สำรวจ
แนะนำ
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

ติวสอบทุนนักบิน Student Pilot

ค้นหาด้วยเสียง
ค้นหาด้วยเสียงคลิกที่นี่

» » สรุปสังคมศึกษา เรื่องเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

10 มกราคม 2560

สรุปสังคมศึกษา เรื่องเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

วิชาสังคมศึกษา มัธยม เศรษฐกิจระหว่างประเทศ Tutor Ferry : 099-823-0343

วิชาสังคมศึกษา มัธยม

เศรษฐกิจระหว่างประเทศ

เรียนสังคมที่ชลบุรี ระยอง สระบุรี ลพบุรี นครราชสีม ขอนแก่น มหาสารคาม อุดรธานี เชียงใหม่




1.  การค้าระหว่างประเทศ

1.1  สาเหตุของการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่ 
1.  ความแตกต่างทางด้านกายภาพ โดยเฉพาะด้านทรัพยากรธรรมชาติ 
2.  ความแตกต่างด้านความชำนาญในด้านการผลิต
1.2  ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ 
1.  ประเทศผู้นำเข้าได้สินค้าที่ผลิตไม่ได้มาสนองความต้องการในราคาที่ถูกและคุณภาพดี 
2.  ประเทศผู้ส่งออกขยายตลาดสินค้าให้กว้างขึ้น ทำให้รายได้เข้าประเทศมากขึ้น
1.3  ดุลการค้าระหว่างประเทศ 
1.  ดุลการค้าระหว่างประเทศ คือ การเปรียบเทียบมูลค่าสินค้าออกกับมูลค่าสินค้าเข้าในระยะเวลา 1 ปี 
2.  ดุลการค้าแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ 
-  ดุลการค้าสมดุล คือ มูลค่าสินค้าออกเท่ากับมูลค่าสินค้าเข้า 
-  ดุลการค้าขาดดุล คือ มูลค่าสินค้าออกน้อยกว่ามูลค่าสินค้าเข้า 
-  ดุลการค้าเกินดุล คือ มูลค่าสินค้าออกมากกว่ามูลค่าสินค้าเข้า
1.4  นโยบายการค้าระหว่างประเทศ 
1.  นโยบายการค้าเสรี มีลักษณะสำคัญคือ ส่งเสริมให้การค้าระหว่างประเทศกระทำกันได้โดยเสรี โดยรัฐบาลเข้าไปเกี่ยวข้องน้อยมาก คือ 
-  ใช้หลักการแบ่งงานกันทำ คือ เลือกผลิตสินค้าที่ประเทศมีความชำนาญในการผลิต 
-  ไม่มีการเก็บภาษีเพื่อคุ้มกัน แต่เก็บภาษีเพื่อเป็นรายได้ของรัฐ 
-  ไม่มีการให้สิทธิพิเศษหรือไม่มีข้อจำกัดทางการค้ากับประเทศต่างๆ
*ปัจจุบัน ไม่มีประเทศใดใช้นโยบายการค้าเสรี
2.  นโยบายการค้าคุ้มกัน มีลักษณะสำคัญคือ รัฐบาลใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อกีดกันการนำสินค้าเข้าออก ได้แก่ 
-  กำแพงภาษี คือ เก็บภาษีเข้าในอัตราสูง 
-  การควบคุมปริมาณสินค้าเข้าและออก 
-  การให้ความอุดหนุนเพื่อคุ้มครองสินค้าอุตสาหกรรมภายในประเทศและส่งเสริมสินค้าออก เช่น ยกเว้นภาษีสำหรับสินค้าออก
* ประเทศต่างๆใช้นโยบายการค้าคุ้มกันเพื่อ
-  คุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ 
-  ป้องกันการทุ่มตลาด(กำหนดราคาสินค้าต่ำกว่าทุนในช่วงแรก เมื่อสินค้าติดตลาดจะขึ้นราคาสินค้าภายหลัง) 
-  แก้ปัญหาดุลการค้าขาดดุล 
-  ช่วยเหลือประเทศในยามฉุกเฉิน เช่น ยามสงครามไม่ให้ส่งสินค้าออกจากประเทศ

