สำรวจ
แนะนำ
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

ติวสอบทุนนักบิน Student Pilot

ค้นหาด้วยเสียง
ค้นหาด้วยเสียงคลิกที่นี่

» » สรุปสังคมศึกษา เรื่องวงจรเศรษฐกิจ รายได้ประชาชาติ และการพัฒนาเศรษฐกิจ

03 มกราคม 2560

สรุปสังคมศึกษา เรื่องวงจรเศรษฐกิจ รายได้ประชาชาติ และการพัฒนาเศรษฐกิจ

วิชาสังคมศึกษา มัธยม เรื่องวงจรเศรษฐกิจ รายได้ประชาชาติ และการพัฒนาเศรษฐกิจ Tutor Ferry สอนพิเศษที่บ้าน

วิชาสังคมศึกษา มัธยม

เรื่องวงจรเศรษฐกิจ รายได้ประชาชาติ และการพัฒนาเศรษฐกิจ

เรียนสังคมศึกษาที่ระยอง บ่อวิน บ้าฉาง บ้านค่าย สัตหีบ พัทยา ศรีราชา บางแสน อมตะ




1.  วงจรเศรษฐกิจ

1.1  วงจรเศรษฐกิจ (กระแสการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ) หมายถึง การหมุนเวียนทางเศรษฐกิจระหว่างฝ่ายครัวเรือนและหน่วยธุรกิจ
1.2  หน้าที่ของฝ่ายครัวเรือนและหน่วยธุรกิจ
ฝ่ายครัวเรือน
      -  เป็นผู้ผลิตสินค้าและบริการ
      -  มีรายได้จากการขายผลผลิต และมีรายจ่ายจากการซื้อวัตถุดิบ
ฝ่ายธุรกิจ (หน่วยผลิต) เช่น บริษัท ห้างร้าน ธนาคาร 
      -  เป็นผู้จำหน่ายสินค้าและบริการ
      -  มีรายได้จากการขายสินค้า และรายจ่ายจากการซื้อผลผลิต
1.3  แผนภูมิวงจรเศรษฐกิจระบบใช้เงินเป็นสื่อกลาง

2.  รายได้ระดับประเทศ

2.1  GDP และ GNP
GDP (Gross Domestic Product ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) 
       -  หมายถึง รายได้ที่เกิดขึ้นภายในประเทศ
GNP (Gross National Product ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ) 
      -  หมายถึง รายได้ของคนในประเทศ

สูตร    :    GNP  =  GDP +  รายได้สุทธิจากต่างประเทศ
รายได้สุทธิจากต่างประเทศ  =  รายได้ที่คนในประเทศไปทำนอกประเทศ  -  รายได้ที่คนต่างประเทศมาทำในประเทศ
เช่น
GDP ของไทยปีนี้ = 5,000  ล้านบาท
รายได้ที่คนไทยไปทำในต่างประเทศ = 500  ล้านบาท
รายได้ที่คนต่างประเทศมาทำในไทย = 1,000  ล้านบาท
GNP เมืองไทยเท่ากับเท่าไร
  - GNP = 5,000 + (500 - 1,000) = 5,000 - 500 = 4,500 ล้านบาท

*** ประเทศกำลังพัฒนานิยมใช้ GDP แสดงรายได้ของประเทศ ทั้งนี้เพราะมักจะมีต่างประเทศเข้ามาลงทุนมากกว่าที่ไปลงทุนในต่างประเทศ
*** ประเทศพัฒนาแล้วนิยมใช้ GNP แสดงรายได้ของประเทศ ทั้งนี้เพราะนิยมไปลงทุนในต่างประเทศมากกว่าที่ต่างประเทศเข้ามาลงทุน

2.2  รายได้ประชาชาติ - รายได้ต่อบุคคล
  1.  รายได้ประชาชาติ - รายได้รวมของคนทั้งชาติ
    รายได้ต่อบุคคล - รายได้ประชาชาติ หาร จำนวนประชากร
2.  วิธีคำนวณรายได้ประชาชาติ
      1.  รายได้ - คำนวณจากรายได้รวมทั้งหมดในชาติ
      2.  รายจ่าย - การบริโภค + การออม(การลงทุน)
      3.  ผลผลิต - มูลค่าสินค้า - บริการทั้งหมดที่ประเทศผลิตได้ (มูลค่าผลผลิต ณ ตลาดสุดท้าย)

