สำรวจ
แนะนำ
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

ค้นหาด้วยเสียง
ค้นหาด้วยเสียงคลิกที่นี่

» » 50 โจทย์วิชาภาษาไทย มัธยม2 ชุดที่2 พร้อมเฉลยคำตอบ

21 สิงหาคม 2564

50 โจทย์วิชาภาษาไทย มัธยม2 ชุดที่2 พร้อมเฉลยคำตอบ

๕๑.ฝากสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้กับผู้ที่เป็นอันตรายนั้นกล่าวเป็นสำนวนในข้อใด ก.ฝากเนื้อไว้กับเสือ ข.อ้อยเข้าปากช้าง ค.สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ ง.ปลาข้องเดียวกัน

 50 โจทย์วิชาภาษาไทย มัธยม2 ชุดที่2 พร้อมเฉลยคำตอบ

แนวข้อสอบวิชาภาษาไทย

มัธยม 2

ชุดที่ 2

๕๑.ฝากสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้กับผู้ที่เป็นอันตรายนั้นกล่าวเป็นสำนวนในข้อใด

ก.ฝากเนื้อไว้กับเสือ
ข.อ้อยเข้าปากช้าง
ค.สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ
ง.ปลาข้องเดียวกัน

๕๒.ข้อใดใช้ภาษาในการสื่อสารถูกต้อง

ก.จงมาเลือกตั้งคะแนนเสียงกันเถิด
ข.จงมาลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกันเถิด
ค.จงมาเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกันเถิด
ง.จงมาลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งกันเถิด

๕๓.ข้อใด ไม่ใช่ ประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่านทำนองเสนาะ

ก.ผู้อ่านและผู้ฟังได้รับรสไพเราะ
ข.ช่วยให้เกิดอารมณ์สนุกสนานหรือเศร้าตามบทกวี
ค.ช่วยทำให้ผู้อ่านมีบุคลิกภาพดีขึ้น
ง.ช่วยในการจดจำบทกวีนิพนธ์ได้รวดเร็ว แม่นยำ

๕๔.“คิดถึงบาทบพิตรอดิศร” ข้อใดอ่านออกเสียงกวีนิพนธ์ตามข้อความนี้ได้ถูกต้อง 

ก.บอ-พิด-อะ-ดิ-สอน
ข.บอ-พิด-ดะ-ดิด-สอน
ค.บอ-พิด-อะ-ดิด-สอน
ง.บอ-พิด-ระ-อะ-ดิด-สอน

๕๕.ข้อใดคือความหมายของกวีนิพนธ์

ก.ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์
ข.คำประพันธ์ที่กวีแต่ง
ค.คำประพันธ์ที่ได้รับยกย่องว่าดีเด่น
ง.คำประพันธ์ที่กวีแต่งขึ้นอย่างมีศิลปะ

๕๖.วิธีเขียนบรรณานุกรมประเภทหนังสือ ข้อใดเขียนถูกต้อง

ก.ชื่อ นามสกุล.ชื่อหนังสือ.สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์
ข.ชื่อ นามสกุล.ชื่อหนังสือ.สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์
ค.ชื่อ นามสกุล ชื่อหนังสือ สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์
ง.ชื่อ นามสกุล ชื่อหนังสือ สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์

๕๗.ข้อปฏิบัติแรกของการทำโครงงานคือข้อใด

ก.วางแผนขั้นตอนงาน
ข.คิดและเลือกหัวเรื่อง
ค.เตรียมงบประมาณ
ง.จัดหาวัสดุอุปกรณ์

๕๘.ข้อใดคือหัวข้อโครงงานประเภทสำรวจ

ก.การประดิษฐ์เครื่องจักสานจากผักตบชวา
ข.การทดลองปลูกพืชผักสวนครัว
ค.การใช้คำคะนองในหนังสือพิมพ์
ง.การศึกษาคำซ้อนในวรรณคดีไทย

