สำรวจ
แนะนำ
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

ติวสอบทุนนักบิน Student Pilot

ค้นหาด้วยเสียง
ค้นหาด้วยเสียงคลิกที่นี่

» » วิชาวิทยาศาสตร์มัธยมต้น เรื่องชีวิตและสิ่งแวดล้อม

27 ธันวาคม 2562

วิชาวิทยาศาสตร์มัธยมต้น เรื่องชีวิตและสิ่งแวดล้อม

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Environmental Conservation) หมายถึงการใช้สิ่งแวดล้อม อย่างมีเหตุผล เพื่ออำนวยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดไปแก่มนุษย์

วิชาวิทยาศาสตร์มัธยมต้น เรื่องชีวิตและสิ่งแวดล้อม




ชีวิตและสิ่งแวดล้อม

1.ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น

ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเอื้อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ เช่น ป่าไม้ให้ประโยชน์ในการนำมาทำที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม เชื้อเพลิง น้ำให้ประโยชน์ในการอุปโภค  บริโภค การเกษตร สัตว์ป่าให้ประโยชน์ในแง่การพักผ่อน นันทนาการ คุณค่าในการศึกษาหาความรู้ เป็นอาหาร

ทรัพยากรธรรมชาติแบ่งได้ 3 ประเภทคือ
1) ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น (Non-Exhausting Natural Resources) หรือทรัพยากรธรรมชาติที่มีใช้ตลอด (Inexhuastible Natural Resources) เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ 
ก) อากาศ มีอยู่อย่างสมบูรณ์ในโลก จำเป็นและสำคัญต่อมนุษย์ สัตว์ พืช สิ่งมีชีวิตทุกชนิด
ข) น้ำ (ในวัฏจักร) หมายถึง น้ำในลักษณะการเก็บน้ำแล้วแปรสภาพเป็นน้ำไหลบ่า น้ำท่า น้ำในลำน้ำ น้ำใต้ดิน น้ำขัง และน้ำในมหาสมุทร  มีความจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต มีการหมุนเวียน ไม่จบสิ้น และทรัพยากรแสงอาทิตย์ ดิน ชั้นบรรยากาศ 
 2) ทรัพยากรธรรมชาติที่ทดแทนได้ (Replaceable or Renewable Natural Resources) เป็นทรัพยากรที่มีความจำเป็นต่อมนุษย์ในการดำรงชีพเพื่อตอบสนองปัจจัยสี่และ  ความสะดวกสบาย เมื่อใช้แล้วสามารถเกิดทดแทนขึ้นได้ 
 ก) น้ำที่ใช้ได้ หมายถึงน้ำในที่ใดที่หนึ่งเมื่อใช้หมดแล้ว จะมีการทดแทนได้ด้วยฝนที่ตกตามปกติ
 ข) ดิน เป็นปัจจัยสำคัญที่ให้อาหารเสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย ซึ่งกำเนิดจากพื้นดิน 
3) ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป (Exhausting Natural Resources) หรือทรัพยากรที่ไม่สามารถทดแทนได้ (Irreplaceable Natural Resources) เป็นทรัพยากรที่ไม่สามารถจะทำมาทดแทนได้ เมื่อใช้หมดไป เช่น แร่ โลหะ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันปิโตรเลียม ถ่านหิน 


