แนวทางการเตรียมตัวสำหรับการสอบการบินไทย
๑. ทำไมจึงต้องมีการสอบคัดเลือก
ในการสมัครเข้าเป็น นบ.การบินไทยผู้สมัครทุกคนจะต้องผ่านการตรวจสอบจากสถาบันทางจิตวิทยาที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลให้การรับรอง เพื่อทางบริษัท ฯ สามารถใช้ผลการรับรองจัดทำสัญญาประกันอุบัติเหตุได้และจะจ่ายเบี้ยประกันที่เหมาะสม ซึ่งในปัจจุบันบริษัท ฯ ได้ว่าจ้างบริษัท SIAP ของสแกนดิเนเวียน (ตั้งแต่ปี ๒๕๐๘) ซึ่งนำทีมโดย Professor Gordon (www.gordonconsulting.se) โดยในปัจจุบันรับผิดชอบการตรวจสอบ ๒ สายการบินหลัก คือ SAS และการบินไทย๒. ความต้องการจากการทดสอบ
เป็นสิ่งที่แน่นอนว่าในบริษัทการบินต้องการกลุ่มคนที่มีขีดความสามารถในการปรับตัวสำหรับปฏิบัติด้านการบินกับ บ.ที่มีความ complex ขึ้น มีสภาพจิตใจที่เหมาะกับการทำงานในลักษณะ Multi Crew Operations โดยบริษัทลงทุนในเวลาอันเหมาะสมมีหนังสือจิตวิทยาเล่มหนึ่งได้ได้กล่าวถึงคุณสมบัติที่ต้องการดังนี้
“ An individual’s adaptability to change, intellectual capacity to absorb new information, and qualities for becoming an effective team member and potential leader in complex, operating situation “การปฏิบัติใน complex operations และขีดความสามารถในการรับรู้สิ่งใหม่ ๆ ในเวลาที่เหมาะสมเป็นคุณสมบัติสำคัญส่วนหนึ่ง ในส่วนอื่น ๆ นั้นบริษัทจะเป็นผู้กำหนดความต้องการและแจ้งให้ psychologist ดำเนินการคัดเลือกตาม behavioral requirements ที่บริษัทกำหนด
ตัวอย่างที่สายการบินหนึ่งกำหนดขึ้น คือ
- be team oriented;
- have appropriate maturity, confidence and stress tolerance;
- be adaptable and flexible; and
- be able to exercise sound judgement and decision making.
สำหรับ behavioral requirements ในส่วนของการบินไทยนั้นไม่เปิดเผย แต่จากตัวอย่างตามที่กล่าวน่าจะมีความใกล้เคียงกัน ซึ่งจากข้อมูลตามที่กล่าวจึงสามารถประมวลได้ว่าผู้ที่บินเครื่องสมรรถนะสูง และผู้มีประวัติการศึกษาที่ดี เมื่อสามารถเข้าถึงรอบสัมภาษณ์กับ psychologist จะได้เปรียบเนื่องจากถือว่าได้รับการ certified ในระดับหนึ่งแล้ว อย่างไรก็ตามมิได้หมายความว่าผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติดังกล่าวจะหมดโอกาส หากมีการเตรียมตัวที่ดีและสามารถแสดงให้ psychologist เห็นถึงขีดความสามารถก็มีโอกาสเช่นเดียวกัน
๓. ขั้นตอนการสอบ (ปี ๒๕๔๔)
