สำรวจ
แนะนำ
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

ติวสอบทุนนักบิน Student Pilot

ค้นหาด้วยเสียง
ค้นหาด้วยเสียงคลิกที่นี่

» » สรุปภาษาไทย เรื่องความเกี่ยวข้องระหว่างวัฒนธรรมกับภาษา

02 มกราคม 2560

สรุปภาษาไทย เรื่องความเกี่ยวข้องระหว่างวัฒนธรรมกับภาษา

คำ “วัฒนธรรม” บางคราวใช้ในความหมายว่าประเพณี บางคราวอาจใช้ในความหมายว่า ศิลปะ ก็ได้ นักสังคมศาสตร์ให้ความหมายว่า “แบบแผนชีวิตหรือระบบการดำเนินชีวิต” ครอบคลุมไปถึงเครื่องอุปโภคบริโภคทุกอย่าง สถาบัน ประเพณี หรือศิลปะรวมถึงความรู้สึกต่อสิ่งต่าง ๆ ดังนั้นวัฒนธรรมจึงหมายถึงสิ่งที่มนุษย์ทำให้เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ของสังคมของตน

วิชาภาษาไทย มัธยมต้น

เรื่องความเกี่ยวข้องระหว่างวัฒนธรรมกับภาษา

เรียนภาษาไทยที่บ้านแถวขอนแก่น มหาสารคามนครราชสีมา อุดรธานี






คำ “วัฒนธรรม”  บางคราวใช้ในความหมายว่าประเพณี  บางคราวอาจใช้ในความหมายว่า ศิลปะ  ก็ได้  นักสังคมศาสตร์ให้ความหมายว่า  “แบบแผนชีวิตหรือระบบการดำเนินชีวิต”  ครอบคลุมไปถึงเครื่องอุปโภคบริโภคทุกอย่าง  สถาบัน  ประเพณี  หรือศิลปะรวมถึงความรู้สึกต่อสิ่งต่าง ๆ  ดังนั้นวัฒนธรรมจึงหมายถึงสิ่งที่มนุษย์ทำให้เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ของสังคมของตน


มนุษย์กับวัฒนธรรม

มนุษย์มีความเจริญก้าวหน้าและซับซ้อนกว่าสัตว์เพราะมนุษย์มีภาษาสั่งสอนลูกหลานได้  นอกจากนั้นมนุษย์ยังสั่งสมวัฒนธรรมโดยเริ่มมีสถาบันต่าง ๆ ดังนี้
  -  สถาบันแรกคือ  สถาบันการปกครอง  มีผู้นำหรือหัวหน้า  
  -  สถาบันการสืบสกุล  เกิดจากการที่หัวหน้าได้อบรมลูกหลานเพื่อลดความรุนแรงในการแย่งชิงอำนาจ
  -  สถาบันศาลสถิตยุติธรรม  เพื่อแก้ปัญหากรณีพิพาทกันและต่อมาได้พัฒนาเป็นระบบศาลโดยมีกฎหมาย
และระเบียบต่าง ๆ เป็นตัวควบคุมมนุษย์
  -  สถาบันศาสนา  เกิดขึ้นเพื่อให้มนุษย์มีเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ  โดยเกิดจากความเชื่อและความเลื่อมใสศรัทธาในอำนาจต่าง ๆ


ความหลากหลายของวัฒนธรรม

ความหลากหลายของวัฒนธรรมขึ้นอยู่กับเหตุที่สำคัญ ๆ ดังนี้
๑.  ภูมิอากาศที่แตกต่างกัน  เช่น  วัฒนธรรมของชาวเอเชียกับชาวยุโรป
๒.  ที่ตั้ง  เช่น  กลุ่มชนในเขตอากาศร้อนมีประเพณีสงกรานต์  กลุ่มชนริมน้ำมีประเพณีการแข่งเรือ  เป็นต้น
๓.  ความอุดมสมบูรณ์หรือความแร้นแค้น    เช่น  ชนที่มีความอุดมสมบูรณ์มักมีความอารีเผื่อแผ่  กลุ่มชนที่แร้นแค้นก็มักจะคุ้นเคยกับการแย่งชิง
๔.  กลุ่มชนแวดล้อม  เช่น  กลุ่มชนที่บังเอิญไปตั้งถิ่นฐานใกล้ชนกลุ่มใหญ่ที่มีอำนาจมากกว่าจะต้อง   ระมัดระวังไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่กระทบกระทั่งจนมีภัยมาถึงตัว
๕.  นักปราชญ์หรือประมุขของกลุ่มตน  กลุ่มชนใดที่มีผู้ปกครองหรือประมุขที่ดีก็มีความเจริญก้าวหน้ามากกว่ากลุ่มชนอื่น


เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม  คือ  แบบแผนของการมีชีวิตของมนุษย์ในวัฒนธรรมหนึ่ง ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าแตกต่างจากวัฒนธรรมอื่น ๆ  เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติไทยนั้น    มีทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม  ธง-ชาติไทย  เพลงชาติไทยและภาษาไทย  ล้วนเป็นเอกลักษณ์ที่เป็นรูปธรรมของไทย  ส่วนที่เป็นนามธรรมที่เห็นได้ชัดเจนคือ  

๑. ความไม่กีดกันคนต่างชาติต่างภาษา
๒. เสรีภาพทางศาสนา
๓. ความรักสงบ
๔. ความพอใจการประนีประนอม
๕. การไม่แบ่งชั้นวรรณะ


ภาพสะท้อนวัฒนธรรมจากภาษา

๑.  ภาษาไทยมีคำแสดงความลดหลั่นชั้นเชิงอยู่เป็นจำนวนมาก  เช่น  คำเรียกเครือญาติ        คำราชาศัพท์  คำบอกตำแหน่งยศศักดิ์  คำบอกคุณวุฒิทางการศึกษา
๒.  ภาษาไทยมีการใช้คำแทนตัว  เรียกตนเอง  เรียกผู้ที่ตนพูดด้วย  คนไทยให้ความสำคัญแก่ชื่อของบุคคล  โดยไม่นำมาเรียกพร่ำเพรื่อ
๓.  ในภาษาไทยคำไทยแท้หรือคำดั้งเดิม  มักใช้ในการสนทนาหรือการสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการ  เช่น  ในครอบครัวหรือในหมู่เพื่อนสนิท  แต่มักใช้คำภาษาอื่นในการสนทนาหรือการสื่อสารอย่างเป็นทางการ  
๔.  ภาษาไทยมีคำศัพท์แสดงความละเอียดในการกล่าวถึงเรื่องใกล้ตัว  เช่นคำแสดงความสัมพันธ์ในครอบครัว  คำขยายรสอาหารต่าง ๆ  


ภาษามาตรฐาน

ชาติที่เป็นเอกราชย่อมจะพยายามสถาปนาภาษาใดภาษาหนึ่งให้เป็นภาษาราชการที่ใช้ในกิจการสำคัญของประเทศ  บางชาติประนีประนอมใช้  ๒  ภาษาหรือมากกว่านั้นเป็นภาษาราชการ  ในรัชกาลที่  ๖     กระทรวง
ศึกษาธิการส่งเสริมให้โรงเรียนสอนสำนวนและการออกสำเนียงตามที่ใช้ในเมืองหลวงไทยเราจึงมีภาษามาตรฐานตั้งแต่นั้นมา  เรียกกันว่า  ภาษากลาง  บ้าง ภาษากรุงเทพ ฯ บ้าง  ภาษาราชการ บ้าง  


ความนิยมในการใช้ถ้อยคำคล้องจองในภาษาไทย

คนไทยนิยมใช้ถ้อยคำสำนวนที่มีคำคล้องจองกัน  เช่น  ในน้ำมีปลา  ในนามีข้าว  รักดีหามจั่ว  รักชั่วหามเสา  ข้าวยากหมากแพง นอกจากนี้การตั้งชื่อบุคคล  สถานที่สำคัญก็นิยมผูกให้คล้องจองกันหรือแม้แต่เมื่อรับรูปแบบคำประพันธ์มาจากภาษาอื่นก็ไม่มีการบังคับสัมผัสสระ  แต่เมื่อประพันธ์เป็นภาษาไทยจะเพิ่มสัมผัสลงไปเพื่อความไพเราะ


ภาษากับการพัฒนาและการสืบทอดวัฒนธรรม

ภาษาทำให้มนุษย์พัฒนาวัฒนธรรมของตนแล้ว  ภาษายังช่วยให้มนุษย์สามารถธำรงวัฒนธรรมและสืบทอดวัฒนธรรมได้ด้วย  อย่างไรก็ตาม  การถ่ายทอดวัฒนธรรมและการใช้ภาษาไม่ควรปล่อยให้มีการเปลี่ยนแปลงเร็วเกินไปจนคนรุ่นเก่าไม่สามารถสืบทอดประสบการณ์อันมีค่าให้แก่คนรุ่นใหม่ได้

