คำถามที่เจอบ่อยๆเกี่ยวกับการรับนักบินของสายการบิน
"พี่รู้ว่า...น้องๆเจ็บปวดที่ไม่ได้งาน"อาทิตย์ที่แล้ว ผมได้มีโอกาสคุยกับกัปตันที่เป็นกรรมการสัมภาษณ์งานของสายการบินแห่งหนึ่งซึ่งเปิดรับสมัครนักบินในกลุ่ม Qualify Pilot (QP)ประมาณ 20 ตำแหน่งในการสอบครั้งนี้มีน้องๆนักบินมาสมัครเกือบ 300 คนแน่นอนว่านักบินไม่ต่ำกว่า 280 คนจะผิดหวังและไม่ได้งาน...
วันนี้เลยจะมาตอบ 4 คำถาม ที่ถูกถามบ่อยๆ1. ทำไมนักบินขาดแคลน แล้วยังมีคนที่ยังว่างงาน ?
คำตอบคือ นักบินที่ขาดแคลนเป็นกลุ่มนักบินที่มีประสบการณ์ และชั่วโมงบินสูง แต่ตำแหน่งงานของนักบินใหม่ที่สายการบินเปิดรับมีน้อยจะเห็นได้ว่าในแต่ละปี น้องๆที่ลงทุนเรียนบินเองทั้งจากในและต่างประเทศมีจำนวนมากขึ้น ตรงกันข้ามกับตำแหน่งงานที่สายการบินต่างๆเปิดรับสมัครที่ดูจะน้อยลงทุกที
สาเหตุก็เพราะในปัจจุบันมีการชะลอตัวของธุรกิจอันเนื่องจากปัญหา ICAO และสายการบินหลัก อาทิ เช่น การบินไทย ไทยแอร์เอเชีย บางกอกแอร์ นกแอร์ ไทยไลอ้อนแอร์ ล้วนแต่มีโครงการให้ทุนศิษย์การบิน Student Pilot (SP) แล้วทั้งสิ้น
ขอยกตัวอย่างของการบินไทยในช่วง 3 ปีมา มีการรับ SP ประมาณ 220 คน ทำให้อัตราการรับ QP ค่อนข้างจำกัด
2. ทำไมโครงการศิษย์การบินของสายการบินหลักจึงมีผลกับตำแหน่งงาน QP มากนัก?
ก็เป็นเพราะกลุ่มสายการบินหลักดังกล่าวนั้น มีจำนวนเครื่องบินรวมกันประมาณ 80 % ของเครื่องบินที่จดทะเบียนในไทย และมีเที่ยวบินรวมกันกว่า 90 % ของทั้งประเทศดังนั้นงานในส่วนการบินพานิชย์จึงอยู่ในกลุ่มนี้เป็นหลัก
การที่อาชีพนักบินต้องพึ่งงานจากสายการบินเป็นหลัก เพราะการบินในลักษณะทั่วไป General Aviation เช่น การบินเพื่อพานักท่องเที่ยวชมทัศนียภาพ การบินเพื่อการเกษตร ฯลฯ ในประเทศยังไม่แพร่หลายนัก จึงเป็นข้อจำกัดสำคัญ
ความเสี่ยงต่อการว่างงานของนักบินที่มีชั่วโมงบินน้อยๆ จึงมีสูงมาก จะเห็นจากจำนวนผู้สมัคร QP ของสายการบินต่างๆในแต่ละครั้งยังคงมีจำนวน 200-300 คน อยู่ตลอดเวลา
3. ทำไมสายการบินถึงไม่รับ QP ทั้งๆที่สายการบินไม่ต้องเสียทั้งเงิน และเวลา สามารถนำมาปฏิบัติการบินได้ทันที?
ตำแหน่งงานนักบินที่สายการบินเปิดรับส่วนมาก ถ้าไม่เกิดจากการนำเครื่องเข้าอย่างเร่งด่วนเพื่อขยายเส้นทางบิน มักจะมีแผนกำลังพล โดยต้องการคัดคนที่มี ทัศนคติ ทักษะ และความสามารถในการเรียนรู้ที่เหมาะจะเป็นนักบิน และพนักงานของบริษัทของตนตั้งแต่แรกการขับเครื่องบินเป็นเรื่องที่ฝึกได้ภายหลัง
4. สายการบินต่างๆตั้งมาตรฐานการรับสมัครไว้สูงเกินไปรึเปล่า?
เราคงไม่สามารถไปขอให้สายการบินลดมาตรฐานการรับสมัครได้ การประเมิน และการพัฒนาตนทั้งในเรื่อง ความรู้ ทักษะ ทัศนะคติให้เหมาะกับการบินพานิชย์ เป็นเรื่องที่ต้องทำในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สมาคมนักบินไทยจึงได้มีการจัดงาน PilotDNA , Interview Simulation เพื่อให้ความรู้น้องๆมาอย่างต่อเนื่อง
ในปีนี้ สมาคมฯ ได้เปิดโอกาสให้น้องๆที่เริ่มเข้าสู่อาชีพนักบินได้เข้าเป็นสมาชิกสมทบได้ เพื่อให้ความช่วยเหลือ แนะนำน้องๆที่เรียนหลักสูตรนักบินพานิชย์ ศิษย์การบิน โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ สมาคมฯหวังว่าจะเป็นช่องทางหนึ่งที่จะมีส่วนช่วยแก้ปัญหานักบินว่างงานที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
สำหรับน้องๆที่ยังไม่ได้รับโอกาสในการสอบครั้งนี้ อย่าเพิ่งท้อแท้นะครับ
Cr:ภาพจาก ThaiPublica
ที่มา : เพจสมาคมนักบินไทย https://www.facebook.com/THAIPILOTS/
Total Rating ✔
9.2 stars – 2,789 reviews
More Reviews
อ่านรีวิว ทั้งหมดคลิก
แสดงความคิดเห็น
คำถามเกี่ยวกับอาชีพนักบิน การรับ QP และ SP ของสายการบินเป็นอย่างไร? วันนี้เรามาดูกันครับ
สอบทุนนักบิน, Student Pilot