สำรวจ
แนะนำ
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

ติวสอบทุนนักบิน Student Pilot

ค้นหาด้วยเสียง
ค้นหาด้วยเสียงคลิกที่นี่

» » ที่นี่อ่านออกเขียนได้ - วิธีการสอนน้องๆให้อ่านคล่องเขียนเก่งแบบเป็นขั้นเป็นตอน มาดูกันครับ

23 พฤศจิกายน 2561

ที่นี่อ่านออกเขียนได้ - วิธีการสอนน้องๆให้อ่านคล่องเขียนเก่งแบบเป็นขั้นเป็นตอน มาดูกันครับ

สอนอย่างไรให้เด็กอ่านออกเขียนได้ คำตอบก็คงมีหลากวิธีหลายแนวทาง ตามความเชื่อความศรัทธาและประสบการณ์ของแต่ละส่วน ดังกล่าว

ที่นี่อ่านออกเขียนได้ - วิธีการสอนน้องๆให้อ่านคล่องเขียนเก่งแบบเป็นขั้นเป็นตอน มาดูกันครับ




กลวิธีสอนให้เด็กอ่านออกเขียนได้

ความนำ ... วันที่เด็กคนหนึ่ง รู้จักพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ รู้จักสะกดคำ แจกลูก จนสามารถอ่านออก เขียนได้คือวันที่ดอกไม้แห่งความสุข เบ่งบาน สวยใส กลางหัวใจของเขาและแสงสว่างแห่งชีวิตได้เปิดประตูต้อนรับเขาแล้ว ...

แต่...ในทิศทางที่ตรงกันข้าม
ปัญหาเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ คือความทุกข์และความมืดมนของเด็กคนนั้น เป็นความทุกข์ของครู พ่อแม่ ผู้ปกครองและทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง และเป็นเรื่องที่สาคัญเร่งด่วน จนสามารถกล่าวได้ว่าเป็น “ความทุกข์ของแผ่นดิน” ไปพร้อมกัน อย่างไรก็ตาม นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่ ณ วันนี้หลายส่วนที่เกี่ยวข้องได้มองเห็นว่าปัญหาเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้อยู่ในภาวะวิกฤติแล้ว และต่างมองหาหนทางแก้ไขกันอยู่ด้วยแนวทางที่หลากหลาย ถูกทางบ้าง หลงทางไปบ้าง ตามศรัทธาและความเชื่อของแต่ละส่วน


ถ้าถามว่า - สอนอย่างไรให้เด็กอ่านออกเขียนได้

คำตอบก็คงมีหลากวิธีหลายแนวทาง ตามความเชื่อความศรัทธาและประสบการณ์ของแต่ละส่วน ดังกล่าว

ผมเองมีความศรัทธาและเชื่อมั่นโดยสนิทใจมาโดยตลอดว่า วิธีการของบรรพบุรุษไทยและครูไทยในอดีตนั้น เป็นภูมิปัญญาในการถ่ายทอด เชื่อมโยงการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีประสิทธิภาพ จึงสามารถทำหน้าที่สืบทอดและปกปักรักษาให้ภาษาไทยยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบันได้

ผมจึงพยายามทบทวนและย้อนรอยถึงภาพในวัยเยาว์ เพื่อย้อนรำลึกว่า ในชั้นต้นนั้น “ครูของผมสอนผมอย่างไร ผมจึงอ่านออกเขียนได้” (ทั้งที่ครูของผมมีเพียงชอล์คและกระดานดำ และนักเรียนยุคผมมีเพียงดินสอและสมุดคนละเล่มเท่านั้น)

ผมจึงเก็บเอาวิธีสอนของครูของผมมาวางไว้เป็นหลัก แล้วเติมเต็มด้วยแนวคิด องค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาในช่วงหลัง บางส่วน นำเสนอเป็นแนวทางในการ “สอนให้อ่านออก เขียนได้” ดังนี้


๑. เชื่อมั่นว่า วิธีที่ดีที่สุดในการสอนภาษาไทยให้อ่านออกเขียนได้ 

คือ การสอนสะกดคำ แจกลูก ท่องจำและไล่หนังสือ และต้องอาศัยการเรียนการสอนแบบ “ฝึก ซ้ำ ย้ำ ทวน”