๕๙.ถ้าต้องการเขียนถึงความงามของคืนวันพระจันทร์เต็มดวง ควรใช้โวหารในข้อใดเขียน

ก.บรรยายโวหาร
ข.พรรณนาโวหาร
ค.เทศนาโวหาร
ง.อุปมาโวหาร

๖๐.ข้อใดเขียนภาษาต่างประเทศถูกต้อง

ก.เอนทรานซ์
ข.ฟลูออไรน์
ค.บราวน์
ง.ดัมเมเยอร์

๖๑.ข้อใดเขียนเชิงอธิบายความต้องการได้สมเหตุสมผลที่สุด

ก.เขาอยากไปเมืองกาญจน์เพราะมีพลอยดี
ข.เธออยากเป็นนักร้องเพราะจะได้แต่งตัวสวยๆ
ค.พี่อยากเรียนภาษาอังกฤษเพราะอยากเก่งภาษาอังกฤษ
ง.น้องอยากไปเที่ยวชลบุรีเพราะมีน้ำทะเล

๖๒.ข้อใดเป็นชื่อเพลงกล่อมเด็ก

ก.โพงพางข.แม่งู
ค.นกขมิ้นง.มอญซ่อนผ้า
๖๓.“ไม่มีใครรู้เรื่องนี้ดีเท่าผม” ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่าผู้พูดมีลักษณะอย่างไร
ก.พูดส่อเสียดข.พูดดูถูกผู้ฟัง
ค.พูดหลอกลวงง.พูดยกตนข่มท่าน

๖๔.ข้อใดจัดเป็นจดหมายกิจธุระ

ก.จดหมายอวยพรปีใหม่
ข.จดหมายแจ้งไม่มาทำงาน
ค.จดหมายเชิญร่วมกิจกรรมเพื่อเยาวชน
ง.จดหมายเล่าเรื่องประสบการณ์ในต่างแดน

๖๕.“ค่ะ กรุณารอสักครู่ นะคะ...” ควรเติมข้อใด

ก.ครับ  ขอบคุณ
ข.ครับ
ค.ครับ  ขอบคุณครับ
ง.ครับ  ยินดีครับ

อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ ๖๖ – ๖๘ 
“เป็นการง่ายยิ้มได้ไม่ต้องฝืนเมื่อชีพชื่นเหมือนบรรเลงเพลงสวรรค์
 แต่คนที่ควรชมนิยมกันต้องใจมั่นยิ้มได้เมื่อภัยมา”


๖๖.ข้อความนี้จัดเป็นคำประพันธ์ประเภทใด

ก.กลอนหก
ข.กลอนสุภาพ
ค.กาพย์สุรางคนางค์
ง.โคลงสี่สุภาพ

๖๗.ข้อใดที่ผู้ประพันธ์กล่าวว่าทำได้ง่าย

ก.ยิ้ม
ข.ทำจิตใจให้มั่นคง
ค.ชื่นชมกัน
ง.ร้องเพลง

๖๘.ข้อใดคือจังหวะในการอ่านคำประพันธ์นี้

ก.จังหวะ ๓ คำ ๒ คำ ๓ คำ
ข.จังหวะ ๓ คำ ๓ คำ ๓ คำ
ค.จังหวะ ๓ คำ ๑ คำ ๓ คำ
ง.จังหวะ ๒ คำ ๓ คำ ๔ คำ

๖๙.ข้อใดมีความหมายตรงกับบันทึกส่วนตัว

ก.ไปรเวต
ข.ไปรเวช
ค.อนุทิน
ง.อณุทิน

๗๐.ข้อใดกล่าวถูกต้อง

ก.ใจความ คือ ข้อความที่สำคัญที่สุดในเรื่องที่อ่าน
ข.พลความ คือ ข้อความที่สำคัญเสมอใจความ
ค.ข้อความแสดงอารมณ์ คือ ข้อความสนับสนุนใจความ
ง.ข้อคิดเห็น คือ ความจริงที่พิสูจน์ได้

