นักบิน (Pilot)
อาชีพทุกอาชีพล้วนมีความแตกต่างกัน อาชีพนักบินถือเป็นอีก 1 อาชีพพิเศษโดยเฉพาะหากเป็นนักบินพาณิชย์ที่ต้องมีหน้าที่ควบควมเครื่องบินมูลค่าหลายล้านบาทและยังรับผิดชอบชีวิตผู้โดยสารนับร้อยชีวิต ดังนั้นนักบินจึงต้องใช้กระบวนการคิดและทักษะการทำงานโดยการแยกส่วนประสาทพร้อมกัน ภายใต้ความกดดันต่างๆทั้งความเสี่ยง เวลา สภาพแวดล้อมรวมถึงปัญหาเฉพาะหน้าทั้งบนพื้นดินและบนอากาศ เพราะนักบินคือผู้ที่ต้องตัดสินใจโดยใช้ทักษะ สติ ข้อมูลเฉพาะหน้าและความรู้ในการแก้ปัญหาเหล่านั้นให้การเดินทางเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัย
เมื่อรู้จักอาชีพนักบินกันมากขึ้นแล้ว เราในฐานะผู้ที่สนใจในการสมัครเป็นศิษย์การบิน (Student Pilot) ควรจะทราบถึงบุคลิกภาพของนักบินที่สำคัญว่ามีอะไรบ้างเพื่อดูว่าเรามีความเหมาะสมที่จะเป็นนักบินพาณิชย์หรือไม่หรือควรเตรียมตัวอย่างไรในการเตรียมตัวเป็นนักบินฝึกหัด Student Pilot
นิยามอาชีพนักบิน
ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ ได้แก่ผู้ขับเครื่องบิน ผู้ควบคุมการบิน ในระหว่างทำการบินรวมถึงการขับเครื่องบินที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ไปรษณีย์ภัณฑ์หรือสินค้า การขับเครื่องบินเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่นทดสอบ ส่งมอบ ฉีดยาฆ่าแมลงหรือยาป้องกันแมลง สำรวจทางอากาศ ถ่ายภาพทางอากาศ และสอนนักบินฝึกหัดการควบคุมเส้นทางบินของการบิน การดูแลเครื่องบินระหว่างทำการบิน และให้คำแนะนำ นักบินอื่นๆ เกี่ยวกับการบินและเส้นทางการบินบุคลิก 10 ข้อที่เหมาะกับอาชีพนักบิน
- นักบินควรมีบุคลิกภาพที่ดี
- นักบินควรพูดจามีเหตุมีผล
- นักบินควรมีลักษณะความเป็นผู้นำและบุคลิกท่าทางน่าเชื่อถือ
- นักบินควรมีผลการเรียนดี
- นักบินควรสามารถเรียนรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆได้ง่ายและไว
- นักบินควรสามารถถ่ายทอดหรืออธิบายสิ่งต่างๆให้คนอื่นเข้าใจได้ง่าย
- นักบินควรมีจิตใจชอบช่วยเหลือผู้อื่น
- นักบินควรสามารถโน้มน้าวผู้อื่นได้อย่างนุ่มนวล
- นักบินควรมองปัญหาได้หลายมุมมอง รอบด้าน
- นักบินควรเป็นคนเคารพกฎ กติกา อย่างเคร่งครัด
สมัยก่อนอาชีพนักบินเป็นอะไรที่พอพูดถึงแล้วดูไกลตัวมากๆ เนื่องจากว่าคนที่จะเป็นนักบินได้นั้น ส่วนใหญ่จะมาจากนักบินทหารหรือกองทัพอากาศเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันเส้นทางการเป็นนักบินอาชีพนั้นเปิดกว้างมากๆ ซึ่งนอกเหนือจากนักบินทหารแล้ว บุคคลอื่นๆที่สนใจก็สามารถก้าวขึ้นมาเป็นนักบินได้ มีอยู่ 2 ทางหลักค่ะ 1.Student Pilot นักเรียนการบิน เป็นนักเรียนการบินของแต่ละสายการบิน ใช้ระยะเวลาเรียน 1 ปี เรียนจบการันตรีมีงานทำ และ 2. Qualified Pilot คือการสอบสำหรับผู้ที่มีใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ข้นต้นหรือที่เรียกว่า “ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี” ซึ่งในช่องทางนี้อาจจะมีทั้งนักบินใหม่และนักบินที่เคยมีประสบการณ์มาแล้วเข้าร่วมสอบเพื่อเปลี่ยนสายการบิน
นักบินมีหน้าที่อะไรบ้าง?