๒. ลำดับขั้น ในการสอนให้อ่านออกเขียนได้ ประกอบด้วย

(๑) สอนให้รู้จักพยัญชนะ
(๒) สอนให้รู้จักสระ
(๓) สอนให้สะกดคำแจกลูกคำในแม่ ก กา
(๔) สอนให้ผันวรรณยุกต์คำในแม่ ก กา
(๕) สอนให้อ่านเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา
(๖) สอนให้ผันวรรณยุกต์คำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา
(๗) สอนให้อ่านเขียนคำที่สะกดไม่ตรงมาตรา
(๘) สอนให้อ่านเขียนคำควบกล้ำ
(๙) สอนให้อ่านเขียนคำที่มีอักษรนำ
(๑๐) สอนให้อ่านเขียนคำที่มีตัวการันต์ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ และคำที่มีลักษณะพิเศษ


๓. เชื่อว่าผลสำเร็จในการสอนจะเกิดขึ้น เมื่อ...

(๑) สอนตามลำดับขั้นตอน จากง่ายไปสู่ที่ยากขึ้น และสลับซับซ้อนมากขึ้น
(๒) สอนให้ฝึกอ่าน ฝึกเขียน อย่างช้าๆ อย่ารีบร้อน อย่ารวบรัด แต่ให้ฝึก ซ้ำ ย้ำ ทวน จนนักเรียนเข้าใจ แม่นยำ และมั่นใจ (อย่าเอาแต่เวลามาเป็นเกณฑ์ แต่ให้เอาความรู้ความเข้าใจความสามารถของเด็กเป็นเกณฑ์)
(๓) ระมัดระวังอยู่เสมอว่า ถ้ารีบร้อนหรือรวบรัด ในขณะที่เด็กคนหนึ่งคนใดยังไม่รู้ยังไม่เข้าใจในลำดับต้นๆ ก็จะกลายเป็นปัญหา “ดินพอกหางหมู” ที่หนักจนไม่อยากรู้ไม่อยากเรียนอีก และส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ในขั้นต่อไปในที่สุด
อย่างไรก็ตาม แนวทางข้างต้นสามารถปรับเปลี่ยน คิดต่อ เติมแต่งกิจกรรมได้ตามที่เห็นเหมาะสม ให้สอดคล้องกับสภาพความความแตกต่างของเด็กแต่ละคน แต่ละพื้นที่ห้องเรียน ตามหลักผู้เรียนเป็นสำคัญ นั่นแหละ....



สอนให้รู้จักพยัญชนะ


พยัญชนะไทยมีทั้งหมด ๔๔ ตัว มีวิธีการสอนให้รู้จักพยัญชนะใน ๒ ลักษณะ คือ

๑. สอนให้รู้จัก “ชื่อ” พยัญชนะ
เบื้องต้นนั้น สามารถสอนให้เด็กรู้จัก “ชื่อพยัญชนะ” ทั้งหมดโดยวิธีอ่านท่องร้องเล่นตามที่ท่องกันโดยทั่วไป เพื่อให้เด็กได้รู้จัก “ชื่อ” ของพยัญชนะแต่ละตัว เป็นการสร้างความคุ้นเคย และสนุกสนานเพลิดเพลินกับการท่องร้องเล่น อย่างเช่นที่ท่องต่อๆกันมาว่า


ที่นี่อ่านออกเขียนได้ - วิธีการสอนน้องๆให้อ่านคล่องเขียนเก่งแบบเป็นขั้นเป็นตอน มาดูกันครับ

ที่นี่อ่านออกเขียนได้ - วิธีการสอนน้องๆให้อ่านคล่องเขียนเก่งแบบเป็นขั้นเป็นตอน มาดูกันครับ


สื่อที่ใช้ในการสอนให้รู้จัก “ชื่อพยัญชนะ” นั้น อาจจะเป็นแผนภูมิพยัญชนะหรือแผนภาพพยัญชนะอย่างที่มีเผยแพร่อยู่โดยทั่วไป โดยการชี้ให้เห็นพยัญชนะ แล้วอ่านท่องร้องเล่นพร้อมกันทั้งชั้น หรือพร้อมกันเป็นกลุ่ม ก็ได้ ในการอ่านท่องร้องเล่นนั้นอาจจะปรบมือให้จังหวะ หรือมีกิจกรรมอื่นๆ เพื่อความสนุกสนำนเพลิดเพลินไปด้วยก็ยิ่งดี 


