงขั้นมีการคิดประเมินค่าจ้างไว้ว่าคนที่สามารถพูดภาษาฝรั่งเศสได้จะมีค่าจ้างเพิ่งขึ้นถึง 2.7% เลยทีเดียว
8. ภาษารัสเซีย (Russian/ русский язык)
ภาษารัสเซียเป็น 1 ใน 5 ของภาษาที่แพร่หลายมากที่สุดในโลก หนึ่งในลิสต์ภาษาที่เราต้องเรียนรู้เพราะเป็นทั้งภาษาสากล และภาษาทางการของสหประชาชาติ ทั่วโลกมีคนที่ใช้ภาษารัสเซียกว่า 277 ล้านคน จากผลสำรวจในปี 2014 ประเทศรัสเซียเป็นประเทศที่มีความโดดเด่นหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ภาษารัสเซียจึงมีความโดดเด่นมากสำหรับผู้ที่จะทำธุรกิจระหว่างประเทศ เพราะชาวรัสเซียส่วนใหญ่มีความเป็นชาตินิยม และอนุรักษ์นิยมค่อนข้างสูง ชาวรัสเซียโดยทั่วไปสื่อสารด้วยภาษาถิ่นของตนเอง และมีความรู้ภาษาอังกฤษไม่มาก เพื่อที่จะสามารถติดต่อทำธุรกิจกับประเทศรัสเซีย และประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการ จึงมีความต้องการล่ามหรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านภาษารัสเซียเป็นพิเศษ ทำให้มีผลต่ออัตราเงินเดือนที่จะเพิ่มสูงขึ้นถึง 4% ต่อปี เมื่อพูดถึงในด้านของการเรียนรู้ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่ค่อนข้างยากภาษาหนึ่ง เนื่องจากมีไวยากรณ์ที่ซับซ้อน คนไทยอาจมีปัญหาในเรื่องของการออกเสียงเนื่องจากค่อนข้างยากเช่นเดียวกัน แต่ก็เรียกได้ว่าภาษารัสเซียเป็นภาษาที่ง่ายที่สุดในกลุ่มของ “ภาษายาก” นั่นเอง
9. ภาษาอาหรับ (Arabic /العربيةالعربية)
ภาษาอาหรับ หรือ ภาษาอารบิค หนึ่งในภาษาของสหประชาชาติ และเป็นภาษาราชการของกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง เช่น อิรัก, คูเวต, จอร์แดน, อิสราเอล, แอลจีเรีย, บาห์เรน, ปาเลสไตน์, ซาอุดีอาระเบีย และอื่นๆ อีกมากมาย จะเห็นได้ว่าภาษาอารบิคเป็นภาษาของศาสนาอิสลามที่เติบโตได้อย่างรวดเร็วที่สุด และมีแนวโน้มว่าจะขยายตัวมากขึ้นทุกปี โดยสถิติล่าสุดในปี 2014 มีผู้พูดภาษาอารบิคได้ทั้งหมด 246 ล้านคนจากทั่วโลก มากเป็นอันดับที่ 6 และสาเหตุสำคัญที่ทำให้ภาษาอารบิคเป็นอีกหนึ่งภาษาที่น่าสนใจนั่นก็คือ กลุ่มประเทศในตะวันออกเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นประเทศผู้มีอิทธิพลในเศรษฐกิจน้ำมันโลก ทำให้ในอนาคตข้างหน้าภาษาอารบิคจะเป็นที่ต้องการมากขึ้นอย่างแน่นอน แต่สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะเรียนภาษาอาหรับต้องบอกเลยว่า เป็นภาษาที่มีระดับความยากอยู่ที่อันสามรองจากภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่นเลยทีเดียว เนื่องจากว่ามีระบบการเขียนที่ยาก และหลักไวยากรณ์ที่ซับซ้อนนั่นเอง
10. ภาษาฮินดี (Hindi / हिन्दी, हिंदी)
ภาษาอันดับที่ 4 ที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก "ภาษาฮินดี" เป็นภาษาราชการของสาธารณรัฐอินเดีย และเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันทั่วไปของประเทศในแถบเอเชียใต้ เช่น ปากีสถาน เนปาล บังคลาเทศ ภูฏาน เป็นต้น โดยเฉพาะประเทศอินเดียที่ในปัจจุบันมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างสูง และยังเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกอยู่ในอันดับ 2 รองจากประเทศจีน ทำให้ภาษาฮินดีมีผู้ใช้ทั้งหมด 497 ล้านคน มีความสำคัญต่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น อินเดียก็อยู่ในกลุ่มประเทศ AEC+6 ด้วย ในประเทศไทยมีสมาคมนักธุรกิจชาวอินเดียและชุมชนชาวอินเดียอยู่หลายกลุ่ม ซึ่งเกือบทั้งหมดยังนิยมใช้ภาษาฮินดีเป็นภาษากลางในการสื่อสารกัน แต่ภาษาฮินดีก็ไม่ได้เป็นภาษาสากลในประเทศอินเดียซะทีเดียว เพราะคนที่พูดฮินดีส่วนใหญ่ก็จะใช้ภาษาอังกฤษได้ดีด้วยเช่นเดียวกัน
HOTLINE
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)