หน้าที่หลักของนักบิน ก็ตามชื่อเรียกเลยค่ะ นั่นคือการขับเครื่องบินโดยนักบินจะต้องกำหนดตารางในแต่ละเดือนนักบินจะต้องกำหนดตาราการบินว่าจะบินที่ไหนบ้าง ซึ่งปกติแล้วกฎสากลของนักบินจะถูกกำหนดไว้แล้วว่า 1 สัปดาห์บินได้ไม่เกิน 34 ชั่วโมง./4สัปดาห์ (28วัน) บินได้ไม่เกิน 110 ชั่วโมง และ 1 ปีบินได้ไม่เกิน 1,000 ชั่วโมง และหน้าที่อื่นๆที่ต้องควบคู่ไปกับการขับเครื่องบินตามตารางแล้วก็จะต้องตรวจสอบสภาพเครื่องทั้งภายในและภายนอกว่าพร้อมสำไหรับการบินหรือไม่ คอยสังเกตเครื่องวัดมิเตอร์ และเครื่องวัดประกอบการบินอื่นๆที่ใช้ควบคุมอากาศยาน ตรวจสอบความผิดปกติต่างๆ รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมกับหน่วยควบคุมการบินทั้งภายในและต่างประเทศก่อนทำการบินอีกด้วยคุณสมบัติของอาชีพนักบิน
นอกเหนือจากคุณสมบัติทั่วไป (การศึกษา,อายุ,ส่วนสูง ฯลฯ) ที่ทางสายการบินแต่ละที่กำหนดขึ้นมาเพื่อรับสมัครนักบินแล้ว คุณสมบัติอื่นๆของการจะเป็นนักบินนั้น จะต้องเป็นคนที่มีปฎิภาณไหวพริบในการแก้ปัญหาหรือสถานการณ์ต่างๆได้ดี มีความใจเย็นเพื่อที่จะสามารถจัดลำดับความสำคัญได้ มีการตัดสินใจที่ดีและอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่เป็นจริงตามการวิเคราะห์หรือประเมินสถานการณ์เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของลูกเรือเป็นสำคัญคุณสมบัติการเป็นนักบินพาณิชย์
การศึกษาคุณสมบัติการเป็นนักบินพาณิชย์ในเรื่องการศึกษา ปัจจุบันในประเทศไทย ผู้สอบคือผู้ที่จบปริญญาตรีคณะใดก็ได้ เพียงใช้วุฒิปริญญาตรีเท่านั้นโดยคณะสายคำนวณจะได้เปรียบบ้าง ดังนั้นจึงตอบคำถามที่ว่า ถ้าจบปริญญาตรีแต่ไม่ได้อยู่สายคำนวณจะสอบทุนนักบินได้ไหม? นั่นก็คือสามารถสอบได้นั่นเอง แต่อาจจะต้องเน้นเรื่องคำนวณมากขึ้นหน่อยในการเตรียมสอบทุนนักบิน
ภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษสำหรับการสอบนักบิน ภาษาอังกฤษสำหรับนักบินจำเป็นไหม เรียนนักบินจำเป็นต้องเก่งอังกฤษไหม??
