สำรวจ
แนะนำ
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

ติวสอบทุนนักบิน Student Pilot

ค้นหาด้วยเสียง
ค้นหาด้วยเสียงคลิกที่นี่

» » ติวสอบ ก.พ. ภาค ก - ภาค ข

10 ตุลาคม 2561

ติวสอบ ก.พ. ภาค ก - ภาค ข

ติวสอบ ก.พ. สอบ กพ คือ การคัดเลือกบุคคลในระดับวุฒิการศึกษา และสาขาวิชาชีพที่แตกต่าง เพื่อเข้ามาทำงานให้กับหน่วยงานราชการ เรียกได้ว่า เป็นตัวกลาง ระหว่างคนที่ต้องการทำงานราชการ กับ หน่วยงานราชการที่ขาดแคลนคนทำงาน

ติวสอบ ก.พ. ภาค ก - ภาค ข



ติวสอบ ก.พ.

สอบ กพ คือ การคัดเลือกบุคคลในระดับวุฒิการศึกษา และสาขาวิชาชีพที่แตกต่าง เพื่อเข้ามาทำงานให้กับหน่วยงานราชการ เรียกได้ว่า เป็นตัวกลาง ระหว่างคนที่ต้องการทำงานราชการ กับ หน่วยงานราชการที่ขาดแคลนคนทำงาน


ก.พ. ก็คือ ชื่อย่อของ "คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน" มีหน้าที่คือ เป็นคณะกรรมการที่รับผิดชอบงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ ดำเนินการจัดสอบคัดเลือกเพื่อให้ได้มาซึ่งบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ เหมาะสมตามตำแหน่งหน้าที่ เพื่อให้สามารถทำงานตามนโยบายของภาครัฐได้อย่างมีประสิธิภาพ และนอกจากนี้ยังมีการสอบ กพ ที่จัดโดยหน่วยงานเฉพาะ ที่ใช้ในการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการเฉพาะหน่วยงานนั้นๆ อีกด้วย


ระดับวุฒิการศึกษาที่รับสมัครสอบ

สำนักงาน ก.พ.  จะรับสมัครสอบ จำนวน 4 ระดับ ได้แก่
1. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
2. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) อนุปริญญา หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
3. ระดับปริญญาตรี
4. ระดับปริญญาโท


การสอบ กพ แบ่งเป็นแบบใดบ้าง

การทดสอบ ของ กพ เพื่อคัดเลือกบุคลากรเพื่อบรรจุเข้ารับราชการ ซึ่งจะแบ่งเป็น  3 ภาค ดังนี้
1.ภาค ก เปิดสอบโดย กพ     : ทุกคนที่จะสอบบรรจุข้าราชการต้องสอบภาค ก 
2.ภาค ข เปิดสอบโดย หน่วยงาน   : การสอบภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง   นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ ,นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ ,นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน ,พนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปฏิบัติงาน ,นายช่างโยธาปฏิบัติงาน ,นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ ,นักพัฒนาสังคมปฏิบัติการ,นิติกรเชี่ยวชาญ,นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ,ตำแหน่งนักวิชาการเงินชำนาญการ 
3.ภาค ค คือการสอบสัมภาษณ์


นำผลสอบ ก.พ. ไปทำอะไร

ถ้าเราสอบผ่าน ภาค ก แล้วเราก็จะสามารถไปสอบ ภาค ข ของหน่วยงานต่างๆที่เปิดรับสมัครได้ แล้วเมื่อผ่าน ภาค ข ได้ก็จะมีสิทธิในการสอบ ภาค ค ซึ่งเป็นภาคสุดท้ายและเมื่อเราสอบผ่าน ภาค ค ก็จะได้มีสิทธิในการเข้ารับราชการต่อไปตามประกาศของแต่ละหน่วยงานที่เราไปสอบ


เกณฑ์การผ่านเป็นอย่างไร

1.สอบ กพ ภาค ก

สอบ กพ ภาค ก คือ การสอบภาคความรู้ ความสามารถทั่วไป โดยการสอบข้อเขียน เป็นการทดสอบระดับเชาวน์ปัญญา  สอบ 3 วิชา ดังนี้คือ   

1.ทดสอบวิชาความสามารถทั่วไป   (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) 
ด้านการคิดคำนวณ  เช่น เรื่อง   ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ของจำนวนหรือปริมาณ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ และการวิเคราะห์เชิงปริมาณต่างๆ
ด้านการให้เหตุผล ทดสอบความสามารถในการคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงของคำ ข้อความ หรือรูปภาพ การหาข้อยุติ หรือข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อความ สัญลักษณ์ สถานการณ์ หรือแบบจำลองต่างๆ  
การทดสอบวิชาความสามารถทั่วไป จะประกอบด้วย
1. อนุกรม 5 ข้อ
2. โจทย์คณิตศาสตร์ 4 ข้อ
3. โอเปอเรชั่น 1 ข้อ 
4. ตาราง 5 ข้อ
5. สดมภ์ 5 ข้อ
6. อุปมา – อุปมัย 5 ข้อ
7. การสรุปความจากเงื่อนสัญลักษณ์ 5 ข้อ
8. การสรุปความจากเงื่อนไขภาษา 5 ข้อ 
9. การสรุปเหตุผลเชิงตรรกะ 5 ข้อ

