สำรวจ
แนะนำ
สอบเข้า
ออนไลน์

บทความจากหนังสือ

ค้นหาด้วยเสียง
ค้นหาด้วยเสียงคลิกที่นี่

Home » Tutor » บทความจากหนังสือ

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ บทความจากหนังสือ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ บทความจากหนังสือ แสดงบทความทั้งหมด

04 มิถุนายน 2563

สุดท้าย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทรงผมหรือไม้เรียว ถ้าเราถอดออกมามันจะมาจบอยู่ที่ คุณครูรอไม่เป็น [นะโม-ชลิพา ดุลยากร]

อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ
สุดท้าย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทรงผมหรือไม้เรียว ถ้าเราถอดออกมามันจะมาจบอยู่ที่ คุณครูรอไม่เป็น [นะโม-ชลิพา ดุลยากร]

ในโลกของครู ทุกการสอนเป็นไปได้ (inSkru )

25 ธันวาคม 2561

เครื่องบิน บินสูงแค่ไหนกัน

อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ
เครื่องบิน บินสูงแค่ไหนกัน

เคยสงสัยกันบ้างรึเปล่า “เครื่องบิน บินสูงแค่ไหนกัน”

09 พฤศจิกายน 2559

ผลสำรวจเด็กนักเรียนไทยกับการอ่านและการเขียนภาษาไทย

อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ
เรียนภาษาไทยที่บ้าน อุดร ขอนแก่น มหาสารคาม โคราช ระยอง ชลบุรี สงขลา ภูเก็ต เชียงใหม่ สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี กรุงเทพ

       

ผลสำรวจนักเรียนชั้น ป.1 ครั้งที่ 1 เดือน มิ.ย. 2558 พบว่า 


  • มีนักเรียนอ่านไม่ออกร้อยละ 11.5 
  • เขียนไม่ได้ร้อยละ 8.7 


การสำรวจครั้งที่ 2 เดือน ก.ค. 2558 

  • นักเรียนอ่านไม่ออกลดลงเหลือร้อยละ 5.6
  • เขียนไม่ได้เหลือร้อยละ 5.0 



ผลสำรวจนักเรียนชั้น ป.2 การประเมินครั้งที่ 1 



  • อ่านไม่ออก ร้อยละ 8.2 
  • เขียนไม่ได้ร้อยละ 11.2 


ประเมินครั้งที่ 2 

  • เหลืออ่านไม่ออกร้อยละ 5.0 
  • เขียนไม่ได้ร้อยละ 7.0 



ผลสำรวจนักเรียนชั้น ป.3 ครั้งที่ 1 



  • อ่านไม่ออกร้อยละ 5.0 
  • เขียนไม่ได้ร้อยละ 7.6 


ครั้งที่ 2 

  • เหลืออ่านไม่ออกร้อยละ 2.8 
  • เขียนไม่ได้ร้อยละ 5.3

       

ผลสำรวจชั้น ป.4 ครั้งที่ 1 


  • อ่านไม่คล่องร้อยละ 4.4 
  • เขียนไม่คล่องร้อยละ 11.3 


ครั้งที่ 2 

  • เหลืออ่านไม่คล่องร้อยละ 2.5 
  • เขียนไม่คล่องร้อยละ 8.1 



ผลสำรวจชั้น ป.5 ครั้งที่ 1 



  • อ่านไม่คล่องร้อยละ 3.5 
  • เขียนไม่คล่องร้อยละ 9.7 


ครั้งที่ 2 

  • เหลืออ่านไม่คล่องร้อยละ 1.9 
  • เขียนไม่คล่องร้อยละ 6.6 



ผลสำรวจชั้น ป.6 ครั้งที่ 1 



  • อ่านไม่คล่องร้อยละ 2.6 
  • เขียนไม่คล่องร้อยละ 7.0 


ครั้งที่ 2 

  • อ่านไม่คล่องร้อยละ 1.4 
  • และเขียนไม่คล่องร้อยละ 4.7


       
       แม้แนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ สพฐ. ได้พัฒนาให้แก่โรงเรียน การจัดสอนเสริมให้แก่นักเรียนที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาเป็นรายบุคคล การเรียนการสอนแบบแจกลูกสะกดคำ และอาศัยโรงเรียนต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ จะประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง แต่ถือว่ายังไม่ทั้งหมด
       