ในปี ๔๔ มีการแบ่งขั้นตอนการสอบเป็น ๒ ขั้นตอนใหญ่ ซึ่งเป็นขั้นตอน screen phase และ การทดสอบกับ psychologist๑. ขั้น screen phase จากบริษัท ฯ เพื่อดูว่าผู้สมัครมีขีดความสามารถที่จะเข้าสอบกับ psychologist ได้หรือไม่ เนื่องจากบริษัท ฯ ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นรายหัวในการสอบกับ psychologist (๑๐๐ เหรียญสหรัฐ ฯ สำหรับการสอบ paper ของ psychologist และ ๑,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ ฯ สำหรับการสัมภาษณ์) โดยแบ่ง screen phase เป็น ๒ ขั้นตอน คือ
๑.๑ การสอบ paper ที่ทดสอบความรู้ด้านการบินและภาษา
ความรู้ด้านการบินสอบในเรื่องต่าง ๆ (ดูรายละเอียดข้อสอบ paper กัปตันไทย ปี ๔๔) ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับกัปตันที่รับผิดชอบในปีนั้น ๆ ส่วนภาษาอังกฤษนั้นน่าจะใกล้เคียงกับ TOEIC ซึ่งหากไม่ได้เตรียมตัวจะมีความยากมาก อย่างไรก็ตามในปี ๔๔ ผู้เข้าสอบส่วนใหญ่ก็ทำคะแนนไม่ดีแต่สามารถผ่านไปได้ ซึ่งประเด็นหลักอยู่ที่การแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการทำข้อสอบด้วย
๑.๒ การสัมภาษณ์โดยกัปตันไทย (ดูรายละเอียดแนวทางคำถามในการสัมภาษณ์ ปี ๔๔) โดยให้เล่าประวัติเป็นภาษาอังกฤษ และสอบถามความรู้ด้านการบินและอื่น ๆ ซึ่งผู้เข้าสอบควรแสดงถึงความมั่นใจแต่อ่อนน้อม เพราะส่วนใหญ่จะเป็นรุ่นพี่ทางทหาร
ในการสอบหากผู้เข้ารับการสอบไม่ผ่านในขั้น screen phase ตามข้อ ๑.๑ หรือ ๑.๒ สามารถสมัครสอบได้ใหม่ในปีถัดไป
๒. การสอบกับ psychologist แบ่งเป็น ๒ ขั้นตอน
๒.๑ การทดสอบด้วย paper (ดูรายละเอียดข้อสอบ paper ของ psychologist ปี ๔๔)
ซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก
๒.๒ การสัมภาษณ์โดย psychologist (ดูรายละเอียดการสัมภาษณ์ของ psychologist ปี ๔๔) เพื่อตรวจสอบประวัติและผลของข้อสอบที่ได้ทำไปตามข้อ ๒.๑ กับผู้รับการสัมภาษณ์ว่า matching กันหรือไม่ ซึ่งมีความเป็นไปได้เช่นเดียวกันว่าบางครั้ง paper คะแนนดีแต่เวลาสัมภาษณ์ไม่ intelligent เหมือนกับที่ทำ paper (ประเด็นอยู่ที่ว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าคะแนนตรงระดับไหนจะสะท้อนภาพของตัวเรา ซึ่งหากไม่ทำเต็มที่หรือดึงคะแนนก็อาจจะไม่มีโอกาสเข้ามารับการสัมภาษณ์ ข้อเสนอแนะคือควรทำให้ดีที่สุด)
ในการสอบหากผู้เข้ารับการสอบไม่ผ่านในขั้นการสอบกับ psychologist ตามข้อ ๒.๑ หรือ ๒.๒ จะต้องรออีก ๓ ปีจึงจะสามารถสมัครใหม่ได้สำหรับการบินไทย (สำหรับ SAS ไม่สามารถสมัครใหม่ได้)
โดยสรุปผู้เข้ารับการทดสอบจะต้องผ่านการสอบทั้งหมด ๒ ขั้นตอนใหญ่ (แบ่งเป็น ๔ ขั้นตอนเล็ก)
๔. รายละเอียดข้อสอบกัปตันไทย
