สำรวจ
แนะนำ
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

ค้นหาด้วยเสียง
ค้นหาด้วยเสียงคลิกที่นี่

» » สอบ ก.พ. (การสอบความรู้ความสามารถเพื่อคัดเลือกบุคคล เข้ามาทำงานในหน่วยงาน)

22 ตุลาคม 2567

สอบ ก.พ. (การสอบความรู้ความสามารถเพื่อคัดเลือกบุคคล เข้ามาทำงานในหน่วยงาน)

สอบ ก.พ. การสอบความรู้ความสามารถเพื่อคัดเลือกบุคคล เข้ามาทำงานในหน่วยงานราชการ สอบได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง สามารถลงสมัครได้ทุกปี

สอบ ก.พ

สอบ ก.พ.

การสอบความรู้ความสามารถเพื่อคัดเลือกบุคคล เข้ามาทำงานในหน่วยงานราชการ สอบได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง สามารถลงสมัครได้ทุกปี และการสอบก.พ.นั้นไม่มีวันหมดอายุดังนั้นถ้าผ่านแล้วไม่ต้องกลับมาสอบใหม่


คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์สอบ ก.พ.

  1. มีสัญชาติไทย
  2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี (18 ปีขึ้นไป ไม่มีกำหนดอายุสูงสุด)
  3. ระดับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
  4. ระดับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) อนุปริญญา หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
  5. ระดับวุฒิปริญญาตรี
  6. ระดับวุฒิปริญญาโท
  7. ไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

สอบก.พ. ระดับ 1 2 3

การสอบก.พ.จะแบ่งระดับตามวุฒิที่ใช้สมัคร โดยมีทั้งหมด 4 ระดับ
  • ระดับ 1 คือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)
  • ระดับ 2 คือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค(ปวท.) อนุปริญญา หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)
  • ระดับ 3 คือระดับปริญญาตรี
  • ระดับ 4 คือระดับปริญญาโท

การสอบ ก.พ. แบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ

ภาค ก 

จะสอบวิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาอังกฤษ และกฏหมาย
  1. วิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) การคิดวิเคราะห์เชิงภาษา ได้แก่ การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย  การจับใจความสำคัญ การสรุปความ การตีความจากบทความ ข้อความ หรือสถานการณ์ต่างๆ การคิดวิเคราะห์เชิงนามธรรม ได้แก่ การคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงคำ ข้อความ หรือรูปภาพ ตลอดจนการหาข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อความ สัญลักษณ์ รูปภาพ สถานการณ์ หรือแบบจำลองต่างๆการคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณ ได้แก่ ความเข้าใจ ความคิดรวบยอด และการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ บื้องต้น การเปรียบเทียบและวิเคราะห์เชิงปริมาณ ตลอดจนการประเมินความพอเพียงของข้อมูล
  2. วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน) เป็นการทดสอบทักษะภาษาอังกฤษเพื่อวัดความเข้าใจในหลักการสื่อสาร โดยใช้ศัพท์ สำนวน โครงสร้างประโยคที่เหมาะสมทั้งในเชิงความหมายและบริบทแสดงถึงความสามารถในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การวัดความสามารถด้านการอ่าน โดยทดสอบการทำความเข้าใจในสาระของข้อความหรือบทความ และการวัดความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษในระดับเบื้องต้น
  3. วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี (คะแนนเต็ม 50 คะแนน) เป็นการทดสอบความรู้ที่เป็นพื้นฐานของการเป็นข้าราชการที่ดี ความรู้ดังกล่าวได้แก่ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง หน้าที่และความรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่ราชการตลอดจนเจตคติและจริยธรรมสำหรับข้าราชการ 

ภาค ข

คือ การสอบภาคความสามารถเฉพาะตำแหน่ง เป็นการสอบที่เน้นใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง เช่น นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ, นิติกร, เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน เป็นต้น โดยข้อสอบจะเป็นการสอบแบบข้อเขียน (และผู้สอบต้องนำหนังสือรับรองมายืนยันว่าได้สอบผ่าน ภาค ก. แล้วจึงจะสมัครได้)
คุณสมบัติผู้สอบ : ต้องสอบผ่าน ภาค ก ก่อน
ผู้จัดสอบ : หน่วยงานราชการที่เปิดรับสมัคร

ภาค ค

คือ การสอบสัมภาษณ์ ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการ เพื่อดูถึงความเหมาะสมกับตำแหน่ง  อาจมีการทดสอบอย่างอื่นเพิ่มก็ได้ เช่น ทดสอบร่างกาย หรือ ทดสอบจิตวิทยา เป็นต้น
คุณสมบัติผู้สอบ : ผู้เข้าสอบจำเป็นต้องผ่านการสอบ ภาค ก. และ ภาค ข. มาก่อน
ผู้จัดสอบ : หน่วยงานราชการที่เปิดรับสมัคร