๗๑.คำข้อใดมีความหมายตรงกับ “ครุฑ”

ก.สุบิน
ข.สุบรรณ
ค.กุญชร
ง.เวหน

๗๒.ผู้แต่งบทพากย์เอราวัณ คือข้อใด

ก.รัชกาลที่ ๑
ข.รัชกาลที่ ๒
ค.รัชกาลที่ ๓
ง.รัชกาลที่ ๕

๗๓.“อินทรชิตบิดเบือนกายิน เหมือนองค์อมรินทร์ทรงคชเอราวัณ” คำประพันธ์นี้คือคำประพันธ์ประเภทใด

ก.กาพย์ฉบัง
ข.กาพย์ยานี
ค.กลอนหก
ง.กลอนสุภาพ

๗๔.จากข้อ ๗๓ คำประพันธ์ที่ขีดเส้นใต้ให้คุณค่าทางวรรณศิลป์ด้านใด

ก.มีการใช้เป็น
ข.ใช้คำศัพท์ง่าย
ค.มีการใช้เสียงสัมผัสใน
ง.มีการใช้คำที่มีความหมายชัดเจน

๗๕.อินทรชิต มีความสัมพันธ์กับทศกัณฐ์อย่างไร

ก.เป็นน้อง
ข.เป็นลูก
ค.เป็นหลาน
ง.เป็นทหารเอก

๗๖.เรื่องราชาธิราช ตอนพลายประกายมาศ ให้ความรู้ในข้อใดมากที่สุด

ก.การปกครอง
ข.การสงคราม
ค.ไสยศาสตร์
ง.เศรษฐกิจ

๗๗.“เขาว่าชาติมอญแล้ว ในท้องมีเคียวคนละเจ็ดเล่ม”
ข้อความนี้มีความหมายตรงกับข้อใด

ก.คนมอญมีความฉลาดหลักแหลม
ข.คนมอญมีความขยัน ทำมาหากิน
ค.คนมอญมีความเชี่ยวชาญในการทำนา
ง.คนมอญมีเล่ห์กลอุบายมาก

๗๘.“เหมือนลูกไก่อยู่ในกำมือ ถ้าบีบเมื่อไรก็จะตายเมื่อนั้น” ข้อความนี้ให้คุณค่าแก่ผู้อ่านด้านใด

ก.มีการใช้คำสัมผัส
ข.มีการใช้โวหารที่แตกต่างกับปัจจุบัน
ค.มีการใช้สำนวนเปรียบเทียบ
ง.ใช้คำศัพท์ง่ายแก่การเข้าใจ

๗๙.ข้อใดคือจุดมุ่งหมายในการนำเครื่องราชบรรณาการไปถวายกษัตริย์ต่างเมือง

ก.เพื่อสวามิภักดิ์
ข.เพื่อขอความช่วยเหลือ
ค.เพื่อแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตน
ง.เพื่อขอเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์

๘๐.ความเชื่อเกี่ยวกับสีเสื้อผ้าที่จะใช้ออกรบ ข้อใดกล่าวถูกต้อง

ก.วันอาทิตย์ใส่สีแดงแกมชมพู
ข.วันจันทร์ใส่สีนวลขาว
ค.วันพุธใส่สีเขียว
ง.วันศุกร์ใส่สีฟ้า

๘๑.เหตุใดจึงต้องให้ช้างกินเหล้าก่อนการออกรบตามที่กล่าวไว้ในราชาธิราช ตอนพลายประกายมาศ

ก.ให้ช้างเกิดความฮึกเหิม
ข.ให้ช้างทำตามประเพณี
ค.ให้ช้างเข้ากับครวญช้างได้
ง.ให้ช้างตกมันจะได้มีพละกำลังในการต่อสู้

