สำรวจ
แนะนำ
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

ค้นหาด้วยเสียง
ค้นหาด้วยเสียงคลิกที่นี่

» » สรุปเรื่องเศรษฐศาสตร์ วิชาสังคมศึกษามัธยมต้น

13 ธันวาคม 2561

สรุปเรื่องเศรษฐศาสตร์ วิชาสังคมศึกษามัธยมต้น

วิชาสังคม ม.2 เรื่องเศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์คืออะไร วิชาที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของบุคคลและสังคมในการตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด มาผลิตสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่มีขีดจำกัด ให้ได้ความพอใจสูงสุดและ ประโยชน์สูงสุด นอกจากนั้น ยังกระจายสินค้าและบริการ ให้กับกลุ่มบุคคลต่างๆ ได้อย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

สรุปเรื่องเศรษฐศาสตร์ วิชาสังคมศึกษามัธยมต้น




วิชาสังคม ม.2 เรื่องเศรษฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์คืออะไร 

วิชาที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของบุคคลและสังคมในการตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด มาผลิตสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่มีขีดจำกัด ให้ได้ความพอใจสูงสุดและ ประโยชน์สูงสุด นอกจากนั้น ยังกระจายสินค้าและบริการ ให้กับกลุ่มบุคคลต่างๆ ได้อย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

คำสำคัญ(keywords)

  • ทางเลือก(choice)
  • ทรัพยากรการผลิต(production resources)
  • การมีอยู่อย่างจำกัด(scarcity)
  • สินค้าและบริการ(goods and survices)
  • ความต้องการที่ไม่มีขีดจำกัด(unlimited wants)

ทางเลือก

เกิดจากการมีทรัพยากรจำกัดแต่ความต้องการไม่จำกัด จึงต้องเลือกใช้ทรัพยากรที่ทำให้ความพอใจสูงสุด

ทรัพยากรการผลิต

(Factors of production)
  • ที่ดิน  ได้แก่ ที่ดิน ป่าไม้ แร่ธาตุ  ผลตอบแทนคือ ค่าเช่า
  • แรงงาน  ได้แก่ กำลังแรงงาน อายุตั้งแต่ 11 ปีขึ้นไป 
           ผลตอบแทนคือ ค่าจ้าง
  • ทุน  ได้แก่ สินค้าประเภททุนไม่นับทุนที่เป็นตัวเงิน         
         ผลตอบแทนคือ ดอกเบี้ย
  • ผู้ประกอบการ  เป็นผู้รวบรวมปัจจัยการผลิตเพื่อผลิตและแจกจ่าย      
         ผลตอบแทนคือ กำไร

การมีอยู่อย่างจำกัด

เป็นปรากฏการณ์เมื่อทรัพยากรส่วนหนึ่ง ถูกใช้หมดไปเรื่อยๆ ส่วนที่เหลืออยู่น้อยลง แก้ไขได้โดยการค้นพบวิทยาการใหม่เพื่อสร้างทรัพยากรทดแทนของเดิม

สินค้าและบริการ

สินค้าแบ่งเป็น 2 ประเภท
เศรษฐทรัพย์  คือ สินค้าที่มีต้นทุน รวมถึงสินค้าได้เปล่าแบ่งเป็น
เศรษฐทรัพย์  คือ สินค้าที่มีต้นทุน รวมถึงสินค้าได้เปล่าแบ่งเป็นสินค้าแบ่งเป็น 2 ประเภทสินค้า
เอกชน (private goods)
- สินค้าที่มีต้นทุน

สินค้าสาธารณะ(public goods)
– สินค้าไร้ราคา คือ สินค้าที่ไม่มีต้นทุน ไม่มีราคา
     บริโภครวมกัน
– ไม่สามารถกีดกันผู้อื่นได้
สินค้าไร้ราคา คือ สินค้าที่ไม่มีต้นทุน ไม่มีราคา





ความต้องการไม่จำกัด

เป็นการศึกษาแนวพุทธ ที่เรียกมนุษย์ว่า ปุถุชนซึ่งมีความ
รัก โลภ โกรธและหลง
ปัจจัยการผลิต ก็คือ สิ่งต่างๆ ต้องใช้ในกระบวนการสร้างสินค้าและบริการ ปัจจัยการผลิต คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ต้องนำมาใช้ในกระบวนการผลิต สินค้าหรือบริการแต่ละชนิด ต้องการใช้ปัจจัยการผลิตที่แตกต่างกัน  เช่น การปลูกถั่วเขียวก็อย่างหนึ่ง   การทอผ้าก็อีกอย่างหนึ่ง   บริการทางการศึกษาก็อีกอย่างหนึ่ง  เป็นต้น ซึ่งสินค้าและบริการแต่ละตัวก็จะมี ความสัมพันธ์ทางผลิตหรือเรียกว่าฟังก์ชั่นการผลิต(production function) ไม่เหมือนกัน  เช่น ปัจจัยการผลิตถั่วเขียว ก็คือ ที่ดิน เมล็ดพันธุ์ น้ำ ปุ๋ย จอบ อุปกรณ์การเกษตรอื่น ๆ  ตัวเกษตรกร  เป็นต้น ส่วนปัจจัยการผลิตผ้าผืน ก็คือ ที่ดิน โรงงาน เครื่องทอผ้า เส้นใย น้ำ ไฟฟ้า อุปกรณ์การผลิตต่าง ๆ สาวโรงงาน เป็นต้น แต่เนื่องจากการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ ในโลกนี้มันมีมากมายหลายรายการมาก นักเศรษฐศาสตร์(พวกที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของเศรษฐกิจ) จึงได้จัดกลุ่มปัจจัยการผลิตหลัก ๆ ไว้ 4 ประเภท คือ 