๒. สอนให้รู้จัก “รูป” และ “เสียง” พยัญชนะ


เป็นการสอนให้รู้จัก “รูป” และ “เสียง” ของพยัญชนะแต่ละตัว เพื่อเตรียมการนำไปสู่การอ่านและเขียนสะกดคำต่อไป โดยมีแนวทางและขั้นตอนการสอนที่สาคัญ ดังนี้
ขั้นที่ ๑ สอนให้เห็นรูป
โดยครูใช้ “บัตรพยัญชนะ” เป็นรายตัว ให้นักเรียนได้เห็นรูปร่างลักษณะของพยัญชนะแต่ละตัว เช่น


ที่นี่อ่านออกเขียนได้ - วิธีการสอนน้องๆให้อ่านคล่องเขียนเก่งแบบเป็นขั้นเป็นตอน มาดูกันครับ


หรือ ครูอาจจะใช้วิธีเขียนพยัญชนะในกระดาน ก็ได้ 

ขั้นที่ ๒ สอนให้รู้จักเสียง
ขณะที่นำบัตรพยัญชนะให้เด็กดูหรือเขียนพยัญชนะในกระดาน ทีละตัวนั้น ต้องให้นักเรียนได้รู้จักเสียงของพยัญชนะตัวนั้นๆ โดย
(๑) ครูอ่านออกเสียงพยัญชนะให้ฟังอย่างชัดเจน เช่น


ที่นี่อ่านออกเขียนได้ - วิธีการสอนน้องๆให้อ่านคล่องเขียนเก่งแบบเป็นขั้นเป็นตอน มาดูกันครับ

๒) ให้นักเรียนดูรูปพยัญชนะที่ละตัว แล้วอ่านออกเสียงตามครู โดยอ(โดยคัดตัวบรรจงเต็มบรรทัด และลากเส้นให้ถูกต้องตามหลักการเขียนพยัญชนะ)อกเสียงดังๆ และชัดเจน
(๓) ให้นักเรียนดูรูปแล้วอ่านออกเสียงเอง โดยเริ่มจากอ่านออกเสียงพร้อมกันทั้งชั้น อ่านออกเสียงพร้อมกันเป็นรายกลุ่ม และอ่านออกเสียงเป็นรายคน
(๔) ครูต้องสังเกต ตรวจสอบ หรือทดสอบการอ่านออกเสียงพยัญชนะของนักเรียนเป็นรายคน หากพบว่านักเรียนคนใดยังอ่านออกเสียงไม่ได้ หรือไม่ชัดเจน ต้องแก้ไขทันที (และต้องแก้ไขเสียก่อนที่จะให้อ่านพยัญชนะตัวต่อไป)



ขั้นที่ ๓ สอนให้เขียนรูป

เมื่อนักเรียนอ่านออกเสียงได้แล้ว ต้องฝึกให้เขียนรูปพยัญชนะตัวนั้นๆ โดย
(๑) ครูเขียนรูปพยัญชนะในกระดาน (โดยคัดตัวบรรจงเต็มบรรทัด และลากเส้นให้ถูกต้องตามหลักการเขียนพยัญชนะ) ครูลากเส้นช้าๆ ให้นักเรียนดู และอ่านออกเสียงพยัญชนะตัวนั้นไปพร้อมกัน
(๒) ให้นักเรียนเขียนรูปพยัญชนะตามครู โดยเขียนในกระดานหรือเขียนลงในสมุดของแต่ละคน ขณะเขียนให้อ่านออกเสียงพยัญชนะไปด้วย
(๓) ให้นักเรียนคัดรูปพยัญชนะแต่ละตัว ด้วยตัวบรรจงเต็มบรรทัดให้สวยงาม คัดลงในสมุดหลายๆครั้ง หลายๆเที่ยว
(๔) ครูต้องสังเกต ตรวจสอบ หรือทดสอบการเขียนรูปพยัญชนะของนักเรียนเป็นรายคน หากพบว่านักเรียนคนใดยังเขียนไม่ได้หรือเขียนไม่ถูกต้อง ต้องแก้ไขทันที (และต้องแก้ไขเสียก่อนที่จะให้เขียนพยัญชนะตัวต่อไป)
(๕) ในขั้นของการเขียนนี้ ครูควรสังเกตวิธีการจับดินสอ การวางสมุด ตลอดจนท่าทางการนั่งเขียนของนักเรียนไปด้วย หากพบว่าคนใดไม่ถูกต้อง ควรแนะนำ แก้ไขให้ถูกต้องเสียแต่ต้น


