สรุปวิชาภาษาไทย มัธยมต้น
การใช้ภาษาในการโต้แย้ง
การใช้ภาษาในการโต้แย้ง
การโต้แย้ง คือ การแสดงทรรศนะที่แตกต่างกันระหว่างบุคคล ๒ ฝ่าย โดยแต่ละฝ่ายพยายามใช้ข้อมูล สถิติ หลักฐาน เหตุผล รวมถึงการอ้างถึงทรรศนะของผู้รู้เพื่อสนับสนุนทรรศนะของตนและคัดค้านทรรศนะของอีกฝ่ายหนึ่งโครงสร้างของการโต้แย้ง
๑. เหตุผล และ ๒. ข้อสรุป ตัวอย่างเช่น โดยที่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนนี้ส่วนใหญ่ต้องการออกไปประกอบอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว (เหตุผล) ดังนั้น โรงเรียนจึงควรเปิดรายวิชาเลือก วิชาพื้นฐานอาชีพ เท่าที่หลักสูตรเปิดช่องให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ (ข้อสรุปหรือข้อเสนอทรรศนะ)หัวข้อและเนื้อหาของการโต้แย้ง ในการโต้แย้งแต่ละครั้ง ต้องกำหนดขอบเขตของประเด็นในการโต้แย้งให้ชัดว่าจะโต้แย้งในหัวข้อใดและมีประเด็นอะไรที่จะนำมาพิจารณา และต้องยึดหัวข้อตามที่กำหนดเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ทั้งนี้เนื้อหาในการโต้แย้งนั้นจะต้องคล้อยตามหัวข้อที่กำหนดไว้ด้วย
กระบวนการโต้แย้ง ๑. การตั้งประเด็นในการโต้แย้ง หมายถึง คำถามที่ก่อให้เกิดการโต้แย้งกัน จะมีทั้งประเด็นหลักและประเด็นรอง ๆ ลงไป ๑.๑. การโต้แย้งเกี่ยวกับนโยบายหรือข้อเสนอเพื่อให้เปลี่ยนแปลงสภาพเดิม ๑.๒. การโต้แย้งเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ๑.๓. การโต้แย้งเกี่ยวกับคุณค่า ๒. การนิยามคำและกลุ่มคำสำคัญที่อยู่ในประเด็นของการโต้แย้ง คือการกำหนดความหมายของคำหรือกลุ่มคำเพื่อให้เข้าใจตรงกัน โดยอาศัยพจนานุกรมหรือสารานุกรม หรือโดยวิธีการเปรียบเทียบก็ได้ ๓. การค้นหาและเรียบเรียงข้อสนับสนุนทรรศนะของตน ๔. การชี้ให้เห็นจุดอ่อนและความผิดพลาดของทรรศนะของฝ่ายตรงกันข้าม
การวินิจฉัยเพื่อตัดสินข้อโต้แย้ง๑. พิจารณาเฉพาะเนื้อหาสาระที่แต่ละฝ่ายได้นำมาโต้แย้งกันไม่พิจารณานอกเหนือไปจากนั้น๒. วินิจฉัยโดยใช้ดุลยพินิจของตนพร้อมกับพิจารณาคำโต้แย้งของทั้งสองฝ่ายโดยละเอียด
Total Rating ✔
9.2 stars – 2,789 reviews
More Reviews
อ่านรีวิว ทั้งหมดคลิก
แสดงความคิดเห็น
สรุปภาษาไทย เรื่องการใช้ภาษาในการโต้แย้ง
สรุปภาษาไทย ม.ต้น