2.  การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 
1.  ความสำคัญของการแลกเปลี่ยนอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ มีผลต่อสินค้าเข้า สินค้าออก ดุลการค้า 
    1.  ถ้าการลดค่าเงินของประเทศ 
  -  ราคาสินค้าออกจะถูกลงในสายตาคนต่างชาติ ทำให้สินค้าออกมีปริมาณเพิ่มขึ้น 
  -  ราคาสินค้าเข้าจะแพงขึ้นในสายตาคนในประเทศ ทำให้สินค้าเข้ามีปริมาณลดลง 
    2.  ถ้ามีการเพิ่มค่าเงินของประเทศ 
  -  ราคาสินค้าออกจะแพงขึ้นในสายตาคนต่างชาติ ทำให้สินค้าเข้ามีปริมาณลดลง 
  -  ราคาสินค้าเข้าจะถูกลงในสายตาคนในประเทศ ทำให้สินค้าเข้ามีปริมาณเพิ่มขึ้น 
2.  ระบบอัตราแลกเปลี่ยน 
    1.  ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ : รัฐกำหนดให้อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ระดับคงที่เป็นเวลานาน 
    2.  ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ถูกกับเงินสกุลอื่น : รัฐกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่ แต่เปิด โอกาสให้ปรับอัตราแบบค่อยเป็นค่อยไปได้บ้างในกรณีที่ขาดดุลการชำระเงินมาก 
    3.  ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเสรีหรือลอยตัว : รัฐจะปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวอย่างเสรีโดยไม่เข้าไปแทรกแซง 
    4.  ระบบอัตราแลกเปลี่ยนกึ่งลอยตัว : รัฐจะเข้าไปซื้อขายเงินตราต่างประเทศเพื่อปรับอัตราแลกเปลี่ยนให้เคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ต้องการได้บ้าง 
    5.  ระบบควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา : รัฐเข้าแทรกแซงโดยควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 
  -   ระบบอัตราการแลกเปลี่ยนแบบคงที่ไม่มีใช้ในปัจจุบัน 
  -   มีการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบกึ่งลอยตัวและแบบที่ถูกกับเงินตราสกุลอื่นกันมากในปัจจุบัน 
  -   ระบบการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรามีไว้ใช้ในประเทศไม่มากนัก 
3.  ประเทศไทยในปัจจุบัน ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว


3.  ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ

3.1  ดุลการชำระเงินประเทศ 
1.  ดุลการชำระเงินเป็นเป็นบัญชีแสดงฐานะเศรษฐกิจประเทศโดยเปรียบเทียบระหว่างเงินเข้าประเทศ(รายรับ) และเงินออกจากประเทศ(รายจ่าย) 
    -  ยอดสรุปของบัญชีดุลชำระเงิน(เรียกว่า ทุนสำรองระหว่างประเทศ) แต่ละประเทศจะแจ้งไปให้ทราบ 
2.  เมื่อเงินเข้าประเทศมีมากกว่าเงินที่อกนอกประเทศ = ดุลการชำระเงินเกินดุล 
    -  เศรษฐกิจของประเทศจะดี คือมีภาวะเงินเฟ้อ 
    -  ทุนสำรองของประเทศจะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ 