      " เพราะเด็กที่ยังมีปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ เด็กชายขอบที่อยู่ตามโรงเรียนห่างไกล และไม่ได้ใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน ขณะที่ครูตามพื้นที่ห่างไกลก็ยังคงขาดแคลนด้วยเช่นกัน ครู 1 คนอาจต้องสอนหลายวิชา และไม่ได้มีความชำนาญในวิชาที่สอน "

ผลสำรวจเด็กนักเรียนไทยกับการอ่านและการเขียนภาษาไทย

อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ซ้ำร้าย “อ่านน้อย” จับประเด็นไม่ได้ วิกฤตใหญ่ที่ไทยต้องแก้


        น.ส.ธนิกานต์ ทาอ้าย ครูประจำโรงเรียนวัดงิ้วเฒ่า อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ แนะนำถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาตรงนี้ ว่า อาจจะต้องเริ่มตั้งแต่การสร้างจิตวิญญาณของครูขึ้นมาใหม่ แน่นอนว่าครูตามพื้นที่ห่างไกล มีจำนวนน้อย ไม่เพียงพอต่อนักเรียน และอาจไม่ได้เชี่ยวชาญวิชาภาษาไทยที่จะสอนเด็ก แต่หากครูมีจิตวิญญาณของความเป็นครู ก็จะรู้จักขวนขวายหาวิธี หาเทคนิคในการสอนนักเรียนให้เข้าใจได้ อย่างวิชาภาษาไทย เด็กอาจไม่เข้าใจเรื่องการเปลี่ยนรูปแปลงร่างของสระ หากหาวิธีเทคนิคในการสอนมาทำให้เด็กเข้าใจได้ก็จะช่วยให้เด็กอ่านออกเขียนได้มากขึ้น
       
       “การที่เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้นั้น ไม่ใช่ความผิดของเด็ก แต่ครูควรกลับมาประเมินตัวเองใหม่ว่าเราทำหน้าที่ดีแล้วหรือยัง หากครูต้องการให้เด็กพัฒนาจริง ครูก็ต้องพัฒนาตัวเองก่อน ทำการบ้านเพิ่มที่จะมาสอนเด็กแล้วมาดูกันว่าการเรียนการสอนจะสัมฤทธิ์ผลมากขึ้นหรือไม่”
       
       ถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของ ศธ. เพราะแม้หลักสูตร ระบบการเรียนการสอนต่างๆ จะดี มีการบรรจุครูในพื้นที่ห่างไกลเพิ่ม แต่หากสร้างจิตวิญญาณครูขึ้นมาไม่ได้ก็ไม่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาวงการศึกษาของเด็กไทย
       
       นอกจากนี้ ปัญหาการ “อ่านน้อย” ของคนไทย ถือว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานอีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้เด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ รศ.พญ.นิชรา เรืองดารกานนท์ หัวหน้าหน่วยพัฒนาการเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี อธิบายว่า มีผลวิจัยมานานแล้วว่า หากพ่อแม่อ่านหนังสือให้เด็กฟังตั้งแต่แรกเกิด จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีกว่าเด็กที่ไม่ได้อ่านหนังสือให้ฟัง และยิ่งพ่อแม่ใช้เวลาอ่านหนังสือให้ลูกฟังมาก จนเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเด็ก ก็จะทำให้เด็กโตมาพร้อมกับการรักการอ่านหนังสือไปด้วย
       