๘๒.สุภาษิตพระร่วงแต่งด้วยคำประพันธ์ใด

ก.ร่ายสุภาพ
ข.ร่ายยาว
ค.กาพย์ยานี
ง.กาพย์สุรางคนางค์

๘๓.ข้อใด ไม่ได้ สอนไว้ในสุภาษิตพระร่วงที่เกี่ยวกับการพูด

ก.โต้ตอบอย่าเสียคำ
ข.คิดแล้วจึงเจรจา
ค.ความในอย่าไขเขา
ง.อย่าจับลิ้นแก่คน

๘๔.ข้อใดคือความหมายของ “ตระกูลตนจงคำนับ”

ก.ให้ความเคารพและไม่อายในชาติกำเนิดตน
ข.คนยากไร้ให้สงสารเขา
ค.บำรุงเลี้ยงบิดามารดาให้มีแรง
ง.อย่าละทิ้งนามสกุลตน


๘๕.ข้อใดคือข้อที่นักเรียนควรปฏิบัติมากที่สุด

ก.อย่าปองเรียนอาถรรพ์
ข.เป็นคนเรียนความรู้
ค.อย่าทำการที่ผิด
ง.ยอครูยอต่อหน้า

๘๖.“ที่ไปจงมีเพื่อน แถวทางเถื่อนไคลคลา” คำประพันธ์นี้มีสัมผัสบังคับคู่ใดถูกต้อง

ก.ที่ – มี
ข.ไคล - คลา
ค.เพื่อน – เถื่อน
ง.แถว - เถื่อน

๘๗.ข้อใดเป็นอาวุธที่ใช้ไกลตัว

ก.โตมร
ข.ทวน
ค.พร้า
ง.ตรี

๘๘.ข้อใด ไม่ใช่ ลักษณะของกลอนดอกสร้อย

ก.แต่ละวรรคมี ๔ – ๕ คำ
ข.วรรคแรกใช้เอ๋ยที่คำที่ ๒
ค.๑ บทมี ๘ วรรคหรือ ๔ คำกลอน
ง.คำสุดท้ายของบทใช้คำว่า เอย หรือไม่ใช้ก็ได้

๘๙.แนวคิดหลักเรื่อง รำพึงในป่าช้า คือข้อใด

ก.คนเราไม่ควรยึดติดกับยศถาบรรดาศักดิ์
ข.ทุกคนเกิดมาต้องตาย
ค.ความตายเป็นที่สุดท้ายแห่งชีวิตมนุษย์
ง.เมื่อตายมีแต่ความดี ความชั่ว เท่านั้นที่จะติดตัวไป

อ่านบทประพันธ์ต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ ๙๐ – ๙๑
“นกเอ๋ยนกแสก จับจ้องร้องแจ๊กเพียงแถกขวัญ
อยู่บนยอดหอระฆังบังแสงจันทร์มีเถาวัลย์รุงรังถึงหลังคา
เหมือนมันฟ้องดวงจันทร์ให้ผันดูคนมาซู่ซ่องพักมันรักษา
ถือเป็นที่รโหฐานนมนานมาให้เสื่อมผาสุกสันต์ของมันเอย”


๙๐.สัญลักษณ์ของความตายคือข้อใด

ก.นกฮูก
ข.นกเค้าแมว
ค.นกแสก
ง.กา

๙๑.คำแสดงการเปรียบเทียบในบทดอกสร้อยนี้คือข้อใด

ก.นกแสก
ข.ดวงจันทร์
ค.เหมือน
ง.ฟ้อง

๙๒.ข้อใดกล่าวไว้ในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงอย่างถูกต้อง

ก.ธรรมชาติ สัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ
ข.ความรัก ความอาลัยนางผู้เป็นที่รัก
ค.สถานที่สำคัญทางศาสนา ธรรมชาติ
ง.ธรรมชาติ นางที่รัก สถานที่สำคัญ

๙๓.ข้อใดคือลักษณะคำประพันธ์ประเภทกาพย์ห่อโคลง

ก.กาพย์ฉบัง ๑ บท สลับโคลงสี่สุภาพ ๑ บท
ข.กาพย์ฉบัง ๒ บท สลับโคลงสี่สุภาพ ๑ บท
ค.กาพย์ยานี ๑ บท สลับโคลงสี่สุภาพ ๑ บท
ง.กาพย์ยานี ๒ บท สลับโคลงสี่สุภาพ ๑ บท

