Word order
Word order คือ การเรียงลำดับตำแหน่งคำของประโยคในภาษาอังกฤษนั้นเอง เพื่อให้การเขียนและการพูดภาษาอังกฤษ มีความไพเราะและถูกต้องในเรื่องของโครงสร้างประโยค ซึ่งมีหลักเกณฑ์สำคัญๆ อยู่ไม่กี่อย่าง Ungkrit.com ได้สรุปหลักสำคัญ มาให้ทุกคนได้เรียนรู้และง่ายต่อการทำความเข้าใจ
รูปประโยค
ประธาน + กริยา + กรรมตัวอย่าง: Cats+ eat+ fish
ประโยคคำถาม
กริยาช่วย + ประธาน + รูปกริยาที่มี To นำหน้าและทำหน้าที่เป็นนาม หรือ กริยาช่องที่ 3…?(ตัวอย่าง: Have you visited her?)
คำกริยาช่วย + ประธาน + รูปกริยาที่ทำหน้าที่เป็นนาม.....?
(ตัวอย่าง: Can you swim?)
Subject Question
Who + กริยา (ทั้งที่มี / และไม่มี กริยาช่วย)....?(ตัวอย่าง: Who has eaten the cake? Who ate the cake?)
Object Question
อะไร / ทำไม / เมื่อไร + กริยาช่วย + ประธาน + รูปกริยาทำหน้าที่เป็นนาม หรือ กริยาช่องที่ 3
(ตัวอย่าง: Why did you leave?)
กฎทั่วๆไป
คำคุณศัพท์ จะต้องอยู่ข้างหน้าและสอดคล้องกับนาม(ตัวอย่าง: Hungry, black cats eat raw and cooked fish)
กริยา จะต้องอยู่ข้างหน้าและสอดคล้องกับ คำที่ทำหน้าที่ขยายกริยา
(ตัวอย่าง: Although he was eating noisily, she watched quietly)
คำนำหน้านามจะต้องอยู่ข้างหน้าและสอดคล้องกับนาม
(ตัวอย่าง: The Vatican chose a Polish priest to be Pope)
การเรียงลำดับคำในประโยค
การเรียงลำดับคำในประโยคเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในภาษาอังกฤษ แต่ไม่ได้มีความซับซ้อนขนาดที่ว่ายากเกินที่จะทำความเข้าใจกับมัน และเราสามารถลดให้เหลือแต่หลักการสำคัญๆในการทำความเข้าใจกับ Word orderในรูปประโยคปกติ (ประโยคบอกเล่าทั่วๆไป) ประธานของประโยคจะต้องอยู่ก่อนหน้า กริยาเสมอ และกรรมตรง (ถ้าหากว่ามีในรูปประโยค) จะต้องตามหลังกริยาเสมอ
ตัวอย่าง:
The man wrote a letter. People who live in glasshouses shouldn't throw stones. The president laughed.
ให้จำไว้ว่าประธานของประโยค ไม่ได้หมายถึงคำเดี่ยวๆเพียงคำเดียว แต่หมายถึง คำนามหรือคำสรรพนามประอบกับการขยายวลีเข้าด้วยกัน ส่วนที่เหลือของประโยคที่ไม่ใช่ประธานเราจะเรียกว่าภาคแสดง
ตัวอย่าง: People who live in glasshouses shouldn't throw stones.
ถ้ารูปประโยคมีส่วนใดๆก็ตามที่เป็น กรรมรอง, กริยาช่วย, ข้อความที่มีคำกริยาวิเศษณ์ที่พ่วงบุพบทเข้าขยายกริยา ส่วนต่างๆเหล่านี้มักโดยปรกติแล้วมักจะวางตามมาในรูปประโยค
ตำแหน่งของกรรมรอง
กรรมรองจะอยู่ต่อท้าย กรรมตรง เมื่ออยู่รวมกับประโยคมีคำบุพบท to:
กรรมรองจะอยู่ ข้างหน้าของกรรมตรง ถ้ามี to อยู่ด้วย
ตัวอย่าง:
The doctor gave some medicine to the child.
The doctor gave the child some medicine.
กริยาช่วย หรือ กริยาวิเศษณ์วลี สามารถวางได้ 3 รูปแบบด้วยกัน ดังนี้
วางไว้อยู่หน้าประธาน ในรูปประโยค (จะอยู่รวมกับกริยาช่วย หรือ กริยาวลี)
ตัวอย่าง: Yesterday the man wrote a letter.