สอบก.พ. ภาค ก มีกี่รอบ

  1. สอบก.พ. ภาค ก พิเศษ คือ การสอบ ก.พ. ที่จัดขึ้นพิเศษสำหรับบุคลากรในหน่วยงานราชการที่ยังสอบ ก.พ. ไม่ผ่าน
  2. สอบก.พ. e-exam คือการสอบสำหรับบุคคลทั่วไป แต่จะทำข้อสอบด้วยคอมพิวเตอร์ และเปิดรับสมัครคนละรอบกับ paper and pencil
  3. สอบก.พ. ภาคปกติสำหรับผู้สนใจทั่วไป เป็นการทำข้อสอบด้วยการฝนกระดาษคำตอบแบบเดิม

รายชื่อ 12 ศูนย์สอบทั่วไทยและจำนวนที่นั่งสอบทั่วประเทศ

ศูนย์สอบ 01 : กรุงเทพฯ และ นนทบุรี จำนวน 78,0000 ที่นั่ง
ศูนย์สอบ 02 : พระนครศรอยุธยา จำนวน 25,000 ที่นั่ง
ศูนย์สอบ 03 : ราชบุรี จำนวน 24,000 ที่นั่ง
ศูนย์สอบ 04 : ชลบุรี จำนวน 28,000 ที่นั่ง
ศูนย์สอบ 05 : เชียงใหม่ จำนวน 32,000 ที่นั่ง
ศูนย์สอบ 06 : พิษณุโลก จำนวน 31,000 ที่นั่ง
ศูนย์สอบ 07 : นครราชสีมา จำนวน 26,000 ที่นั่ง
ศูนย์สอบ 08 : อุดรธานี จำนวน 20,000 ที่นั่ง
ศูนย์สอบ 09 : อุบลราชธานี จำนวน 27,000 ที่นั่ง
ศูนย์สอบ 10 : ขอนแก่น จำนวน 30,000 ที่นั่ง
ศูนย์สอบ 11 : สุราษฎร์ธานี จำนวน 26,000 ที่นั่ง
ศูนย์สอบ 12 : สงขลา จำนวน 33,000 ที่นั่ง

ระเบียบเกี่ยวกับการสอบ ก.พ. ประจำปี 2567

1. ต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง คำแนะนำของหัวหน้าห้องสอบหรือเจ้าหน้าที่คุมสอบ ที่ไม่ขัดกับระเบียบเกี่ยวกับการสอบนี้ โดยเคร่งครัด
2. ต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย หรือชุดเครื่องแบบ และประพฤติตนเป็นสุภาพชน
    2.1 ห้ามใส่เสื้อไม่มีแขน (เสื้อแขนกุด) สำหรับส่วนเสื้อที่นิยมใส่กันคือ เสื้อเชิ้ตสีสุภาพ (สีที่นิยมคือ ดำ ขาว กรม) 
    2.2 ถ้าไม่มีเสื้อเชิ้ต สามารถใส่เสื้อโปโลไปได้แต่จะไม่นิยมเสื้อยืด
    2.3 ห้ามใส่กางเกงขาสั้น สำหรับผู้เข้าสอบ ก.พ.จะนิยมใส่เป็นกางเกงสแล็คขายาว (สีที่นิยมคือ ดำ)
    2.4 ห้ามใส่กระโปรงเหนือเข่า สำหรับผู้เข้าสอบ ก.พ. จะนิยมกระโปรงทรงเอยาวเลยเข่า (สีที่นิยมคือ ดำ) หรือกระโปรงทรงแบบอื่นที่ "คลุมหัวเข่า" ตามที่ ก.พ.กำหนด 
    2.5 กางเกงยีนส์ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของกรรมการคุมสอบ เพื่อให้สามารถเข้าห้องสอบได้จึงอยากให้สวมใส่ตามข้อแนะนำ 2.3 และ 2.4 
    2.6 ห้ามใส่รองเท้าแตะชนิดฟองน้ำ ผู้เข้าสอบส่วนใหญ่จะนิยมสวมใส่ รองเท้าคัชชู (สีที่นิยมคือ ดำ น้ำตาล) หรือ รองเท้าผ้าใบ ซึ่งรองเท้าทั้งสองแบบเป็นรองเท้าที่สุภาพ
3. ต้องสวมหน้ากากากอนามัย หรือหน้ากผ้า ตลอดระยะเวลาในการสอบ
4. ก่อนเข้าห้องสอบต้องแสดงบัตรหรือเอกสาร ดังต่อไปนี้
    4.1 บัตรประจำตัวสอบ
    4.2 บัตรแสดงตน ได้แก่ บัตรประชาชน หรือบัตรประจําตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีรูปถ่าย ลายมือชื่อ และเลขประจําตัวประชาชน 13 หลัก (ไม่อนุญาตให้ใช้สำเนาเพื่อแสดงตนในการเข้าสอบ)
5. ต้องเข้าสอบตามวัน เวลา และสถานที่สอบ ตามที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ถือเป็นหน้าที่ของผู้สอบที่จะต้องทราบวัน เวลา และสถานที่สอบของตัวเอง
6. ผู้ใดนั่งสอบผิดที่นั่งสอบ ผิดห้องสอบ หากตรวจพบหลังจากเริ่มเวลาสอบแล้ว จะต้องถูกยุติการสอบและไม่อนุญาตให้ออกจากห้องสอบจนกว่าจะหมดเวลา สอบ รวมทั้งจะไม่ได้รับการตรวจให้คะแนน
7. ห้ามเข้าห้องสอบก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่คุมสอบ
8. ผู้สอบที่ไปถึงห้องสอบหลังจากเวลาที่กำหนดให้เริ่มสอบไปแล้ว 30 นาที จะไม่อนุญาตให้เข้าห้องสอบ
9. หลังจากเริ่มเวลาสอบแล้ว ไม่อนุญาตให้ออกจากห้องสอบจนกว่าจะหมดเวลาสอบ ถ้าผู้ใดออกจากห้องสอบก่อนหมดเวลาจะถูกยุติการสอบและจะไม่ได้รับการตรวจให้คะแนน
10. ต้องใช้กระดาษคำตอบที่สำนักงาน ก.พ. จัดให้โดยเฉพาะ หากผู้ใดลงลายมือชื่อและทำตอบในกระดาษคำตอบที่ไม่ใช่ของตนเอง จะไม่ได้รับการตรวจให้คะแนน
11. ห้ามผู้สอบส่งสัญญาณคำตอบ คัดลอกข้อสอบ ฉีกแบบทดสอบ หรือนำกระดาษคำตอบออกจากห้องสอบโดยเด็ดขาด หากฝ่าฝืนถือว่ากระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ และจะต้องถูกยุติการสอบและจะไม่ได้รับการตรวจให้คะแนน รวมทั้งอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
12. ห้ามสูบบุหรี่ในห้องสอบ
13. ต้องหยุดทำตอบทันที เมื่อหมดเวลาทำตอบ และเจ้าหน้าที่คุมสอบสั่งให้หยุดทำตอบ
14. ออกจากห้องสอบได้ต่อเมื่อเจ้าหน้าที่คุมสอบได้อนุญาตแล้วเท่านั้น
15. กรณีที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับการสอนนี้ อาจจะพิจารณาสั่งงดการตรวจให้คะแนน และให้เป็นผู้กระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการอันเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามที่จะเข้าเป็นข้าราชการพลเรือนตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 และอาจจะพิจารณาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