       อย่างไรก็ตาม จากผลสำรวจดัชนีวัฒนธรรมการอ่านของคนไทย ภายใต้โครงการการสร้างตัวชี้วัดวัฒนธรรมการอ่านระยะที่ 2 ที่จัดทำโดยเครือข่ายเสียงประชาชน (We Voice) เสนอต่อแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการวางแผนส่งเสริมการอ่านนั้น พบว่า 

        กลุ่มประชาชนทั่วไปจำนวน 1,753 ตัวอย่าง ใช้เวลาอ่านผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์ โดยใช้เวลาอ่านผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ 166 นาทีต่อสัปดาห์ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 222.5 นาทีต่อสัปดาห์ ร้อยละ 44.6 ไม่ซื้อหนังสือเลย สาเหตุที่ทำให้ไม่อยากอ่านหนังสือหรือสื่ออ่านต่าง ๆ เพราะชอบฟังวิทยุ ดูทีวีมากกว่าคิดเป็นร้อยละ 30.7 ไม่มีเวลาอ่าน ร้อยละ 29 และสายตาไม่ดี ร้อยละ 19.4 นอกจากนี้ ร้อยละ 4.3 อ่านหนังสือไม่ออก เมื่อพิจารณาจากกำลังซื้อพบว่า ร้อยละ 18.2 มองว่า หนังสือมีราคาแพงเกินไป ร้อยละ 8.3 ไม่มีเงินซื้อ และร้อยละ 10.4 ไม่มีแหล่งให้ยืมหนังสือ ทั้งนี้ เมื่อนำผลทั้งหมดมาคำนวณดัชนีวัฒนธรรมการอ่านของประชาชนทั่วไปมีค่าเท่ากับ 40.4 หมายความว่าประเทศไทยยังมีวัฒนธรรมการอ่านที่น้อย หรืออาจเทียบเคียงได้ว่าคนไทยอ่านหนังสือเพียง 40.4 หน้าโดยเฉลี่ยแทนที่จะเป็น 100 หน้า
       
       ขณะที่กลุ่มเด็กปฐมวัย สำรวจข้อมูล 398 ตัวอย่าง จากพ่อแม่ผู้ปกครองพบว่า ระยะเวลาที่ใช้ในการอ่านหนังสือให้เด็กฟังเท่ากับ 709.5 นาทีต่อสัปดาห์ แบ่งเป็นการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ให้เด็กฟังเฉลี่ย 615.8 นาทีต่อสัปดาห์ และอ่านผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 70.9 นาทีต่อสัปดาห์ โดยร้อยละ 74.6 มีการซื้อหนังสือให้เด็กอ่าน เมื่อสำรวจกิจกรรมที่ทำร่วมกันในครอบครัวที่ช่วยส่งเสริมการรักการอ่าน หรือการสร้างวัฒนธรรมการอ่านให้กับเด็กในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 62.6 มีการทำกิจกรรมร่วมกัน โดยร้อยละ 83.2 อ่านหนังสือให้เด็กฟัง รองลงมาเป็นการให้คำชมเวลาเด็กอ่านหนังสือ ร้อยละ 81.3 และใช้เวลาอ่านหนังสือด้วยกันร้อยละ 78.6 เมื่อคำนวณค่าดัชนีวัฒนธรรมการอ่านเด็กปฐมวัยเท่ากับ 49.6 คือ มีพ่อแม่การอ่านหนังสือให้เด็กฟังในระดับปานกลาง
       