2.การใช้และอนุรักษ์ทัพยากร

1) ทรัพยากรน้ำ   น้ำเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วไม่หมดไปมีหมุนเวียนในวัฏจักร เป็นทรัพยากรที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม มนุษย์ใช้สอยน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคในชีวิตประจำวัน ชำระล้างสิ่งสกปรกต่าง ๆ ใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตอาหาร เป็นปัจจัยในขบวนการผลิตภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม  
 ความสำคัญของน้ำยังใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า การคมนาคมขนส่ง การพักผ่อนหย่อนใจ การประมง เพื่อเป็นแหล่งอาหารเสริมของสัตว์และพืชน้ำ เป็นตัวรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ  ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน ก๊าซต่าง ๆ ในบรรยากาศ 
2) ทรัพยากรดิน  มีความสำคัญต่อการดำรงชีพของมนุษย์ สิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิด จะพึ่งพาอาศัยดิน เพื่อความอยู่รอด   ความสำคัญในด้านการเกษตรกรรม เป็นแหล่งเพาะปลูกเพื่อสร้างปัจจัยสี่ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยในการสร้างบ้านเรือน และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เป็นแหล่งสะสมและอาศัยอยู่ของทรัพยากรอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ แร่ธาตุ แหล่งน้ำ 
3) ทรัพยากรป่าไม้ ประโยชน์ทางตรงมนุษย์ใช้ป่าไม้ในการผลิตปัจจัยสี่ ในการดำรงชีพ ไม่ว่าจะนำไปสร้างที่อยู่อาศัย เป็นอาหาร ยารักษาโรคและเครื่องนุ่งห่ม ในส่วนประโยชน์ทางอ้อม ได้แก่ ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในบรรยากาศ ทำให้ฝนตกเพิ่มขึ้น บรรเทาความรุนแรงของลมพายุ ป้องกันการพังทลายของดิน บรรเทาอุทกภัย เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า  และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
4) ทรัพยากรสัตว์ป่า ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ ในส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ป่ามาซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน  ด้านวิชาการสัตว์ป่านำมาทดลองด้านวิทยาศาสตร์ ค้นคว้า วิจัย นำผลงานมาประยุกต์ใช้  กับมนุษย์ ด้านการรักษาความงาม ความเพลิดเพลิน คุณค่าทางด้านจิตใจ ทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จะเห็นได้จากหลายประเทศได้ให้ของขวัญแก่กันโดยใช้สัตว์ป่า
5) ทรัพยากรประมง การใช้ประโยชน์ในด้านเป็นอาหารทั้งโดยตรง หรือการแปรรูป จากสัตว์น้ำจืดและน้ำเค็ม เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา  สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ให้ประโยชน์ด้านค้าขาย จำหน่ายภายในและภายนอกประเทศมีคุณค่าใช้เป็นยาพื้นบ้าน เป็นเครื่องใช้  เครื่องประดับ ให้ความเพลิดเพลิน และความสวยงาม 
6) ทรัพยากรพลังงาน ได้พลังงานจากแสงแดด จากอาหารเพื่อสุขภาพและความแข็งแรงของร่างกาย อันหมายถึง  การดำรงชีพ การเจริญเติบโตของชีวิต ส่วนทางอ้อมมนุษย์ใช้พลังงานเป็นตัวแทนในการช่วยเหลือการทำงานต่าง ๆ เพื่อความเป็นอยู่สะดวกสบายเพิ่มขึ้น 
7) ทรัพยากรแร่ เชิงเศรษฐกิจแล้วแร่เป็นวัตถุดิบและเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม เช่น เหล็ก อลูมิเนียม 
ถ่านหิน ลิกไนต์ ใช้ในการผลิตเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องจักร เครื่องยนต์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่าง ๆ ในเชิงนิเวศวิทยา ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มแร่อโลหะ เช่น โพแทส เกลือหิน ที่นำมาผลิตปุ๋ย  เพิ่มธาตุอาหารในพืช  เป็นตัวสนับสนุนการเจริญเติบโต การขยายพันธุ์และการมีชีวิตอยู่ของผู้ผลิต
8) ทรัพยากรมนุษย์  เป็นทรัพยากรประเภทที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและทดแทนใหม่ได้ สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมได้ เนื่องจากมีสมองและพัฒนาความคิดนำมาสามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในทางเสริมสร้างและทำลาย คุณค่าหรือความสำคัญของมนุษย์ เช่น ความสามารถในการนำทรัพยากรอื่น ๆ มาใช้อย่างชาญฉลาด การศึกษาดี มีวัฒนธรรมที่เหมาะสม สุขภาพร่างกายแข็งแรง ก็จะช่วยพัฒนาประทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว

3.ปัญหาสิ่งแวดล้อม

1. ปัญหาที่เกิดขึ้นจาการใช้ทรัพยากรของมนุษย์อย่างไม่ประหยัดและขาดความรับผิด 
2. ปัญหาเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติทั้งที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ดิน แร่ธาตุ สัตว์ และพืช และปัญหาเสื่อมโทรมของคุณค่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์เช่น ดิน น้ำ อากาศ  รวมถึงปัญหาความเสื่อมโทรมของ

ระบบนิเวศตามธรรมชาติ 
ลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อม
1. ปัญหาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่
 - ภาวะมลพิษ
 - ปัญหาความร่อยหรอของทรัพยากร
 - ปัญหาการใช้ทรัพยากรไม่ถูกวิธี ขาดการอนุรักษ์
2. ปัญหาสิ่งแวดล้อมทางสังคม ได้แก่
 - ปัญหาความยากจน
 - ความขาดแคลนอาหาร
 - ที่อยู่อาศัย
 - ความไม่รู้หนังสือ
-ความเจ็บไข้ ฯลฯ 




สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม
ปัญหาประชากร
1) การเพิ่มจำนวนประชากร
2) ขยายตัวทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี เทคโนโลยีที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้แก่
(1) ด้านการเกษตรการใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง
(2) ด้านอุตสาหกรรมเนื่องจากการใช้เครื่องจักรแทนคนก่อให้เกิด
 - ปัญหาว่างงาน
 - ขาดแคลนทรัพยากร
(3) ด้านคมนาคม ความสะดวกสบายในการคมนาคมทำให้เกิดการจราจรติดขัดจากมีปริมาณการใช้มาก
(4) สารกัมมันตภาพรังสี ซึ่งนำมาใช้ในการถนอมอาหาร การสงคราม
3) ความเชื่อและค่านิยมที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดผลต่อการทำลายสิ่งแวดล้อมเพื่อตอบสนองความเชื่อและค่านิยม
(1) การนิยมความฟุ่มเฟือย หรูหรา
(2) มีความมักง่ายและความประมาท
(3) ชอบความเป็นเอกเทศและความเป็นอิสระ
(4) ความชื่นชอบสิ่งประดิษฐ์หรือความงามตามธรรมชาติ เช่น การปลูกสร้างอาคารตามไหล่เขา
2. การขยายตัวของเมือง  เกิดจากภาวะหรือปัจจัยทางสังคมที่ผลักดันให้คนส่วนใหญ่เกาะกลุ่มกันเข้ามา อยู่ในเขตเมือง ภาวะดังกล่าวได้แก่
 3. สภาพการใช้ที่ดินไม่เหมาะสม  พบว่าการเพิ่มขึ้นของประชากรและสาเหตุการเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นได้ก่อให้ เกิดสภาพการใช้ที่ดินไม่เหมาะสม เพราะขาดการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งบางพื้นที่เหมาะแก่
การเพาะปลูก แต่ถูกสภาพการเป็นเมืองเข้าก่อสร้างซ้อนทับ มีผลทำให้ต้องแสวงหาพื้นที่ทำการเกษตรใหม่ โดยบุกรุกพื้นที่ป่า
 4. การใช้เทคโนโลยีไม่เหมาะสม   ได้แก่การใช้สารเคมีในการเกษตรและอุตสาหกรรมรวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่ไม่ถูก วิธี ย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นกจากนี้การใช้เทคโนโลยีทำให้สามารถทำลายทรัพยากร ได้เป็นจำนวนมาก ทำให้ระบบนิเวศถูกทำลายอย่างรวดเร็ว การนำปะการังเก็บขึ้นมาทำเป็นสินค้าที่ระลึก ทำให้สัตว์น้ำไม่มีที่อยู่อาศัย คุณภาพดินเสื่อมจากสารเคมีที่ใช้ในการเกษตรและปุ๋ยเคมีในระยะเวลา นาน ๆ อย่างต่อเนื่อง


4.การพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

1.หมุนเวียนทรัพยากรมาใช้ใหม่หรือใช้ซ้ำ
2.การบูรณะซ่อมแซม
3.ถนอมการใช้
4.ประหยัดการใช้ทรัพยากร

หลักการและวิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อ
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Environmental Conservation) หมายถึงการใช้สิ่งแวดล้อม อย่างมีเหตุผล เพื่ออำนวยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดไปแก่มนุษย์ 

ประโยชน์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 6 ประการ ดังนี้
1) ต้องมีความรู้ในการที่จะรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่จะให้ผลแก่มนุษย์ทั้งที่ เป็นประโยชน์และโทษ และคำนึงถึงเรื่องความสูญเปล่าในการจะนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้
2) รักษาทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นและหายากด้วยความระมัดระวัง ตระหนักเสมอ ว่าการใช้ทรัพยากรมากเกินไปจะเป็นการไม่ปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม 
3) รักษาทรัพยากรที่ทดแทนได้ให้มีสภาพเพิ่มพูนเท่ากับอัตราที่ต้องการใช้เป็น อย่าง น้อย
4) ประมาณอัตราการเปลี่ยนแปลงของประชากรได้ พิจารณาความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นสำคัญ
5) ปรับปรุงวิธีการใหม่ ๆ ในการผลิตและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและพยายามค้นคว้าสิ่งใหม่ ๆ ทดแทนการใช้ทรัพยากรจากแหล่งธรรมชาติให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ของประชากร
6) ให้การศึกษาแก่ประชาชนเพื่อเข้าใจถึงความสำคัญในการรักษาสมดุลธรรมชาติ ซึ่งมีผลต่อการทำให้สิ่งแวดล้อมอยู่ในสภาพที่ดี 


วิธีการรอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    1) กำจัดการใช้ที่ไม่จำเป็นหรือมีแนวโน้มที่จะสูญเปล่า
    2) ดูแลรักษาทรัพยากรที่หายากหรือมีน้อย ให้อยู่ในสภาวะที่มากพอเสียก่อนจึงจะให้ใช้ทรัพยากรนั้น ๆ ได้
    3) ผู้ใช้ทรัพยากรทั้งหลายควรตระหนักอยู่เสมอว่า ทรัพยากรแต่ละอย่างจะมีความสัมพันธ์ต่อกันยากที่จะแยกจากกันได้
    4) การเพิ่มผลผลิตของพื้นที่แต่ละแห่งควรจะต้องทำ
    5) ต้องพยายามอำนวยให้สภาวะต่าง ๆ ดีขึ้น







Total Rating ✔

9.2 stars – 2,789 reviews

More Reviews

แสดงความคิดเห็น

วิชาวิทยาศาสตร์มัธยมต้น เรื่องชีวิตและสิ่งแวดล้อม

เรียนวิทยาศาสตร์, doc