สำรวจ
แนะนำ
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

ค้นหาด้วยเสียง
ค้นหาด้วยเสียงคลิกที่นี่

» » สรุปวิชาสังคมศึกษา เรื่องพระพุทธศาสนา พร้อมแบบฝึกหัด

06 สิงหาคม 2562

สรุปวิชาสังคมศึกษา เรื่องพระพุทธศาสนา พร้อมแบบฝึกหัด

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม คือ ปฏิเสธการสร้างโลกและสรรพสิ่ง มีหลักการบางประการคล้ายคลึงกับศาสนาฮินดู ซึ่งมีแหล่งกำเนิดเดียวกัน นับเป็นศาสนาที่เก่าแก่ศาสนาหนึ่งของโลกปัจจุบัน ที่มีศาสนิกชนส่วนใหญ่อยู่ในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สรุปวิชาสังคมศึกษา เรื่องพระพุทธศาสนา พร้อมแบบฝึกหัด





พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม   

คือ  ปฏิเสธการสร้างโลกและสรรพสิ่ง  มีหลักการบางประการคล้ายคลึงกับศาสนาฮินดู   ซึ่งมีแหล่งกำเนิดเดียวกัน  นับเป็นศาสนาที่เก่าแก่ศาสนาหนึ่งของโลกปัจจุบัน  ที่มีศาสนิกชนส่วนใหญ่อยู่ในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

องค์ประกอบของศาสนา

1.  ศาสดา  คือ  พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระนามเดิมว่าเจ้าชายสิทธัตถะ
2.  คัมภีร์ของศาสนาพระไตรปิฏก
3.  สาวก  พระสงฆ์   ศาสนิกชน  เรียกว่า  พุทธศาสนิกชน
4.  ศาสนสถาน  โบสถ์
5.  หลักธรรม   อริยสัจ  4,  ไตรลักษณ์,  ขันธ์  5
6.  จุดมุ่งหมายสูงสุด  คือ  การนิพพาน
7.  พิธีกรรม   การบรรพชา   การอุปสมบท  พิธีกฐิน   พิธีปวารณา

พุทธประวัติ

เจ้าชายสิทธัตถะ สกุลโคตมะ แปลว่า “ผู้ยังความปรารถนาให้สำเร็จ”   อยู่ในราชวงศ์ศากยะอยู่ในวรรณะพราหมณ์  แคว้นสักกะ  (ปัจจุบันอยู่ในเนปาล)   ประสูติเมื่อ  80  ปี  ก่อนพุทธศักราช  ตรงกับวันศุกร์ขึ้น  15  ค่ำ  เดือน 6  ปีจอ  ณ.  ใต้ต้นสาละ  ลุมพินีวัน (ปัจจุบันคือลุมมินเตในเนปาล)  ทรงเป็นผู้ก่อตั้งพุทธศาสนา  ขนานพระนามว่า  พระพุทธเจ้า  คือ ผู้บรรลุความรู้แจ้ง   พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธนะและพระนางสิริมหามายา   มีผู้ทำนายพระลักษณะของพระองค์  โดยอลิตคาบส  (กาฬเทวิล)   ว่าจะทรงเป็นศาสดาที่ยิ่งใหญ่