ต้องบอกว่าจำเป็นในเรื่องของภาษาอังกฤษสำหรับการสอบทุนนักบิน Student Pilot เพราะหนังสือหรือตำราส่วนใหญ่ รวมถึงกฎข้อบังคับต่างๆเป็นภาษาอังกฤษ การติดต่อสือสารกับหน่วยงานต่างๆ เช่น ATC ก็เป็นภาษาอังกฤษ
โดยในปัจจุบันการสอบชิงทุนนักบินสายการบินต่างๆได้กำหนดคะแนนภาษาอังกฤษในการสอบนักบิน Student Pilot ดังนี้
- Toeic 650 คะแนนขึ้นไป
- Toefl 550
- Ielts 5.5 ขึ้นไป
- THAI TEP 63 ขึ้นไป (สำหรับการบินไทย)
สายตา
สายตาสั้นเป็นนักบินได้ไหม ใส่แว่นเป็นนักบินได้ไหม สายตานักบินต้องมีกฎเกณฑ์อย่างไร
คุณสมบัติการเป็นนักบินพาณิชย์ในเรื่องสายตา หากเรามีสายตาสั้นไม่เกิน 300 สามารถสอบได้เลย แต่ถ้าสายตาสั้นอยู่ระหว่าง 300 – 500 ต้องทำเลสิกและต้องรออย่างน้อย 1 ปี หลังจากผ่าน การทำเลสิคมาแล้ว 1 ปีสามารถนำใบรับรองมาตรวจร่างกาย ทั้งนี้แต่ละสายการบินอาจมีข้อกำหนดทางสายตาสำหรับผู้สอบทุนนักบินแตกต่างกัน หรืออาจแตกต่างกันในแต่ละปี ผู้สอบทุนนักบิน Student Pilot จึงควรหาข้อมูลให้พร้อมเพื่อการเตรียมตัวในการสอบทุนนักบินพาณิชย์ Student Pilot
ส่วนสูง
ส่วนสูงนักบินส่วนใหญ่กำหนดให้นักบินควรมีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 165 cm
เพศ
เป็นผู้หญิงสอบนักบินได้ไหม สายการบินใดรับนักบินหญิงบ้าง
คุณสมบัติการเป็นนักบินพาณิชย์ในเรื่องเพศ การสอบทุนนักบินพาณิชย์ Student Pilot ยังมีหลายสายการบินที่รับเฉพาะผู้ชาย แต่ในปัจจุบันก็มีหลายสายการบินที่เปิดรับ Student Pilot หญิง หรือนักบินหญิง
สายการบินพาณิชย์ที่เปิดรับนักบินหญิงมีดังนี้
- สายการบินไทย แอร์เอเชีย
- สายการบินบางกอก แอร์เวย์
- สายการบินนกแอร์
- สายการบินไทยไลอ้อนแอร์
ส่วนสายการบินที่ยังไม่ได้เปิดรับนักบินหญิงมี 2 สายการบินคือ
- การบินไทย
- ไทยสมายล์
====================================
หนังสือเตรียมสอบ Student Pilot
คอร์สเรียน Student Pilot
====================================
แนวทางการศึกษาต่อเพื่อเข้าสู่อาชีพ
การจะเป็นนักบินพานิชย์ได้หลังจากจบ ม.6 มีอยู่ 3 เส้นทางหลักๆเลย คือ1.เรียนปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย คณะที่เกี่ยวกับการบินจนได้ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี แล้วสอบ Qualified pilot
2.เรียนปริญญาตรีสาขาใดก็ได้ จากนั้นเรียนการบินในสถาบันการบินเองเพื่อให้ได้ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี Qualified pilot
ในปัจจุบันสถาบันการบินในเมืองไทยมีอยู่ราว 11 แห่ง ได้แก่
- สถาบันการบินพลเรือน Civil Aviation Training Center
- วิทยาลัยการบินนานาชาติ (International Aviation College : IAC) มหาวิทยาลัยนครพนม