วรรณคดีกับวัฒนธรรม

ศิลปะทุกชนิดเป็นเครื่องสื่อสารอารมณ์ของมนุษย์  แต่ศิลปะบางชนิดมีขอบเขตจำกัดทำความเข้าใจระหว่างผู้รับและผู้ส่งสารได้ยาก  เช่น  ดนตรี   จิตรกรรม  แต่วรรณคดีทำความเข้าใจง่ายกว่าศิลปะอื่นและสอนกันง่ายกว่า  วรรณคดีจึงเป็นเครื่องสืบทอดวัฒนธรรมโดยตรง
วรรณคดีเป็นเสมือนกระจกส่องชีวิตของหมู่ชนที่ประพันธ์วรรณคดีนั้น  เพราะถ่ายทอดสภาพความเป็น
อยู่  ค่านิยม  ประเพณีและวัฒนธรรมของคนในแต่ละยุคได้ชัดเจนที่สุด  ข้อเสียของวรรณคดีคือไม่สามารถสืบประวัติของภาษาพูดได้  เพราะไม่มีวรรณคดีเรื่องใดที่แสดงอย่างชัดเจนว่าคนในสมัยใดใช้สรรพนามอย่างไรบ้าง  


ภาษาถิ่นกับวัฒนธรรม

ภาษาถิ่นมีคุณค่าในทางประวัติของคำและแสดงถึงประเพณีที่ใช้อยู่ในแต่ละท้องถิ่นนั้น ๆ  ภาษาของชนกลุ่มต่าง ๆ ที่เป็นส่วนของชาติไทยนั้น  แม้ไม่ใช่ภาษาตระกูลเดียวกับภาษาไทยก็ควรรักษาไว้และศึกษาให้รู้ว่ามีคำไทยเข้าไปปะปนอยู่มากน้อยเพียงใด  เป็นคำไทยสมัยไหน  แต่ชนทุกกลุ่มทุกท้องถิ่นก็จำเป็นต้องเรียนภาษา
ไทยมาตรฐานเพื่อประโยชน์แก่การสื่อสารต่อไป


ศัพท์ที่ควรทราบเกี่ยวกับวัฒนธรรม

๑.  สังคม  มีความหมายทั้งในทางรูปธรรมและนามธรรม  ทางรูปธรรม  หมายถึง  ชุมชน  รวมความถึงกลุ่มชนที่รวมอยู่ในบริเวณเดียวกัน  ส่วนในทางนามธรรม  หมายถึงความคิดนึกรวมกับค่านิยมของชุมชนหนึ่ง ๆ ก็ได้
๒.  สถาบัน  หมายถึง  กฎเกณฑ์และประเพณีที่เกี่ยวเนื่อง  ซึ่งหมู่ชนสร้างขึ้นหรือจัดตั้งให้มีขึ้นเพื่อประโยชน์แก่หมู่คณะของตน  รวมกับคณะบุคคลที่มีส่วนสำคัญต่อกฎเกณฑ์และประเพณีนั้น
๓.  ประเพณี  หมายถึง  พฤติกรรมที่ได้เคยกระทำมาตั้งแต่บรรพบุรุษหลายชั่วอายุคนสืบทอดกันมาจน
ถึงขั้นลูกหลาน  บางครั้งอาจเติมคำว่า ขนบประเพณีก็ได้
๔.  ค่านิยม  หมายถึง  ความรู้สึกที่ไม่เกี่ยวกับความเจ็บปวดหรือความเพลิดเพลินทางกาย  อาจเป็นความ
รู้สึกของหมู่ชนรวมกันหรือบุคคลเฉพาะคนก็ได้  ค่านิยมที่เห็นได้ชัด  ได้แก่  ความพึงพอใจ  ความอาย  อันมีต่อพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่ง  ซึ่งเป็นไปตามยุคสมัยและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา 








Total Rating ✔

9.2 stars – 2,789 reviews

More Reviews

แสดงความคิดเห็น

สรุปภาษาไทย เรื่องความเกี่ยวข้องระหว่างวัฒนธรรมกับภาษา

สรุปภาษาไทย ม.ต้น