เหตุการณ์สำคัญตามพระชนมายุ  ต่างๆ   ดังนี้  คือ

7-8   พรรษา   เข้าศึกษากับครูวิศวามิตร
16 พรรษา   อภิเษกสมรสกับพระนางยโสธราพิมพา
29  พรรษา   มีพระราชโอรสคือพระราหู  (ห่วง,  บ่วง)   ในคืนที่พระราหูลประสูติทรงตัดสินพระทัยออกบวชโดยก่อนหน้านั้นทรงเห็นเทวทูต  ได้แก่  คนแก่  คนเจ็บ  คนตาย  และสมณะ  ทรงตระหนักว่าทุกสิ่งเป็นทุกข์ทางที่จะพ้นทุกข์ควรออกบรรพชาซึ่งเป็นความนิยมของบุคคลในยุคนั้นและการออกบรรพชาของพระองค์  เรียกว่า “การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์”  คือ  การเสด็จออกเพื่อคุณที่ยิ่งใหญ่  โดยอธิษฐานเพศเป็นบรรพชิต  ณ  ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา แล้วเสด็จไปทางใต้จนถึงลุ่มน้ำคยาในแคว้นมคะ ทรงเข้าศึกษาในสำนักของอาจารย์อาฬารดาบส   กาลามโคตร   สำเร็จฌาณสมาบัติขั้นที่  7 สำนักของอาจารย์อุททกดาบสรามบุตร   ทรงสำเร็จฌานสมาบัติขั้นที่  8  แต่ทรงตระหนักว่ายังมิใช่ทางไปสู่ความหลุดพ้นจึงเดินทางต่อไปสู่บริเวณแม่น้ำเนรัญชรา   ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม   ทรงตั้งพระทัยบำเพ็ญทุกรกิริยา  (การกระทำที่ทำได้ยาก)  โดยมีปัญจวัคคีย์ติดตามรับใช้  หนึ่งใน  ปัญจวัคคีย์  คือ  ท่านโกณฑัญญะได้ทำนายว่าพระองค์จะบรรลุธรรมวิเศษ   การบำเพ็ญทุกขกิริยาของพระองค์มีขั้นตอนดังนี้ คือ

1.  ขบฟันด้วยฟัน  เอาลิ้นกดเพดานปากอย่างแรง
2.  กลั้นลมหายใจ  โดยผ่อนลมหายใจเข้าออกจนเกิดเสียงดังในช่องหู
3.  อดอาหาร   โดยค่อยๆ   ลดปริมาณอาหารลงจนกระทั่งตัดขาดอย่างสิ้นเชิง
การบำเพ็ญทุกรกิริยาไม่ได้ทำให้พระองค์มีความสงบทางจิตได้   จึงทรงกลับมาเสวยพระกระยาหารตาม
เดิม บรรดาปัญจวัคคีย์คิดว่าทรงสิ้นสุดความเพียรจึงพากันละทิ้งพระองค์ไป    แต่กลับเป็นผลดีเพราะทำให้มีความสงบมากขึ้น

การตรัสรู้

องค์สัมมนาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ในวันเพ็ญขึ้น  15  ค่ำ   เดือน  6  ก่อนพุทธศักราช 45  ปี  โดยทรงรับข้าว-มธุปยาส  49  ก้อนจากนางสุชาดา    แล้วทรงบำเพ็ญเพียรโดยประทับนั่งบนหญ้าคาใต้ต้นโพธิ์ทรงตั้งปณิธานว่า “แม้เลือดและเนื้อในกายของเราจะเหือดแห้งไปเหลือแต่หนัง  เอ็น   และกระดูกก็ตามเกิดหากยังไม่ได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว   เราจะไม่ลุกจากอาสนะนี้เป็นอันขาด  ทรงทำสมาธิจนได้รูปฌานที่  4  แล้วน้อมจิตไปในทางใช้ปัญญา  ทำให้ทรงรู้แจ้งเห็นจริง  3  ประการ
-  ปฐมยาม  ทรงได้บุพเพนิวาสนุสสติญาณ  คือ  ทรงระลึกชาติหนหลังของตนได้
-  มัชฌิมยาม  ทรงได้จุตูปปาตญาณ  หรือ  ทิพยจักขุญาณ  คือรู้ในจุติ  (ตาย)  และปฏิสนธิของบรรดาสัตว์ทั้งมวลเป็นไปด้วยกรรม
-  ปัจฉิมยาม  ทรงได้อาสวักขยญาณ  คือ รู้วิธีขจัดกิเลส   โดยทรงพิจารณาจากผลสาวไปสู่เหตุซึ่งมีความต่อเนื่องกันเหมือนลูกโซ่เรียกว่า “ปฏิจจสมุปบาท”   ที่เป็นต้นทางนำไปสู่ความพ้นทุกข์   คือ  อริยสัจ  4  อันประกอบด้วย  ทุกข์  สมุทัย  นิโรธ  มรรค  โดยทรงพิจารณาจากขันธ์ (องค์ประกอบชีวิตของมนุษย์)   และไตรลักษณ์  (ลักษณะสามัญของสรรพสิ่งในโลก)   ได้บรรลุความสิ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง   คือ  นิโรธ  จึงทรงได้รับการขนานพระนามว่า