       การแก้ปัญหาการอ่านน้อย รศ.พญ.นิชรา กล่าวว่า ต้องเริ่มตั้งแต่ช่วงแรกเกิดเลย โดยเด็กปฐมวัยอายุแรกเกิดจนถึง 6 ขวบ พ่อแม่จำเป็นต้องอ่านหนังสือให้ลูกฟัง แต่ไม่อยากให้พ่อแม่มองว่าอ่านเพื่อให้เด็กเรียนรู้หรือรักการอ่าน แต่อยากให้มองว่าหนังสือเป็นของเล่นชิ้นหนึ่งสำหรับเด็ก ใช้เป็นสื่อในการส่งเสริมพัฒนาการ เพราะเด็กเล็กยังไม่รู้หรอกว่าอันนี้คือของเล่น อันนี้คือหนังสือ อะไรคือบันเทิง อะไรคือความรู้ เขารู้เพียงว่าพ่อแม่นั้นสำคัญสำหรับเขา และมีอะไรที่อยู่รอบตัวเขา หากพ่อแม่อ่านหนังสือให้เขาฟังด้วยความสนุกสนาน รอบตัวเขามีแต่หนังสือ เขาก็จะรู้สึกสนุกและคลุกคลีอยู่กับหนังสือ 


        “การอ่านหนังสือให้ลูกฟังช่วยส่งเสริมพัฒนาการลูกในหลายด้าน อย่างกล้ามเนื้อมัดใหญ่ แม้จะดูว่าส่งเสริมได้น้อย แต่หากพ่อแม่อ่านหนังสือสำหรับเด็กแล้วเล่นไปกับเขาด้วย ทำให้เขาสนุกสนาน เช่น เนื้อหาในหนังสือสำหรับเด็กพูดถึงลูกบอล ก็ให้ลูกลองไปหยิบลูกบอล เป็นต้น และยังเป็นการเสริมสร้างสติปัญญาให้เด็กด้วย ให้เด็กได้เห็นว่าในรูปเป็นอย่างไร แล้วของจริงนั้นเป็นอย่างไร ส่วนกล้ามเน้อมัดเล็กอย่างการใช้มือหยิบจับ หนังสือสำหรับเด็กก็จะมีบางส่วนที่ทำลักษณะแบบป๊อปอัปให้เด็กได้พลิกเปิด ตรงนี้ก็ถือเป็นการช่วยเสริมพัฒนาการเช่นกัน และยิ่งอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่แรกเกิด เด็กก็จะมีโอกาสพัฒนาการมากกว่า”
       
       รศ.พญ.นิชรา กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ไม่ค่อยนิยมซื้อหนังสือสำหรับเพราะมีราคาแพง และหนังสือสำหรับเด็กที่ไทยทำเองนั้นหายากมาก ส่วนใหญ่เป็นหนังสือสำหรับเด็กแบบแปลภาษา หากจะทำให้พ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่เล็ก มองว่ากรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ควรฟื้นโครงการหนังสือเล่มแรกสำหรับเด็กแรกเกิดให้กลับมาอีกครั้งก็จะสามารถช่วยแก้ปัญหาการอ่านน้อย และช่วยวางรากฐานการเรียนรู้ให้แก่เด็กได้ นอกจากนี้ อยากสนับสนุนให้คนไทยซื้อหนังสือให้แก่กัน เพื่อสนับสนุนการอ่าน อย่างปีใหม่หากซื้อหนังสือเป็นของขวัญให้กันได้ก็ถือเป็นเรื่องดี 

