สำรวจ
แนะนำ
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

ติวสอบทุนนักบิน Student Pilot

ค้นหาด้วยเสียง
ค้นหาด้วยเสียงคลิกที่นี่

» » เพลงสำหรับใช้ประกอบการสอนภาษาไทย สำหรับน้องๆอนุบาลและประถม

29 สิงหาคม 2561

เพลงสำหรับใช้ประกอบการสอนภาษาไทย สำหรับน้องๆอนุบาลและประถม

เพลง..คือ สัญลักษณ์หนึ่งของความสุข ความรื่นรมย์ ช่วยคลายความเหงาความทุกข์ บางครั้งเพลงยังนำมาเป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ เพลงจึงเป็นสิ่งที่ผูกพันกับชีวิตมนุษย์อย่างใกล้ชิดตั้งแต่เกิดจนตาย เพลงสามารถเข้าถึงผู้ฟังได้โดยง่ายทางสื่อสารมวลชนต่างๆ บุคคลสามารถรับสุนทรียรสแห่งเสียงเพลง ไม่ว่าจะเป็น จังหวะ ท่วงทำนอง ลีลาและเนื้อร้องของบทเพลงนั้น ๆ โดยไม่รู้ตัว

เพลงสำหรับใช้ประกอบการสอนภาษาไทย สำหรับน้องๆอนุบาลและประถม


เพลงใช้ประกอบการสอนภาษาไทย


เพลง..คือ สัญลักษณ์หนึ่งของความสุข  ความรื่นรมย์  ช่วยคลายความเหงาความทุกข์ บางครั้งเพลงยังนำมาเป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ เพลงจึงเป็นสิ่งที่ผูกพันกับชีวิตมนุษย์อย่างใกล้ชิดตั้งแต่เกิดจนตาย  เพลงสามารถเข้าถึงผู้ฟังได้โดยง่ายทางสื่อสารมวลชนต่างๆ  บุคคลสามารถรับสุนทรียรสแห่งเสียงเพลง ไม่ว่าจะเป็น จังหวะ  ท่วงทำนอง  ลีลาและเนื้อร้องของบทเพลงนั้น ๆ โดยไม่รู้ตัว


            หากพิจารณาถึงวิธีสอนที่จะทำให้เกิดสัมฤทธิผลในการเรียนรู้ภาษาไทยแล้ว  หนึ่งในรูปแบบการจัดกิจกรรมที่ได้รับความสนใจ  คือ การใช้เพลงประกอบการสอน  เพราะนอกจากจะเป็นสื่อที่สอดคล้องกับความสนใจ  สร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนแล้ว ยังช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว จดจำเนื้อหาได้แม่นยำ สนุกสนานเพลิดเพลินไม่เกิดความเบื่อหน่าย  เพลง..ทำให้บทเรียนมีชีวิตชีวาเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังบูรณาการเชื่อมโยงไปยังนาฏกรรมการแสดงประเภทต่างๆได้อย่างเหมาะสมกลมกลืน  สามารถนำมาเผยแพร่ถ่ายทอดจินตนาการส่งความสุขผ่านวรรณกรรม  ตัวละคร  บทเพลงสู่ผู้ฟังและผู้ชมได้อย่างดียิ่ง  ภาษาไทยกับเพลงจึงเปรียบเสมือนคู่ขวัญที่เอื้อประโยชน์ต่อกันสืบเนื่องตลอดมา


เพลงมาตราตัวสะกด  


                    ๑. เพลงมาตราตัวสะกดเก้ามาตรา   (ทำนองแคนลำโขง)
                               มาตราตัวสะกดของไทยรวบรวมไว้มีเก้ามาตรา 
                       มาตราแม่ ก กา อย่าชักช้าจำให้ดี
                      คำที่ไม่มีตัวสะกด อย่าละลด เช่น   เต่า   ปู ปลา
                              มาตราตัวสะกดแม่กน   อีกแม่กม  และแม่กง
                      เกย   เกอว   อย่าใหลหลง   ให้เราจงจำให้มั่น
                      ห้าแม่นั้นสะกดต่างกัน    มาเร็วพลันจำให้ขึ้นใจ
                             มาตราแม่กก กด กบ จำให้ครบเก้าแม่พอดี
                      มาตราทั้งสามแม่นี้ อย่ารอรีออกเสียงสั้น ๆ
                     ให้คำนั้นผันเป็นคำตาย    เราทั้งหลายจำได้ไม่ลืม.