สัมมาสัมพุทธ แปลว่า ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง
ตถาคต แปลว่า เสด็จมาดี
พระผู้มีพระภาค แปลว่า ทรงจำแนกธรรม
บรมศาสดา แปลว่า ศาสดาผู้เป็นยอด
เมื่อทรงเห็นจริงในข้อดังกล่าวจึงทรงเริ่มต้นที่จะเผยแผ่คำสอน จุดหมายแรกคือท่านอาจารย์ทั้งสอง   แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าท่านสิ้นชีวิตไปก่อนแล้วจึงทรงเสด็จไปป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี   เพื่อแสดง
ธรรมโปรดปัญจวัคคีย์   บทธรรมะที่ทรงแสดง  คือ “ธัมมจักกัปวัตนสูตร”   ในวันเพ็ญขึ้น  15  ค่ำเดือน  8  เรียกวันนี้ว่า วันอาสาฬหบูชา    เป็นสำคัญวันหนึ่งของศาสนาพุทธ
เนื้อหาของธรรมะบทนี้  คือ  ทรงกล่าวถึง
1.  ทางที่ไม่ควรปฏิบัติ  ได้แก่  กามสุขัลลิกานุโยค  คือ  ทางที่หย่อนไป  ลุ่มหลงในกามสุข  อัตตะกิลม-ถานุโยค  คือ  ทางที่ตึงเกินไปคือการทรมานตน
2.  ทางที่ควรดำเนิน   คือ  อริยสัจ  4  ทรงแสดงเรื่องทางสายกลาง และยืนยันว่าทรงตรัสรู้  ท่านโกณ-ฑัญญะ   ได้ดวงตาเห็นธรรมเรียกว่า “ธรรมจักษุ”  ก่อนทูลขอบรรพชานับเป็นพระสงฆ์องค์แรกของพระพุทธศาสนา   ทรงบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทาคือบวชโดยองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าให้ วันอาสาฬหบูชา   จึงถือว่าเป็นวันของ  “พระสงฆ์”  ต่อจากนั้นทรงแสดงธรรมโปรดต่อให้อีก   ท่านและอุปสมบทตามด้วยบทธรรมเรื่อง  “อนัตตลักขณสูตร”  ปัญจวัคคีย์ทั้งหมดบรรลุอรหันต์ธรรมะบทนี้ชี้เรื่องความไม่มีตัวตน   เป็นการชี้ความแตกต่างของคำสอนจากศาสนาพราหมณ์อย่างสิ้นเชิง
จากนั้นทรงเทศนาโปรดสกุลบุตรและสหาย  54  คน  จนบรรลุอรหันต์รวมมีอรหันต์  60  รูปจึงเริ่มส่งพระสาวกออกประกาศศาสนา  กำหนดมิให้พระสงฆ์ไปในทางเดียวกัน  2  รูปขึ้นไปทั้งนี้เพื่อให้สามารถเผยแพร่ได้กว้างขวาง   พระองค์เองทรงโปรดชฎิล  3  พี่น้องผู้เลื่อมใสบูชาไฟ    จึงทรงแสดงธรรมะ  “อาทิตตปริยายสูตร”  พระเจ้าพิมพิสารทรงอุปถัมภ์สร้างวัดเวฬุวันที่กรุงราชคฤห์   แคว้นมคธ   เป็นอารามแห่งแรกของศาสนา
ขณะประทับที่เวฬุวันนี้เอง ในวันเพ็ญขึ้น  15  ค่ำ  เดือน  3  ซึ่งตรงกับวันลอยบาปของผู้ถือศาสนาพราหมณ์  ได้เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า  “จาตุรงคสันนิบาต”   ได้แก่
1.  พระสงฆ์   1,250  รูป  เป็นอรหันต์ทั้งหมด
2.  เป็นเอหิภิกขุ
3.  มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
4.  ทรงแสดง “โอวาทปาติโมกข์”  อันเป็นการสรุปคำสอนของพระพุทธศาสนา  คือ เว้นชั่ว  (ศีล)   ทำดี
(สมาธิ)   ทำจิตให้บริสุทธิ์  (ปัญญา)