        ขณะที่ นางศกุนตลา สุขสมัย รองผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (สวก.) สพฐ. ให้ความเห็นว่า ปัจจัยที่คนไม่อ่านหนังสือค่อนข้างซับซ้อน อย่างที่ระบุว่าหนังสือราคาแพง คนไม่มีเงินซื้อหนังสือจึงทำให้คนไม่ซื้อหนังสืออ่านนั้น ก็ไม่ได้แปลว่าหากหนังสือราคาถูกลง คนมีเงินจะซื้อหนังสือ ก็จะซื้อหนังสือมาอ่าน ประเด็นสำคัญ คือ จะต้องทำให้คนเห็นความสำคัญของการอ่านก่อน ซื้อหนังสือให้เป็นของขวัญ ชวนให้คนอยากอ่าน ส่วนในกลุ่มเด็กนักเรียนที่ผ่านมาจะมองว่าการอ่านหนังสือคืออ่านหนังสือสอบ เข้าห้องสมุดเพื่อหาความรู้ และห้องสมุดก็ไม่มีหนังสือที่เขาสนใจจะอ่าน สพฐ. ได้พยายามปรับห้องสมุดของโรงเรียนในสังกัดใหม่ โดยทำให้โรงเรียนเห็นความสำคัญในการทำให้นักเรียนเข้าห้องสมุด จัดทำห้องสมุดให้เด็กสนใจเข้าไปอ่าน มีหนังสือที่หลากหลาย นอกจากนี้ ยังต้องเดินหน้าการส่งเสริมการอ่านควบคู่ไปด้วย รวมถึงอาจหาต้นแบบของบุคคลที่เป็นแรงบันดาลมาช่วยส่งเสริมให้เด็กอยากอ่าน ก็จะสามารถช่วยให้เด็กนักเรียนอ่านหนังสือมากขึ้นได้
       

       ปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ และอ่านน้อย ถือเป็นวิกฤตใหญ่ที่ประเทศไทยต้องเร่งแก้ไข ก่อนที่ศักยภาพของคนไทยจะด้อยลง ที่สำคัญ การเพิ่มปริมาณการอ่าน หรือคนอ่านให้มากขึ้นไม่ใช่เพียงปัจจัยเดียวที่ต้องคำนึงถึง แต่การอ่านอย่างมีคุณภาพก็ต้องพัฒนาควบคู่กันไปด้วย โดยเฉพาะการอ่านไม่ละเอียด และจับใจความสำคัญไม่ได้ จนกลายเป็นประเด็นดรามากันอยู่เนืองๆ บนโลกโซเชียล












08 มิถุนายน 2558

ติวเตอร์ต้องรู้

อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ
ติวเตอร์ต้องรู้

กระบวนการเรียนการสอน

ดูโปรไฟล์ครูสอนพิเศษทั้งหมด

  • ครูสอนพิเศษชลบุรีเรียนพิเศษที่บ้าน จ.ชลบุรี
  • ครูสอนพิเศษพิษณุโลกเรียนพิเศษที่บ้าน จ.พิษณุโลก
  • ครูสอนพิเศษเชียงใหม่เรียนพิเศษที่บ้าน จ.เชียงใหม่
  • ครูสอนพิเศษขอนแก่นเรียนพิเศษที่บ้าน จ.ขอนแก่น
  • ครูสอนพิเศษขอนแก่นเรียนพิเศษที่บ้าน จ.ภูเก็ต
  • ครูสอนพิเศษนนทบุรีเรียนพิเศษที่บ้าน จ.นนทบุรี
  • Tutor Reviews


    Total Rating ✔

    9.2 stars – 2,789 reviews


    ดูรีวิวติวเตอร์ทั้งหมด


  • รีวิวการสอนนักเรียนอินเตอร์คุณแม่น้อง เกรด 11 MUIDS ที่ราชพฤกษ์
  • รีวิวการเรียนMathคุณแม่น้อง เกรด 10 จ.ชลบุรี
  • www.tutorferry.comคุณน้าน้อง ม.5 ที่วัชรพล
  • รีวิวการสอนเสริมทักษะภาษาไทยคุณแม่น้องอนุบาล 2 ที่พัทยา
  • รีวิวการสอนภาษาเกาหลีนักเรียน คนวัยทำงาน ที่ระยอง
  • รีวิวการสอนภาษาญี่ปุ่นคนทำงาน ที่กรุงเทพฯ
  • Tutor Ferry แนะนำครูสอนพิเศษ

    เรียนพิเศษที่ไหนดี?

