โครงสร้างข้อสอบ TPAT3
ข้อสอบ TPAT3 ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
ส่วนที่ 1: การทดสอบความถนัด (aptitude test) ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ 60 คะแนน ประกอบด้วย
- ด้านตัวเลข (numerical reasoning) (จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน)
- ด้านมิติสัมพันธ์ (diagrammatic reasoning) (จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน)
- ด้านเชิงกล (mechanical reasoning) และด้านฟิสิกส์ (physics aptitude test) (จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน)
ส่วนที่ 2: การทดสอบความคิดและความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ 40 คะแนน ประกอบด้วย
- ความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ (จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน)
- ความสนใจข่าวสารความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ (จำนวน 10 ข้อรวม 20คะแนน)
ระยะเวลาที่ใช้สอบ 180 นาที
จำนวนข้อ
- การทดสอบความถนัด (aptitude test) ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ / 60 คะแนน 45 ข้อ
- การทดสอบความคิดและความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ / 40 คะแนน 25 ข้อ
รวม 70 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน
ตัวอย่างข้อสอบ
ส่วนที่ 1 : การทดสอบความถนัด (aptitude test) ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
1. การทดสอบความถนัดด้านตัวเลข (Numerical Reasoning Aptitude Test)
1.1 จงหาจำนวนต่อไปของอนุกรมต่อไปนี้
16, 1, 8, 3, 4, 9, 2, ?
คำตอบ
1. 27
2. 28
3. 29
4. 30
5. 31
คำตอบที่ถูกคือ ข้อ 1
เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม
ชุดตัวเลขตำแหน่งเลขคี่ คือ 1, 3, 5 และ 7 นำตัวเลขก่อนหน้ามาหารด้วย 2 ส่วนชุดตัวเลขตำแหน่งเลขคู่ คือ 2, 4, 6 นำตัวเลขก่อนหน้ามาคูณด้วย 3 ตำแหน่งที่ 8 จึงเป็น 3 x 9 = 27
1.2 จงหาจำนวนต่อไปของอนุกรมต่อไปนี้
5, 3, 25, 15, 100, 75, 300, ?
คำตอบ
1. 175
2. 240
3. 310
4. 375
5. 450
คำตอบที่ถูกคือ ข้อ 4
เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม
ชุดตัวเลขตำแหน่งเลขคี่ คือ 1, 3, 5 และ 7 นำตัวเลขก่อนหน้ามาคูณด้วย 5 , 4 และ 3 ตามลำดับ ส่วนชุดตัวเลขตำแหน่งเลขคี่ คือ 2, 4 และ 6 นำตัวเลขก่อนหน้ามาคูณด้วย 5 ลำดับที่ 8 จึงเท่ากับ 5 x 75 = 375
1.3 จากตัวเลขในตารางข้างล่าง X แทนจำนวนใด
คำตอบ
1. 9
2. 10
3. 11
4. 12
5. 13
คำตอบที่ถูกคือ ข้อ 5
เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม
พิจารณาเฉพาะสองสดมภ์ (column) ตรงกลาง ในแถว (row) ที่ 1, 3 และ 4 สดมภ์ที่ 2 มีค่ามากกว่าสดมภ์ที่ 3 อยู่ 1
ดังนั้นตัวเลขตรงสดมภ์ที่ 2 แถวที่ 2 จึงน่าจะเท่ากับ 6 และสดมภ์ที่ 3 แถวที่ 4 น่าจะมีค่าเท่ากับ 13
เมื่อพิจารณาการเรียงลงมาด้านล่าง คอลัมน์ที่สองมีค่าเพิ่มขึ้นเท่ากับ +1, +3 และ +5 ตามลำดับ ดังนั้นค่า X จึงมีค่าเท่ากับ 8 + 5 = 13
2. การทดสอบความถนัดด้านมิติสัมพันธ์ (Diagrammatic Reasoning Aptitude Test)
2.1 หากต้องการวางลูกบาศก์ซ้อนกันเพื่อให้ได้ภาพที่มองจากด้านบน ด้านหน้า และด้านข้าง ดังภาพต่อไปนี้ จะต้องใช้ลูกบาศก์อย่างน้อยที่สุดกี่ลูก
คำตอบ
1. 8
2. 9
3. 10
4. 11
5. 12
คำตอบที่ถูกคือ ข้อ 2
เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม
เมื่อพิจารณาจากภาพด้านบนพบว่า มีกล่องที่เป็นฐานอยู่ 7 กล่อง และจากภาพด้านหน้าทำให้ทราบว่าตรงตำแหน่งที่ 1, 2, 5 และ 6 อาจมีกล่องซ้อนเป็นสองชั้นแต่ไม่ทราบว่ามีซ้อนอยู่บนทั้งสี่กล่องหรือไม่ เมื่อดูภาพด้านข้างจึงทราบว่ามีกล่องซ้อนอีกเพียง 2 กล่อง คือตรงกล่องที่ 1 และ 5 เท่านั้น จำนวนกล่องจึงมีทั้งหมดเท่ากับ 7 + 2 = 9 กล่อง
2.2 พับกระดาษ A4 แล้วเจาะรูตามรูป เมื่อคลี่กระดาษออก จะมีรอยตรงกับข้อใด
คำตอบ
คำตอบที่ถูกคือ ข้อ 4
เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม
ข้อนี้พิจารณาได้ง่ายจากจำนวนรูที่ปรากฏ เพราะตรงที่เจาะรูมีความหนาของกระดาษ 4 ชั้น เมื่อคลี่ออกมาจึงต้องเห็นรูบนกระดาษจำนวน 4 รู หากตัวเลือกมีจำนวนรูสี่รูเท่ากัน จะต้องดูรูปแบบตำแหน่งของรู ซึ่งจะต้องพิจารณาละเอียดมากขึ้น
Total Rating ✔
9.2 stars – 2,789 reviews
More Reviews
อ่านรีวิว ทั้งหมดคลิก
แสดงความคิดเห็น
TPAT3 30 ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ โครงสร้างข้อสอบและตัวอย่างข้อสอบ #TCAS66
ข่าวการศึกษา, DEK66, News, Tcas, TPAT3