2. วิชาภาษาไทย  40 ข้อ  (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
ด้านการเข้าใจภาษา  ทดสอบความสามารถในการอ่านและการทำความเข้าใจบทความ หรือข้อความที่กำหนดให้ แล้วตอบคำถามที่ตามมาในแต่ละบทความ
ด้านการเข้าใจภาษา   โดยทดสอบความสามารถ ในการเลือกช้ำคำ หรือ กลุ่มคำ การเขียน ประโยคได้ถูกต้องตามหลักภาษาและการเรียงข้อความ
การทดสอบวิชาภาษาไทย จะประกอบด้วย
1. เรียงข้อความ 5 ข้อ
2. หลักภาษา 5 ข้อ
3. ตีความ สรุปความ (บทความสั้น / บทความยาว) 10 ข้อ
เกณฑ์การผ่าน
ระดับ ปวช – ปวส – ป. ตรี ได้วิชาความสามารถทั่วไป และวิชาภาษาไทย 60% = สอบผ่าน 36 ข้อ
ระดับ ป.โท ได้วิชาความสามารถทั่วไป และวิชาภาษาไทย 65% = สอบผ่าน 39 ข้อ

3.ทดสอบวิชาภาษาอังกฤษ    
แยกเป็นระดับ  ปวช-ปวส / ปริญญาตรี-ปริญญาโท (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
ผู้สอบ กพ จะต้องสอบผ่านทั้ง 3 ภาค จึงจะได้เข้าการบรรจุเข้ารับราชการ ซึ่งสำนักงาน กพ จะขึ้นทะเบียนผู้สอบผ่านเกณฑ์การคัดเลือกไว้ในระยะเวลาที่กำหนด โดยผู้สอบผ่าน กพ ภาค ก ซึ่งเป็นด่านแรก จะได้รับใบประกาศผู้สอบผ่าน กพ ตามเกณฑ์การตัดสิน 60%  และสอบผ่านภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่า 50 %   ผู้สอบสามารถยื่นคะแนนภาษาอังกฤษมาตรฐานต่อไปนี้ แทนได้ IELTS,TOEIC,TU-GET,CU-TEP ที่ยังไม่หมดอายุ และได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 % ของการทดสอบนั้นๆ
การทดสอบความสามารถทางด้านภาษา
1. Conversation 5 ข้อ
2. Grammar 5 ข้อ
3. Vocab 5 ข้อ
4. Reading (บทความสั้น บทความยาว) 10 ข้อ
เกณฑ์การผ่าน
ระดับ ปวช – ปวส – ป. ตรี และ ป.โท
ได้วิชาความสามารถทั่วไป และวิชาภาษาไทย 50% = สอบผ่าน 13 ข้อ


2.สอบ กพ ภาค ข

สอบ กพ ภาค ข คือ การสอบภาคความสามารถเฉพาะตำแหน่ง ซึ่งเป็นการสอบข้อเขียน เน้นวิชาชีพเฉพาะตามที่ได้ ศึกษาเล่าเรียนมา


3.สอบ กพ ภาค ค

สอบ กพ ภาค ค คือ การสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง เป็นการสอบสัมภาษณ์ ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการ ถ้าสอบผ่านภาค ค หรือรอบสัมภาษณ์แล้วก็จะมีรายชื่อรอเรียกตามลำดับ โดยลำดับต้นๆ จะได้สิทธิ์เรียกก่อน

ภาค ก ของ กพ สามารถใช้ได้ตลอดชีพ หมายถึงถ้าสอบผ่านแล้วไม่ต้องสอบอีก ส่วนภาค ข ค ถ้าสอบผ่านแล้วรอเรียกชื่อและรายชื่อเหล่านี้จะถูก reset ทุก 2 ปี เพื่อเปิดรับคนใหม่ๆ มาสอบภาค ข และ ค



สอบภาค ก. พิเศษ

โดยปกติแล้ว เราต้องสอบเรียงลำดับกันไป   คือต้องสอบภาค ก ให้ ผ่านก่อนจึงจะสามารถนำหนังสือรับรอง ที่ทางสำนักงาน ก.พ. ออกให้เพื่อไปใช้เป็นหลักฐาน  เพื่อไปสอบภาค ข เฉพาะตำแหน่ง  และสอบภาค ค เพื่อสัมภาษต่อไป  ซึ่งโดยปกติจะสอบเรียงลำดับอย่างนี้เสมอมา  แต่การสอบเฉพาะกิจ  สอบภาค ก พิเศษ หรือสอบภาค ก สำหรับส่วนราชการต่างๆ เป็นการเฉพาะโดยจะเริ่มจากหน่วยงานนั้นๆ  ได้ออกประกาศที่อนุญาตให้ผู้ที่ยังสอบไม่ผ่านภาค ก   มีโอกาสสอบ ภาค ข ก่อน เมื่อสอบผ่านแล้วจึงค่อยมาสมัครสอบภาค ก พิเศษ



ติวสอบ ก.พ.




















Total Rating ✔

9.2 stars – 2,789 reviews

More Reviews

แสดงความคิดเห็น

ติวสอบ ก.พ. ภาค ก - ภาค ข

ติวสอบ, สอบ ก.พ., สอบ กพ.