สำรวจ
แนะนำ
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

ติวสอบทุนนักบิน Student Pilot

ค้นหาด้วยเสียง
ค้นหาด้วยเสียงคลิกที่นี่

» » นั่งคุยกับนักบินหญิงคนสวยกับอาชีพทำรายได้เดือนละ 2 แสน

14 พฤศจิกายน 2561

นั่งคุยกับนักบินหญิงคนสวยกับอาชีพทำรายได้เดือนละ 2 แสน

เราทุกคนคงรู้กันดีว่า นักบิน เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ต้องอาศัยความรู้และทักษะรอบตัวเป็นอย่างมาก รวมถึงต้องมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เพราะขณะปฏิบัติหน้าที่ เขาต้องรับผิดชอบชีวิตของผู้โดยสารทั้งลำ เป็นนักบินว่ายากแล้ว... แต่การที่ผู้หญิงตัวเล็กๆ คนหนึ่ง มีความใฝ่ฝันที่จะเป็นนักบิน ขับเครื่องบินอยู่บนท้องฟ้า และวันนี้เธอทำสำเร็จ เธอพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นแล้วว่าอาชีพนักบิน ไม่ได้มีแค่ผู้ชายเท่านั้นที่ทำได้

ติวสอบทุนนักบิน Student Pilot by www.tutorferry.com


★แค่มีความฝัน!
★ นั่งคุย 'นักบินหญิงคนสวย'
★ กับอาชีพทำรายได้เดือนละ 2 แสน

.

➤ เราทุกคนคงรู้กันดีว่า นักบิน เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ต้องอาศัยความรู้และทักษะรอบตัวเป็นอย่างมาก รวมถึงต้องมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เพราะขณะปฏิบัติหน้าที่ เขาต้องรับผิดชอบชีวิตของผู้โดยสารทั้งลำ

เป็นนักบินว่ายากแล้ว... แต่การที่ผู้หญิงตัวเล็กๆ คนหนึ่ง มีความใฝ่ฝันที่จะเป็นนักบิน ขับเครื่องบินอยู่บนท้องฟ้า และวันนี้เธอทำสำเร็จ เธอพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นแล้วว่าอาชีพนักบิน ไม่ได้มีแค่ผู้ชายเท่านั้นที่ทำได้

วันนี้ จะพาคุณไปรู้จักกับ คุณหุ้น วิสา เบญจพรชัย นักบินสาวสวยแห่งค่ายนกสกู๊ต ที่เธอจะมาแชร์ให้เราฟังกันว่า อาชีพนี้มันไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถ หากสาวๆ คนไหนมีความฝันเหมือนเธอ ...ตามไปอ่านบทสัมภาษณ์ของเธอกันเลย

➤ นักบิน...คืออาชีพในฝัน

หุ้นอยากเป็นนักบินตั้งแต่ม.ปลาย เพราะแค่คิดว่ามันคงเท่ดีหากเราขับเครื่องบินได้ แต่เมื่อประมาณ 7-8 ปีที่แล้ว โลกมันค่อนข้างที่จะไม่เปิดกว้างเหมือนตอนนี้ นักบินหญิงก็จะมีไม่ค่อยเยอะ เพราะส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย เราเลยคิดว่าเป็นแอร์ก็ได้ เพราะเราเป็นคนชอบเที่ยว ถ้าเราไปทำงานแล้วได้เที่ยวในเวลาเดียวกันก็คงเอ็นจอยชีวิตมากกว่า

➤ แล้วจากนั้นเป็นอย่างไรต่อ

พอจบม.ปลาย ก็เรียนต่อปริญญาตรีที่มหิดลอินเตอร์ เป็นสาขาเกี่ยวกับบริหารการท่องเที่ยวและการโรงแรม ก่อนเรียนจบได้ฝึกงานอยู่ที่โรงแรมเลอ เมอริเดียน และทำงานที่นั่นต่ออีก 6 เดือน จนมีโอกาสได้ไปเป็นแอร์ของสิงคโปร์แอร์ไลน์ แต่ก็เกิดจุดเปลี่ยนขึ้นอีก

➤ จุดเปลี่ยนที่ว่าคืออะไร

ในช่วงที่รอสิงคโปรแอร์ไลน์เรียก เราลาออกจากงานโรงแรมมาแล้ว พอว่างเลยลองทำงานอีเวนต์เป็นฟรีแลนซ์ เพราะอยากลองทุกอย่างให้รู้ว่าเราชอบอะไร 