                        ๒. เพลงมาตรา แม่ ก กา    (ทำนองรำวงดาวพระศุกร์)
                                      มาเร็วมา มาเรียนแม่กาให้ร่าเริงใจ
                        พวกเราเริงร่าอุราแจ่มใส มาเรียนแม่ไอแม่เอา
                        มะมาพวกเราเร็วมา ใช้เสียงอะ อา อุ ไอ อำเอา
                        เราไม่ใส่ตัวสะกด เราตัดออกหมดสะกดไม่เอา
                       ใช้แต่สระ เช่นว่า เรา เขา พ่อ ตัว หัวเข่า เรามี
                       ฤ ฤๅเอะ เอ อุ อู อัวะอัว อึ อือ อะ อา อิ อี
                       ใช้สระให้ดี แม่กาไม่มีตัวสะกดเติม
                       จำไว้ ๆ ให้ดี ถ้าเป็นอย่างนี้เราเรียกแม่ กา
                       ไม่ระอาเพราะใช้ถูกเอย
  
                   ๓. เพลงมาตราแม่กก (ทำนองเพลง Are you sleeping)
                           มาตราแม่กก ๆ          ไก่ ไข่ ควาย ๆ
                    ฆ ระฆัง ตีดังกังวาน ๆ        สราญสุขใจ ๆ
                   โยกเยกเลขหก ๆ                เมฆ โรค โชค ๆ
                   ล้วนสะกดด้วยแม่กก ๆ        มีสี่ตัว ๆ  

                  ๔. เพลงมาตราแม่กด (ทำนองเพลงช้าง)
                           คด มด งด                 รู้จักแม่กดหรือไม่
                 เห็น "ด" สะกดที่ใด               เป็นมาตราไทย แม่กด นะ ๆ
                 จำไว้ซิจ๊ะ มีหลายคำ
                       พจน์ รถ ยศ                   ก็เป็นมาตราแม่กด
                 เหมือน "ด" สะกดทุกคำ         เราต้องจดจำกันให้ดี ๆ
                 ลองหาดูซิ มีหลายคำ  

              ๕.เพลงมาตราแม่กด (ทำนองเพลงสามัคคีชุมนุม)
                      มาตราสะกดแม่กด     จำไว้ให้หมดสิบแปดตัวมี
              จ จาน ฉ ฉิ่ง เข้าที              ช ช้าง เร็วรี่ อีก ฌ กระเฌอ
            ซ โซ่ ฎ ชฎา ฏ ปฏัก             ช่างงามน่ารัก ฑ นางมณโฑ
            ฒ เฒ่า ฐ ฐานใหญ่โต           ด เด็กมากโข เดินโซ ต เต่า
            ท ทหาร ถ ถุง ธ ธง               ต่างมุ่งหน้าตรง ยัง ศ ศาลา
            ส เสือร้าย อยู่ในพนา             ท่านมีเมตตา ษ ฤๅษีอยู่ไพร
            มาตราสะกดแม่กด                จำไว้ให้หมดสิบแปดตัวนี้
            มาท่องเร็วไวเข้าซิ                 อย่าได้รอรีจำให้ขึ้นใจ
           (เพลงนี้ค่อนข้างยาว..แต่หากจำได้จะมีประโยชน์มากค่ะ)
           เป็นมาตราตัวสะกดที่นักเรียนจำยากที่สุด**เนื่องจากมีจำนวนตัวสะกดมากที่สุดถึง ๑๘ ตัว
  