ในปี ๔๔ มีคำถามเกี่ยวกับความรู้ด้านการบิน (เป็นภาษาอังกฤษ) ดังนี้๑. หลักการบินด้วยเครื่องวัด และการแบ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการบินด้วยเครื่องวัด
๒. อธิบายว่าทำไม บ.จึงบินได้ด้วย Bernoulli’s equation และ Gas Law
๓. คำนิยามต่าง ๆ ในอุตุนิยมวิทยา เช่น METAR, CAVOK เป็นต้น
๔. ความหมายของ ICAO, JAA, FAA และ CAA
๕. การทำ Approach มีกี่แบบ
๖. จงอธิบายผลที่เกิดจาก Green House effect กับด้านการบิน
๗. จงอธิบายว่าความรู้ที่มีด้านการบินในปัจจุบันสามารถมาใช้กับการบิน Airline ได้อย่างไร
๘. อธิบายความรู้ที่มีเกี่ยวกับบริษัทการบินไทย
ในเรื่องภาษาอังกฤษ หากดำเนินการได้ควรเตรียมแนวทางเดียวกับ TOEIC ซึ่งในการสอบจริง Listening ก็ยังคงมีความยากเพราะลำโพงในห้อง Bangkok Convention Hall มีเสียงแตกซึ่งคงไม่สามารถดำเนินการใด ๆ ได้
- การแต่งกายสามารถใช้ชุดแขนยาวบ่าแข็งหรือใช้ชุดแขนยาวผูกไท ข้อควรพิจารณาคือการทดสอบจะดำเนินการพร้อมกับผู้สมัครสอบ pilot trainee จำนวนพันกว่าคน ณ ศูนย์การค้า Central
ลาดพร้าว ดังนั้นหากใช้ชุดแขนยาวผูกไทอาจจะดูกลมกลืนกว่า
๕. รายละเอียดแนวทางการสัมภาษณ์ปี ๔๔
กัปตันทวนทอง (จบนายเรือเยอรมัน)๑. ประวัติส่วนตัว (ควรเล่าการศึกษาและการทำงาน)
๒. บิน 10 N ไป 10 S heading 1800 speed 600 NM ใช้เวลาเท่าไร ?
๓. 1 : 60 rules
๔. 252 = ? 6252 = ? (คำถามที่สองไม่น่าจะ serious)
๕. ความรู้เกี่ยวกับบริษัท คุณประชา มาลีนนท์คือใคร, ใครเป็น DD, starting salaries ของ Co-pilot ?
- ควรแต่งกายโดยใช้ชุดเครื่องแบบปกติเทาแขนยาว บ่าแข็ง เพื่อเป็นการให้เกียรติผู้สัมภาษณ์และแสดงออกถึงสถาบันของตนด้วย
๖. รายละเอียดข้อสอบ paper ของ psychologist ปี ๔๔
ข้อสอบ paper มีส่วนสำคัญมากในการในการใช้เป็นข้อมูลการตัดสินใจของ psychologist โดยจะดำเนินการสอบตั้งแต่ ๐๘๓๐–๑๕๐๐ โดยมีข้อสอบทั้งหมด ๑๓ ชุด แบ่งเป็นชุดแยก ๑๒ ชุด และชุดรวม ๖ paper ๑ ชุดในเวลา ๔๕ นาที โดยในปี ๔๔ มีการเพิ่มเติมข้อสอบทำตามคำสั่งภายหลังเที่ยงเพิ่มเติมขึ้นมา ๑ ชุด โดยมีการสอบตามลำดับ ดังนี้- General Knowledge และ Aerodynamics จำนวน ๕ ข้อ
- Scanning
- Calculus ๘ ข้อ ๒๐ นาที
- Clock เปรียบเทียบ Digital กับ Analog ๒๐ ข้อ ๗ นาที
- Mechanics (ไม่แตกต่างจากแนวข้อสอบ)
Paper รวม (estimate, ทำตามคำสั่ง, อนุกรม, เติมตัวเลขในช่องสี่เหลี่ยมให้เกิดความสัมพันธ์ที่ถูกต้อง, เรียงความสัมพันธ์ของรูปภาพ) ให้เวลา ๔๕ นาที Time management เป็นเรื่องสำคัญ ต้องทำให้ได้ทุก paper
- Perceptual และ Grid Map
- พักเที่ยง (๑๒๐๐–๑๓๓๐)
- ทำตามคำสั่ง
