สำรวจ
แนะนำ
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

ค้นหาด้วยเสียง
ค้นหาด้วยเสียงคลิกที่นี่

» » สรุปภาษาไทย เรื่องการใช้ภาษาแสดงทรรศนะ

27 ธันวาคม 2559

สรุปภาษาไทย เรื่องการใช้ภาษาแสดงทรรศนะ

สรุปวิชาภาษาไทย มัธยมต้น การใช้ภาษาแสดงทรรศนะ Tutor Ferry สอนพิเศษที่บ้าน 099-823-0343

สรุปวิชาภาษาไทย มัธยมต้น

การใช้ภาษาแสดงทรรศนะ

เรียนภาษาไทยที่บ้าน จ.ภูเก็ตแถวป่าตอง ถลาง กะทู้ เกาะแก้ว ราไวย์ ฉลอง





คำว่า  ทรรศนะ  โดยรูปศัพท์  หมายถึง  ความเห็น  การเห็น  อาจเขียนว่า  ทัศนะ  ก็ได้  สรุปความหมายคือ  ความคิดเห็นที่ประกอบด้วยเหตุผล  

โครงสร้างของการแสดงทรรศนะ

๑.  ที่มา  คือ  ส่วนที่เป็นเรื่องราวต่าง ๆ อันทำให้เกิดการแสดงทรรศนะ  ๒.  ข้อสนับสนุน  คือ  ข้อเท็จจริง  หลักการ  รวมทั้งทรรศนะและมติของผู้อื่นที่ผู้แสดงทรรศนะนำมาใช้  เพื่อประกอบกันให้เป็นเหตุผลสนับสนุนข้อสรุปของตน๓.  ข้อสรุป  คือ  สารที่สำคัญที่สุดของทรรศนะ  อาจเป็นข้อเสนอแนะ  ข้อวินิจฉัย  ข้อสันนิษฐาน  หรือการประเมินค่า

ความแตกต่างระหว่างทรรศนะของบุคคล

๑.  คุณสมบัติตามธรรมชาติของมนุษย์  คือ  คุณสมบัติที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด  เช่น  ความฉลาด  ไหวพริบ  เชาวน์ปัญญา  ปฎิภาณ  ความถนัด ฯลฯ๒.  อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม  เช่น  ความรู้  ประสบการณ์  ความเชื่อ  ค่านิยมที่แตกต่างกันออกไป  อันมีผลทำให้บุคคลมีทรรศนะที่แตกต่างกันออกไป

ประเภทของทรรศนะ

๑.  ทรรศนะเชิงข้อเท็จจริง  เป็นทรรศนะที่กล่าวถึงเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว  แต่คนในสังคมยังถกเถียงกันอยู่ว่า  ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเป็นอย่างไรแน่  การแสดงทรรศนะประเภทนี้จึงเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น ๒.  ทรรศนะเชิงนโยบาย  เป็นทรรศนะที่ชี้บ่งว่าควรทำอะไร  อย่างไร  ต่อไปในอนาคตหรือควรจะแก้ไข  ปรับปรุงสิ่งใด  ในทางใด  อย่างไร  นโยบายมีได้หลายระดับตั้งแต่  ระดับบุคคล  กลุ่มองค์กร  สถาบัน  ตลอดจนไปถึงระดับประเทศชาติ  ทรรศนะประเภทนี้ต้องบ่งชี้ให้น่าชัดว่า  สิ่งที่เสนอแนะให้ทำนั้น  มีขั้นตอนอย่างไร  มีเป้าหมายอะไร  เป็นประโยชน์อย่างไร ๓.  ทรรศนะเชิงคุณค่า  เป็นทรรศนะที่ประเมินว่าสิ่งใดดี  สิ่งใดเหมาะ  สิ่งใดเป็นประโยชน์  สิ่งใดด้อย  ผู้แสดงทรรศนะอาจประเมินค่าสิ่งนั้นโดยลำพังตัวของมันเอง  หรือประเมินโดยเปรียบเทียบกับสิ่งที่อยู่ในประเภทเดียวกัน  หรือมีลักษณะเป็นไปในทำนองเดียวกันตามเกณฑ์ที่กำหนดให้
ลักษณะของภาษาที่ใช้ในการแสดงทรรศนะ ๑.  ใช้คำที่แสดงความเป็นเจ้าของทรรศนะ  เช่น  ข้าพเจ้าคิดว่า .................... ผมขอสรุปว่า ..........ที่ประชุมมีมติว่า ................... พวกเราขอเสนอว่า ......................... ๒.  ใช้คำกริยาในข้อสรุปเพื่อเป็นการแสดงทรรศนะ  เช่น  น่า, ควร, พึง, คงจะ,  ๓.  ใช้คำหรือกลุ่มคำอื่น ๆ ที่สื่อความหมายไปในทางแสดงทรรศนะ  อาจเป็นการประเมินค่า  การแสดงความเชื่อมั่น  การคาดคะเน  
ปัจจัยที่ส่งเสริมการแสดงทรรศนะ๑.  ปัจจัยภายนอก  มีอาทิเช่น  สื่อ  ผู้รับสาร  บรรยากาศ  เวลา  สถานที่  บุคคลอื่น๒.  ปัจจัยภายใน  มีอาทิเช่น  ความสามารถในการใช้ภาษา  ความเชื่อมั่นในตนเอง  ความรู้และประสบการณ์  ทัศนคติ  สติปัญญาและความพร้อมทางกาย

การประเมินค่าทรรศนะ

๑.  ประโยชน์และลักษณะสร้างสรรค์  คำว่า “ประโยชน์” นี้หมายถึง ประโยชน์ทั้งส่วนน้อยและประโยชน์ส่วนใหญ่ ถ้าเป็นประโยชน์แก่คนส่วนน้อยหรือเฉพาะตนจะเป็นทรรศนะที่ไม่ดีนัก สำหรับทรรศนะในทางสร้างสรรค์นั้น   หมายถึง   การเสนอแนะที่ก่อให้เกิดสิ่งแปลกใหม่และธำรงสิ่งที่ดีงามของสังคมไว้ให้คงอยู่ตลอดไป ๒.  ความน่าเชื่อถือและความสมเหตุสมผล  ทรรศนะที่ดีข้อสนับสนุนจะต้องมีน้ำหนักที่น่าเชื่อถือ  เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปที่มีค่าควรแก่การยอมรับ ๓.  ความเหมาะสมกับผู้รับสารและกาลเทศะ    บางทรรศนะอาจนำเสนอแก่สาธารณชนได้  แต่บางทรรศนะก็มาสมควร  จึงต้องพิจารณาว่าทรรศนะนั้นมีความพอเหมาะพอดี  เหมาะแก่เวลาที่มีอยู่หรือไม่  เหมาะแก่สมรรถภาพของผู้รับสารหรือไม่ ๔.  การใช้ภาษา  จะต้องถูกต้อง  กะทัดรัด  ชัดเจน










Total Rating ✔

9.2 stars – 2,789 reviews

More Reviews

แสดงความคิดเห็น

สรุปภาษาไทย เรื่องการใช้ภาษาแสดงทรรศนะ

สรุปภาษาไทย ม.ต้น