นั่งคุยกับนักบินหญิงคนสวยกับอาชีพทำรายได้เดือนละ 2 แสน

➤ แล้วกลับมาเป็นแอร์ฯ อีกไหม

เราเริ่มเป็นแอร์ฯ การบินไทยตอนปี 2014 เพราะระหว่างนั้นการบินไทยก็เรียกมาพอดี การทำงานเป็นแอร์ฯ ทำให้เรารู้สึกว่านี่เป็นอาชีพที่ดีมากๆ แต่เรายังรู้สึกว่ายังไม่ตอบโจทย์ในสิ่งที่เราต้องการ เพราะส่วนตัวคิดว่าชีวิตเราอยากทำอะไรที่ยิ่งใหญ่กว่านี้ 

➤ แสดงว่ากำลังจะมีจุดเปลี่ยนอีกครั้ง

ค่ะ เพราะพอหุ้นเป็นแอร์ฯ ได้ประมาณ 1 ปี เราก็เริ่มสอบทุนของแอร์ไลน์ เขาเรียกว่า SP คือ Student Pilot ของนักบินที่บางกอกแอร์เวย์สเปิดให้สอบ เรียนอยู่ 1 ปีก็สอบไม่ได้ แล้วเรามีรุ่นพี่บางท่านที่รู้จักเขาแนะนำว่า ถ้าหุ้นอยากเรียน หุ้นต้องรีบเรียน เพราะเราเคยคิดว่าจะเรียนต่อปริญญาโท ลองขอทุนดู เพราะที่มหิดลอินเตอร์ถ้าเราจบเกียรตินิยมมาเขาจะให้ทุนเรียนฟรี แต่พอเราไปปรึกษากับหลายๆ ท่าน ช่วงที่นักบินขาดมันก็จะเป็นแค่ช่วงหนึ่งเดี๋ยวมันจะไม่ขาดแล้ว ถ้าเราอยากเรียนก็ต้องรีบเรียน ตอนนั้นก็เลยตัดสินใจว่าเราจะไปเรียนแล้วนะ

➤ ตอนนั้นเราเริ่มต้นอย่างไร

พอตัดสินใจได้ว่าเราจะไปเรียนบิน ก็เริ่มมาหาข้อมูล หุ้นเลือกเรียน เรียกว่า QP คือ Qualified Pilot คือเราออกเงินเรียนขับเครื่องบินเอง เพื่อให้ได้ใบ License CPL คือ Commercial Pilot license เพื่อเอาใบนี้ไปสมัครงานตามสายการบินอีกที

ซึ่งการที่เรามีใบ CPL มันสามารถทำให้เราไปสมัครงานตามสายการบินได้หลากหลายมากกว่าการสอบ Student เพราะหลายสายการบินไม่รับนักบินที่เป็นผู้หญิง

➤ เหนื่อยไหมกว่าจะเป็นนักบิน

นักบินทุกคนจะต้องสอบผ่านทั้งทฤษฎี ปฏิบัติ และการทดสอบจิตใจด้วย ซึ่งในขั้นตอนแรกถ้าผ่านการสอบพวกนี้ ก็สามารถเข้าเรียนการบินได้ แต่ตอนที่เข้าไปเรียนตอนนั้นก็ยังทำงานการบินไทยอยู่ ก็เป็นแอร์ฯ ไปด้วย เรียนไปด้วย ยอมรับว่าเหนื่อยมาก แต่เราก็ไม่ท้อนะ ตอนหุ้นเรียนใช้เวลาประมาณ 12 เดือน และต้องเก็บชั่วโมงบินให้ครบ ซึ่งมันยากตรงนี้ เราต้องแบ่งเวลาให้ดี คิดว่าเราให้ความสำคัญกับอะไรในชีวิตมากกว่ากัน ถ้าเราอยากจบเร็วก็ต้องขยันไปบิน 