- puzzle
- short memory
- complete picture
- creative thinking
- scanning หาเลข ๘ ในรูปสามเหลี่ยม, สี่เหลี่ยม, จัตุรัส และวงกลมที่ซ้อนกันอยู่
ข้อสอบ paper วัดอะไร
ในการสอบ paper มีแนวทางการวิเคราะห์ ๖ ด้าน คือ๑. องค์ประกอบด้านภาษา (Verbal Factor) เป็นความสามารถในความเข้าใจด้านภาษา ซึ่งจะได้แก่ การทำตามคำสั่ง
๒. องค์ประกอบด้านจำนวน (Number Factor) เป็นความสามารถในการมองความสัมพันธ์ และความหมายของจำนวนและความแม่นยำในการบวก ลบ คูณ หาร ในทางคณิตศาสตร์ ซึ่งได้แก่ calculus, อนุกรม, การเติมตัวเลขในช่องความสัมพันธ์ และ estimate
๓. องค์ประกอบด้านมิติสัมพันธ์ (Space Factor) เป็นความสามารถด้านขนาดและมิติต่าง ๆ สามารถสร้างจินตนาการให้เป็นส่วนย่อยของวัตถุต่าง ๆ เมื่อนำมาซ้อนทับกัน สามารถรับรู้ความสัมพันธ์ของรูปทรงเรขาคณิต ซึ่งได้แก่ การเรียงความสัมพันธ์ของรูปภาพ, puzzle, complete picture และการเปรียบเทียบเวลา analog กับ digital
๔. องค์ประกอบด้านความจำ (Memory Factor) ซึ่งได้แก่ short memory
๕. องค์ประกอบด้านสังเกตพิจารณาหรือรับรู้ (Perceptual Speed Factor) เป็นความสามารถด้านเห็นรายละเอียด ความคล้ายคลึงหรือความแตกต่างระหว่างของสิ่งต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งได้แก่ การ scan หาตัวที่แตกต่าง, การ scan หาเลข
๖ องค์ประกอบด้านเหตุผล (Reasoning Factor) ซึ่งได้แก่ Mechanics
จากที่อธิบายจะเห็นได้ว่า หากนำหลักการที่ต้องการวัดในด้านต่าง ๆ ข้อสอบบางส่วนอาจจะเปลี่ยนได้ แต่ยังคงไม่พ้นหลักการ และบางส่วนก็ยังคงต้องเหมือนเดิม เช่น อนุกรม, mechanics, การ scan และ calculus เป็นต้น
ในการเตรียมตัวเราสามารถใช้ข้อมูลเก่าฝึกฝนเพื่อทราบแนวทางและให้สมองได้คิดรวดเร็วขึ้น หากแนวข้อสอบตรงกับที่เตรียมก็ถือว่าโชคดีไป แต่ถ้าไม่ตรง การฝึกฝนให้สมองคิดเร็วขึ้นจะเป็นประโยชน์ในการทำ paper ตามที่กล่าว
ภายหลังจากเสร็จ paper (๑๕๐๐) จะเป็นการทำ group test ซึ่งมีการแบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ ๕ -๖ คน โดยมีการสมมุติว่าจะมีการทำกิจกรรมหนึ่งขึ้น (ในปี ๔๔ ให้เป็นว่ามีแนวความคิดว่าจะจัด Birthday Party) ขึ้นโดยจะมีเหตุการณ์ต่าง ๆ จำนวนประมาณ ๓๕ หัวข้อ โดยหัวข้อต่าง ๆ จะถูกแจกให้ไปกับแต่ละคน ๆ ละประมาณ ๕-๖ หัวข้อโดยไม่ได้เรียงลำดับ ซึ่งเป็นแต่ละบุคคลที่จะชี้แจงว่าตนเองมีข้อมูลอะไรเป็นภาษาอังกฤษ แล้วทั้งกลุ่มจึงช่วยกันประมวลว่าจะสามารถจัดทำกิจกรรมนั้นได้หรือไม่ ทุก ๆ คนควรช่วยกันแสดงความคิดเห็นออกมาเหมือนในการสัมมนา รร.นฝ. โดย psychologist จะสังเกตพฤติกรรมและบันทึกข้อมูล