๙๔.“ขุนช้างได้ฟังอ้ายไทว่า ดังใครเอาดาบผ่ากระบาลหัว”คำประพันธ์นี้แสดงความรู้สึกใด

ก.เสียใจ
ข.โกรธ
ค.เคียดแค้น
ง.อาลัยอาวรณ์

๙๕.ข้อใดคือความรู้เกี่ยวกับบรรพบุรุษไทยสมัยก่อนที่แสดงไว้ในบทเสภาขุนช้างขุนแผน

ก.การใช้ชีวิตประจำวัน
ข.ความเป็นอยู่
ค.ความเชื่อ
ง.แสดงไว้ทั้งข้อ ๑,๒,๓

๙๖.“จะขอพันธุ์ฟักแฟงแตงน้ำเต้า ที่ออเจ้าไปปลูกในไร่ข้า” ข้อความนี้หมายถึงข้อใด

ก.มาขอพันธุ์ผักต่างๆ ไปปลูก
ข.มาขอแลกเปลี่ยนพันธุ์ผักต่างๆ ไปปลูก
ค.นำลูกชายมาให้ใช้สอย
ง.มาเจรจาขอลูกสาวเขาให้ลูกชายตน

๙๗.งิ้วจีนมีลักษณะคล้ายกับการแสดงของไทยในข้อใด

ก.จำอวดข.ลิเก
ค.ละครง.ภาพยนตร์
๙๘.สิ่งที่ควรคำนึงถึงมากที่สุดในการบวชคือข้อใด
ก.การเตรียมเครื่องอัฐบริขาร
ข.การสำรวม
ค.ความพร้อมของผู้บวช
ง.การทำขวัญนาค

๙๙.คำว่า “พัทธสีมา” หมายถึงข้อใด

ก.บริเวณวัด
ข.เขตธรณีสงฆ์
ค.ประตูวัด
ง.เขตที่กำหนดไว้สำหรับทำพิธีสงฆ์

๑๐๐.ข้อใดมีความสัมพันธ์ตรงกับคำว่า “บวชพระ”

ก.อุปสมบท
ข.บรรพชา
ค.อุปัชฌาย์
ง.ไทยทาน

เฉลย

๕๑.ก.

๕๒.ข.

๕๓.ค.

๕๔.ค.

๕๕.ง.

๕๖.ก.

๕๗.ข.

๕๘.ค.

๕๙.ข.

๖๐.ค.

๖๑.ค.

๖๒.ค.

๖๓.ข.

๖๔.ค.

๖๕.ค.

๖๖.ข.

๖๗.ก.

๖๘.ก.

๖๙.ค.

๗๐.ก. 

๗๑.ข.

๗๒.ข.

๗๓.ก.

๗๔.ค.

๗๕.ข.

๗๖.ข.

๗๗.ง.

๗๘.ค.

๗๙.ง.

๘๐.ข.

๘๑.ง.

๘๒.ก.

๘๓.ค.

๘๔.ก.

๘๕.ข.

๘๖.ค.

๘๗.ก.

๘๘.ง.

๘๙.ค.

๙๐.ค.

๙๑.ค.

๙๒.ก.

๙๓.ค.

๙๔.ก.

๙๕.ง.

๙๖.ง.

๙๗.ค.

๙๘.ค.

๙๙.ง.

๑๐๐.ก.


Total Rating ✔

9.2 stars – 2,789 reviews

More Reviews

แสดงความคิดเห็น

50 โจทย์วิชาภาษาไทย มัธยม2 ชุดที่2 พร้อมเฉลยคำตอบ

โจทย์วิชาภาษาไทยมัธยม2, เฉลยแนวข้อสอบ, แนวข้อสอบ, doc, test