อยู่หลังกรรม (เสมือนว่ากริยาช่วยใดๆก็ตาม หรือ กริยาวิเศษณ์วลี สามารถวางได้ในรูปประโยคนี้)
ตัวอย่าง: The man wrote a letter on his computer in the train.
วางไว้ในตรงกลางของกลุ่มคำกริยา (อยู่ร่วมกับกริยาวิเศษณ์วลีทั่วไป)
ตัวอย่าง: The man has already written his letter.
ในภาษาอังกฤษแบบมาตรฐานนั้น โดยปกติแล้วจะไม่มีสิ่งใด มาขั้นระหว่างประธานและกริยา หรือ ระหว่างกริยาและกรรม ซึ่งมีข้อยกเว้นอยู่เล็กน้อย สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับกริยาช่วยและ กรรมรองที่ไม่มี to.
ตัวอย่าง: The man often wrote his mother a letter. I sometimes give my dog a bone.
ประโยคคำถาม
เราจำประโยคคำถามง่ายๆแบบนี้ ทีเราพูดในภาษาอังกฤษได้ไหม How do you do? เกือบจะทุกคำถามโครงสร้างประโยคคำถามส่วนมากในภาษาอังกฤษนั้น ได้อิงพื้นฐานมาจากรูปประโยคนี้ ( คำถาม + รูปกริยาทำหน้าที่เป็นนาม หรือ กริยาช่วย – ประธาน – กริยาหลัก + ส่วนที่เหลืองของประโยค(Question word) - Auxiliary or modal - subject - main verb - (plus the rest of the sentence):
ตัวอย่าง :
What did Tom Cruise do?
Did Arnold Schwarzenegger learn English quickly?
How quickly did Arnold Schwarzenegger learn English?
Has the representative from that German company sent us his invoice yet?
ข้อยกเว้น
แน่นอนที่สุดสำหรับกฎการใช้งานต่างๆนั้น จะต้องมีการยกเว้นในบางอย่าง คนที่เขียนภาษาอังกฤษ คนที่พูดภาษาอังกฤษในบางครั้งพวกเขาเหล่านั้นก็มีการใช้ Word order ที่มีความแตกต่างกันออกไป หรือ มีการใช้ในรูปประโยคที่ไม่ได้ใช้กันบ่อยๆ แต่ถ้าหากว่าเราไปให้ความสำคัญกับข้อยกเว้นในการใช้งานจนเกินไป เราอาจจะละเลยหลักการที่สำคัญๆ ของ word order ได้ และอาจทำให้เรื่อง word order ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ซับซ้อนมากนัก กลายเป็นเรื่องซับซ้อนสำหรับเราไปเลยก็ได้ และนี้เป็นตัวอย่างเพียงแค่เล็กน้อยเราควรจะตระหนักว่า Word order นั้นสามารถนำมาใช้ในภาษาอังกฤษได้ แต่อย่าพยายามใช้มันถ้าหากว่าไม่มีความจำเป็นต่อบริบทนั้นจริงๆ หรือถ้าหากคุณมีความชำนาญในการใช้ word order ในรูปแบบต่างๆแล้วจริง (อย่าพยายามวิ่ง จนกว่าคุณจะเดินได้อย่างมั่นคง)
ตัวอย่าง:
Never before had I seen such a magnificent exhibition.
(หลัง Never หรือ never before ประธานและกริยา สามารถแปลงเป็นรูปอื่นได้)
Hardly had I left the house, than it started to rain.
(เมื่อประโยคขึ้นต้นด้วย Hardly ประธานและกริยาจะต้องมีการเปลี่ยนรูป)
Had I known, I'd never have gone there.
(การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเมื่อในประโยคมีเงื่อนไขที่เป็นสมมุติฐาน และเมื่อ If ถูกละไว้)
The book that you gave me I'd read already.
(ในประโยคนี้มีกรรมที่มีความยาว คือ “The book that you gave” ถูกวางใน ตอนต้นของประโยคด้วย
รูปแบบของเหตุและผล ซึ่งเรามักจะไม่ค่อยได้เห็น โครงสร้างประโยคแบบนี้บ่อยนัก เป็นเพียงแค่การ
เขียนอีกรูปแบบหนึ่ง)
Total Rating ✔
9.2 stars – 2,789 reviews
More Reviews
อ่านรีวิว ทั้งหมดคลิก
แสดงความคิดเห็น
วิชาภาษาอังกฤษ มัธยมต้นเรื่อง Word order
บทความจาก TutorFerry, doc