สำรวจ
แนะนำ
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

ค้นหาด้วยเสียง
ค้นหาด้วยเสียงคลิกที่นี่

» » สรุปภาษาไทย เรื่องคำและสำนวน

02 มกราคม 2560

สรุปภาษาไทย เรื่องคำและสำนวน

คำประกอบด้วยเสียงที่มีความหมายซึ่งมนุษย์ใช้ในการสื่อสาร คำหลาย ๆ คำที่เรียบเรียงไว้ตายตัว สลับที่หรือตัดทอนไม่ได้มีความหมายไม่ตรงไปตรงมาแต่เป็นที่เข้าใจกัน บางทีมีความหมายในเชิงเปรียบเทียบที่ลึกซึ้งกินใจ ทำให้เห็นภาพชัด เรียกว่าสำนวน การรู้จักใช้คำและสำนวนช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิผล

วิชาภาษาไทย มัธยมต้น

เรื่องคำและสำนวน

เรียนภาษาไทยที่บ้านแถวชลบุรี ศรีราชา พัทยา สัตหีบ ระยอง





คำประกอบด้วยเสียงที่มีความหมายซึ่งมนุษย์ใช้ในการสื่อสาร  คำหลาย ๆ คำที่เรียบเรียงไว้ตายตัว  สลับที่หรือตัดทอนไม่ได้มีความหมายไม่ตรงไปตรงมาแต่เป็นที่เข้าใจกัน บางทีมีความหมายในเชิงเปรียบเทียบที่ลึกซึ้งกินใจ  ทำให้เห็นภาพชัด  เรียกว่าสำนวน  การรู้จักใช้คำและสำนวนช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิผล


คำ

พิจารณาตามความหมายได้ดังนี้
  ๑.  ความหมายเฉพาะ  แยกพิจารณาได้  ๒  ทางคือ  ทางที่  ๑  เป็นความหมายตามตัวกับความหมายเชิงอุปมา  ทางที่  ๒  เป็นความหมายนัยตรงกับความหมายนัยประหวัด
ความหมายตามตัวเป็นความหมายเดิมของคำเมื่อปรากฏในบริบทต่าง ๆ ส่วนความหมายเชิงอุปมาเป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบกับคำนั้นในบริบทอื่น  เช่น  เมื่อคืนนี้มีดาวเต็มท้องฟ้า  (ดาว เป็นความหมายตามตัว)  สมัยที่เป็นนิสิตฉันเป็นดาวของคณะ  (ดาว เป็นความหมายเชิงอุปมา)
ความหมายนัยตรง เป็นความหมายตามที่ปรากฏในพจนานุกรม  อาจเป็นความหมายตามตัว  หรือความหมายเชิงอุปมาก็ได้  ซึ่งผู้ใช้ภาษาจะเข้าใจตรงกัน  ส่วนความหมายนัยประหวัดเป็นความหมายที่คำนั้นก่อให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ กันไป  อาจเป็นทางดี  ไม่ดี  หรือในทางอื่นใดก็ได้
๒.  ความหมายเทียบเคียงกับคำอื่น  แยกออกเป็น
คำที่มีความหมายเหมือนกัน  เช่น  ม้า  ใช้คำว่า  อัศดร  อาชา  พาชี  หัย  แสะ  บางครั้งอาจเป็นภาษาสุภาพกับไม่สุภาพ  เช่น  รับประทาน  ทาน  เสวย  ฉัน   กิน  
คำที่มีความหมายคล้ายกันหรือร่วมกัน  มีคำจำนวนมากที่มีความหมายส่วนหนึ่งร่วมกัน  แต่ความหมายอีกส่วนหนึ่งต่างกัน  เช่น  หั่น  ตัด  เฉือน  เจียน  ปาด  สับ  แล่  เลาะ  ฝาน
คำที่มีความหมายตรงข้ามกัน  เช่น  อ้วน – ผอม  ชั่ว – ดี  เป็น – ตาย
คำที่มีความหมายครอบคลุมคำอื่น  เช่น  เครื่องเขียน  มีความหมายครอบคลุมถึงเครื่องใช้เกี่ยวเนื่องกับการเขียนทั้งหมด  เช่น  ดินสอ  ปากกา  ยางลบ  ไม้บรรทัด  สมุด  


การใช้คำ

๑.  ใช้คำให้ตรงตามความหมาย  มีข้อควรระวังคือ
-  การใช้คำที่มีความหมายนัยตรงต้องระวังไม่ให้ผู้อื่นคิดไปในทางนัยประหวัด
-  อย่าใช้คำที่มีความหมายกำกวม
-  ให้ใช้คำที่มีความหมายเฉพาะตรงตามที่ต้องการ
-  เลือกใช้คำที่มีความหมายเกี่ยวเนื่องกับคำอื่นได้อย่างเหมาะสม
๒.  ใช้คำให้ตรงตามความนิยม  คำที่มีความหมายเดียวกันบางทีใช้แทนกันได้แต่บางทีใช้แทนกันไม่ได้  เช่น  มะม่วงดก  ฝนตกชุก  “ดก,ชุก” มีความหมายว่า มาก แต่ใช้แทนกันไม่ได้
๓.  ใช้คำให้เหมาะแก่กาลเทศะและบุคคล  ในที่สาธารณะหรือในสถานที่สำคัญต้องใช้คำพูดที่แสดงความสำรวมและเคารพต่อสถานที่  การพูดกับบุคคลที่เราคุ้นเคยและเป็นส่วนตัวอาจใช้คำที่แสดงความเป็นกันเอง  เป็นต้น
๔.  ใช้คำไม่ซ้ำซาก  การใช้คำเดิมซ้ำ ๆ กันอาจก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย  จึงควรมีการหลากคำ  คือเลือกใช้คำที่แปลก ๆ ออกไป  แต่คำเหล่านี้ต้องมีความหมายที่ใช้แทนกันได้  เช่น   ไม่ชอบ  ชัง  เกลียด  ไม่พอใจ  โกรธ  เคือง  เป็นต้น


