Stative verb
คำกริยาเป็น Part of speech หนึ่งที่สำคัญมาก เนื่องจากเป็นส่วนที่จะสื่อสารข้อมูลซึ่งแสดงใจความสำคัญของประโยค ความเข้าใจที่ถูกต้องและครอบคลุมเกี่ยวกับคำกริยาจึงจำเป็นสำหรับผู้เรียนภาษาอังกฤษ
เมื่อนึกถึงคำกริยา คนส่วนใหญ่จะนึกถึงการกระทำบางอย่างที่ต้องมีการเคลื่อนไหว แสดงให้เห็นอาการบางอย่างของคน หรือ สัตว์ หากให้ผู้เรียนยกตัวอย่างคำกริยา คำตอบที่ได้มักจะได้แก่คำกริยาต่างๆซึ่งแสดงการเคลื่อนไหว หรือการกระทำในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา เช่น eat walk run speak sing write เป็นต้น คำกริยาลักษณะนี้เรียกว่าคำกริยาแสดงอาการ (action หรือ dynamic verbs) ซึ่งเป็นคำกริยาส่วนใหญ่ในภาษาอังกฤษ แต่คำกริยาไม่จำเป็นต้องแสดงการเคลื่อนไหวหรืออาการที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าเสมอไป และคำกริยาไม่จำเป็นต้องใช้กับสิ่งมีชีวิตเสมอไป คำกริยาที่ดำเนินอยู่ แต่มองไม่เห็น และยังสามารถใช้กับประธานที่เป็นคน สัตว์ หรือสิ่งของได้นี้คือคำกริยาแสดงสภาวะ หรือ stative verbs เป็นคำกริยาที่บรรยายให้เห็นสภาวะ (state) ไม่ใช่การกระทำ บางท่านอาจเรียกว่า abstract verbs เนื่องจากเป็นกริยาที่ไม่สามารถจับต้องได้ นอกจากนี้คำกริยากลุ่มนี้ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Nonprogressive verbs เนื่องจากเราไม่สามารถใช้คำกริยาแสดงสภาวะนี้ในรูปของ –ing ได้ประเภทของคำกริยาแสดงสภาวะ
คำกริยาแสดงสภาวะแบ่งออกได้เป็น 6 ประเภท หรือ 6 กลุ่ม ตามความหมายของมัน ดังนี้1. คำกริยาที่แสดงประสาทสัมผัสและการรับรู้ (Verbs of the senses and perception)
เป็นคำกริยาที่แสดงถึงการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการรับรู้สิ่งรอบตัวนั่นเอง ได้แก่คำต่อไปนี้
Feel see sound Hear smell taste
เช่น
Did you hear the explosion? คุณได้ยินเสียงระเบิดใหม่
The coffee smells so good.กาแฟกลิ่นหอมจัง
คำขยาย stative verbs ในกลุ่มนี้ ต้องใช้ adjectives เท่านั้น ไม่สามารถใช้ adverbs เหมือนคำกริยาโดย ทั่วๆไปได้ ซึ่งการขยายคำกริยากลุ่มนี้ด้วย adverbs เป็นข้อผิดพลาดที่พบเห็นเป็นประจำ
2. คำกริยาที่แสดงสภาวะทางความคิด (Verbs of Mental State)
เป็นคำกริยาที่แสดงถึงการทำงานของสมอง ระบบความจำ และระบบความคิด ซึ่งการทำงานเหล่านี้เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าว่าเกิดขึ้นจริงหรือไม่ หรือมีอยู่หรือไม่ ได้แก่คำต่อไปนี้
believe know recognize think
doubt mean remember understand
forget realize suppose
เช่น She believes that he loves her.
I doubt that the money will arrive in time.
I forgot to turn off the light.
3. คำกริยาที่แสดงความเป็นเจ้าของ (Verbs of Possession)
คน หรือสัตว์สามารถเป็นเจ้าของสิ่งต่างๆได้โดยไม่จำเป็นต้องประกาศความเป็นเจ้าของนั้นๆให้สาธารณชนรับรู้เสมอไป แต่สภาวะความเป็นเจ้าของก็ยังคงมีอยู่ คำกริยาแสดงความเป็นเจ้าของได้แก่คำต่อไปนี้
belong own have possess
เช่น
My grandfather owns this farm.
คุณปู่ผมเป็นเจ้าของฟาร์มนี้
That bone belongs to Bobby.
กระดูกท่อนนั้นเป็นของเจ้าบ๊อบบี้
4. คำกริยาแสดงความรู้สึกหรืออารมณ์ (Verbs of Feeling or Emotion)
ความรู้สึกและอารมณ์อาจเกิดขึ้นแล้วหายไป แต่ความรู้สึกและอารมณ์บางอย่างอาจเกิดขึ้นแล้วและคงอยู่ต่อไปเป็นเวลานานก็ได้ ดังนั้นความรู้สึกและอารมณ์จึงมีลักษณะเป็นสภาวะที่เก็บอยู่ในใจคนโดยที่ผู้อื่นอาจไม่รับรู้ก็เป็นได้ คำกริยาที่แสดงความรู้สึกและอารมณ์ได้แก่คำกริยาต่อไปนี้
adore fear love prefer
astonish hate mind surprise wish
enjoy like please envy
เช่น
Wilbur adores charlotte.