  1.  ประเทศสามารถพิมพ์ธนบัตรออกใช้มากขึ้น 
  2.  ระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศมีเสถียรภาพ(ค่าของเงินประเทศแข็งค่า 
  3.  เศรษฐกิจของประเทศดูมีเสถียรภาพในสายตาของต่างประเทศ 
3.  เมื่อเงินออกนอกประเทสมากกว่าเงินที่เข้าประเทศ = ดุลการชำระเงินขาดดุล 
    -  เศรษฐกิจของประเทศจะไม่ดี คือมีภาวะเงินฝืด 
    -  ทุนสำรองระหว่างประเทศลดลง ส่งผลให้ 
  1.  ระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศของประเทศจะไม่มีเสถียรภาพ(ค่าของเงินประเทศอ่อนค่า) 
  2.  เศรษฐกิจของประเทศดูไม่มีเสถียรภาพในสายตาต่างประเทศ
3.2  ส่วนประกอบของดุลการชำระเงิน 
1.  บัญชีเดินสะพัด ประกอบด้วยบัญชีดุลการค้า บัญชีดุลบริดาร และบัญชีดุลบริจาค (ดุลเงินโอน) 
    -  ดุลการค้า : แสดงมูลค่าสินค้าออกและสินค้าเข้า 
    -  ดุลบริการ : แสดงมูลค่าบริการระหว่างประเทศ 
    -  ดุลบริจาค : (ดุลเงินโอน)แสดงการรับและให้เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ 
2.  บัญชีทุนเคลื่อนย้าย : รายการการลงทุน หรือเงินกู้ข้ามชาติ 
3.  บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ : เป็นยอดสรุปของดุลการชำระเงิน


  **ทุนสำรองระหว่างประเทศประกอบด้วย เงินตราต่างประเทศ ทองคำ หลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางถือไว้ และสิทธิถอนพิเศษ (SDR)

ที่น่าสังเกตคือ ไม่มีความสัมพันธ์ว่า ถ้าเกิดขาดดุลตัวใดตัวหนึ่งจะต้องทำให้อีกตัวในบัญชีขาดดุล เช่น ขาดดุลการค้า แล้วต้องขาดดุลการชำระเงิน x - ขาดดุลการค้า แล้วต้องขาดดุลบัญชีเดินสะพัด x - ขาดดุลการชำระเงิน แล้วต้องขาดดุลบัญชีเดินสะพัด x * แต่ที่แน่ๆคือดุลการชำระเงิน กับทุนสำรองระหว่างประเทศจะมียอดเดียวกัน (เกินดุลก็จะเกินดุลทั้งคู่ ขาดดุลก็จะขาดดุลทั้งคู่)

3.3  การแก้ไขปัญหาดุลการชำระเงินขาดดุล 
1.  การเพิ่มรายได้ 
    -  ส่งเสริมให้มีสินค่าขาออกมากๆ โดยลดภาษีขาออก หาตลาดนอกประเทศ ปรับปรุงคุณภาพสินค้า รัฐบาลยกเว้นภาษีวัตถุดิบสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมในประเทศ 
    -  ชักชวนให้ชาวต่างประเทศเดินทางมาเที่ยวหรือลงทุนมากขึ้น 
2.  การลดรายจ่าย 
    -  ส่งเสริมให้ประชาชนประหยัด 
    -  ลดการสั่งสินค้าเข้าโดยใช้มาตรการต่างๆ เช่น ตั้งกำแพงภาษี 

3.  วิธีการอื่นๆ 
    -  ลดค่าเงินของประเทศตน 
    -  กู้ยืมจากต่างประเทศ 
    -  ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ภายในประเทศ เพื่อไม่ให้เงินกู้ต่างประเทศไหลเข้ามามาก




