Cognitive Aptitude Test
แบบทดสอบความถนัดทางปัญญา
ความถนัดทางปัญญา (Cognitive Aptitudes) หมายถึงความสามารถในการรับรู้ เข้าใจ จับประเด็น ใคร่ครวญใช้เหตุผลตามหลักตรรกะ คิดวิเคราะห์ว่าอะไรเกิดจากอะไร และจะนำไปสู่อะไร เข้าใจการทำงานของระบบ สามารถจับหลักเกณฑ์จากสิ่งที่ประสบและเรียนรู้ด้วยตนเอง
List of Aptitude Items
แบบทดสอบความถนัดทางปัญญา Tailor made (customized) มีหัวข้อ 10 หัวข้อที่สามารถเลือกได้ ดังนี้
1. ความละเอียดรอบคอบ (Attention to Details)
2. ความถนัดตัวเลข (Numeric Aptitude)
3. ความถนัดภาษาไทย (Thai Language Aptitude)
4. การจับประเด็น (Issue Identification)
5. มิติสัมพันธ์ (Spatial Relation)
6. เหตุผลเชิงตรรกะ (Logical Reasoning)
7. การคิดวิเคราะห์ (Analytic Thinking)
8. การคิดเชิงระบบ (Systematic Thinking)
9. การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)
10. ความสามารถในการเรียนรู้ (Learning Ability)
คำนิยามหัวข้อความถนัดทางปัญญา
1. ความละเอียดรอบคอบ
(Attention to Details) การสังเกตเห็นความแตกต่างในรายละเอียด และ มองเห็นจุดบกพร่องของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
2. ความถนัดตัวเลข
(Numeric Aptitude) ความสามารถในการคิดคำนวณขั้นพื้นฐาน สามารถคิดเลขในใจอย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว มองเห็นความผิดปกติของตัวเลขอย่างรวดเร็ว สามารถคิด คำนวณเชิงตัวเลขและเชิงสัญลักษณ์ ในการแก้ปัญหาที่ต้องประสบในการทำธุรกิจและการทำงาน
3. ความถนัดภาษาไทย
(Thai Language Aptitude) ความสามารถในการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องตามหลักภาษา
4. การจับประเด็น
(Issue Identification) ความสามารถในการจับและแยกแยะประเด็นต่าง ๆ ในการสื่อสาร การนำเสนอ และการประชุม การจับประเด็นอย่างถูกต้อง ช่วยให้เกิดความกระจ่าง และทำให้เกิดความเข้าใจตรงกันในเรื่องต่าง ๆ ทำให้ลดความขัดแย้ง และทำให้มอง เห็นทางออกในแก้ปัญหาอย่างถูกต้อง ตรงประเด็น และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้้อง
5. มิติสัมพันธ์
(Spatial Relation) ความสามารถในการคิดหมุนภาพในสมอง และหาความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุกับพื้นที่
6. เหตุผลเชิงตรรกะ
(Logical Reasoning) ความสามารถในการคิดเชิงเหตุและผลตามหลักตรรกะ ความสามารถในการประเมินข้อสรุปต่าง ๆ ด้วยหลักตรรกะและด้วยข้อมูล ว่ามีความถูกต้องหรือไม่ และข้อสรุปแต่ละข้อตังอยู่บนสมมติฐาน หรือ Assumption อะไร ความถนัด เหตุผลเชิงตรรกะ เป็นพื้นฐานของการนำเสนอ การคิดวิเคราะห์ และการตัดสินใจอย่างถูกต้องในการทำงานต่าง ๆ
7. การคิดวิเคราะห์
(Analytic Thinking) การแยะแยะและเปรียบเทียบ เพื่อค้นหาคำตอบต่อข้อสงสัยต่าง ๆ เช่นการค้นหาสาเหตุของปัญหา และการหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ความถนัดคิดวิเคราะห์เป็นพื้นฐานของการแก้ปัญหาอย่างตรงประเด็น
8. การคิดเชิงระบบ
(Systematic Thinking) ความเข้าใจการทำงานของระบบ เข้าใจลำดับขั้นตอนต่าง ๆ ของการทำงาน สามารถเชื่อมโยงอย่างถูกต้องว่าอะไรเกิดจากอะไร จะนำไปสู่อะไร และจะแก้ไขอย่างไร ความถนัดคิดเชิงระบบ เป็นความถนัดทางปัญญาในระดับสูง
9. การคิดเชิงกลยุทธ์
(Strategic Thinking) ความสามารถในการเข้าใจสถานการณ์ คาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น และคิดหาวิธีการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
10. ความสามารถในการเรียนรู้
(Learning Ability) ความสามารถในการค้นพบหลักเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการสังเกต ตั้งสมมติฐาน ทดสอบสมมติฐาน และสรุปผลด้วยตนเองอย่างถูกต้อง
Total Rating ✔
9.2 stars – 2,789 reviews
More Reviews
อ่านรีวิว ทั้งหมดคลิก
แสดงความคิดเห็น
Cognitive Aptitude Test แบบทดสอบความถนัดทางปัญญา
แบบทดสอบความถนัดทางปัญญา, Aptitude Test, Student Pilot 2025