- โรงเรียนการบินกรุงเทพ บริษัท บางกอกเอวิเอชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด
- สถาบันการบิน มหาวิทยาลัยรังสิต
- มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาบริหารกิจการการบิน
- โรงเรียนการบินศรีราชา บริษัท ศรีราชาเอวิเอชั่น จำกัด หลักสูตรนักบินส่วนบุคคล (PPL)
- สถาบันเทคโนโลยีการบิน ม.เทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การบิน (รัฐบาลที่เดียวในประเทศไทย)
- มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ คณะวิศวกรรมการบิน Major CPL (Commercial Pilot License)
- มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ คณะวิศวกรรมการบิน Major MPL (Multi Crew Pilot License)
- โรงเรียนการบินกำแพงแสน ซึ่งจะผลิตเฉพาะนักบินที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากโรงเรียนนายเรืออากาศเท่านั้น ปัจจุบันผลิตปีละ 50 คน
- สถาบันการบิน Royal Sky Aviation Center
3.เรียนปริญญาตรีสาขาใดก็ได้ จากนั้นมาสอบชิงทุน Student Pilot
การสอบชิงทุนของสายการบิน คุณสมบัติเบื้องต้น คือ จบปริญญาตรี สาขาใดก็ได้ อายุไม่เกิน 28 ปี ไม่มีประวัติอาชญากรรม พ้นพันธะทางทหาร ส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 165 หรือ 168 ซม.แล้วแต่สายการบิน ซึ่งหลังจากเรียนจากจบสถาบันการบินจะได้ License PPL : Private Pilot License หลักสูตรนักบินส่วนบุคคล (40 ชั่วโมง) และ CPL : Commercial Pilot License นักบินพาณิชย์ (200 ชั่วโมง)
สายการบินที่เปิดรับ Student Pilot ในปัจจุบัน อาจจะเปิดทุกปี หรือมีการเว้นปีบ้าง โดยประมาณมีช่วงเวลารับสมัคร และสอบ ดังนี้
- สายการบิน การบินไทย รับสมัครช่วงเดือน มีนาคม / สอบ เมษายน-ธันวาคม
- สายการบิน ไทยแอร์เอเซีย รับสมัครช่วงเดือน เมษายน / สอบ กรกฎาคม-มกราคม
- สายการบิน ไทยสมายล์ รับสมัครช่วง เดือน มิถุนายน / สอบ กรกฎาคม-ธันวาคม
- สายการบิน บางกอกแอร์ รับสมัครช่วงเดือน พฤศจิกายน / สอบ ธันวาคม – กุมภาพันธ์
- สายการบิน ไทยไลออนแอร์ รับสมัครช่วงเดือน สิงหาคม / สอบ กันยายน-เมษายน
- สายการบิน นกแอร์ รับสมัครช่วงเดือนพฤศจิกายน / สอบ ธันวาคม-เมษายน
ผลตอบแทนที่นักบินได้รับ (เงินเดือนนักบินพาณิยช์)
และก็เป็นหัวข้อที่หลายคนสนใจเป็นหัวข้อแรกๆเลยก็คือ เงินเดือนนักบิน โดยบินก็ถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีเงินเดือนค่อนข้างสูงในปัจจุบัน โดยปัจจุบันนักบินใหม่จะมีเงินเดือนอยู่ที่ 60,000 + 30,000 ค่าเบี้ยเลี้ยง ในขณะที่ผู้ช่วยนักบินจะสูงขึ้นมาอีกโดยอยู่ที่ 160,000 – 180,000 บาท