Group Test ต้องการอะไร
จากการสอบถาม psychologist ในช่วงการสัมภาษณ์ ความต้องการกลุ่มคน ๒ กลุ่ม คือ๑. มีการแสดงความคิดเห็นและปฏิบัติการร่วมเป็นกลุ่มได้
๒. กลุ่มคนที่นอกจากมีคุณสมบัติตามข้อ ๑ แล้วยังมีการแสดงออกถึงลักษณะของ leadership
ใน group test จะคัดเฉพาะบุคคลที่มีคุณสมบัติ ๒ กลุ่มตามที่กล่าว นอกนั้นถือว่าไม่ผ่าน ดังนั้นจึงควรช่วยกระตุ้นให้ทุกคนออกความคิดเห็นร่วมกัน
ภายหลังจากเสร็จ group test แล้ว psychologist จะประมวลผลและออกมาแจ้งรายชื่อผู้ที่จะผ่านไปสู่การสัมภาษณ์ และบางส่วนจะถูก screen out โดยผู้ที่ผ่านจะต้องมากรอกแบบสอบถามประวัติของ SIAP และบางข้อมูลจะเป็นคำถามเดียวกันกับที่สมัคร เช่น การศึกษา ซึ่งผู้ที่ผ่านควรเตรียมข้อมูลที่ตนเองได้กรอกในวันสมัคร และสามารถนำเข้าไปได้เพราะ psychologist ต้องการให้ข้อมูล accurate ที่สุด (ตามการยืนยันจาก psychologist)
คำถามในแบบสอบถามของ SIAP
๑. ปู่, ย่า, ตา และ ยาย ทำอะไร ยังอยู่หรือไม่ หรือตายเมื่อใด (หากไม่แน่ใจควรตอบว่า I don’t know ตาม instruction ในหน้าแรกจะดีที่สุดและไม่มีผลกระทบ เพราะตามหลักความจริงหากญาติผู้ใหญ่เสียชีวิตตั้งแต่เรายังเด็กก็ไม่น่าที่จะจำได้ นอกเสียจากว่ามีความสนิทสนมจริง ๆ)๒. หากเราดูรูปภาพที่แขวนอยู่ก็จะมีความรู้สึกได้ว่าสวยหรือไม่ อย่างไร จงใช้คำพูดหรือประโยคสั้น ๆ ๕ คำหรือประโยคอธิบายชีวิตในวัยเด็ก (เสนอแนะว่า ๑ ใน ๕ ควรมีคำว่า discipline เพราะวินัยเป็นสิ่งที่สำคัญในการบิน)
๓. มีรถขับหรือไม่ ยี่ห้อและรุ่นไหน ปีใด
๔. ประวัติการศึกษา (ควรให้เหมือนกับที่กรอกในวันสมัคร)
๕. อุบัติเหตุในด้านการบิน
๖. อุบัติเหตุจากการขับรถ
๗. ชม.บินจาก primary training, ชม.ที่ได้ solo ในช่วง primary training
๘. ชม.บินรวมภายหลัง primary training และ ชม.multi engine
๙. อะไรที่ชอบและไม่ชอบในการทำงานปัจจุบัน
๑๐. ที่อยู่ตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน
ตามที่กล่าวในข้อ ๑ หากไม่แน่ใจในข้อมูลหรือจำไม่ได้ให้ตอบ I don’t know ซึ่งควรพิจารณาด้วยว่าข้อมูลนั้นเราควรทราบหรือไม่
ในขณะกรอกข้อมูล psychologist ก็จะแจ้งบนกระดานวันและเวลาในการสอบสัมภาษณ์
การเตรียมตัวในการสอบ paper ของ psychologist
สถานที่สอบ โรงแรม Royal Orchid Sheraton ซึ่งสามารถพัก ณ รร.Orchid Inn ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงกันมากเป็นที่พัก (ควรเน้นว่าให้จัดที่พักด้านหลัง เพราะหากจัดที่พักติดกับถนนเสียงจะดังอย่างมาก และจะนอนไม่หลับ)- รถโดยสาร ปอ.พ.๑๖ วิ่งจากรังสิตไปยังท่าน้ำ