➤ ระหว่างเรียน คิดว่าอะไรคือสิ่งที่ยากที่สุด

ในการเรียนบิน ทุกอย่างคือเรื่องยาก แต่ถ้าใครตั้งใจจะทำจริงๆ ก็จะทำได้ มันอยู่ที่ใจเรามากกว่าว่าเราจะยอมแพ้หรือเปล่า มันนิดเดียวจริงๆ เพราะไม่มีใครผ่านมาได้โดยที่ไม่ลำบาก 
ถ้าเราไม่ได้บอร์นทูบีนักบินขนาดนั้น หุ้นบอกได้เลยว่าเราเสียน้ำตากันเป็นถัง โดนด่ากันมาเท่าไร ก็ครูบางท่านก็เป็นทหารก็จะดุหน่อย ถึงแม้จะเป็นผู้หญิงก็ดุอยู่ดี แต่ถ้าเรากัดฟันแล้วเราคิดว่า มันต้องรอด เราก็จะรอด มันอยู่ที่ใจเรามากกว่าว่าเราอยากได้มันแค่ไหน อีกอย่างสำหรับหุ้น...เงินค่าเรียนมันเยอะด้วย ยังไงก็ต้องเรียนให้จบให้ได้ (หัวเราะ)

➤ ดีใจไหมที่ทำตามฝันสำเร็จ

ตอนเข้าไปสัมภาษณ์งานที่นกสกู๊ต คนที่สัมภาษณ์ก็กลัวเหมือนกัน เขาบอกว่าบริษัทเรามีผู้หญิงอยู่ 3 คนนะ และมีนักบินทั้งหมด 50 คน ถ้ารับเข้าทำงาน แปลว่าหุ้นจะเป็นนักบินหญิงคนที่ 4

➤ แล้วคิดอย่างไร เพราะอาชีพนี้แทบไม่มีหญิงเลย

หุ้นเป็นคนที่ค่อนข้างเปิดรับความคิดเห็นคนอื่น เราคิดว่ามันไม่เกี่ยวหรอกว่านักบินเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย ทุกคนก็แค่มาบิน และส่งผู้โดยสารถึงที่หมายอย่างปลอดภัย ทุกคนเขามาทำหน้าที่ของตัวเอง ไม่ได้มาแบ่งแยกว่าเธอเป็นผู้หญิงฉันเป็นผู้ชาย เราทุกคนให้เกียรติกันและกันในฐานะเพื่อนร่วมงาน

➤ ทำงานมากี่ปีแล้ว

เป็นนักบินให้นกสกู๊ตมาได้ 1 ปีค่ะ ช่วงนี้เดือนหนึ่งก็จะบินประมาณ 8-9 ไฟลต์ ของเรามีแต่ไฟลต์ค่อนข้างไกลค่ะ ประมาณ 3-7 ชั่วโมง ที่บอกว่าเป็นมีเดียมคอลก็คือบินไกลไปเลยค่ะ จะไม่บินในประเทศ ส่วนใหญ่ของเราจะเป็นจีนและก็ไทเป แล้วก็ญี่ปุ่น ก็จะมีอยู่เท่านี้ ค่อนข้างบินไกลไปเลย แล้วก็ค้างต่างประเทศค่อนข้างบ่อย 

นั่งคุยกับนักบินหญิงคนสวยกับอาชีพทำรายได้เดือนละ 2 แสน

➤ เราคิดว่าอาชีพแอร์โฮสเตสกับนักบินแตกต่างกันอย่างไร

หุ้นว่าความรับผิดชอบมันต่างกันค่ะ เหมือนตอนที่เราเป็นแอร์ฯ หน้าที่ของเรา เราถูกเทรนมาอย่างหนักเพื่อให้ดูแลความปลอดภัยของผู้โดยสาร การเสิร์ฟอาหาร หรือน้ำ เป็นการที่ทำให้เขารู้สึกว่าเขาก็สะดวกสบายในการเดินทางกับเรา แต่จริงๆ แล้วหน้าที่หลักคือการที่เรามาดูแลความปลอดภัยของผู้โดยสารมากกว่า
แต่ถ้าตอนที่เราเป็นนักบินแล้ว เราจะอยู่ทำงานร่วมกับกัปตันในห้องเล็กๆ ต้องคอยติดต่อหอสื่อสาร และตื่นตัวในหน้าที่ของเราอยู่ตลอด ความเครียดมันก็จะต่างกัน 

➤ อยู่บนเครื่อง นักบินทำอะไรบ้าง

พอเราเข้าไปถึงเครื่องเราก็ต้องเตรียมตัวก่อนว่าวันนี้เราไปไหน เครื่องอะไร สภาพอากาศเป็นอย่างไร แอร์พอตเป็นอย่างไร เช่น แอร์พอตที่เราจะออกดอนเมือง จุดหมายปลายทาง ระหว่างทางเป็นอย่างไร ไปบินกับใคร ต้องเตรียมรีพอร์ต เตรียมเอกสาร แล้วเราก็มาบรีฟกับกัปตัน ว่ามีปัญหาที่ต้องระวังหรือไม่

