สำรวจ
แนะนำ
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

ติวสอบทุนนักบิน Student Pilot

ค้นหาด้วยเสียง
ค้นหาด้วยเสียงคลิกที่นี่

» » สรุปวิชาสังคมมัธยมต้น เรื่องกิจกรรมทางเศรษฐกิจและกลไกราคา

22 กุมภาพันธ์ 2560

สรุปวิชาสังคมมัธยมต้น เรื่องกิจกรรมทางเศรษฐกิจและกลไกราคา

กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประกอบไปด้วย การผลิต การบริโภค การแลกเปลี่ยน และกระจาย Tutor Ferry สอนพิเศษที่บ้าน

สรุปวิชาสังคมมัธยมต้น เรื่องกิจกรรมทางเศรษฐกิจและกลไกราคา




กิจกรรมทางเศรษฐกิจ

 กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประกอบไปด้วย การผลิต การบริโภค การแลกเปลี่ยน และกระจาย

 1.  การผลิต

  1.1  ความหมาย การนำปัจจัยการผลิตมาสร้างสินค้าและบริการ
1.2  ประเภทของการผลิต
1.  การแปรรูป เช่น นำข้าวเปลือกมาสีเป็นข้าวสาร
2.  การเลื่อนเวลาใช้สอย เช่น นำผลไม้สดมาผลิตเป็นผลไม้กระป๋องเพื่อถนอมไว้บริโภคนอกฤดูกาล
3.  การเปลี่ยนสถานที่ เช่น พ่อค้าขายส่งสินค้าไปยังร้านค้าปลีก
4.  การเปลี่ยนกรรมสิทธิ์การซื่อขาย, นายหน้าขายสินค้า
5.  การให้บริการ เช่น แพทย์ ทนายความ บริการขนส่ง การประกันภัย
1.3  ปัจจัยการผลิต หมายถึง ทรัพยากรที่นำมาใช้ในการผลิตสินค้า-บริการ
1.  ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ
2.  ทุนหรือสินค้าทุน คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการผลิต เช่น เครื่องมือเครื่องจักร


ข้อสังเกตเกี่ยวกับทุน (สินค้าทุน)

1. ทุนแท้จริง (สินค้าทุน) คือ สิ่งที่นำมาใช้ในการผลิต จึงต่างจากเงินทุน ซึ่งหมายถึงเงินที่นำไปซื้อสินค้าทุน
2. สินค้าทุน คือ สิ่งที่นำมาใช้ในการผลิต จึงต่างจากสินค้าบริโภค ซึ่งหมายถึง สินค้าที่นำไปใช้บริโภคโดยตรง
3. แรงงาน : แรงงานมนุษย์
หลักการสำคัญประการหนึ่งในการทำงาน คือ การแบ่งงานกันทำ ที่ทำให้เกิดความชำนาญเฉพาะด้านในการผลิต (Specialization) และความรวดเร็วในการทำงาน
4. การประกอบการ : การบริหารปัจจัยการผลิตประเภทอื่นๆ ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ, แรงงาน และทุน) รวมทั้งรับภาวะความเสี่ยงในธุรกิจ


2.  การบริโภค

2.1  การบริโภค คือ การใช้สินค้า-บริการสนองความต้องการ
2.2  สินค้าที่ใช้ในการบริโภคมีทั้งสินค้าคงทน เช่น เสื้อผ้า นาฬิกา รถยนต์ และสินค้าไม่คงทน เช่น อาหาร น้ำมันเชื้อเพลิง
2.3  ปัจจัยที่กำหนดการบริโภค ได้แก่
-  ราคาสินค้า
-  รายได้ของผู้บริโภค
-  รสนิยมของผู้บริโภค
-  การโฆษณาและกลวิธีการขาย
2.4  กฎของเองเกล "เมื่อประชาชนมีรายได้มากขึ้น จะหันไปบริโภคสินค้าที่ไม่ใช่อาหารในสัดส่วนที่มากขึ้น"