4.  การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

  4.1  ประเภทของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ


เรียนพิเศษที่ขอนแก่น มหาสารคาม อุดร นครราชสีมา ลพบุรี สระบุรี ปทุมธานี นนทบุรี



4.2  ความเป็นมาของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ 
  1.  การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเริ่มมีความสำคัญมากหลังสงครามโลกครั้งที่ 1(ทศวรรษที่ 1980)โดยที่ช่วงนี้การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเกิดจาก 
    1.  ประเทศมหาอำนาจมุ่งมั่นจะเป็นผู้นำในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 
    2.  ประเทศอังกฤษและประเทศมหาอำนาจในยุคก่อนๆพยายามรักษาอำนาจตนไว้ 
  -  การรวมกลุ่มระยะนี้กลายมาเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ 2
2.  หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการจัดตั้ง 
    -  ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า(GATT)เพื่อปฏิรูปการค้าของโลกให้เป็นการค้าเสรี 
    -  กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF)เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินของโลก 
3.  ทศวรรษที่ 1950-1960 มีการจัดตั้ง 
    -  "ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป" (EEC) 
    -  "ประชาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป" (EFTA) 
    -  "สมาคมการค้าเสรีแห่งลาตินอเมริกา" (LAFTA) 
    -  "กลุ่มประเทศผู้ส่งนำมันออก" (OPEC) 
    -  "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" (ASEAN) 
4.  ทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา มีการจัดตั้ง 
    -  "ประชาคมยุโรป" (EC) 
    -  "เขตการค้าเสรีแห่งอเมริกาเหนือ" (NAFTA) 
    -  "เขตการค้าเสรีอาเซียน" (AFTA)
4.3  การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจทั่วไป 
1.  ธนาคารโลก (World Bank) 
    -  ธนาคารโลกมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาทางด้านการเงินและวิทยาการ โดยผ่านสถาบันในเครือ เช่น IDA, IFC 
    -  ด้านการเงิน : ธนาคารโลกจะให้เงินกู้ระยะยาว ที่มีดอกเบี้ยต่อเพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนานำไปใช้พัฒนาเศรษฐกิจ 
    -  ด้านวิทยาการ : ธนาคารโลกมีบทบาทต่อการกำหนดนโยบายและกลยุทธในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของประเทศลูกหนี้ เช่น เสนอให้มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และเสนอแนวนโยบายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 
2.  กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund - IMF) 
    -  ทำหน้าที่ดูแลด้านการค้าแลการเงินระหว่างประเทศ โดยดูแลเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ และดุลการชำระเงินให้ราบรื่น
**IMF จะให้เงินกู้ระยะสั้นแก่ประเทศสมาชิก เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาเกี่ยวกับดุลการชำระเงินละอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของประเทศ
     -  วิวัฒนาการการรักษาอัตราแลกเปลี่ยน 
  1.  ระบบเบรตตันวูดส์ คือ ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่และเทียบค่าเงินของประเทศต่างๆกับค่าเงินดอลล่าร์ของสหรัฐอเมริกา 
  2.  ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว และควบคุม โดยให้อัตราแลกเปลี่ยนขึ้นกับภาวการณ์ของประเทศสมาชิก โดยเทียบค่าเงินของประเทศกับเงินสกุลใดก็ได้ 
3.  องค์การการค้าโลก (GATT, WTO) 
วัตถุประสงค์ ปฏิรูปการค้าของโลกให้เป็นเสรี 