- สี่พระยาโดยจอดบริเวณ seven-eleven หน้า Orchid Inn ซึ่งสะดวกอย่างมาก (๒๐ บาทตลอดสาย)
- เส้นทางเดินรถ รังสิต – รร.นอ. – สะพานใหม่ – ตาม ถ .พหลโยธิน - สามย่าน - สี่พระยา
- หากต้องการนำรถไปจะมีที่รับฝากรถตรงกันข้ามกับ
- รร.Orchid Inn โดยคิดค่าจอด ๑๒๐ บาท/วัน
- บริเวณโรงแรมเป็นท่าน้ำสี่พระยาซึ่งมีชุมชนมาก
- จึงไม่มีปัญหาด้านการหาอาหารรับประทาน (มีร้าน Pizza Company และ Swensen ในบริเวณที่เดินจาก Orchid Inn มายัง Orchid Sheraton)
- อัตราค่าที่พักในปี ๔๔ รร.Orchid Inn (0-2235-5518, 0-2266-9310-11) นอนเดี่ยว ๕๐๐ บาท นอนคู่ ๖๐๐ บาท หากพัก ณ รร.Orchid Sheraton คิดห้องละ ๒,๓๐๐ บาท (ไม่รวมอาหารเช้า)
- หากเดินทางด้วยรถยนต์ในช่วงเช้าควรใช้ทางด่วนสายที่ ๒ โดยลงตรงช่องทางออก “สีลม” แล้วเลี้ยวขวาไป
- ควรเตรียมนาฬิกาจับเวลาไปด้วยเพื่อ Time management (อนุญาติให้ใช้ได้และถือเป็นหน้าที่ของผู้เข้าสอบในการบริหารเรื่องเวลา)
- การแต่งกายโดยใช้ชุดแขนยาวผูกไทมีความเหมาะสม
๗. รายละเอียดการสัมภาษณ์ของ psychologist ปี ๔๔
ตามที่กล่าวไว้ในเบื้องต้นว่า การสัมภาษณ์เป็นการตรวจสอบว่าตัวจริงกับ paper ที่ทำได้ matching กันหรือไม่ ในปี ๔๔ จะสัมภาษณ์กับ psychologist ๒ คน ดังนี้๑. คนที่ ๑ จะให้เล่าประวัติ และจะให้เล่น game 2 games คือ localizer และ การนำวงกลมเข้าหากากบาท และให้
วาดภาพสัตว์ หรือบ้าน (แล้วแต่คำสั่ง) โดยใช้ ๒ มือพร้อมกันแล้วถามคำถาม (แต่งงานหรือยัง, ใช้รถอะไร รุ่นไหน (Toyota ปี ๙๖) spell Toyota backward, 9x17 = ?) เพื่อดูการทำงานร่วมกัน ซึ่ง นบ.ไม่น่าจะมีปัญหา และมีการเคาะเดินจุด โดยผู้เข้าอาจจะไม่ได้รับการตรวจสอบทั้งหมดตามที่กล่าวจึงไม่ต้องแปลกใจหากไม่มีทั้งหมด แต่คำถามที่สำคัญ เช่น Why do you want to join Thai ? ควรมีการเตรียมคำตอบที่ดี
๒. คนที่ ๒ จะนำข้อมูลจากคนที่ ๑ และสอบถามเกี่ยวกับประวัติ พ่อ แม่ พี่ น้อง และทั่วไป รวมทั้งอาจจะนำข้อสอบบางส่วนที่ยังมีผลไม่ชัดเจนมาสอบถาม ซึ่งควรเตรียมข้อมูลชี้แจงด้วย ซึ่งผู้เข้าสอบควรทราบด้วยตนเองว่า paper ใดที่ตนเองทำได้ไม่ชัดเจน
ตามที่กล่าวในเบื้องต้นหากประวัติด้านต่าง ๆ ของผู้เข้าสอบดีก็จะมีผลอย่างสูงต่อการคัดเลือกของ psychologist แต่ผู้เข้าสอบก็ต้องแสดงให้เห็นศักยภาพนั้น ๆ ด้วย
Total Rating ✔
9.2 stars – 2,789 reviews
More Reviews
อ่านรีวิว ทั้งหมดคลิก
แสดงความคิดเห็น
สอบเข้าเป็นนักบินการบินไทย เตรียมตัวอย่างไร? มาดูกันครับ
สอบทุนนักบิน, News, Student Pilot