โครงการส่งเสริมการพัฒนาทุนมนุษย์ สําหรับนักศึกษาผู้กู้ยืมเงินในระดับปริญญาตรี เมื่อสําเร็จการศึกษาในสาขาวิชาที่กําหนด
21 ก.พ. 2564
สร้างโอกาสให้เด็กและเยาวชนไทยทุกคน โดยเฉพาะเด็กยากจนหรือเด็กด้อยโอกาส ให้เข้าถึงการศึกษา เพื่อผลิตกำลังคนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และ 3 โครงสร้างพื้นฐาน ป้อนกำลังคนในสาขาที่เป็นความต้องการในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษและวิชาชีพสาขาขาดแคลน ให้สอดคล้องกับแนวนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) และ กยศ. สนองนโยบายรัฐบาลด้วย "โครงการส่งเสริมการพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital)" ซึ่งดําเนินการระหว่างปีการศึกษา 2562-2566 สําหรับนักศึกษาผู้กู้ยืมเงินในระดับปริญญาตรี เมื่อสําเร็จการศึกษาในสาขาวิชาที่กําหนดจะคิดดอกเบี้ยอัตราไม่เกินร้อยละ 0.5 ต่อปี และได้ส่วนลดเงินต้นร้อยละ 30 สําหรับนักเรียน/นักศึกษาผู้กู้ยืมเงินในระดับอาชีวศึกษา เมื่อสําเร็จการศึกษาในสาขาวิชาที่กําหนดจะคิดดอกเบี้ยอัตราไม่เกินร้อยละ 0.5 ต่อปี และได้ส่วนลดเงินต้นร้อยละ 50
10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต 2. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 3. อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 4. อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ 5. อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร 6. อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 7. อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ 8. อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ 9. อุตสาหกรรมดิจิทัล 10. อุตสาหกรรมแพทย์ครบวงจร 3 โครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ อุตสาหกรรมระบบราง อุตสาหกรรมพาณิชย์นาวี อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ทั้งนี้ ในปีการศึกษา 2562 และ 2563 มีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการแล้ว 59,874 คน และ 65,217 คน ตามลำดับ
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังเผยด้วยว่า ที่ผ่านมา กยศ. ยังได้มีมาตรการช่วยเหลือผู้กู้ยืมในช่วงโควิด-19 เช่น ได้กำหนดลดเบี้ยปรับ 100% สำหรับผู้กู้ยืมที่ค้างชำระหนี้และปิดบัญชีสิ้นสุด 30 มิ.ย. 2564 ลดเบี้ยปรับ 80% เฉพาะผู้กู้ยืมที่ยังไม่ถูกดำเนินคดีที่ชำระหนี้ค้างให้มีสถานะปกติสิ้นสุด 30 มิ.ย. 2564 ลดเงินต้น 5% สำหรับผู้กู้ยืมที่ไม่เคยผิดชำระหนี้และชำระหนี้ปิดบัญชีในคราวเดียวกันสิ้นสุด 30 มิ.ย. 2564 ลดอัตราเบี้ยปรับจาก 7.5% เหลือ 0.5% ถึง 30 มิ.ย. 2564 พักชำระหนี้ให้แก่ผู้กู้ยืมที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2 ปี (2563-2564) อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 2539 มีผู้กู้เงินกองทุนไปแล้ว 5,972,343 ราย เป็นเงินกู้ 655,146 ล้านบาท และสำหรับสถานะ กยศ. ณ สิ้นปี 2563 จากผู้กู้จำนวน 5.9 ล้านราย มีผู้กู้ปิดบัญชีไปแล้ว 1,343,496 ราย อยู่ระหว่างปลอดหนี้ 998,512 ราย และอยู่ในระหว่างชําระหนี้ 3,567,661 ราย และจากผู้ที่อยู่ระหว่างผ่อนชําระหนี้ 3.5 ล้านราย มีผู้กู้ยืมผิดนัดชําระหนี้ จํานวน 2,209,509 ราย คิดเป็นเงินต้นค้างชําระ จํานวน 78,506 ล้านบาท โดยในปีการศึกษา 2563 กยศ.ให้กู้ยืม 600,000 ราย จำนวนเงิน 33,000 ล้านบาท และกองทุนบริหารจัดการโดยไม่ได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดินตั้งแต่ปี 2561 แล้ว.
Cr : https://www.thairath.co.th/news/politic/2036808
powered by Surfing Waves
Total Rating ✔
9.2 stars – 2,789 reviews
More Reviews
อ่านรีวิว ทั้งหมดคลิก
แสดงความคิดเห็น
10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และ 3 โครงสร้างพื้นฐาน สร้างโอกาสให้เด็กและเยาวชนไทยทุกคน
ข่าวการศึกษา, News