3. ประโยชน์
1.  รายได้ประชาชาติ
-  แสดงมูลค่าสินค้า - บริการทั้งหมดที่ประเทศผลิตได้
-  แสดงระดับการผลิตของภาคเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม
-  เปรียบเทียบความเจริญทางเศรษฐกิจ, เป็นเครื่องมือวางแผนทางเศรษฐกิจ

2.  รายได้เฉลี่ยต่อบุคคล
-  วัดความเป็นอยู่หรือมาตรฐานการครองชีพของประชนในแต่ละประเทศ
-  วัดระบบการพัฒนาเศรษฐกิจ
-  วัดฐานะเศรษฐกิจของประเทศ


3.  การพัฒนาเศรษฐกิจ

3.1  ลักษณะของประเทศกำลังพัฒนา
1.  ตกอยู่ในภาวะความยากจนเรื้อรัง (วัฎจักรของความยากจน) เนื่องมาจาก
      -  รายได้ต่ำ
      -  เงินออมน้อย
      -  ตลาดเล็กและแคบ เนื่องจากกำลังซื้อต่ำ ทำให้เสียเปรียบเรื่องการผลิต ซึ่งผลิตคราวละจำนวนน้อยๆ จึงใช้ต้นทุนสูงกว่า
      -  อัตราการเพิ่มประชากรสูง
      -  ประชากรส่วนมากเป็นเกษตรกรรมที่ใช้เทคโนโลยีต่ำ ทำให้ผลผลิตต่ำและต้องอาศัยวิทยาการจากต่างประเทศเพื่อนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ เศรษฐกิจของประเทศจึงขึ้นกับดุลการค้าต่างประเทศอยู่มาก
2.  ความแตกต่างในการกระจายรายได้สูง ทำให้เกิดเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ คือ เศรษฐกิจ - สังคมจะเจริญมากบริเวณเมืองหลวง ส่วนชนบทจะล้าหลัง
3.2  ความหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจ
      -  การพัฒนาเศรษฐกิจ หมายถึง การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม และ การเมือง เพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพให้สูงขึ้น
3.3  จุดมุ่งหมายและผลจากการพัฒนาเศรษฐกิจ
1.  จุดมุ่งหมายสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ คือ เพื่อให้ความเป็นอยู่ของคนในประเทศสูงขึ้น
2.  ผลจากการพัฒนาเศรษฐกิจ
      1.  ผลผลิตรวมสูงขึ้น รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลเพิ่มสูงขึ้น
      2.  ช่องว่างของการกระจายรายได้ลดลง
      3.  มาตรฐานการครองชีพประชากรสูงขึ้น
3.4  หลักเกณฑ์การวัดระดับการพัฒนาเศรษฐกิจและการแบ่งกลุ่มประเทศโดยใช้เกณฑ์ทางเศรษฐกิจ
1.  หลักเกณฑ์การวัดระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ
      1.  รายได้ต่อบุคคล
      2.  คุณภาพของประชากร
2.  การแบ่งกลุ่มประเทศโดยใช้เกณฑ์ทางเศรษฐกิจ
      1.  กลุ่มโลกที่หนึ่ง (ประเทศที่พัฒนาแล้ว) เป็นประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลสูงมากและมีการพัฒนาอุตสาหกรรมก้าวหน้ามาก เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น
      2.  กลุ่มโลกที่สอง (ประเทศสังคมนิยม) ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีเหนือ คิวบา
      3.  กลุ่มโลกที่สาม (ประเทศด้อยพัฒนา) เป็นประเทศที่ยากจน เช่น ประเทศในทวีปแอฟริกา ละตินอเมริกา และ เอเชีย
3.5  ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ
1.  ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การสะสมทุนสูง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทรัพยากร
ธรรมชาติสมบูรณ์ และประชากรเหมาะสม