สำนวน

คำ  สำนวน  ในที่นี้อาจครอบคลุมไปถึงภาษิต  สุภาษิต  และคำพังเพยด้วย ในที่นี้เราจะพิจารณาจำนวนคำ  และเสียง  ในสำนวนเสียก่อนโดยเฉพาะประเภทที่มีเสียงสัมผัส  สำนวนกันตั้งแต่  ๔  คำไปจนถึง  ๑๒  คำ
๑.  สำนวนที่มีเสียงสัมผัส
เรียง ๔ คำ เช่น  มือไวใจเร็ว  ปากว่าตาขยิบ
เรียง ๖ คำ เช่น ขิงก็ราข่าก็แรง  ยุให้รำตำให้รั่ว
เรียง  ๘  คำ เช่น  ตกน้ำไม่ไหล  ตกไฟไม่ไหม้  รักยาวให้บั่น  รักสั้นให้ต่อ
เรียง ๑๐ คำ  เช่น  คบคนให้ดูหน้า  ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ
เรียง  ๑๒  คำ  เช่น  มีเงินเขานับว่าน้อง  มีทองเขานับว่าพี่
๒.  สำนวนที่ไม่มีเสียงสัมผัส  
เรียง  ๒  คำ  เช่น  ควันหลง  งามหน้า  จนแต้ม  คว่ำบาตร
เรียง  ๓  คำ  เช่น  ตายดาบหน้า  ชุบมือเปิบ  แทงใจดำ
เรียง  ๔  คำ  เช่น  แกว่งเท้าหาเสี้ยน  น้ำตาลใกล้มด  คนล้มอย่าข้าม
เรียง  ๕  คำ   เช่น  เขียนเสือให้วัวกลัว  ตำข้าวสารกรอกหม้อ  น้ำตาเช็ดหัวเข่า
เรียง  ๖  คำ  เช่น  ปากไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม  ปากคนยาวกว่าปากกา
เรียง  ๗  คำ  เช่น  ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ  นกน้อยทำรังแต่พอตัว
เรียง  ๘  คำ  เช่น  ไก่เห็นตีนงูงูเห็นนมไก่   มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก

สรุปลักษณะเด่นของสำนวนไทยคือ  เป็นถ้อยคำที่มีคารมคมคาย  กินใจผู้ฟัง  ใช้คำกะทัดรัด  ไพเราะรื่นหู  ถ้ามีสองวรรคความในแต่ละวรรคจะมีน้ำหนักสมดุลกัน มีความหมายลึกซึ้ง  เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย


การใช้สำนวน

การใช้สำนวนไทยให้มีประสิทธิผลมีหลักทั่ว ๆ ไปคือใช้ให้ตรงตามความหมาย


ที่มาของสำนวนไทย

๑.  เกิดจากธรรมชาติ  เช่น  คลื่นใต้น้ำ  มาเหนือเมฆ  ฟ้าหลังฝน
๒.  เกิดจากสัตว์  เช่น  กระต่ายตื่นตูม  เห็นช้างขี้ขี้ตามช้าง  เขียนเสือให้วัวกลัว
๓.  เกิดจากประเพณี  วัฒนธรรม  เช่น  เข้าตามตรอกออกตามประตู  ชิงสุกก่อนห่าม  ขนทรายเข้าวัด
๔.  เกิดจากลัทธิศาสนาและความเชื่อเช่น  วันพระไม่มีหนเดียว  แก่วัด  คว่ำบาตร  พระมาโปรด
๕.  เกิดจากนิทานและวรรณคดี  เช่น  ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง  งอมพระราม  วัดรอยเท้า
๖.  เกิดจากการละเล่นและกีฬา  เช่น  สู้จนเย็บตา  งูกินหาง  ไก่รองบ่อน
๗.  เกิดจากการกระทำ  ความประพฤติและความเป็นอยู่  เช่น  ตำข้าวสารกรอกหม้อ  ชุบมือเปิบ
๘.  เกิดจากอวัยวะของร่างกาย  เช่น  ปากบอน  ตีนเท่าฝาหอย  คดในข้องอในกระดูก
๙.  เกิดจากของกินของใช้  เช่น  ข้าวเหลือเกลืออิ่ม  หน้าสิ่วหน้าขวาน  ได้แกงเทน้ำพริก
๑๐.  เกิดจากสิ่งแวดล้อม  เช่น  คับที่อยู่ได้คับใจอยู่ยาก  เกี่ยวแฝกมุงป่า  บ้านเมืองมีขื่อมีแป
๑๑.  เกิดจากประวัติศาสตร์  ขุนนางใช่พ่อแม่  หินแง่ใช่ตายาย  ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย









Total Rating ✔

9.2 stars – 2,789 reviews

More Reviews

แสดงความคิดเห็น

สรุปภาษาไทย เรื่องคำและสำนวน

สรุปภาษาไทย ม.ต้น