ที่นี่อ่านออกเขียนได้ - วิธีการสอนน้องๆให้อ่านคล่องเขียนเก่งแบบเป็นขั้นเป็นตอน มาดูกันครับ


ลำดับพยัญชนะที่ควรสอน ก่อน-หลัง

พยัญชนะไทยทั้ง ๔๔ ตัว มีระดับความยากง่ายในการอ่านออกเสียง และการเขียนรูปพยัญชนะที่แตกต่างกัน ควรเลือกพยัญชนะที่ง่ายในการออกเสียงและเขียนรูป มาให้ฝึกอ่านฝึกเขียนก่อน จะเป็นแรงเสริมเพิ่มกาลังใจที่สาคัญในการเรียนรู้
จึงเสนอลำดับพยัญชนะที่ควรสอนก่อน-หลัง เป็นชุดๆ ดังนี้


ที่นี่อ่านออกเขียนได้ - วิธีการสอนน้องๆให้อ่านคล่องเขียนเก่งแบบเป็นขั้นเป็นตอน มาดูกันครับ





สอนให้รู้จักสระ



สระมีทั้งหมด ๒๑ รูป ๓๒ เสียง ต้องสอนให้รู้จัก “รูป” และ “เสียง” ของสระแต่ละตัว เพื่อเตรียมการนำไปสู่การอ่านและเขียนสะกดคำต่อไป โดยมีแนวทางและขั้นตอนการสอนที่สาคัญ ดังนี้

ขั้นที่ ๑ สอนให้เห็นรูปสระ


โดยครูใช้ “บัตรสระ” เป็นรายตัว ให้นักเรียนได้เห็นรูปร่างลักษณะของพยัญชนะแต่ละตัว เช่น


ที่นี่อ่านออกเขียนได้ - วิธีการสอนน้องๆให้อ่านคล่องเขียนเก่งแบบเป็นขั้นเป็นตอน มาดูกันครับ

หรือ ครูอาจจะใช้วิธีเขียนรูปสระในกระดาน ก็ได้


ขั้นที่ ๒ สอนให้รู้จักเสียงสระ


ขณะที่นำบัตรสระให้เด็กดูหรือเขียนรูปสระในกระดานทีละตัวนั้น ต้องให้นักเรียนได้รู้จักเสียงของสระตัวนั้นๆ โดย
(๑) ครูอ่านออกเสียงสระให้ฟังอย่างชัดเจน เช่น


ที่นี่อ่านออกเขียนได้ - วิธีการสอนน้องๆให้อ่านคล่องเขียนเก่งแบบเป็นขั้นเป็นตอน มาดูกันครับ


(๒) ให้นักเรียนดูรูปสระทีละตัว แล้วอ่านออกเสียงตามครู โดยออกเสียงดังๆ และชัดเจน
(๓) ให้นักเรียนดูรูปแล้วอ่านออกเสียงเอง โดยเริ่มจากอ่านออขั้นที่ ๒ สอนให้รู้จักเสียงสระกเสียงพร้อมกันทั้งชั้น อ่านออกเสียงพร้อมกันเป็นรายกลุ่ม และอ่านออกเสียงรายบุคคล
(๔) ครูต้องสังเกต ตรวจสอบ หรือทดสอบกขั้นที่ ๒ สอนให้รู้จักเสียงสระารอ่านออกเสียงสระของนักเรียนเป็นรายคน หากพบว่านักเรียนคนใดยังอ่านออกเสียงไม่ได้ หรือไม่ชัดเจน ต้องแก้ไขทันที (และต้องแก้ไขเสียก่อนที่จะให้อ่านสระตัวต่อไป)