               ๖. เพลงมาตราแม่กบ (ทำนองเพลงตบแผละ)
                            จับกบ ตะปบ ประจบ         เสียงดังอบ อบ อบ อบ
                เห็น บ สะกดที่ใด                         ไม่ต้องสงสัย นั่นคือแม่กบ
                ประสพ ถูกสาป ก่อบาป                 มีลาภ แม่กบ อบ อบ
                ดูซิ ยีราฟ นั่นไง                           คำเหล่านี้ไซร้ เหมือน บ สะกด

             ๗. เพลงมาตราแม่กง (ทำนองเพลงเจ็ดวันที่ฉันเหงา)
                    มาซิเชิญออกมา        หาตัวสะกดแม่กง 
            จง ดำรง มั่นคง                  ยืนตรง ธงชาติไทย
           จูง นกยูง บินสูง                  ฝูงปลาร่าเริงใจ
           ลงลำคลองว่องไว                กางใบเรือไม่โคลง
           ดูซิดู ง งู อยู่ท้าย                ใคร ๆ ก็มอง
          หนู ๆ จงกู่ร้อง                      หาตัวสะกดแม่กง 

              ๘. เพลงมาตราแม่เกย (ทำนองเพลงช้าง/พม่าเขว)
                    ยักษ์ ยักษ์ ยักษ์              หนูรู้จักยักษ์หรือไม่
          เห็น ย ยักษ์ อยู่หลังใคร             เป็นมาตราไทย เรียกแม่เกย (ซ้ำ)
          เช่น เฉย เลย ลาย ตาย เอย
  
          ๙. เพลงมาตราแม่เกอว(ทำนองเพลงช้าง/พม่าเขว) 
                       แหวน แหวน แหวน          หนูเคยเห็นแหวนหรือไม่
           แหวนงามตามอยู่หลังใคร            เรียกคำนั้นไซร้ว่าแม่เกอว ๆ
           แมว ขาว หิวข้าว แล้วเอย

                 ๑๐.  เพลง มาตราแม่ ก กา (ทำนอง 500 milles)
                     เด็กทั้งหลาย  ยังจำได้ไหม        แม่ ก กา ในมาตราไทย
              เป็นคำไทย  ไม่มีตัวสะกด                 เราต้องจดจำ
                   เต่า วัว เสือ หมี งู ไก่ กา             ปลาโลมา  ม้า  ลา  จระเข้
              คำเหล่านี้  ไม่มีตัวสะกด                   นั่นคือ  แม่ ก กา.

                    ๑๑.  เพลง มาตราแม่กน (ทำนอง Joey)
                   ตัวสะกดมาตราในแม่กน           อย่าสับสน หก ตัวจำได้
          มี ณ เณร  ล ลิง  ร เรือพายไป         น หนู ไซร้  ญ หญิงไทย  ฬ จุฬา
              เดิน เวียนวน ปืนกล และรถยนต์    บนถนน  สับสน  จราจล
        เริงสราญ  ปลาวาฬ  มันว่ายวน          บุญคุณ  ล้น  ดลจิต  คิดพากเพียร.

                 ๑๒. เพลง มาตราแม่กม (ทำนอง CLEMENTINE : จังหวะวอลซ์)
                    นวล   งาม  ยาม  ย่อม            น้อม  พร้อม   ล้อม   ซ่อม
             คำเหล่านี้ล้วนมี  ตัว  ม                   ขอให้เราจงจำไว้ให้มั่น
             มาตราไทย  นั่นคือ  แม่กม.

                 ๑๓. เพลง มาตรา แม่ กบ (ทำนอง โด เร มี)
                     บ ใบไม้  ป ปลา  พ พาน           ฟ ฟัน  ภ สำเภา  สหาย
                ห้าตัวนี้ร่วมเป็นเพื่อนตาย               มอบกายใจไว้เคียวคู่กัน
                ล้วนต้องพึ่งซึ่งกันและกัน               มาช่วยกันเปล่งเสียงให้ดี
               มีอยู่ในมาตราของไทย                  มา มาเรียนมาตราแม่กบ
               อบ อบ อบ อบ อบ.



