คำไทยแท้ส่วนใหญ่มีมาแต่เดิมและมีความหมายมบูรณ์
มักเป็นคำพยางค์เดียวที่เรียกว่า คำมูล เช่น แขน ขา ใจ กิน สวย ดำ ขาว ที่มีสองพยางค์ก็มี เช่น มะม่วง สะดือ ตะวัน ต่อมาเรามีความจำเป็นที่จะใช้ภาษาให้กว้างขวางขึ้นตามความต้องการ จึงคิดนำคนที่มีอยู่แล้วารวมกันในรูปของคำประสม คำซ้ำ คำซ้อน
คำมูล
คือ คำดั้งเดิมในภาษา เป็นคำคำเดียวที่ไม่ได้ประสมกับคำอื่น เช่น นก กัด ทุบ จาน คำมูลอาจเป็นคำที่มาจากภาษาอื่นก็ได้ เช่น โต๊ะ จิต เก้าอี้คำประสม
คือ คำที่เกิดจากการนำคำมูล 2 คำขึ้นไปมาประกอบกันเป็นคำใหม่ มีความหมายใหม่เป็นความหมายรวมจากคำมูลเดิม ไม่ใช่ความหมายแยกส่วนแต่ละส่วนของคำมูลเดิม เช่นพัดลม ประกอบด้วยคำมูล 2 คำ คือ “พัด” “ลม”
พัดลม เป็นคำประสมมีฐานะเป็นคำ มีความหมายว่า “เครื่องพัดให้เย็นด้วยแรงไฟฟ้า” เป็นความหมายใหม่ที่เกิดขึ้นมาจากคำว่า “พัด” “ลม”
น้ำแข็ง ประกอบด้วยคำมูล 2 คำ คือ “น้ำ” “แข็ง”
น้ำแข็ง เป็นคำประสมมีฐานะเป็นคำ มีความหมายว่า “น้ำที่ถูกความเย็นจนแข็งตัวเป็นก้อน” เป็นความหมายใหม่ที่เกิดขึ้นจากคำว่า “น้ำ” “แข็ง”
ผ้าเช็ดตัว ประกอบด้วยคำมูล 3 คำ คือ “ผ้า” “เช็ด” “ตัว”
ผ้าเช็ดตัว เป็นคำประสมมีฐานะเป็นคำ มีความหมายว่า “ผ้าชนิดหนึ่งที่ไว้สำหรับเช็ดตัวโดยเฉพาะ” เป็นความหมายใหม่ที่เกิดขึ้นจากคำว่า “ผ้า” “เช็ด” “ตัว”
คำซ้ำ
เป็นวิธีสร้างคำโดยนำคำที่มีเสียงและความหมายเหมือนกันมากล่าวซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เวลาเขียนจะใช้ไม่ยมก (ๆ) แทน เช่น ดำดำ เขียนเป็น ดำๆ , เด็กเด็ก เขียนเป็น เด็กๆ คำมูลส่วนใหญ่จะพูดซ้ำได้ แต่ที่พูดซ้ำไม่ได้ก็มี เช่น คำสันธาน เราจะไม่พบคำซ้ำว่า และๆ แต่ๆ หรือๆคำซ้ำที่เกิดขึ้นจะมีความหมายเปลี่ยนแปลงไปหลายประการ คือ
ตัวอย่างคำซ้ำ
1. คำซ้ำที่เป็นคำนาม เช่น พี่ๆ น้องๆ เพื่อนๆ
2. คำซ้ำที่เป็นคำสรรพนาม เช่น เราๆ ท่านๆ คุณๆ
3. คำซ้ำที่เป็นคำลักษณนาม เช่น ชิ้นๆ จานๆ แท่งๆ
4. คำซ้ำที่เป็นคำกริยา เช่น เดินๆ เขียนๆ เพลียๆ
5. คำซ้ำที่เป็นคำบุพบท เช่น ริมๆ แถวๆ กลางๆ
6. คำซ้ำที่เป็นคำวิเศษณ์ เช่น บ่อยๆ ซ้ำๆ รางๆ
คำซ้อน
เป็นวิธีการสร้างคำมาใช้คล้ายกับคำประสม คือ นำคำมูลตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมาเรียง ต่อกัน คำหนึ่งเป็นคำต้น อีกคำเป็นคำท้าย โดยคำมูลนั้นอาจมีความหมายอย่างเดียวกันคล้ายกันหรือตรงข้ามกันก็ได้จุดมุ่งหมายการสร้างคำซ้อน
คำซ้อนสร้างขึ้นมาเพื่อ
1. ให้เห็นความหมายชัดเจน เช่น คำที่ออกเสียง “ข้า” ในภาษาไทยมี 3 คำ คือ “ข้า” “ค่า” และ “ฆ่า” เมื่อออกเสียงจะไม่ทราบว่าเป็นคำไหน จึงต้องหาคำมาซ้อนต่อข้างหลังอีก หนึ่งคำ เป็น ข้าทาส ค่างวด และฆ่าฟัน ก็จะทำให้ความหมายชัดเจนขึ้น
2. เสริมความหมายของคำ เช่น เล็กน้อย นุ่มนิ่ม ผ่อนคลาย
3. อธิบายความหมายของคำที่นำมาซ้อน ซึ่งเป็นภาษาถิ่นหรือภาษาต่างประเทศ เช่น
พัดวี (วี แปลว่า พัด เป็นภาษาถิ่น)
เสื่อสาด (สาด แปลว่า เสื่อ เป็นภาษาถิ่น)
แสวงหา (แสวง แปลว่า หา เป็นภาษาเขมร)
ความหมายของคำซ้อน
คำซ้อนที่เกิดขึ้นมีความหมายคงที่ คล้ายกัน และเปลี่ยนไป ดังนี้
ความหมายคงที่ คือ คำซ้อนนั้นไม่เกิดความใหม่ เช่น
แก่ชรา เร็วไว พัดวี อ้วนพี ใหญ่โต
ความหมายคล้ายกัน เช่น
ไร่นา เล็กน้อย หน้าตา อ่อนนุ่ม แขนขา
ความหมายเปลี่ยนไป เช่น
ตัดสิน มีความหมายว่า ลงความเห็นชี้ขาด (ไม่ได้หมายถึงการตัด)
ถ้วยโถโอชาม มีความหมายว่า ถ้วย ชามและภาชนะอื่นๆ (ไม่ได้หมายถึงเฉพาะถ้วยกับชามเท่านั้น)
ว่ากล่าว มีความหมายว่า ตำหนิ (ไม่ได้หมายถึงการพูด)
Total Rating ✔
9.2 stars – 2,789 reviews
More Reviews
อ่านรีวิว ทั้งหมดคลิก
แสดงความคิดเห็น
สรุปวิชาภาษาไทย ม.1 เรื่องการสร้างคำ
สรุปภาษาไทย ม.ต้น, doc