2.  ปัจจัยทางการเมืองและสังคม เช่น เสถียรภาพทางการเมืองที่สร้างความมั่นใจแก่นักลงทุน
3.6  ทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจ
1.  แบบดั้งเดิม (ค.ศ.1940 - 1960)
      -  เชื่อว่าประเทศด้อยพัฒนาขาดแคลนทุน - เทคโนโลยี
      -  เน้นการแก้ปัญหาโดย รับความช่วยเหลือด้านเงินทุนจากต่างประเทศ ส่งเสริมการค้าเสรี - การลงทุน จากต่างประเทศ และซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการลงทุนในภาคเอกชนและ การผลิตในภาคอุตสาหกรรมและการบริการ นอกจากนี้ยังเน้นการลดอัตราการเกิดของประชากร
       -  แนวคิดนี้ปรากฏในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย ฉบับที่ 1 - 4
2.  แบบใหม่ (ค.ศ.1960 - 1980)
       -  เน้นการสร้างความเจริญด้านอุตสาหกรรม ควบคู่กับการแก้ปัญหาการกระจายรายได้ และความยากจนในชนบท และให้ความสำคัญกับปัจจัยอื่นๆ เช่น สังคม วัฒนธรรม และการเมืองด้วย
      -  แนวคิดนี้ปรากฏในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทยฉบับที่ 5 - 7
3.  แบบพึ่งตัวเอง (ค.ศ.1980)
      -  เน้นที่การพัฒนาประชากร และลดการพึ่งพิงประเทศพัฒนาแล้ว
3.7  การเก้าเข้าสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (Newly Industralized Countries, NICs)
1.  ปัจจัยที่ส่งเสริม เช่น
-  การใช้ทุนและเทคโนโลยีในการผลิตมากขึ้น และเน้นการผลิตด้านอุตสาหกรรม และบริการมากขึ้น
-  มีแรงงานมาก
-  การประกอบการที่ดี
-  มีธุรกิจแบบบริษัทมหาชนเพื่อระดมทุนได้มากๆ
-  เน้นการผลิตเพื่อการส่งออก โดยเน้นการผลิตจำนวนมาก ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ
-  มีประชากรที่มีคุณภาพ
2.  เกณฑ์ในการวัดความเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่
-  สัดส่วนสาขาเศรษฐกิจแบบหัตถอุตสาหกรรมเทียบกับ GDP ร้อยละ 20 ขึ้นไป
-  สัดส่วนการจ้างงานในสาขาหัตถอุตสาหกรรม ร้อยละ 25 ขึ้นไป
-  รายได้ต่อหัว 1,800 ดอลล่าร์สหรัฐขึ้นไป
-  สัดส่วนของการออมต่อ GDP มากกว่าร้อยละ 30 ขึ้นไป
-  ระดับความสามารถทางด้านเทคโนโลยีการผลิต มีการใช้เทคนิควิทยาการชั้นสูง
3.  ประเทศอุตสาหกรรมใหม่
-  เม็กซิโก บราซิล ชิลี อุรุกวัย อาร์เจนตินา ยูโกสลาเวีย อิสราเอล
-  เอเชียนิกส์เกาหลีใต้ ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์
-  คาดการณ์ว่าไทยจะเป็น Asian - Nics ประเทศที่ห้า (เสือตัวที่ห้าของเอเชีย)
3.8  การพัฒนาเศรษฐกิจที่ผิดพลาด
1.  การมุ่งกิจการเพื่อเศรษฐกิจของประเทศ หรือกิจกรรมที่ไม่ได้ใช้แรงงานที่มีอยู่ในประเทศ
2.  การมุ่งสร้างสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์แสดงความก้าวหน้าทางสังคม
3.  การสร้างกิจกรรมเพื่อผลประโยชน์ของประเทศอุตสาหกรรม เช่น ย้ายโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับสารพิษมาตั้งในประเทศกำลังพัฒนา









Total Rating ✔

9.2 stars – 2,789 reviews

More Reviews

แสดงความคิดเห็น

สรุปสังคมศึกษา เรื่องวงจรเศรษฐกิจ รายได้ประชาชาติ และการพัฒนาเศรษฐกิจ

สรุปสังคมศึกษา ม.ต้น, doc