ต่อมาทรงได้อัครสาวกคือพระสาลีบุตร  และพระโมคคัลลานะ   และมีสาวกที่รับใช้ใกล้ชิดผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดแห่งอุปฐากและยอดแห่งความเป็นผู้ว่าง่าย  คือ  พระอานนท์
พระพุทธเจ้าทรงใช้เวลาเผยแผ่ศาสนาเป็นเวลา  45  ปี  ในวันเพ็ญ  เดือน  6  ทรงดับขันธปรินิพพาน   ระหว่างตันรังคู่ในเมืองกุสินารา พระชมมายุ 80  พรรษา  ก่อนปรินิพพานทรงแสดงปัจฉิมโอวาทว่า “ภิกษุทั้งหลาย   เราขอบอกเธอทั้งหลายว่า  สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา   พวกเธอทั้งหลายจงยังประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด”

การแตกแยกนิกายของศาสนา

พระธรรมคำสอนแต่เดิมมิได้มีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร   แต่ใช้การท่องจำต่อกันมาหลังการปรินิพพานได้  3  เดือน   เกิดการสอบทานพระธรรมคำสอน  เรียกว่า  การสังคายนา
ในประเทศไทยมีกาสังคายนาในสมัยพระเจ้าติโลกราช    จารึกพระไตรปิฏกเป็นอักษรไทยลานนา  ในรัชกาลที่  1  จัดทำเพราะสูญหายเมื่อคราเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่  2  และในรัชกาลที่ 8-9  จัดทำพระไตรปิฏก  ฉบับภาษาไทย
ศาสนาพุทธจึงแยกออกเป็น  2 นิกายคือนิกายเถรวาทหรือหินยาน  และนิกายมหายาน  หรือ อาจาริยวาท  ซึ่งมีข้อแตกต่างดังต่อไปนี้



ข้อแตกต่างระหว่างนิกายเถรวาทและนิกายมหายาน

ข้อแตกต่างระหว่างนิกายเถรวาทและนิกายมหายาน


พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท  แพร่หลายอยู่ในประเทศไทย ศรีลังกา พม่า ลาว กัมพูชา และบางส่วนของประเทศเวียดนาม บังกลาเทศ และ มาเลเซีย
พระพุทธศาสนานิกายมหายานแพร่หลายใน จีน ญี่ปุ่น มองโกเลีย ภูฏาน ไต้หวัน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้และสิงคโปร์   และบางส่วนของอินเดีย    อินโดนีเซียและชาวจีนในประเทศมาเลเซีย   เนปาล   บรูไน ฟิลิปปินส์  อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน

พระไตรปิฎก

พระไตรปิฎกแบ่งเป็น  3  หมวด   คือ
1.  พระวินัยปิฎก   ประกอบด้วย 5  คัมภีร์   มีหัวข้อธรรม  21,000  ธรรมขันธ์   ว่าด้วยศีลหรือข้อบัญญัติของภิกษุ  227  ข้อ  ภิกษุณี  311   ข้อ
2.  พระสุตตันปิฎก  ประกอบด้วย  5  คัมภีร์  มีหัวข้อธรรม  21,000  ธรรมขันธ์   ว่าด้วยพระสูตรหรือพระธรรมเทศนาที่ตรัสแก่บุคคลต่างๆ   ตามวาระและโอกาส
3.  พระอภิธรรมปิฎก  ประกอบด้วย  7  คัมภีร์  มีหัวข้อธรรม  42,000  ธรรมขันธ์  ว่าด้วย หลักธรรมในขั้นปรัชญาล้วนๆ

หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา

1.  ขันธ์  5  ขันธ์  แปลว่า  หมู่,  กอง ในที่นี้หมายถึง องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์มี 5  อย่าง  คือ  
รูป  (Matter)  คือ  สสารที่ประกอบเป็นร่างกาย   ได้แก่  ดิน  น้ำ  ลมไฟ  
วิญญาณ  (Soul)  คือ  การรับรู้ข้อมูล หรือจิตที่รับรู้ข้อมูลผ่านประสาทสัมผัส (อายตนะ  6)   คือ ตา  หู   จมูก  ลิ้น  กาย และใจ  เป็นความรู้สึกเพราะผลของการกระทบเท่านั้น  ไม่มีการนึกคิด
สัญญา  (Perception)  คือ  ความจำหรือการกำหนดหมายรู้จากการรับรู้โดยผ่านประสาทสัมผัส  เช่น เห็นดอกไม้บอกได้ว่าเป็นดอกไม้  จำได้ว่าเป็นใคร   ชื่ออะไร  อาชีพอะไร
เวทนา  (Feeling)  คือ  ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการรับรู้  แบ่งเป็น  สุข  ทุกข์  เฉยๆ
สังขาร  (Institution)  คือ  สภาพที่ปรุงแต่จิตให้คิดดี  คิดชั่ว  หรือไม่ดี  แต่ไม่ชั่ว
รูปเป็นองค์ประกอบที่เป็นรูปธรรม  แต่อีก  1  อย่าง  เป็นนามธรรมซึ่งมองไม่เห็นไม่มีตัวตน
2.  ไตรลักษณ์  แปลว่า   ลักษณะสามัญโดยธรรมชาติของสรรพสิ่งในโลกนี้  3 ประการคือ
อนิจจัง  (อนิจจตา)  คือความไม่เที่ยงแท้  เช่น จากวัยเด็ก   หนุ่มสาว   แก่ชรา
ทุกขัง  (Misery)  แปลว่าความเป็นทุกข์ซึ่งเกิดจากการที่สิ่งต่างๆ   ไม่เที่ยงแท้อยู่ในสภาพเดิมไม่ได้  ต้องเปลี่ยนแปลงไป
อนัตตา  (No Self)   คือ  ภาวะที่ไม่มีตัวตน  หรือไม่ใช่ตัวตน
3.  อริยสัจ  4  แปลว่า  หลักความอันประเสริฐ  4  อย่าง  เป็นความจริงที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบเริ่มจากผลไปสู่เหตุ  ในลักษณะ  เหตุ  2  ผล  2  ดังนี้คือ
3.1  ทุกข์   (Suffering)  ว่า  สภาพที่ทนได้ยาก  แบ่งออกเป็น
สภาวทุกข์  คือ  ทุกข์โดยสภาพ  ได้แก่  ทุกข์ประจำสังขาร  เกิด แก่  เจ็บ  ตาย
ปกิณทุกข์  คือ  ทุกข์จรเบ็ดเตล็ด ได้แก่  ไม่สบายใจ เศร้า  คร่ำครวญ  แค้นใจ  พลัดพราก  ไม่สมหวัง  ประสบกับสิ่งที่ไม่รัก   ไม่สบายกาย
3.2  สมุทัย  (The case of  Suffering)  แปลว่า  ต้นเหตุแห่งทุกข์   คือ ตัณหา  แยกเป็น
กามตัณหา ความอยากไปรูป  รส  กลิ่น  เสียง และสัมผัส
ภวตัณหา ความอยากจะเป็นนั่นเป็นนี่
วิภวตัณหา ความไม่อยากเป็นสภาวะที่ไม่พึงปรารถนา
3.3  นิโรธ  (The ceasation of  Suffering)   คือความดับทุกข์  ได้แก่  การดับตัณหาได้
3.4  มรรค  (The Nobre Eightold Faith)   คือ  ทางไปสู่ความดับทุกข์   เรียกว่า  ทางสายกลาง ตามแนวมรรค  8  ประการคือ
1.  สัมมาทิฏฐิ  ความเห็นชอบ  คือ เข้าใจชีวิตอย่างถูกต้อง รู้ในอริยสัจ ไตรลักษณ์  และขันธ์  5
2.  สัมมาสังกัปปะ   ความดำริชอบ  คือ ไม่เบียดเบียน  ไม่ปองร้าย  และหลีกจากโลกียวิสัย
3.  สัมมาวาจา   คือ  วาจาสุจริต  ได้แก่  ไม่เท็จ  ไม่ส่อเสียด   ไม่เพ้อเจ้อ  ไม่หยาบคาย
4.  สัมมากัมมันตะ  คือ  การเลี้ยงชีพชอบ  คือ  ไม่ฆ่าสัตว์  ไม่ลักทรัพย์  ไม่ประพฤติผิดในกาม
5.  สัมมาอาชีวะ   คือ  ทำการงานชอบ  ได้แก่  อาชีพสุจริต
6.  สัมมาสติ   คือ  การตั้งสติไว้ชอบ
7.  สัมมาวายามะ  คือ  การพยายามชอบ  ได้แก่  พยายามไม่ให้ความชั่วเกิด   ลดความชั่วที่มีอยู่แล้วรักษาความดีที่มีอยู่   และสร้างความดีเพิ่ม
8.  สัมมาสมาธิ   คือ  การตั้งใจชอบ   ได้แก่  การทำจิตใจให้เป็นสมาชิกแน่วแน่