ขั้นที่ ๓ สอนให้เขียนรูปสระ


เมื่อนักเรียนอ่านออกเสียงได้แล้ว ต้องฝึกให้เขียนรูปสระตัวนั้นๆ โดย
(๑) ครูเขียนรูปสระในกระดาน (โดยคัดตัวบรรจงเต็มบรรทัด และลากเส้นให้ถูกต้องตามหลักการเขียนสระ) ครูลากเส้นช้าๆ ให้นักเรียนดู และอ่านออกเสียงสระตัวนั้นไปพร้อมกัน
(๒) ให้นักเรียนเขียนรูปสระตามครู โดยเขียนในกระดานหรือเขียนลงในสมุดของแต่ละคน ขณะเขียนให้อ่านออกเสียงสระไปด้วย
(๓) ให้นักเรียนคัดรูปสระแต่ละตัว ด้วยตัวบรรจงเต็มบรรทัดให้สวยงาม คัดลงในสมุดหลายๆครั้ง หลายๆเที่ยว
(๔) ครูต้องสังเกต ตรวจสอบ หรือทดสอบการเขียนรูปสระของนักเรียนเป็นรายคน หากพบว่านักเรียนคนใดยังเขียนไม่ได้หรือเขียนไม่ถูกต้อง ต้องแก้ไขทันที (และต้องแก้ไขเสียก่อนที่จะให้เขียนสระตัวต่อไป)


ที่นี่อ่านออกเขียนได้ - วิธีการสอนน้องๆให้อ่านคล่องเขียนเก่งแบบเป็นขั้นเป็นตอน มาดูกันครับ

ลำดับสระที่ควรสอน ก่อน-หลัง

สระทั้ง ๓๒ เสียง มีระดับความยากง่ายในการอ่านออกเสียง และการเขียนรูปสระที่แตกต่างกัน มีทั้งสระเดี่ยว สระประสม และสระเกิน ควรเลือกสระที่ง่ายในการออกเสียงและเขียนรูป มาให้ฝึกอ่านฝึกเขียนก่อน จะเป็นแรงเสริมเพิ่มกาลังใจที่สาคัญในการเรียนรู้
จึงเสนอลำดับสระที่ควรสอนก่อน-หลัง เป็นชุดๆ ดังนี้


ที่นี่อ่านออกเขียนได้ - วิธีการสอนน้องๆให้อ่านคล่องเขียนเก่งแบบเป็นขั้นเป็นตอน มาดูกันครับ



สอนอ่าน เขียน สะกดคำ แจกรูป



การอ่าน เขียน สะกดคำ แจกลูก จัดเป็นขั้นตอนที่สาคัญที่สุด ที่จะทาให้เด็กอ่านออกเขียนได้
สะกดคำแจกลูก คืออะไร อย่างไร

การสอนอ่านสอนเขียนภาษาไทย โบราณาจารย์มักเน้นที่การสะกดคำแจกลูก ด้วยความเชื่อว่า คำไทยเป็นคำที่เกิดจากการประสมพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์และตัวสะกด
“สะกดคำแจกลูก” มักจะพูดติดต่อกัน ทั้งๆที่จริงๆแล้วแตกต่างกัน กล่าวคือ

“การสะกดคำ” คือ การแยกแยะส่วนประกอบของคำออกมาว่า คำนั้นๆ ประกอบด้วยพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์และตัวสะกด อะไรบ้าง เช่น


ที่นี่อ่านออกเขียนได้ - วิธีการสอนน้องๆให้อ่านคล่องเขียนเก่งแบบเป็นขั้นเป็นตอน มาดูกันครับ

การสะกดคำ เป็นการสะกดเพื่ออ่านคำ หรือสะกดเพื่อเขียนคำ

ส่วน “การแจกลูก” เป็นการแตกแขนงออกไปในการฝึกประสมคำ ให้เกิดความคล่องในการอ่าน โดยการแจกลูกนั้น จะมี ๒ ลักษณะ คือ ส่วนประสมที่คงที่และส่วนที่แปรเปลี่ยนไป แล้วแต่วัตถุประสงค์ในการฝึก เช่น ถ้าต้องการฝึกคำที่ประสมด้วยสระ -า ก็ให้สระ -า เป็นส่วนคงที่ แล้วให้แปรเปลี่ยนตัวพยัญชนะที่จะมาประสมไปเรื่อยๆ เป็น กา ขา คำ งา จา ฉา ฯลฯ
ตัวอย่างการแจกลูก