-  สินค้าที่อยู่ภายใต้ WTO ส่วนมาเป็นสินค้าหัตถอุตสาหกรรมจากประเทศพัฒนาแล้วไม่รวมสินค้าเกษตรกรรมและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ทำให้ประเทศที่พัฒนาแล้วได้เปรียบ 
4.  การประชุมว่าด้วยการค้าและการพัฒนาของสหประชาชาติ (UNTAD) 
    1.  เกิดจากการรวมกลุ่มของประเทศ กลุ่มไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เพื่อช่วยเหลือด้านการค้าของประเทศกำลังพัฒนา 
    2.  นโยบาย 
  -  เน้นประเทศกำลังพัฒนา 
  -  ให้แต่ละประเทศจัดการด้านเศรษฐกิจของตนอย่างเสรี 
  -  ส่งเสริมให้ประเทศกำลังพัฒนามีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ 
3.  มีกลุ่ม 2 กลุ่มใน UNTAD ที่กำหนดแนวทางของกลุ่มก่อนการประชุม คือ "กลุ่มประเทศ 77" ซึ่งเป็นกลุ่มของประเทศกำลงพัฒนา และ "องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา" (OECD) ซึ่งเป็นกลุ่มของประเทศพัฒนาแล้ว 
4.  บทบาทและอิทธิพล 
  -  ผลักดันให้เกิดการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) ทำให้ประเทศกำลังพัฒนาส่งสินค้าเข้าไปขายยังประเทศที่พัฒนาแล้วได้ในต้นทุนที่ต่ำกว่า
  ***สินค้าที่ระบุใน GSP ส่วนมากจะเป็นสินค้าหัตถกรรมและสินค้าหัตถอุตสาหกรรม***
4.4  การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเฉพาะบางภูมิภาค 
1.  สหภาพยุโรป (European unity : EU) 
    -  ประเทศสมาชิก 16 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก อังกฤษ เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ กรัซ สเปน โปรตุเกส สวีเดน ฟินแลนด์ ออสเตรีย ตุรกี 
    -  สำนักงานใหญ่ กรุงบรัสเซลส์ เบลเยี่ยม 
    -  จุดประสงค์สำคัญ เป็น ต้องการรวมกลุ่มเศรษฐกิจอย่างสมบูรณ์ (ใช้เงินตราสกุลเดียวกันคือ เงินEURO) 
2.  สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (Europaen Free Trade Association : EFTA) 
    -  ประเทศสมาชิก 4 ประเทศ คือ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ลิกเตนส์ไตน์ 
    -  สำนักงานใหญ่ เมืองเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ 
    -  จุดประสงค์สำคัญ เขตการค้าเสรี 
3.  เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (North America Free Trade Area : NAFTA) 
    -  ประเทศสมาชิก 4 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก และ 
    -  จุดประสงค์สำคัญ ร่วมมือกันด้านภาษีนำเข้า การลงทุนและการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ ด้านพลังงานและการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
  ***NAFTA มีลักษณะเป็น "กึ่งตลาดร่วม" ***
  4.  กลุ่มตลาดร่วมอเมริกากลาง (CAEI) 
    - ประเทศสมาชิก คอสตาริกา เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส นิการากัว 
    - วัตถุประสงค์เพื่อสร้างตลาดร่วมในกลุ่มสมาชิก 
5. สมาคมการค้าเสรีแห้งละตินอเมริกา (LAFTA) 
    - ประเทศสมาชิก 11 ประเทศ คือ อาร์เจนตินา โยลิเวีย บราซิล ชิลี โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เม็กซิโกปารากวัย เปรู อุรุกวัย เวเนซูเอลา 
    - วัตถุประสงค์สำคัญ สนับสนุนการค้าเสรีในกลุ่มระเทศ และสนับสนุนให้มีอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าใช้ร่วมกันในการพัฒนาด้านการเกษตร 
6. สมาคมอาเซียน (ASEAN) 
    - ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ คือ สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา 
    - สำนักงานใหญ่ เมืองจาการ์ตา อินโดนีเซีย 
    - จุดประสงค์สำคัญ เป็นเขตการค้าเสรี และร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ (อุตสาหกรรม เกษตร คมนาคมขนส่ง) รวมทั้งร่วมมือกันด้านสังคมและการเมือง
  * อาเซียนมีนโยบายกำหนดให้เอเชียตะวันอกเฉียงใต้เป็นเขตสันติภาพเสรีภาพ และความเป็นกลาง


