วิศวกรรมสำรวจคืออะไร ? Survey Engineering
วิศวกรรมสำรวจเป็นหนึ่งใน 8 อาชีพที่สามารถทำงานได้อย่างเสรีใน 10 ประเทศอาเซียน ตามข้อตกลงยอมรับร่วมกันประกอบด้วยหลายสาขา มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นอาชีพที่ท้าทาย
งานด้านวิศวกรรมสำรวจเป็นการออกแบบวิธีการรังวัดลักษณะทางกายภาพของโลกเพื่อให้ความแม่นยำสูง รวมไปถึงการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ที่ทำการสำรวจมาเพื่อให้กลายเป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ในการวางแผนและการตัดสินใจได้ เนื่องจากข้อมูลเชิงพื้นที่และตำแหน่งเป็นข้อมูลที่พบได้โดยทั่วไป แต่มีความพิเศษกว่าข้อมูลชนิดอื่นๆ จึงทำให้งานทางด้านวิศวกรรมสำรวจเป็นหัวใจหลักของธุรกิจหลายๆด้าน และมีความสำคัญกับการออกแบบและวางผังโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ครอบคลุมถึงถนน สะพาน และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งเป็นลักษณะงานที่มีความสำคัญต่อการวางรากฐานและการพัฒนาของประเทศเป็นอย่างยิ่ง
สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจประกอบด้วย
- การรังวัดระยะใกล้ด้วยภาพถ่ายทางอากาศ(Close range photogrametry)
- การรังวัด
- ระบบภูมิสารสนเทศ (Geo-Information System, GIS)
- การรังวัดด้วยสัญญาณระบบดาวเทียมนำหน (Global Navigation Satellite System, GNSS)
- การรังวัดและทำแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศ (Digital Photogrammetry)
- การรังวัดและทำแผนที่จากภาพดาวเทียมรายละเอียดสูง (High Resolution Satellite Imagery)
- การสำรวจระยะไกล (Remote Sensing)
- การทำแผนที่ด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-assisted Mapping)
- งานรังวัดขั้นสูง (Geodetic Surveying) และงานรังวัดความละเอียดสูง (High Precision Measurement)
สำหรับการเรียนการสอนสาขาวิศวกรรมสำรวจในประเทศไทย มีดังนี้
- ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2498 และในปัจจุบันเป็นภาควิชาเดียวในประเทศไทยที่เปิดการเรียนการสอนและวิจัยในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกทางด้านวิศวกรรมสำรวจ
- สาขาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (ชื่อเดิม วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ) เริ่มก่อตั้งตั้งขึ้นมา เมื่อพ.ศ. 2498 เปิดสอนการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีภาคปกติ และปริญญาตรีภาคสมทบ
- สาขาวิศวกรรมสำรวจและสารสนเทศภูมิศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตบางเขน) เปิดสอนการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีภาคพิเศษ
- หลักสูตรสาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจ สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เปิดสอนในระดับปริญญาตรี (รับนักศึกษาแผนการเรียนวิทย์-คณิต ปวช. และ ปวส.)
ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สาขาวิศวกรรมสำรวจและสารสนเทศภูมิศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
วิศวกรรมสำรวจและสารสนเทศภูมิศาสตร์ คือ งานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการควบคุมแผนที่ด้วยการประยุกต์ใช้หลักวิชาการทางคณิตศาสตร์ เรขาคณิต ตรีโกณมิติ หรือ ดาราศาสตร์ ประกอบกับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อการสร้างงานแผนที่ที่มีความถูกต้องและมีความละเอียดสูง ด้วยเป็นงานที่ส่งเสริมและสนับสนุนต่องานแขนงอื่นๆ จึงเป็นสาขาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศเรียนสาขาวิศวกรรมสำรวจและสารสนเทศภูมิศาสตร์ ดีอย่างไร
มีการสอนและปฏิบัติงานภาคสนามทั้งในและนอกสถานศึกษา มีความผูกพันระหว่างอาจารย์และนิสิตใครที่เหมาะกับสาขาวิศวกรรมสำรวจและสารสนเทศภูมิศาสตร์
เป็นผู้ที่มีความรอบคอบ มีความคิดริเริ่ม มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความสามารถในการตัดสินใจลุยในทุกสภาพภูมิประเทศ และทนต่อทุกสภาพภูมิอากาศ
หลักสูตรที่เปิดสอน
– ภาคพิเศษเนื้อหาที่สำคัญในหลักสูตร
– การสำรวจภาคพื้นดิน
– การสำรวจด้วยดาวเทียม
– การสำรวจข้อมูลระยะไกล
– ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
วิศวกรรมสำรวจและสารสนเทศภูมิศาสตร์จบแล้วทำงานอะไร
เป็นผู้นำและควบคุมในการใช้และผลิตแผนที่เพื่อการวางแผน ออกแบบ วิเคราะห์ ตลอดจนการติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนวิศวกรรมสำรวจและสารสนเทศภูมิศาสตร์เรียนอะไรบ้าง
การสำรวจขั้นพื้นฐานจนถึงการสำรวจขั้นสูง ตลอดจน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อผลิตแผนที่ที่มีความละเอียดและความถูกต้องสูงติดต่อสาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจและสารสนเทศภูมิศาสตร์
สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจและสารสนเทศภูมิศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา โทรศัพท์/โทรสาร 0-2579-7565 www.ce.eng.ku.ac.th
Total Rating ✔
9.2 stars – 2,789 reviews
More Reviews
อ่านรีวิว ทั้งหมดคลิก
แสดงความคิดเห็น
ทำความรู้จักการเรียนและอาชีพวิศวกรรมสำรวจ ความรู้ที่สามารถนำมาช่วยทีมหมูป่าได้
บทความจาก TutorFerry, อาชีพน่าสนใจ, News