สำรวจ
แนะนำ
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

ค้นหาด้วยเสียง
ค้นหาด้วยเสียงคลิกที่นี่

» » วิชาภาษาไทย ม.2 เรื่องข้อสังเกตเกี่ยวกับคำราชาศัพท์

03 พฤศจิกายน 2559

วิชาภาษาไทย ม.2 เรื่องข้อสังเกตเกี่ยวกับคำราชาศัพท์

คำ “ราชาศัพท์” แปลตามตัวว่า “ศัพท์เฉพาะราชา” แต่ปัจจุบันหมายถึง คำสุภาพที่ใช้กับบุคคล 5 ประเภท คือ พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ พระสงฆ์ และคนสุภาพ

คำราชาศัพท์

คำ  “ราชาศัพท์”  แปลตามตัวว่า  “ศัพท์เฉพาะราชา”  แต่ปัจจุบันหมายถึง  คำสุภาพที่ใช้กับบุคคล 5 ประเภท  คือ  พระมหากษัตริย์  พระบรมวงศานุวงศ์  ข้าราชการ  พระสงฆ์  และคนสุภาพ


ที่มี  คำราชาศัพท์มาจากภาษาเขมร  เช่น  เสวย  เสด็จ  ถวาย (ตังวาย)  ขนง  และมาจากภาษาบาลีสันสกฤต  เช่น  ประพาส  มเหสี  


คำ  “ราชาศัพท์”  แปลตามตัวว่า  “ศัพท์เฉพาะราชา”  แต่ปัจจุบันหมายถึง  คำสุภาพที่ใช้กับบุคคล 5 ประเภท  คือ  พระมหากษัตริย์  พระบรมวงศานุวงศ์  ข้าราชการ  พระสงฆ์  และคนสุภาพ 


ข้อสังเกตเกี่ยวกับคำราชาศัพท์

1. คำว่า “จงรักภักดี”  ใช้คำว่า “มี”  กับ  “แสดง”  ไม่ใช้คำว่าถวาย  เพราะไม่ใช่สิ่งของ              ถวายไม่ได้
2. คำว่า “ต้อนรับ”  ใช้คำว่า  เฝ้าฯ รับเสด็จ
3. “อาคันตุกะ” แขกถ้าเป็นแขกของพระราชาใช้ว่า  พระราชอาคันตุกะ  ถ้าเป็นแขกของประธานาธิบดีใช้ว่า  “อาคันตุกะ” ธรรมดาให้ดูที่เจ้าของบ้าน
4. การ “ถวาย” ของถ้าเป็น  หมวก  แหวน  ให้ใช้คำธรรมดา  เพราะพระเจ้าแผ่นดินยังไม่ได้ทรงใส่  เช่น  ถวายแหวน  ถวายหมวก  ต่อเมื่อพระราชาใช้ของนั้นแล้ว  “หมวก  แหวน”  จึงใช้คำราชาศัพท์ได้เป็น  พระมาลา  พระธำมรงค์  เป็นต้น
5. การถวายของใหญ่ให้ใช้ว่า  “น้อมเกล้าฯ ถวาย”  เพราะของใหญ่ยกไม่ไหว                                 ส่วนถวายของเล็กใช้ว่า “ทูลเกล้าฯ ถวาย”  อ่านเต็มๆ ว่า ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย  เช่น  ทูลเกล้าฯ  ถวายเงิน , น้อมเกล้าฯ ถวายรถยนต์ เป็นต้น
6. คำที่เป็นคำธรรมดาจะให้เป็นคำราชาศัพท์ให้ใช้ “ทรง”  นำหน้า  เช่น  ทรงเรือใบ                  ทรงดนตรี  ทรงม้า  ทรงกีฬา
7. ถ้าคำที่เป็นคำราชาศัพท์อยู่แล้ว  ไม่ต้องใช้ทรงนำหน้าอีก  เช่น  เสด็จ  อาพาธ  ประชวร  บรรทม  ตรัส  ประพาส  เป็นต้น
8. คำว่า “หลวง”  “ต้น”  ใช้กับของใช้ของพระราชา  เช่น  ม้าต้น  ช้างต้น  เรือหลวง               ยกเว้น เมียหลวง  ไม่ใช่คำราชาศัพท์
9. คำว่า “พระ”  “พระราช”  “พระบรม”  “พระบรมราช”  ใช้กับพระราชาถ้ามี
คำว่า “บรม”  เช่น  พระบรมราชโองการ  บรมรูปทรงม้า  บรมราชวัง  
คำว่า  “พระราช” จะเกี่ยวข้องกับพระราชา  เช่น  พระราชโอรส  พระราชวัง  พระราชดำรัส
คำว่า “พระ”  มักจะเกี่ยวข้องกับอวัยวะ  เช่น  พระเนตร  พระกรรณ  พระอุระ  พระขนง  ยกเว้น  พระเอก  พระเครื่อง  พระอัยมณี  ไม่ใช่คำราชาศัพท์
10. คำกล่าวต่างๆ 
- สบายดี  เวลาตอบ  “ขอเดชะพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อมข้อพระพุทธเจ้าสบายดี  พระพุทธเจ้าข้า”
- เล่าสิ่งน่าเกลียดน่ากลัว  ข่าวร้ายใช้ว่า  “ขอเดชะพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อมไม่ควรกราบบังคมทูลพระกรุณาพระพุทธเจ้าข้า”
- เล่าสิ่งที่ผิดพลาดไม่ควรทำ  ใช้ว่า  “ขอพระราชอาญาไม่พ้นเกล้าพ้อนกระหม่อม”
- ชื่ออะไร  ควรตอบว่า “ขอเดชะพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม  ข้าพระพุทธเจ้าชื่อ  สมชาย  ภักดี  พระพุทธเจ้าข้า”
- ขอบคุณ  “ขอเดชะพระคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม”  หรือ  “พระกรุณาล้นเกล้าล้นกระหม่อม”
- แสดงความเห็น  “เห็นด้วยกระหม่อม”
ราชาศัพท์สำหรับพระสงฆ์  อาตมา  โยม (สรรพนามบุรุษที่ 2) ฉัน (กิน) จังหัน (อาหาร)            จำวัด (นอน) นิมนต์ ,อาราธนา (เชิญ) ทำวัตร (สวดมนต์) อาพาธ (ป่วย) มรณภาพ (ตาย)
11. หมายกำหนดการ  ใช้กับงานพระราชพิธี  ถ้างานธรรมดา  ใช้ว่า “กำหนดการ”