(๑) พยัญชนะต้นคงที่ สระแปรเปลี่ยนไป (เช่น ต้องการฝึกอ่านคำที่ ม เป็นพยัญชนะต้น) แจกลูกว่า


ที่นี่อ่านออกเขียนได้ - วิธีการสอนน้องๆให้อ่านคล่องเขียนเก่งแบบเป็นขั้นเป็นตอน มาดูกันครับ


(๒) สระคงที่ พยัญชนะต้นแปรเปลี่ยนไป (เช่น ต้องการฝึกอ่านคำที่ประสมด้วยสระา ) แจกลูกว่า


มะ มา มิ มี มึ มื มุ มู เมะ เม …

(๓) สระและตัวสะกดคงที่ พยัญชนะต้นแปรเปลี่ยนไป (เช่น ต้องการฝึกอ่านคำที่ประสมด้วยสระ อ และ ง เป็นตัวสะกด) แจกลูกว่า


มะ มา มิ มี มึ มื มุ มู เมะ เม …


ข้อควรคำนึงในการสอนสะกดคำแจกลูก

๑. เด็กจะสามารถอ่านสะกดคำแจกลูกได้ เมื่อรู้จักและออกเสียง “เสียงพยัญชนะ” และ “เสียงสระ” ได้ถูกต้องแล้ว ทั้งนี้เพราะปัญหาของเด็กที่อ่านสะกดคำแจกลูกไม่ได้ เกิดจากไม่รู้จักหรือไม่แม่นในเสียงพยัญชนะและเสียงสระ ดังนั้นก่อนที่จะสอนอ่านสะกดคำแจกลูกแต่ละครั้ง ครูจะต้องตรวจสอบ ทบทวนให้เด็กแม่นในเสียงพยัญชนะและเสียงสระที่จะสอนเสียก่อนทุกครั้ง
๒. ให้เริ่มต้นที่การสอนอ่านสะกดคำก่อน เมื่อเห็นว่าสามารถอ่านสะกดคำได้ถูกต้องแล้ว จึงค่อยฝึกให้แจกลูก เพื่อให้เกิดความคล่องในการอ่านคำกลุ่มนั้นๆ
๓. ให้เริ่มต้นที่การอ่านสะกดคำ อ่านแจกลูก ก่อน เมื่อเห็นว่าสามารถอ่านได้ถูกต้องแล้ว จึงให้ฝึกเขียนสะกดคำ เขียนแจกลูก เพื่อให้เกิดความคล่องในการอ่านการเขียนต่อไป
๔. กิจกรรม “เขียนตามคำบอก” และ “คัดลายมือ” เป็นกิจกรรมที่สามารถใช้ฝึกฝนให้เกิดความแม่นยา และคงทนในการอ่านการเขียน จึงควรนำมาใช้หลังการอ่านเขียนสะกดคำแจกลูกทุกครั้ง


สอนสะกดคำ แจกลูก อย่างไร


ขั้นตอนในการสอนอ่านสะกดคำแจกลูก มีขั้นตอนที่สาคัญ ดังนี้

ขั้นที่ ๑ สอนให้เห็นรูป

โดยครูใช้ “บัตรคำ” คำที่ต้องการสอน ให้นักเรียนได้เห็นรูปร่างลักษณะของพยัญชนะ สระ ที่ประสมเป็นคำนั้นๆ เช่น


มะ มา มิ มี มึ มื มุ มู เมะ เม …
หรือ ครูอาจจะใช้วิธีเขียนคำในกระดาน ก็ได้

ขั้นที่ ๒ สอนให้รู้จักเสียง

(๑) ครูต้องทบทวนเสียงพยัญชนะ และ เสียงสระโดยอ่านออกเสียงพยัญชนะ และเสียงสระให้ฟังอย่างชัดเจน เช่น

(๒) ให้นักเรียนดูรูปพยัญชนะ และสระ แล้วอ่านออกเสียงพยัญชนะ และเสียงสระ ตามครู โดยออกเสียงดังๆ และชัดเจน