เพลงวรรณยุกต์ไทย


   (ทำนองเพลงแว่วเสียงแคน)
ดูซิวรรณยุกต์ไทยนั้นมีสี่รูป  แต่เวลาผันนั้นมีห้าเสียง
เสียง   สามัญ    เอก   โท   ตรี   จัตวา  นั้นจงจำให้ดี
แลน  แลน  แต่  แหล่  แลน  (ซ้ำ)
มาอ่านวรรณยุกต์ไทยกันเถิดหนา



เพลงเสียงภาษาไทย


(ทำนองเพลงรำวง)
เสียงภาษาไทยดังขึ้นแล้วดังเจื้อยแจ้วฟังแล้วชื่นใจ
เนื้ออ่อนอย่าถอดถอนใจเชิญมาอ่านภาษาไทยกันเลย
อยู่ที่ไหนอยู่ในห้องมุมภาษาไทยนั่นไง



เสียงพยัญชนะไทย


(ทำนองบอกหน่อยได้ไหม)

บอกหน่อยได้ไหม(ซ้ำ) ว่าพยัญชนะไทยนั้นมีกี่ตัว
(สี่สิบสี่ตัวจ้า)
บอกหน่อยได้ไหม(ซ้ำ) ว่าเสียงพยัญชนะไทยนั้นมีกี่เสียง
(สามสิบสองเสียงจ้า)
บอกหน่อยได้ไหม(ซ้ำ) ว่าพยัญชนะไทยนั้นมีกี่รูป
(ยี่สิบเอ็ดรูปจ้า)
บอกหน่อยได้ไหม(ซ้ำ) ว่าพยัญชนะไทยนั้นเขียนเหมือนกันไหมเธอ
(ไม่เหมือนกันจ้า)
ตั้งแต่ตัวไหน(ซ้ำ)  จำได้ไหมเธอ
( ก– ฮ.  จ้า)



เพลงการใช้คำ “รร” (ร  หัน)


(ทำนองเพลงบัวตูมบัวบาน)
คำบรรนั้นมีมากมาย มีมากมายตั้งหลายคำ
มีทั้งบรรเทา บรรทม บรรดา บรรจบ บรรพตและพรรษา
โอ้มาซิมาบรรพชา  โอ้คำ”รร”(ร หัน)  นั้นมีมากมาย
บรรยายถึงคำเหล่านี้ควรจดควรจำและมีทั้งบรรเลง
ลงเรือน้อยลอยในบรรทุก มีบรรทัด บรรจุบรรจง
คำเหล่านั้นควรจดจำนำไปใช้ได้เลย





เพลงคำประสม


(ทำนองเพลงระบำดอกหญ้า)
มาเร็ว ๆ พวกเราจงมาเรียน
มาเร็วพากเพียรเรียนวิชา
เรียนคำประสมกันเถิดหนา
ไฟฟ้า แม่น้ำ พัดลม พวกเราชื่นชมไม่มีตรอมตรมให้ทุกข์ใจ
โจ๊ะพรึมพรึมโจ๊ะพรึมพรึม(ซ้ำ)
เช่น คำว่าชาวนา ชาวไทย ชาวบ้าน ล้วนทุกคำ
เรามาพากเพียรเรียนกันเถิดนะคนดี
โจ๊ะพรึมพรึมโจ๊ะพรึมพรึม(ซ้ำ)



