การศึกษาไทย "ถอยหลัง" ข้อสังเกตจากธนาคารโลก
27 เมษายน 2564
ผู้แทนธนาคารโลกเริ่มด้วยการหยิบยกตัวเลขเก่าที่เราได้ยินได้ฟังมาแล้วหลายหนขึ้นมาเกริ่นนำว่า จากการประเมินทักษะนักเรียนอายุ 15 ปี จากทั้งหมด 79 ประเทศ ตามมาตรฐานสากลหรือ PISA พบว่า เด็กไทยอยู่ในอันดับท้ายๆ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก คือ อันดับที่ 68 ด้านการอ่าน อันดับที่ 59 ด้านคณิตศาสตร์ และอันดับที่ 55 ด้านวิทยาศาสตร์ (ข้อมูลที่มีการประเมินไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 )
ผู้แทนธนาคารโลกระบุด้วยว่าสาเหตุที่ทักษะเรียนรู้ของเด็กไทยตกต่ำส่วนหนึ่งเกิดจากนักเรียนมีอัตราการขาดเรียนสูง เพราะไม่รู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน ทำให้ไม่อยากไปโรงเรียน ซึ่งความรู้สึกที่ว่านั้นมาจากหลายปัจจัย ทั้งปัญหายากจน ครูไม่มีคุณภาพ เด็กถูกกลั่นแกล้งรังแก รวมถึงการไม่ได้รับกำลังใจและการส่งเสริมจากครอบครัวที่เพียงพอ
นอกจากการนำเสนอในประเด็นเก่าที่ว่านี้แล้ว ผู้แทนธนาคารโลกชุดนี้ยังมีการประเมินตัวเลขค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของนักเรียนไทยตั้งแต่ชั้น ป.1 จนถึง ม.3 ว่ามีมูลค่าเฉลี่ยต่อหัวถึง 27,271 เหรียญสหรัฐฯถือว่าประเทศไทยใช้เงินลงทุนทางด้านการศึกษาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับจำนวนนักเรียน แต่ผลสัมฤทธิ์กลับสวนทางกับการลงทุน ปัจจัยสำคัญที่อยู่เบื้องหลังประการหนึ่งก็คือ การกระจายทรัพยากรไม่ถูกจุด รวมถึงปัญหาการขาดแคลนครูและการเข้าไม่ถึงอุปกรณ์การเรียน เป็นต้น คณะผู้แทนธนาคารโลกจึงเสนอว่าโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ใกล้เคียงกันควรมีการควบรวม หรือสามารถใช้คณะบุคลากรและอุปกรณ์การศึกษาร่วมกันได้ เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
Cr : "ซูม" https://www.thairath.co.th/news/society/1994396
Total Rating ✔
9.2 stars – 2,789 reviews
More Reviews
อ่านรีวิว ทั้งหมดคลิก
แสดงความคิดเห็น
เด็กไทยอยู่อันดับที่ 68 ด้านการอ่าน จากทั้งหมด 79 ประเทศ
ข่าวการศึกษา, News