ขั้นที่ ๓ สอนให้อ่านสะกดคำ

(๑) ให้นักเรียนดูรูปคำ แล้วครูอ่านสะกดคำให้นักเรียนฟัง (ครูต้องออกเสียงให้ดังและชัดเจน) เช่นว่า


มะ มา มิ มี มึ มื มุ มู เมะ เม …

(๒) ให้นักเรียนดูรูปคำ แล้วอ่านออกเสียงสะกดคำตามครูพร้อมกันทั้งชั้น เป็นรายกลุ่ม หรือรายคน
(๓) ให้นักเรียนดูรูปคำ แล้วอ่านออกเสียงสะกดคำเอง โดยเริ่มจากอ่านออกเสียงพร้อมกันทั้งชั้น เป็นรายกลุ่ม และรายคน
(๔) ครูต้องสังเกต ตรวจสอบ หรือทดสอบการอ่านออกเสียงสะกดคำของนักเรียนเป็นรายคน หากพบว่านักเรียนคนใดยังอ่านออกเสียงไม่ได้ หรือไม่ชัดเจน ต้องแก้ไขทันที (และต้องแก้ไขเสียก่อนที่จะให้อ่านคำต่อไป)

ขั้นที่ ๔ สอนให้อ่านแจกลูก


(๑) ครูนำพยัญชนะ และ สระที่ต้องการอ่านแจกลูก โดยใช้บัตรพยัญชนะ หรือบัตรสระ หรือเขียนบนกระดาน แล้วทบทวนให้อ่านออกเสียงพยัญชนะ และเสียงสระอย่างชัดเจนเสียก่อน เช่น


มะ มา มิ มี มึ มื มุ มู เมะ เม …

(๒) ให้นักเรียนดูรูปชุดคำที่ต้องการแจกลูก โดยใช้แผนภูมิ หรือเขียนชุดคำบนกระดาน แล้วครูอ่านแจกลูกให้ฟัง เสียงดังและชัดเจน เช่น


มะ มา มิ มี มึ มื มุ มู เมะ เม …

(๓) ให้นักเรียนดูชุดคำ แล้วอ่านออกเสียงแจกลูกตามครูพร้อมกันทั้งชั้น เป็นรายกลุ่ม หรือรายคน
(๔) ให้นักเรียนดูชุดคำ แล้วอ่านออกเสียงแจกลูกเอง โดยเริ่มจากอ่านแจกลูกพร้อมกันทั้งชั้น เป็นรายกลุ่ม และรายคน

ขั้นที่ ๕ สอนให้อ่านทบทวน

(๑) หลังจากนักเรียนได้อ่านสะกดคำแจกลูก คำในแต่ละชุดแล้ว ครูควรเลือกคำบางคำที่อ่านสะกดคำแจกลูกมาแล้วในชุดนั้น และชุดก่อนหน้านั้น มาให้อ่านทบทวน โดยอ่านออกเสียง “เป็นคำ” (ไม่ต้องอ่านสะกดคำ – แต่ถ้าอ่านเป็นคำไม่ได้ก็ให้อ่านสะกดคำก่อน)
(๒) ชุดคำที่ใช้อ่านทบทวน ครูอาจจะแต่งเป็นเรื่องราวง่ายๆ ด้วยบทร้อยแก้ว หรือร้อยกรอง ก็ได้ แต่ต้องใช้คำที่ผ่านการอ่านสะกดคำแจกลูกมาแล้ว