วิลเบอร์ชื่นชมชาร์ลอตต์
The news astonished us.
ข่าวนี้ทำให้เราประหลาดใจ
We enjoyed our holidays so much.
เราสนุกสนานกับวันหยุดของเราอย่างมาก
5. คำกริยาแสดงการวัดหรือประมาณค่า (Verbs of Measurement)
หลายๆคนอาจสงสัยว่าเพราะเหตุใดจึงจัดคำกริยาแสดงการวัดหรือประมาณอยู่ในกลุ่มของคำกริยาที่แสดงสภาวะ เพราะการวัดปริมาณน่าจะต้องมีการใช้เครื่องมือบางอย่างมาทำการวัด กริยาในกลุ่มนี้ได้แก่คำต่อไปนี้
contain equal weigh
cost measure
เช่น
The ring is nice, but it costs too much.
แหวนวงนี้สวยดี แต่มันแพงไปหน่อย
The whole package contains four books.
ทั้งห่อมีหนังสือ 4 เล่ม
6. คำกริยาแสดงสภาวะอื่นๆ (Verbs that express states)
นอกเหนือจากกลุ่มคำแสดงสภาวะทั้ง 5 กลุ่มที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีคำแสดงสภาวะอื่นๆอีก ดังนี้
be owe seem
exist require
เช่น
The town is three miles away.
ตัวเมืองอยู่ห่างออกไป 3 ไมล์
You seem sad today.
วันนี้เธอดูเศร้าๆนะ
การใช้คำกริยาแสดงสภาวะ
ใช้คำกริยาแสดงสภาวะในกรณีต่อไปนี้1. เมื่อต้องการแสดงให้เห็นสภาวะใดสภาวะหนึ่ง โดยสิ่งๆนั้นจะยังคงสภาพนั้นต่อๆไปโดยไม่เปลี่ยนแปลง อย่างน้อยชั่วระยะเวลาหนึ่ง เช่น
The theatre is small.
โรงละครเล็ก
She has a cat.
เธอมีแมวหนึ่งตัว
We own a factory.
เราเป็นเจ้าของโรงงานหนึ่งโรง
ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้คำกริยาแสดงสภาวะในรูปของ progressive ได้
We have two cars. (ใช้ได้)
We are having two cars. (ใช้ไม่ได้)
2. มี stative verbs อยู่จำนวนหนึ่งที่มีทั้งความหมายที่แสดงสภาวะ (stative meaning) และความหมายที่แสดงอาการ (active meaning) เวลาใช้จึงควรระวัง เพราะถ้าใช้ในความหมายที่แสดงสภาวะ จะเป็น progressive ไม่ได้ แต่ถ้าใช้ในความหมายที่แสดงอาการ จะเป็น progressive ได้ ผู้เรียนที่ไม่ทราบข้อเท็จจริงนี้มักจะจำเป็นกฎตายตัวว่าห้ามเปลี่ยนรูป stative verb เป็น progressive form ซึ่งกฎข้อนี้ใช้ไม่ได้กับ verb กลุ่มนี้ เช่น
Julie appears happy. (stative)
จูลี่ดูมีความสุข
Julie is appearing in a new show. (active)
จูลี่จะปรากฏตัวในการแสดงชุดใหม่
I think it is a good idea. (stative)
ฉันคิด(เชื่อ)ว่ามันเป็นความคิดที่ดี
I am thinking about the problem. (active)
ฉันกำลังคิดตรึกตรองเกี่ยวกับปัญหาอยู่
3. เมื่อใช้ verb to be + adjective ความหมายมักจะเป็นการแสดงสภาวะมากกว่าการกระทำ เช่น
He is tall.
The mango is sweet.
The bacons are crispy.
อย่างไรก็ตาม เมื่อใช้ verb to be + adjective ใน progressive form ประโยคนั้นจะหมายถึงสิ่งซึ่งมีสภาวะชั่วคราว และ adjective ซึ่งตามหลัง verb to be จะต้องกล่าวถึงพฤติกรรมที่ประธานของประโยคสามารถควบคุมได้
เช่น
He is polite. (แสดงลักษณะนิสัยซึ่งเป็นนิสัยแท้ๆของเขา)
เขาเป็นคนสุภาพ.
Total Rating ✔
9.2 stars – 2,789 reviews
More Reviews
อ่านรีวิว ทั้งหมดคลิก
แสดงความคิดเห็น
วิชาภาษาอังกฤษ มัธยมต้น เรื่อง Stative verbs
บทความจาก TutorFerry