เพลง  ชนิดของคำ


ทำนองเพลง ลามะลิลา
 (คำสร้อย)  คำเอ้ยคำ  ขึ้นต้นอะไรก็ได้    แต่ต้องลงท้ายด้วย สระอำ
 หญิง                คำนามนั้นคืออะไร(ซ้ำ)              ขอเชิญขานไข  อย่างได้เก็บงำ
 ชาย                 คำนาม เรียกคนสัตว์สิ่งของ(ซ้ำ)  ขอเชิญนวลน้อง จงหมั่นจดจำ
 หญิง               คำสรรพนามนั้นคืออะไร(ซ้ำ)         บอกหน่อยได้ไหม อย่าได้ใจดำ
 ชาย                สรรพนาม ใช้แทนนามทั้งหลาย(ซ้ำ)  มีอยู่มากมาย  พี่ไม่ได้อำ
 หญิง               คำกริยา นั้นคืออะไร(ซ้ำ)               ฉันยังสงสัย  โปรดได้ชี้นำ
 ชาย                กริยา ใช้แสดงอาการ(ซ้ำ)              นั่ง นอน กิน อ่าน ตัก และตำ
 หญิง              คำวิเศษณ์ละคะคุณพี่(ซ้ำ)            ช่วยบอกอีกที น้องจะได้จำ
 ชาย                วิเศษณ์คือคำขยาย (ซ้ำ)               เพื่อช่วยบรรยายเนื้อหาของคำ
 หญิง               นอกจากนี้ยังมีอะไรอีก(ซ้ำ)             พี่อย่าหลบหลีก จะใจระกำ
 ชาย                ยังมีอุทาน สันธาน บุพบท(ซ้ำ)         พี่บอกน้องหมดเจ็ดชนิดของคำ
 (คำสร้อย)  คำเอ๋ยคำ  ขึ้นต้นอะไรก็ได้    แต่ต้องลงท้ายด้วย สระอำ
เพลง   อักษรควบ
ทำนอง  จะขอรีบขอ
         
                อักษรควบ   ที่มีใช้  จำไว้พยัญชนะสองตัว  เสียงกล้ำมีใช้ทั่ว  
       อย่าเกรงกลัวครูหรือใคร
          กราบพระ  ได้พลอย  เดือนคล้อยควันไฟลอยใกล้  ขว้างของ
      ขรุขระทิ้งไป  ปล่อยปลาลงในคลองกว้างกลางพง
        ปรับปรุง   เรียกหา  ไขว่คว้าใคร่ครวญนะเจ้า    อักษรควบ
     ภาษาไทยเรา   บอกใครเขา  นำใช้ให้ตรง



เพลง   ไม้ฑัณฑฆาต


ทำนอง    ไทยดำรำพัน  ( แบบเร็ว )

          ไม้ทัณฑฆาต   ตัวชี้ขาด  ไม่ให้ออกเสียง   พยัญชนะเรียง
อ่านกับเขียนนั้นมีความต่าง   ตัวการันต์  มีใช้กัน  หลายคำมากมาก
 ทัณฑฆาตไม่ยาก     เป็นตัวพรากเสียง ไม้ทัณฑฆาต  กดไว้บนมิให้มีเสียง      
 พยัญชนะเรียงทัณฑฆาต    เขียนคำให้ต่าง  ธ.การันต์(ธ์)  มีสัมพันธ์  นิพนธ์ 
 ประพันธ์  มหัศจรรย์     การันต์ตัว  ย.
สมบูรณ์ไป  ประสงค์ใด ต้องไปสวรรค์  กุมภาพันธ์  อารมณ์นั้น 
วิจารณ์กันต่อ     มีหลักเกณฑ์    โทรศัพท์     หอยสังข์เฝ้ารอ ประโยชน์
  ดวงจันทร์    สร้างสรรค์ไปรษณีย์ไม้ทัณฑฆาต หรือการันต์พยัญชนะไร้เสียง
 เราจงจำ จดความหมาย      หลายคำกันนี่   ภาษาไทย  นำมาใช้ความหมายคำ
มีการันต์กดชี้ มิให้มีเสียง











Total Rating ✔

9.2 stars – 2,789 reviews

More Reviews

แสดงความคิดเห็น

เพลงสำหรับใช้ประกอบการสอนภาษาไทย สำหรับน้องๆอนุบาลและประถม

สรุปภาษาไทย ประถม, doc