คำสุภาพ

พออนุมานได้ว่าเป็นคำที่มีลักษณะ  ดังนี้
1. ไม่เป็นคำห้วนหรือคำกระด้าง ซึ่งพูดแล้วดูเป็นแสดงว่าไม่เคารพ  เช่น  พูดทำอุทาน  เออ  โว้ย  หา  เป็นต้น  หรือคำพูดห้วนๆ เช่น  เปล่า  ไม่มี  เมื่อจะพูดคำเหล่านี้ก็เปลี่ยนให้เป็นคำที่มีสำเนียงอ่อน  เช่น  มิได้  หามิได้  เป็นต้น
2. ไม่เป็นคำหยาบ  เช่น  ขี้  เยี่ยว  อ้าย  อี  เมื่อจะพูดถึงคำเหล่านี้ก็เปลี่ยนใช้คำอื่นเสีย  เช่น อุจจาระ  ปัสสาวะ  สิ่งนี้  สิ่งนั้น  บางคำที่มี  อ้าย  อี  เป็นชื่อ  เช่น  ปลาอ้าบ้า  อีเลิ้ง  ก็เปลี่ยนเป็น  ปลาบ้า  นางเลิ้ง  เป็นต้น
3. ไม่เป็นคำที่นิยมเปรียบเทียบกับของหยาบ  คำที่นิยมเปรียบเทียบกับของอันไม่บังควรก็เปลี่ยนเสีย  แต่ปัจจุบันรู้สึกไม่ค่อยเคร่งครัดนัก  เช่น  ปลาช่อน  เรียก  ปลาหาง  , สากกระเบือ  เรียก  ไม้ตีพริก

ตัวอย่างคำสุภาพ

ปลาหาง ปลาช่อน
ปลาใบไม้ ปลาสลิด
ปลายาว ปลาไหล
ปลามัจฉะ ปลาร้า
ปลาลิ้นสุนัข ปลาลิ้นหมา
ผลอุลิด แตงโม
ฟักเหลือง ฟักทอง
ผักสามหาว ผักตบชวา
ผักทอดยอด ผักบุ้ง
ผักรู้นอน ผักกระเฉด
ดอกมณฑาขาว ดอกยี่หุบ
หมอผดุงครรภ์ หมอตำแย
ตัวอย่างการใช้คำสุภาพที่มีคำว่าใส่
ใส่บาตร ตักบาตร
ใส่หมวก สวมหมวก
ใส่ดุม ขัดดุม
ใส่กำไล สวมกำไล
ใส่สร้อย ผูกสร้อย
ใส่จี้ ผูกจี้
ใส่โซ่  ใส่ตรวน จำโซ่  จำตรวน
ใส่กุญแจ ลั่นกุญแจ
ใส่รถใส่เรือ บรรทุกรถบรรทุกเรือ

Total Rating ✔

9.2 stars – 2,789 reviews

More Reviews

แสดงความคิดเห็น

วิชาภาษาไทย ม.2 เรื่องข้อสังเกตเกี่ยวกับคำราชาศัพท์

บทความจาก TutorFerry