มรรค  8  ประการสามารถเปรียบเทียบกับไตรสิขาได้ดังนี้ คือ
ศีล สัมมาวาจา,  สัมมากัมมันตะ,  สัมมาอาชีวะ
สมาธิ  สัมมาสติ,   สัมมาสมาธิ,  สัมมาวายามะ
ปัญญา –  สัมมาทิฎฐิ,  สัมมาสังกัปปะ

ธรรมะอื่นที่สำคัญ

1.  พรหมวิหาร  4  ธรรม   สำหรับผู้ใหญ่ใช้กับผู้น้อย  ได้แก่  เมตตา,  กรุณา,  มุทิตา  และอุเบกขา
2.  สังคหวัตถุ 4  ธรรมะสำหรับสงเคราะห์ผู้ที่อยู่รวมกันในสังคม  ได้แก่  ทาน  ปิยวาจา  อัตถจริยา  และสมานัตตา
3.  ทาน  มีทั้งอามิสทานและธรรมทาน ทานที่ถูกต้องให้ด้วยเจตนาบริสุทธิ์  ผู้รับเหมาะสมสิ่งของบริสุทธิ์
4.  บุญกิริยาวัตถุ คือ ทางแห่งการทำบุญ ได้แก่ ทานมัย (ให้ด้วยสิ่งของ) – ศีลมัย (รักษาศีล),  ภาวนามัย (ฝึกอบรมให้สงบ),  อปจายนมัย  (อ่อนน้อม),  เวยยาวัจจมัย (ช่วยเหลือกิจการที่ถูก),  ปัตติทานมัย  (เฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้ผู้อื่น),   ปัตตานุโมทนามัย (ยินดีในความดีของผู้อื่น),  ธัมมัสสวนมัย (ฟังธรรม),   ธัมมเทสนามัย (สั่งสอนธรรม),  ทิฎฐชุกัมม์ (ทำความเห็นให้เป็น  สัมมาทิฎฐิ)
5.  ฆราวาสธรรม  คือ  ธรรมของผู้ครองเรือน  ได้แก่ สัจจะ,   ทมะ,  ขันติ,  จาคะ
6.  สัปปุริสธรรม  7  คือธรรมของคนดีได้แก่ รู้เหตุ (ธัมมัญญตา), รู้ผล (อัตถัญญาตา), รู้ตน(อัตตัญญตา),  รู้ประมาณ (มัตตัญญตา), รู้กาล (กาสัญญตา), รู้จักชุมชน (ปริสัญญตา), รู้บุคคล   (ปุคคสัญญตา)

