สำรวจ
แนะนำ
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

ติวสอบทุนนักบิน Student Pilot

ค้นหาด้วยเสียง
ค้นหาด้วยเสียงคลิกที่นี่

» » สรุปภาษาไทย ประถม 3 เรื่องพยางค์

27 กุมภาพันธ์ 2560

สรุปภาษาไทย ประถม 3 เรื่องพยางค์

พยางค์เป็นการประสมเสียงในภาษา เพราะพยางค์เกิดจากการเปล่งเสียงสระ เสียงพยัญชนะ และเสียงวรรณยุกต์ ติดตามกันอย่างกระชั้นชิด พยางค์มีองค์ประกอบดังนี้ 1. เสียงพยัญชนะต้น 2. เสียงสระ 3. เสียงวรรณยุกต์ 4. เสียงสะกด

สรุปภาษาไทย ประถม 3 เรื่องพยางค์




พยางค์ 

        พยางค์เป็นการประสมเสียงในภาษา เพราะพยางค์เกิดจากการเปล่งเสียงสระ เสียงพยัญชนะ และเสียงวรรณยุกต์ ติดตามกันอย่างกระชั้นชิด 

พยางค์มีองค์ประกอบดังนี้ 

1. เสียงพยัญชนะต้น 2. เสียงสระ 3. เสียงวรรณยุกต์ 4. เสียงสะกด 

         เสียงพยัญชนะต้น 

คือ เสียงที่เปล่งออกมาก่อน บางคำจะเป็นเสียงพยัญชนะเดี่ยว บางคำจะเป็นเสียงพยัญชนะควบกล้ำก็ได้ เช่น อ่าง (พยัญชนะต้น คือ อ) ลิฟท์ (พยัญชนะต้น คือ ล) ดาว (พยัญชนะต้น คือ ด) คลอง (พยัญชนะต้น คือ คล) ไกร (พยัญชนะต้น คือ กร) ขวาน (พยัญชนะต้น คือ ขว) เป็นต้น 


         เสียงสระ 

คือ เสียงที่เปล่งตามติดมากับเสียงพยัญชนะ เช่น งา (เสียงสระ อา) ชล (เสียงสระ โอะ) เสีย (เสียงสระ เอีย) เกาะ (เสียงสระ เอาะ) เป็นต้น 


         เสียงวรรณยุกต์ 

คือ เสียงที่เปล่งออกมาพร้อมกับเสียงสระ เพื่อให้มีระดับเสียงสูงต่ำต่างกันไป เช่น ใหญ่ (เสียงวรรณยุกต์ เอก) เพื่อ (เสียงวรรณยุกต์ โท) สี (เสียงวรรณยุกต์จัตวา) เป็นต้น 
         พยางค์ การที่เราเปล่งเสียงออกมาจากลำคอครั้งหนึ่ง ๆ นั้น เราเรียกเสียงที่เปล่งออกมาว่า “พยางค์” แม้ว่าเสียงที่เปล่งออกมาจะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ตาม เช่น เราเปล่งเสียง “สุ” ถึงจะไม่รู้ความหมาย หรือไม่รู้เรื่องเราก็เรียกว่า ๑ พยางค์ หากเราเปล่งเสียงออกมาอีกครั้งหนึ่งว่า “กร” จะเป็น “สุกร” จึงจะมีความหมาย คำว่า “สุกร” ซึ่งเปล่งเสียง ๒ ครั้ง เราก็ถือว่ามี ๒ พยางค์ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งเดียวมีความหมาย เช่น นา หมายถึง ที่ปลูกข้าว เสียงที่เปล่งออกมาว่า “นา” นี้เป็น ๑ พยางค์ 
ลองดูตัวอย่างต่อไปนี้


เรียนภาษาไทยตัวต่อตัวที่บ้าน


จากตัวอย่างข้างบนนี้สรุปได้ว่า 
         พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ตาม ถ้าเปล่งเสียงออกมา ๑ ครั้ง ก็เรียก ๑ พยางค์ สองครั้งก็เรียก ๒ พยางค์         พยางค์เกิดจากการเปล่งเสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ออกมาพร้อม ๆ กัน พยางค์ที่มีความหมายอาจจะเป็นพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้ 
        พยางค์แต่ละพยางค์จะต้องมีส่วนประกอบ ๓ ส่วนขึ้นไป คือ สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ การประกอบสระ พยัญชนะและวรรณยุกต์เข้าเป็นพยางค์เรียกว่า การประสมอักษรมี ๔ วิธี คือ 
         ๑. การประสมสามส่วน คือ การประกอบพยางค์ด้วยพยัญชนะต้น สระ และวรรณยุกต์ เช่น 


รับสอนภาษาไทยตัวต่อตัว


         ๒. การประสมสี่ส่วน คือ การประสมพยางค์ด้วยพยัญชนะต้น สระ พยัญชนะท้ายพยางค์หรือ ตัวสะกด และวรรณยุกต์ เช่น 


เรียนภาษาไทยตัวต่อตัว


         ๓. การประสมสี่ส่วนพิเศษ คือ การประกอบพยางค์ด้วยพยัญชนะต้น สระ พยัญชนะท้าย พยางค์ที่ไม่ออกเสียงหรือตัวการันต์ และวรรณยุกต์ เช่น 


รับสอนภาษาไทยที่บ้าน


         ๔. การประสมห้าส่วน คือ การประกอบพยางค์ด้วยพยัญชนะต้น สระ พยัญชนะท้ายพยางค์หรือตัวสะกด พยัญชนะท้ายพยางค์ที่ไม่ออกเสียง หรือตัวการันต์ และวรรณยุกต์ เช่น 
         สรุป โครงสร้างของพยางค์ 


เรียนภาษาไทยที่บ้าน










Total Rating ✔

9.2 stars – 2,789 reviews

More Reviews

แสดงความคิดเห็น

สรุปภาษาไทย ประถม 3 เรื่องพยางค์

พยางค์, สรุปภาษาไทย ประถม, doc