    กำลังหาติวเตอร์ใกล้ๆบ้าน ต้องการหาครูสอนพิเศษเฉพาะด้าน ต้องการครูสอนพิเศษที่บ้าน ต้องการหาครูสอนภาษา Tutor Ferry เรียนพิเศษที่บ้าน หาครูสอนพิเศษตามบ้าน ต้องการเรียนภาษาที่บ้านเรียนตัวต่อตัว

    Tutor Ferry รับสอนพิเศษวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ รับสอนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลีและภาษาอื่นๆ คลิกที่นี่เลย

    เรียนภาษาไทยที่ไหนดี?

    กำลังหาติวเตอร์ภาษาไทยใกล้ๆบ้าน ต้องการหาครูสอนภาษาไทย Tutor Ferry เรียนภาษาไทยที่บ้าน หาครูสอนภาษาไทยตามบ้าน ต้องการเรียนภาษาไทยตัวต่อตัว

    Tutor Ferry รับสอนภาษาไทย คลิกที่นี่เลย

    เรียนภาษาญี่ปุ่นที่ไหนดี?

    กำลังหาติวเตอร์ภาษาญี่ปุ่นใกล้ๆบ้าน ต้องการหาครูสอนภาษาญี่ปุ่น Tutor Ferry เรียนภาษาญี่ปุ่นที่บ้าน หาครูสอนภาษาญี่ปุ่นตามบ้าน ต้องการเรียนภาษาญี่ปุ่นตัวต่อตัว

    Tutor Ferry รับสอนภาษาญี่ปุ่น คลิกที่นี่เลย

    เรียนภาษาเกาหลีที่ไหนดี?

    กำลังหาติวเตอร์ภาษาเกาหลีใกล้ๆบ้าน ต้องการหาครูสอนภาษาเกาหลี Tutor Ferry เรียนภาษาเกาหลีที่บ้าน หาครูสอนภาษาเกาหลีตามบ้าน ต้องการเรียนภาษาเกาหลีตัวต่อตัว

    Tutor Ferry รับสอนภาษาเกาหลี คลิกที่นี่เลย

    เรียนวิทยาศาสตร์ที่ไหนดี?

    กำลังหาติวเตอร์วิทยาศาสตร์ใกล้ๆบ้าน ต้องการหาครูสอนวิทยาศาสตร์ Tutor Ferry เรียนวิทยาศาสตร์ที่บ้าน หาครูสอนวิทยาศาสตร์ตามบ้าน ต้องการเรียนวิทยาศาสตร์ตัวต่อตัว

    Tutor Ferry รับสอนวิทยาศาสตร์ คลิกที่นี่เลย

    เรียนคณิตศาสตร์ที่ไหนดี?

    กำลังหาติวเตอร์คณิตศาสตร์ใกล้ๆบ้าน ต้องการหาครูสอนคณิตศาสตร์ ต้องการครูสอนคณิตที่บ้าน Tutor Ferry เรียนคณิตศาสตร์ที่บ้าน หาครูสอนคณิตตามบ้าน ต้องการเรียนคณิตตัวต่อตัว

    Tutor Ferry รับสอนพิเศษวิชาคณิตศาสตร์ คลิกที่นี่เลย

    เรียนภาษาอังกฤษที่ไหนดี?

    กำลังหาติวเตอร์ภาษาอังกฤษใกล้ๆบ้าน ต้องการหาครูสอนภาษาอังกฤษ Tutor Ferry เรียนภาษาอังกฤษที่บ้าน หาครูสอนภาษาอังกฤษตามบ้าน ต้องการเรียนภาษาอังกฤษตัวต่อตัว

    Tutor Ferry รับสอนภาษาอังกฤษ คลิกที่นี่เลย

    เรียนภาษาจีนที่ไหนดี?

    กำลังหาติวเตอร์ภาษาจีนใกล้ๆบ้าน ต้องการหาครูสอนภาษาจีน Tutor Ferry เรียนภาษาจีนที่บ้าน หาครูสอนภาษาจีนตามบ้าน ต้องการเรียนภาษาจีนตัวต่อตัว

    Tutor Ferry รับสอนภาษาจีน คลิกที่นี่เลย