พิธีกรรมในพุทธศาสนา

พิธีกรรมเป็นสื่อนำศาสนิกชนไปสู่หลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนามีพิธีกรรมที่สำคัญแยกออกเป็น
1.  การบรรพชา  ใช้กับการบวชสามเณรในปัจจุบัน   คุณสมบัติ ของผู้บวช  เป็นชายอายุ  7 ปี บริบูรณ์   บิดามารดาหรือผู้ปกครองอนุญาต   ยึดถือศีล  10  ข้อ
2.  การอุปสมบท  ใช้กับการบวชภิกษุ   คุณสมบัติของผู้บวช  เป็นมนุษย์ผู้ชายอายุ  20  ปีบริบูรณ์    บิดา มารดาหรือผู้บังคับบัญชาอนุญาต   มีอวัยวะครบ  32  ประการ  ไม่เป็นคนลักเพศ   สองเพศ,  กระเทย,  ไม่เป็นโรคเรื้อน  วัณโรค  ฯลฯ  รักษาศีล  227  ข้อ
3.  การปวารณา  คือ  การที่ภิกษุที่บวชก่อนมีพรรษามากกว่า   สามารถกล่าวแนะนำภิกษุที่บวชที่หลังได้
4.  กฐิน  แปลตามตัว  คือ  ไม้สะดึง  เป็นสังฆทานที่เจาะจงเวลา  คือ การถวายผ้าครองแก่ภิกษุตั้งแต่แรม  1  ค่ำ   เดือน  11  ถึง  ขึ้น  15  ค่ำเดือน  12  วัดหนึ่งจะรับกฐินได้เพียง  1 ครั้ง/ปี   และมีภิกษุประจำพรรษาในวันนั้น  5  รูปขึ้นไป
5.  การทอดผ้าป่า  เป็นการถวายผ้าครองแก่ภิกษุนอกเวลากฐิน
6.  การแสดงอาบัติ   คือ การสารภาพผิดของภิกษุในความผิดเล็กๆ   น้อยๆ  ต่อภิกษุหรือคณะสงฆ์
สำหรับพิธีในวันสำคัญทางศาสนา   ทั้งวันวิสาขาบูชา    มาฆบูชา   และอาสาฬบูชา   มีจุดร่วมคือการทำบุญตักบาตร   ฟังพระธรรมเทศนา  เวียนเทียน   ถือศีล






powered by Surfing Waves

แบบฝึกหัด เรื่อง  พระพุทธศาสนา

1.  การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าหมายความว่าอย่างไร

1.  เพื่อให้เป็นผู้ประกาศศาสนา
2.  เพื่อช่วยเหลือผู้มีความทุกข์
3.  ทุกยุคทุกสมัยย่อมมีศาสดาเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
4.  มนุษย์มีศักยภาพสามารถรู้ความจริงของธรรมชาติได้


2.  ข้อใดเป็นเอกลักษณ์พระพุทธศาสนา

1.  กรรม
2.  ภาวนา
3.  อนัตตา
4.  นรก – สวรรค์


3.  กรรมตามหลักพระพุทธศาสนาหมายถึงอะไร

1.  การกระทำทุกอย่าง
2.  การกระทำที่เกิดจากความจงใจ
3.  กายกรรม  วจีกรรม  และมโนกรรม
4.  ผลของความดีหรือความชั่วที่จะติดตามผู้กระทำไปยังโลกหน้า


4.  ข้อใดสอดคล้องกับ  “กฎแห่งกรรม”  ในพระพุทธศาสนา  

1.  คนบางคนทำชั่วแต่ได้ดี
2.  ปลูกพืชใดย่อมได้ผลนั้น
3.  สรรพสิ่งดำเนินไปอย่างมีระเบียบ
4.  ความบังเอิญในชีวิตเกิดขึ้นตลอดเวลา


5.  คำสอนเรื่องกรรมในพุทธศาสนา  สำคัญอย่างไร

1.  ทำให้คนกลัวนรกไม่กล้าทำชั่ว
2.  ทำให้เราเข้าใจว่าเราคือผู้ลิขิตชีวิตเรา
3.  ทำให้คนเป็นคนดี
4.  ทำให้เชื่อว่ากรรมพิสูจน์ได้