จากนั้นก็เอาข้อมูลที่เรามีประกาศบอกลูกเรือ ให้เขาได้เตรียมตัว จะได้ไม่เสี่ยงอันตรายตอนที่อยู่บนไฟลต์ พอบรีฟลูกเรือเสร็จ เราก็ไปอยู่ที่เครื่อง เช็กว่าเครื่องว่าถูกต้องไหม และเราก็จะต้องออกไปตรวจรอบเครื่อง หลังจากนั้นก็ขึ้นมาเตรียมการอื่นๆ ใส่รายละเอียดทั้งหมดเข้าไปในระบบ เพื่อให้เขาคำนวณและจัดเตรียมเครื่อง หลังจากนั้นก็บอกผู้โดยสารค่ะ พอผู้โดยสารครบ เอกสารครบ เราก็ต้องขอเขาออกจากหลุมจอดเพื่อทำการเทกออฟออกไป

พอขึ้นไปเสร็จเราก็บินตามทางค่ะ ไต่ไปถึงความสูงในระดับที่วางไว้ จากนั้นก็แท็กซี่ลงจอด ก่อนดับเครื่องก็ต้องเช็กอีกรอบว่าเครื่องไม่ได้มีปัญหา จากนั้นก็ดับเครื่อง

➤ ได้บินเส้นทางไหนบ้าง

บินทุกเส้นทางของนกสกู๊ตเลยค่ะ มีบินไทเป ซีอาน นานกิง ชิงเต่า เทียนจิน เสิ่นหยาง ต้าเหลียน

➤ แล้วปรับเวลาถูกเหรอ

เรื่องปรับเวลายังไม่เท่าไร แต่สิ่งที่ต้องปรับจริงๆ คือเรื่องติดมือถือ เพราะตั้งแต่ทำงานมา เราใช้เวลาหลายชั่วโมงในการบิน เลยอาจขาดการติดต่อ-สื่อสารกับเพื่อนไปบ้าง ทำให้เราติดโซเชียลมีเดียน้อยลงกว่าเดิมเยอะมาก

➤ ชอบอะไรมากที่สุดในการทำงาน

ชอบที่เราได้บินกับเครื่อง 777-200 ซึ่งเป็นเครื่องลำใหญ่ และเรามีความภูมิใจเรื่องนี้มาก เพราะเมื่อเราพูดถึงโลว์คอสต์ คนก็จะคิดว่าจ่ายถูกก็จะได้ของน้อย ได้ที่นั่งที่เล็กแคบๆ ไม่มีอะไรกิน หิว ยืดขาไม่ได้ แต่ความจริงไม่ใช่เลย เนื่องจากเครื่อง 777-200 ของนกสกู๊ต ที่นั่งเป็นไซส์เดียวกันกับพรีเมียมแอร์ไลน์ทั่วไป

เป็นเครื่องบินลำใหญ่ 777-200 ให้ความรู้สึกสบาย โปร่ง ไม่อึดอัดเหมือนเครื่องบินเล็กๆ

➤ มีอะไรอยากแนะนำสาวๆ ที่กำลังสนใจอาชีพนี้ไหม

อย่าคิดว่าเราทำไม่ได้ เพราะหุ้นก็ไม่ได้คิดว่าจะมาถึงได้ขนาดนี้เหมือนกัน เพราะมันไม่มีใครที่บินได้ตั้งแต่เกิด แต่หุ้นจะคิดและถามตัวเองก่อนว่าทำไมอยากเป็น หาคำตอบให้ได้ว่าเราอยากเป็นจริงๆ นะ และทุกครั้งที่เราเจอปัญหา หรืออุปสรรคที่กว่าจะไปถึงจุดๆ นั้น เราต้องอดทนและข้ามผ่านมันไปให้ได้ แต่ที่หุ้นคิดคำเดียวคือห้ามยอมแพ้ และก็ทำให้เต็มที่ค่ะ

นั่งคุยกับนักบินหญิงคนสวยกับอาชีพทำรายได้เดือนละ 2 แสน

.
ที่มา : https://www.thairath.co.th/

Total Rating ✔

9.2 stars – 2,789 reviews

More Reviews

แสดงความคิดเห็น

นั่งคุยกับนักบินหญิงคนสวยกับอาชีพทำรายได้เดือนละ 2 แสน

บทความจากหนังสือ, News