3. การแลกเปลี่ยน

3.1  การแลกเปลี่ยน หมายถึง การนำสินค้าบริการมาแลกเปลี่ยนกันโดยวิธีการต่างๆ
3.2  ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน คือ การแบ่งงานกันทำและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Specialization)
3.3  วิวัฒนาการแลกเปลี่ยน
1.  การแลกเปลี่ยนโดยตรง (Barter System)
-  เป็นการแลกเปลี่ยนสิ่งของกับสิ่งของ
-  มีข้อเสีย คือ
1.  อีกฝ่ายต้องมีสินค้าบริการที่อีกฝ่ายต้องการ การแลกเปลี่ยนจึงจะเกิดขึ้นได้ 
2.  สินค้าและบริการจำนวนมากไม่สามารถแบ่งออกเป็นหน่วยย่อยได้
3.  สินค้าไม่เหมาะที่จะเป็นหน่วยวัดมูลค่าสำหรับการแลกเปลี่ยน
4.  สินค้าบางชนิดเก็บได้ไม่นาน
2.  การใช้เงินเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน (Exchange System with money)
-  เงิน คือ สิ่งที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปให้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ทำให้การแลกเปลี่ยนสะดวกรวดเร็วขึ้น
-  หน้าที่ของเงิน 
1. สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของเงิน
2. เครื่องวัดมูลค่า โดยกำหนดเป็น"ราคา"
3. มาตรฐานการชำระหนี้ภายใน
4. รักษามูลค่า
-  ประเภทของเงิน 
1.  เงินปฐมภูมิ (เงินผลิตภัณฑ์) : เงินที่มีมูลค่าในตัวเอง คือ เงินที่ทำหน้าที่เหมือนสินค้าทั่วๆไปด้วย เช่น หนังสัตว์ แร่ธาตุต่างๆ
2.  เงินทุติยภูมิ (เงินที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์) : เงินที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลก
เปลี่ยนเท่านั้นไม่มีมูลค่าในตัวเอง
-  ปัจจุบัน เงินแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ เหรียญกษาปณ์ ธนบัตร และเงินฝากกระแสรายวัน (เช็ค) ซึ่งทั้งหมดจัดเป็นเงินทุติยภูมิ
3.  การใช้เครดิต เช่น เช็คเดินทาง ตั๋วแลกเงิน
3.4  สถาบันเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยน : คนกลาง ตลาด และธนาคาร
1.  คนกลาง คือ ตัวกลางระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค ทำให้การซื้อขายสินค้าบริการสะดวกและรวดเร็ว
2.  ตลาด คือ สถานที่ที่มีการซื้อขายกัน แบ่งได้ดังนี้


เรียนสังคมตัวต่อตัวที่บ้าน





4.  การกระจาย (การแบ่งสรร)  สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด

4.1  การกระจายสินค้าบริการ จากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค
4.2  การกระจายรายได้ ให้แก่เจ้าของปัจจัยการผลิต


5.  อุปสงค์-อุปทาน

5.1  อุปสงค์และอุปทาน


เรียนสังคมที่บ้าน



5.2  ภาวะดุลยภาพ (Equilibrium)
1.  ภาวะดุลยภาพ หมายถึง ภาวะที่ราคามีความเหมาะสม (ราคาดุลยภาพ) ทำให้ปริมาณความต้องการซื้อ (อุปสงค์) เท่ากับปริมาณความต้องการขาย (อุปทาน) สินค้าจึงหมดพอดี
2.  กราฟแสดงดุลยภาพ



เรียนสังคมที่บ้านแบบตัวต่อตัว



6.  การกำหนดราคาสินค้า

6.1  การกำหนดราคาโดยผ่านกลไกตลาด หรือ กลไกราคา
-  เป็นการปล่อยให้ราคาขึ้นลงตามอุปสงค์และอุปทาน คือ
ถ้าราคาสูงเกินไป ผู้บริโภคต้องการซื้อสินค้านั้นน้อย จนเกิดสินค้าเหลือ
ถ้าราคาต่ำเกินไป ผู้ผลิตต้องการขายสินค้านั้นน้อย จนเกิดสินค้าขาดแคลน
-  เมื่อระดับราคาเหมาะสม ความต้องการซื้อและความต้องการขายจะเท่ากันสินค้าจะหมดพอดี ภาวะดังกล่าวเรียกว่า "ภาวะดุลยภาพ"
6.2  การควบคุมราคาและแทรกแซงราคาโดยรัฐบาล
1.  การช่วยเหลือผู้บริโภค โดยกำหนดราคาสูงสุด
2.  การช่วยเหลือผู้ผลิต โดยการประกันราคาขั้นต่ำ และ การพยุงราคา (โดยให้เงินอุดหนุนและชดเชยแก่ผู้ผลิตให้ลดการผลิตลง เพื่อให้ราคาสินค้าสูงขึ้น)
*การพยุงราคามักทำได้ไม่ทั่วถึงเนื่องจากติดขัดเรื่องงบประมาณและจำนวนผู้ดำเนินการ




powered by Surfing Waves


Total Rating ✔

9.2 stars – 2,789 reviews

More Reviews

แสดงความคิดเห็น

สรุปวิชาสังคมมัธยมต้น เรื่องกิจกรรมทางเศรษฐกิจและกลไกราคา

สรุปสังคมศึกษา ม.ต้น, doc