6.  หลักธรรมข้อใดที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงถึงองค์ประกอบแห่งชีวิตของมนุษย์

1.  อริยสัจ  4
2.  เบญจศีล
3.  เบญจขันธ์
4.  ไตรลักษณ์


7.  ข้อใดเป็นโครงสร้างของคำสอนเรื่องเบญจขันธ์ในพระพุทธศาสนา

1.  รูป  นาม
2.  ร่างกาย  วิญญาณ
3.  ดิน  น้ำ  ลม ไฟ  วิญญาณ
4.  รูป  เสียง  กลิ่น  รส  สัมผัส



8.  วิญญาณในพระพุทธศาสนาหมายถึงอะไร

1.  ตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์
2.  ความรู้สึกของมนุษย์ที่ไม่แตกดับ
3.  ส่วนที่จะไปเกิดใหม่เมื่อคนเราสิ้นชีวิตแล้ว
4.  การรับรู้ทางตา  หู  จมูก  ลิ้น  กายและใจ


9.  สำนวนข้อใดตรงกับความหมายของสัมมาทิฐิ

1.  ไม่เชื่ออย่างลบหลู่
2.  คนดีตกน้ำไม่ไหล
3.  สถานการณ์สร้างวีรบุรุษ
4.  คนรวยทำอะไรก็ไม่น่าเกลียด


10.  ข้อใดแสดงถึงความเป็นผู้มีมิจฉาทิฐิตามหลักพระพุทธศาสนา

1.  น้อยหน่า  เห็นว่าชีวิตเป็นทุกข์
2.  นิดหน่อย  เชื่อว่าเมื่อคนเราตายไป  จะยังคงมีวิญญาณอมตะเหลืออยู่
3.  หนุงหนิง  เห็นว่ามนุษย์เรามีกรรมเป็นกำเนิดและมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
4.  น้องนุ่น  เห็นวาสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของพุทธศาสนา  คือพระรัตนตรัย


11.  อริยมรรคใดเกี่ยวข้องกับไตรสิกขาที่ว่าด้วยปัญญา

1.  สัมมาทิฐิ
2.  สัมมาสติ
3.  สัมมาวายามะ
4.  สัมมากัมมันตะ


12.  ทุกข์ตามหลักอริยสัจสี่หมายถึงอะไร

1.  ความเจ็บปวดทรมาน
2.  ความลำบากยากเข็ญ
3.  ความไม่สบายทางกายและทางใจ
4.  ความมีชีวิตที่ต้องประสบภัยพิบัติ


13.  ความทุกข์ในพุทธศาสนามีความหมายอย่างไร

1.  ชีวิตมีปัญหาอยู่ตลอดเวลา
2.  ร่างกายต้องเปลี่ยนแปลงเจ็บไข้อยู่เสมอ
3.  สรรพสิ่งมีความเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน
4.  จิตใจต้องพบความเศร้าและเสียใจอยู่เรื่อย  ๆ


14.  พระพุทธศาสนาสอนว่าเราควรปฏิบัติต่อทุกข์อย่างไร

1.  วางเฉยเป็นอุเบกขา
2.  ต่อสู้เอาชนะทุกวิถีทาง
3.  ยอมรับว่าเป็นผลของกรรม
4.  รับรู้ว่าเป็นความจริงของชีวิต


15.  ข้อใดไม่ใช่ความหมายของ  “ศรัทธา”  ในพระพุทธศาสนา

1.  ความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย
2.  ความเชื่อมั่นในพระปรัชญาของพระพุทธเจ้า
3.  ความเชื่อมั่นในกฎแห่งเหตุและผลของการกระทำในวัฎสงสาร
4.  ความเชื่อมั่นในความเป็นอมตะของวิญญาณที่ต้องคอยรับผลกรรม



Total Rating ✔

9.2 stars – 2,789 reviews

More Reviews

แสดงความคิดเห็น

สรุปวิชาสังคมศึกษา เรื่องพระพุทธศาสนา พร้อมแบบฝึกหัด

สรุปสังคมศึกษา ม.ต้น, doc