รายได้ที่ได้รับไม่เกี่ยวกับการบินจำนวนมากเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเนื่องจาก 80%ของรายได้มาจากเงินเดือนขั้นพื้นฐาน ส่วนรายได้จากการบินมีเพียง 20% เท่านั้นแน่นอนว่าอาชีพนักบินเป็นอีกอาชีพที่มีผลตอบแทนค่อนข้างสูง รวมไปถึงความเครียดและความรับผิดชอบที่สูงขึ้นตามผลตอบแทนอีกด้วย สิ่งที่ตามมานั้นคือผลของสุขภาพ เนื่องจากนักบินจะต้องทำงานอยู่ในอากาศที่มีออกซิเจนค่อนข้างน้อยเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าและแก่เร็ว จึงเป็นสิ่งที่นักบินต้องแลกกับรายได้ดังกล่าว
ส่วนผลกระทบต่อครอบครัวและคนรอบข้างก็จะเป็นในเรื่องเวลาที่ไม่ตรงกันเพราะนักบินไม่ได้มีกำหนดพักตายตัวเหมือนอาชีพอื่นๆที่หยุดพักเสาร์-อาทิตย์ ก็อาจจะทำให้มีเวลาให้กับครอบครัวน้อยกว่าคนในอาชีพอื่นๆ
กว่าจะก้าวเข้าสู่อาชีพนักบินจะต้องผ่านการทดสอบมากมายหลายขั้นตอนเพื่อพิสูจน์ว่าคุณมีความสามารถทำหน้าที่นี้ได้เพราะชีวิตของผู้โดยสารทุกคนอยู่ในความดูแลของคุณตลอดการเดินทาง และการส่งผู้โดยสารให้ถึงจุดหมายโดยปลอดภัยคือสิ่งที่เป็นความภาคภูมิใจของนักบินทุกคน
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพนักบิน
เป้าหมายสูงสุดในอาชีพนักบิน คือ โอกาสความก้าวหน้าในตำแหน่งกัปตันซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดและจะมักเป็นที่ต้องการของสายการบินอื่นๆ เนื่องจากมีประสบการณ์ในการบินมามาก อาชีพนักบินจะเริ่มต้นการทำงานเป็นนักบินที่ 3 หรือต้นหน System Operator ( สำหรับเครื่องบินขนาดเล็ก 737 / 747 ซึ่งปัจจุบันเครื่องบินรุ่นใหม่ไม่ใช้นักบินที่ 3 หรือต้นหน) และใช้เวลาปฏิบัติงานประมาณ 4 ปีจึงจะได้เป็นนักบินที่ 2 หรือ Co-pilot และนักบินที่ 2 ต้องมีความชำนาญประมาณ 8 ปี จึงเป็นกัปตันหรือนักบินที่ 1 ได้ผู้ประกอบอาชีพ “นักบิน” จะมีโอกาสก้าวหน้าอย่างยิ่งในด้านเงินเดือนที่ได้รับเพิ่ม โดยเฉพาะความสามารถ และความชำนาญในการบินจะเป็นเครื่องวัดความก้าวหน้าของนักบินนั้นๆ ผู้เป็นนักบินในหน่วยงานของทางราชการ หรือองค์การต่างๆ นอกจากจะได้รับเงินเดือนตามปกติแล้วยังได้รับเงินพิเศษจากการบินด้วย
ในด้านการศึกษา อาจไปศึกษาและฝึกอบรมเพิ่มเติมในต่างประเทศได้ เพื่อให้เกิดความรู้ความชำนาญเพิ่มขึ้น เช่นการบินกับเครื่องบินหลายเครื่องยนต์ เป็นต้น
นอกจากนี้นักบินยังมีโอกาสได้ท่องเที่ยวไปในประเทศต่างๆ ทั่วโลก และนับว่าเป็นอาชีพที่มีเกียรติอาชีพหนึ่งของสังคม
Total Rating ✔
9.2 stars – 2,789 reviews
More Reviews
อ่านรีวิว ทั้งหมดคลิก
แสดงความคิดเห็น
สอบทุนนักบิน Student Pilot เส้นทางสูการเป็นนักบิน อาชีพในฝันของหลายๆคน
บทความจาก TutorFerry, สอบทุนนักบิน, News, Student Pilot