การร่วมมือกันทางอุตสาหกรรมของ ASEAN

  1.  ประเทศสมาชิกเลือกผลิตชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์สินค้าอุตสาหกรรมที่ตนถนัด และส่งขายให้แก่กัน โดยยกเว้นภาษีขาเข้า 
  2.  คัดเลือกและส่งเสริมโครางการอุตสาหกรรมที่เหมาะสมที่จะจัดตั้งในประเทศสมาชิก 
  -  โครงการแอมโมเนีย - ยูเรีย จัดตั้งที่ อินโดนีเซียและมาเลเซีย 
-  โครงการปุ๋ยฟอสเฟต จัดตั้งที่ ฟิลิปปินส์ 
-  โครงการผลิตเครื่องยนต์ดีเซล จัดตั้งที่ สิงคโปร์ 
-  โครงการหินเกลือโซดาแอช จัดตั้งที่ ไทย
    -  ความมุ่งหมาย ค่อยๆ คิดภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าส่วนใหญ่ที่ค้าขายกันได้เหลือร้อยละ 5 ภายใน 15 ปี(จรกลายเป็นข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน : AFTA) 
7.  เอเปก (Asia - Pacific Economic Cooperation : APEC) 
    -  ประเทศสมาชิก 21 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา ไทย สาธารณรัฐประชาชนจีน ไต้หวัน ฮ่องกง 
    -  จุดประสงค์สำคัญ ส่งเสริมความร่วมมือในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจร่วมกัน ส่งเสริมการค้าเสรีและตั้งรับการรวมเป็นตลาดเดียวของประชาคมยุโรป 
8.  กลุ่มประเทศผู้ส่งนำมันออก ( Organization of Petroleum Exporting Countries : OPEC) 
    -  ประเทศสมาชิก 13 ประเทศคือ อิหร่าน อิรัก คูเวต ซาอดิอาระเบีย กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ลิเบีย แอลจีเรีย กาบองไนจีเรีย เวเนซูเอลา เอกวาดอร์ อินโดนีเซีย 
-  จุดประสงค์สำคัญ สร้างอำนาจต่อรองในเรื่องของราคาและเงื่อนไขการขายนำมัน
4.5 ผลจากการรวมกลุ่มเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 
1.  มีการเคลื่อนย้ายทุนเข้าไปกลุ่มประเทศที่มีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจมากขึ้น เพื่อลดการกีดกันด้านภาษีจากประเทศนอกกลุ่มประเทศ 
2.  สินค้าส่งออกถูกกีดกันจากประเทศที่ไม่ได้เป็นกลุ่มสมาชิก 
  3.  บางประเทศต้องนำเข้าสินค้าบางประเภทที่จริงๆแล้วผลิตเองได้ แต่ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศในกลุ่มเศรษฐกิจเดียวกันได้


5.  ปัญหาการค้าระหว่างประเทศของประเทศกำลังพัฒนา

  5.1  สินค้าออกเป็นสินค้าเกษตรและวัตถุดิบที่มีราคาแต่ สินค้าเข้าเป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่มีราคาสูง ทำให้ขาดดุลการค้าอย่างมาก
  5.2  สินค้าออกเป็นสินค้าเกษตรที่ขึ้นกับฤดูกาล ทำให้ได้ผลผลิตน้อย และบางครั้งก็ได้ผลผลิตมากจนราคาตก
  5.3  สินค้าเกษตรถูกกีดกันจากประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐฯ ออกกฎหมาย Farm act (ให้เงินอุดหนุนสินค้าเกษตรของตนให้ราคาต่ำกว่าตลาดโลก), ญี่ปุ่นจำกัดโควตาสินค้าเกษตรนำเข้า
  5.4  องค์การระหว่างประเทศมีนโยบายที่เป็นผลดีต่อประเทศอุตสาหกรรมมากกว่าประเทศยากจน


6.  การลงทุนระหว่างประเทศ

  ประเทศที่พัฒนาแล้วมักเข้ามาลงทุนในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อลดต้นทุนด้านวัตถุดิบและค่าแรง นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีการลงทุนข้ามชาติเพื่อลดปัญหาการกีดกันด้านข้อจำกัดการค้าจากการรวมกลุ่มประเทศ








Total Rating ✔

9.2 stars – 2,789 reviews

More Reviews

แสดงความคิดเห็น

สรุปสังคมศึกษา เรื่องเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

สรุปสังคมศึกษา ม.ต้น, doc