ไม่อนุญาตให้ผู้สมัครสอบเข้าห้องสอบ ในกรณีใดบ้าง

  1. กรณีไม่มีบัตรประจำตัวสอบและบัตรประจําตัวประชาชนไปแสดงคู่กัน
  2. กรณีที่เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ไม่ตรงกับฐานข้อมูลการสมัครสอบ
  3. กรณีผู้สมัครสอบอัปโหลด (upload) รูปถ่ายที่ไม่ใช่ของตนเอง

สิ่งที่ต้องเตรียมเข้าห้องสอบ ก.พ.67

  1. บัตรประจำตัวสอบ
  2. บัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรประจําตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีรูปถ่าย ลายมือชื่อ และเลขประจําตัวประชาชน 13 หลัก (สํานักงาน ก.พ. จะไม่อนุญาตให้ใช้ใบแจ้งความ สําเนาบัตรหรือบัตรอื่น ๆ เช่น ใบขับขี่ หนังสือเดินทาง เป็นต้น)
  3. ปากกา ยางลบ ดินสอที่มีความดําเท่ากับ 2B หรือมากกว่า กบเหลาดินสอที่ไม่เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  4. ถ้ามีความจำเป็นต้องนำกุญแจรถ รีโมตรถยนต์ กระเป๋าเงิน เครื่องประดับทุกชนิดเข้ามาในห้องสอบ ให้ใส่ถุงพลาสติกใสซึ่งจะต้องจัดเตรียมมาเอง และวางไว้ใต้เก้าอี้ที่นั่งสอบ

สิ่งต้องห้ามนำเข้าห้องสอบ

หากเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่าผู้ใดนําเข้ามาในห้องสอบ จะถือว่ามีเจตนากระทําการทุจริตในการสอบ และต้องยุติการสอบทันที ได้แก่
  1. เครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ (มือถือ) วิทยุติดตามตัว วิทยุสื่อสาร เป็นต้น
  2. เครื่องคํานวณ อุปกรณ์ที่ใช้คํานวณได้ นาฬิกาทุกชนิด
  3. เครื่องบันทึกภาพ เครื่องบันทึกเสียง
  4. เอกสาร ตํารา บันทึกข้อความ
  5. กระเป๋าต่าง ๆ กระเป๋าสะพายสุภาพสตรี

Total Rating ✔

9.2 stars – 2,789 reviews

More Reviews

แสดงความคิดเห็น

สอบ ก.พ. (การสอบความรู้ความสามารถเพื่อคัดเลือกบุคคล เข้ามาทำงานในหน่วยงาน)

กพ., สอบ ก.พ.