ขั้นที่ ๖ สอนให้เขียนสะกดคำ


เมื่อนักเรียนอ่านออกเสียงสะกดคำ แจกลูกได้แล้ว ต้องฝึกให้เขียนรูปคำนั้นๆ โดย
(๑) ครูเขียนรูปคำในกระดาน (โดยคัดตัวบรรจงเต็มบรรทัด และลากเส้นให้ถูกต้องตามหลักการเขียน) ครูลากเส้นช้าๆ ให้นักเรียนดู และอ่านออกเสียงสะกดคำตัวนั้นไปพร้อมกัน
(๒) ให้นักเรียนเขียนรูปคำตามครู โดยเขียนในกระดานหรือคัดลงในสมุดของแต่ละคน ขณะเขียนให้อ่านออกเสียงสะกดคำไปด้วย
(๓) ให้นักเรียนคัดรูปคำแต่ละตัว ด้วยตัวบรรจงเต็มบรรทัดให้สวยงาม คัดลงในสมุดหลายๆครั้ง หลายๆเที่ยว ได้ตามความเหมาะสม
(๔) ครูต้องสังเกต ตรวจสอบ หรือทดสอบการเขียนสะกดคำของนักเรียนเป็นรายคน โดยอาจจะให้นักเรียนเขียนคำตามคำบอกก็ได้ หากพบว่านักเรียนคนใดยังเขียนคำใดไม่ได้หรือเขียนไม่ถูกต้อง ต้องช่วยเหลือแก้ไขทันที
(๕) ในกิจกรรมการคัดหรือเขียนคำนั้น อาจจะมีกิจกรรมอื่นๆเพื่อความเพลิดเพลินเสริมด้วยก็ยิ่งดี เช่น การวาดภาพระบายสี จากคำหรือข้อความที่คัดเขียน เป็นต้น

หลักในการเลือกคำมาใช้ฝึกสะกดคำและแจกลูก

๑. นำสระทุกเสียงมาให้ฝึกสะกดคำแจกลูก เพื่อให้ผ่านตา ผ่านหู คุ้นชินกับเสียงสระทุกเสียงเมื่อประสมกับพยัญชนะ
๒. นำพยัญชนะทุกเสียงมาฝึกสะกดคำแจกลูก เพื่อให้ผ่านตา ผ่านหู คุ้นชินกับเสียงพยัญชนะทุกเสียงเมื่อประสมกับสระ
๓. พยัญชนะบางตัวที่มีเสียงซ้ากัน เช่น ฃ ฅ ฆ ฐ ฑ ฒ ณ ญ ฎ ฏ ภ ศ ษ ฬ ยังไม่ต้องนำมาสะกดคำแจกลูก
๔. สระบางเสียงหรือพยัญชนะบางตัวเมื่อประสมกันแล้ว อาจไม่มีความหมายหรือไม่มีที่ใช้ ก็ให้เลือกบางส่วนมาฝึก พอให้เกิดความคุ้นชินเท่านั้น
๕.ให้เน้นการฝึกสะกดคำแจกลูก ในคำที่ประสมแล้วมีความหมายและมีที่ใช้ เป็นพิเศษ รวมทั้งคำที่จะมีความหมายเมื่อผันวรรณยุกต์หรือมีตัวสะกดด้วย
หมายเหตุ
๑. การสอนสะกดคำแจกลูก เป็นขั้นตอนที่สาคัญที่สุด ดังนั้นจึงต้องให้เวลากับการสอนสะกดคำแจกลูกอย่างเต็มที่ และสอนตามขั้นตอน อย่าเร่งรัด อย่ารีบร้อน จนเด็กตามไม่ทัน เพราะจะทาให้เกิดปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ในที่สุด
๒. กิจกรรมในแต่ละขั้นข้างต้นนั้น ในระยะเริ่มต้นควรจัดทุกกิจกรรมให้เข้มข้นครบถ้วน แต่ในระยะหลังๆเมื่อ “มั่นใจ” ว่านักเรียนคล่องหรือแม่นในบางกิจกรรมแล้ว อาจจะลดความเข้มข้นลงก็ได้
(ท่านที่สนใจสามารถติดตามอ่านและร่วมแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมในเฟซบุ๊ค “ลุง บุญเสริม”)


ที่มา : http://pnst4.go.th/index.php?name=blog&file=readblog&id=17

บุญเสริม แก้วพรหม
ศึกษานิเทศก์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔

ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอท่าศาลา ประธานภาคใต้ สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย

ประธานสำนักกวีน้อยเมืองนคร
ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๖
เฟซบุ๊ค “ลุง บุญเสริม”








Total Rating ✔

9.2 stars – 2,789 reviews

More Reviews

แสดงความคิดเห็น

ที่นี่อ่านออกเขียนได้ - วิธีการสอนน้องๆให้อ่านคล่องเขียนเก่งแบบเป็นขั้นเป็นตอน มาดูกันครับ

บทความจาก TutorFerry, ฝึกอ่านเขียนภาษาไทย, พัฒนาทักษะการอ่าน, News