• ที่ดิน(land) หมายถึง ทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิด รวมถึงสิ่งที่ติดอยู่กับที่ดินที่สามารถนำไปใช้ในการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ ได้ เช่น แร่ธาตุ น้ำ ป่าไม้ น้ำตก อุณหภูมิ เป็นต้น 
• แรงงาน(labor) หมายถึง ทรัพยากรมนุษย์ที่นำไปใช้ผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ ทั้งที่ใช้ความสามารถด้านกำลังกายและด้านสติปัญญา ได้แก่ ผู้มีส่วนร่วมในการผลิตในทุกสาขาอาชีพ  
• ทุน(capital) หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการผลิต จำพวกเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์การผลิตต่างๆ(ทุน ไม่ใช่เงินทุนนะครับ อย่าเข้าใจผิดเหมือนใครบางคน) และ  
• ผู้ประกอบการ(entrepreneurship) หมายถึง คนที่ทำหน้าที่รวบรวบปัจจัยการผลิตต่างๆ ทั้ง 3 ประเภท คือ ที่ดิน แรงงาน และทุน เข้าไปในกระบวนการผลิตเพื่อสร้างเป็นสินค้าและบริการต่าง ๆ ออกมา โดยคนกลุ่มนี้ก็คือผู้ผลิต(producer)นั่นเอง แรงจูงใจที่ทำให้เขายอมเหนื่อยก็คือ กำไร(profit) ไงครับ และกำไรนี้เอง ที่นักเศรษฐศาสตร์ตะวันตกเชื่อว่าเป็นเป้าหมายของผู้ผลิต  

อุปสงค์ (Demand)

อุปสงค์ในวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า Demand หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการ ณ ระดับราคาต่าง ๆ ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เมื่อกำหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ คงที่

โดยอุปสงค์จะประกอบไปด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 
1. ความต้องการที่จะซื้อ หรือ Willing to buy
2. ความสามารถในการจ่ายเพื่อซื้อ หรือ ability to pay

กฎของอุปสงค์คือ “หากกำหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ คงที่ อุปสงค์หรือความต้องการซื้อสินค้าจะลดลง เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้นหรือสูงขึ้น และอุปสงค์หรือความต้องการซื้อสินค้าจะเพิ่มขึ้น เมื่อราคาสินค้าถูกลง”

จากความสัมพันธ์ดังกล่าว   โดยปกติ   เส้นอุปสงค์ จึงมีลักษณะที่ลาดลงจากซ้ายไปขวา (Downward slope) และมีความชันของเส้นเป็นค่าลบ ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการซื้อสินค้ากับราคาในทิศทางตรงกันข้าม แสดงเป็นตารางอุปสงค์ได้ดังนี้

ตารางที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์และราคาสินค้า


สรุปเรื่องเศรษฐศาสตร์ วิชาสังคมศึกษามัธยมต้น


จะสังเกตเห็นว่า ความสัมพันธ์จะเป็นไปในทิศทางที่ตรงกันข้ามกัน คือ เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้น ความต้องการหรืออุปสงค์ก็ลดน้อยลง  และเมื่อนำอุปสงค์ของแต่ละคนมารวมกัน ก็จะเป็นอุปสงค์ของตลาด ณ ระดับราคาต่าง ๆ
 อุปทาน (Supply)
อุปทานในวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า Supply หมายถึง ความต้องการจะขายสินค้าหรือบริการของผู้ขาย ณ ระดับราคาต่าง ๆ ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด เมื่อกำหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ คงที่

โดยอุปทานจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 
 1. ความต้องการที่จะขาย หรือ Willing to sell
 2. ความสามารถในการผลิต หรือ ability to produce

 กฎของอุปทานคือ “หากกำหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ คงที่ อุปทานหรือความต้องการขายสินค้าจะลดลง เมื่อราคาสินค้าถูกลง และอุปทานหรือความต้องการขายสินค้าจะเพิ่มขึ้น เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้น”
จากความสัมพันธ์ดังกล่าว โดยปกติ เส้นอุปทาน จึงมีความชันของเส้นเป็นค่าบวก ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการขายสินค้ากับราคาที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน แสดงเป็นตารางอุปทานได้ดังนี้

ตารางที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุปทานและราคาสินค้า


สรุปเรื่องเศรษฐศาสตร์ วิชาสังคมศึกษามัธยมต้น
จะสังเกตเห็นว่า ความสัมพันธ์จะเป็นไปในทิศทางที่เดียวกัน กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้น ความต้องการจะขายหรืออุปทานก็มากขึ้นตามไปด้วย โดยเมื่อนำอุปทานของผู้ขายแต่ละรายมารวมกัน ก็จะเป็นอุปทานของตลาด ณ ระดับราคาต่าง ๆ






powered by Surfing Waves



Total Rating ✔

9.2 stars – 2,789 reviews

More Reviews

แสดงความคิดเห็น

สรุปเรื่องเศรษฐศาสตร์ วิชาสังคมศึกษามัธยมต้น

สรุปสังคมศึกษา ม.ต้น, doc