สำรวจ
แนะนำ
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

ค้นหาด้วยเสียง
ค้นหาด้วยเสียงคลิกที่นี่

» » ผลสำรวจเด็กนักเรียนไทยกับการอ่านและการเขียนภาษาไทย

09 พฤศจิกายน 2559

ผลสำรวจเด็กนักเรียนไทยกับการอ่านและการเขียนภาษาไทย

ปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ และอ่านน้อย ถือเป็นวิกฤตใหญ่ที่ประเทศไทยต้องเร่งแก้ไข ก่อนที่ศักยภาพของคนไทยจะด้อยลง ที่สำคัญ การเพิ่มปริมาณการอ่าน หรือคนอ่านให้มากขึ้นไม่ใช่เพียงปัจจัยเดียวที่ต้องคำนึงถึง แต่การอ่านอย่างมีคุณภาพก็ต้องพัฒนาควบคู่กันไปด้วย โดยเฉพาะการอ่านไม่ละเอียด และจับใจความสำคัญไม่ได้ จนกลายเป็นประเด็นดรามากันอยู่เนืองๆ บนโลกโซเชียล

เรียนภาษาไทยที่บ้าน อุดร ขอนแก่น มหาสารคาม โคราช ระยอง ชลบุรี สงขลา ภูเก็ต เชียงใหม่ สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี กรุงเทพ

       

ผลสำรวจนักเรียนชั้น ป.1 ครั้งที่ 1 เดือน มิ.ย. 2558 พบว่า 


  • มีนักเรียนอ่านไม่ออกร้อยละ 11.5 
  • เขียนไม่ได้ร้อยละ 8.7 


การสำรวจครั้งที่ 2 เดือน ก.ค. 2558 

  • นักเรียนอ่านไม่ออกลดลงเหลือร้อยละ 5.6
  • เขียนไม่ได้เหลือร้อยละ 5.0 



ผลสำรวจนักเรียนชั้น ป.2 การประเมินครั้งที่ 1 



  • อ่านไม่ออก ร้อยละ 8.2 
  • เขียนไม่ได้ร้อยละ 11.2 


ประเมินครั้งที่ 2 

  • เหลืออ่านไม่ออกร้อยละ 5.0 
  • เขียนไม่ได้ร้อยละ 7.0 



ผลสำรวจนักเรียนชั้น ป.3 ครั้งที่ 1 



  • อ่านไม่ออกร้อยละ 5.0 
  • เขียนไม่ได้ร้อยละ 7.6 


ครั้งที่ 2 

  • เหลืออ่านไม่ออกร้อยละ 2.8 
  • เขียนไม่ได้ร้อยละ 5.3

       

ผลสำรวจชั้น ป.4 ครั้งที่ 1 


  • อ่านไม่คล่องร้อยละ 4.4 
  • เขียนไม่คล่องร้อยละ 11.3 


ครั้งที่ 2 

  • เหลืออ่านไม่คล่องร้อยละ 2.5 
  • เขียนไม่คล่องร้อยละ 8.1 



ผลสำรวจชั้น ป.5 ครั้งที่ 1 



  • อ่านไม่คล่องร้อยละ 3.5 
  • เขียนไม่คล่องร้อยละ 9.7 


ครั้งที่ 2 

  • เหลืออ่านไม่คล่องร้อยละ 1.9 
  • เขียนไม่คล่องร้อยละ 6.6 



ผลสำรวจชั้น ป.6 ครั้งที่ 1 



  • อ่านไม่คล่องร้อยละ 2.6 
  • เขียนไม่คล่องร้อยละ 7.0 


ครั้งที่ 2 

  • อ่านไม่คล่องร้อยละ 1.4 
  • และเขียนไม่คล่องร้อยละ 4.7


       
       แม้แนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ สพฐ. ได้พัฒนาให้แก่โรงเรียน การจัดสอนเสริมให้แก่นักเรียนที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาเป็นรายบุคคล การเรียนการสอนแบบแจกลูกสะกดคำ และอาศัยโรงเรียนต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ จะประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง แต่ถือว่ายังไม่ทั้งหมด
       
      " เพราะเด็กที่ยังมีปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ เด็กชายขอบที่อยู่ตามโรงเรียนห่างไกล และไม่ได้ใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน ขณะที่ครูตามพื้นที่ห่างไกลก็ยังคงขาดแคลนด้วยเช่นกัน ครู 1 คนอาจต้องสอนหลายวิชา และไม่ได้มีความชำนาญในวิชาที่สอน "

ผลสำรวจเด็กนักเรียนไทยกับการอ่านและการเขียนภาษาไทย

อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ซ้ำร้าย “อ่านน้อย” จับประเด็นไม่ได้ วิกฤตใหญ่ที่ไทยต้องแก้


        น.ส.ธนิกานต์ ทาอ้าย ครูประจำโรงเรียนวัดงิ้วเฒ่า อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ แนะนำถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาตรงนี้ ว่า อาจจะต้องเริ่มตั้งแต่การสร้างจิตวิญญาณของครูขึ้นมาใหม่ แน่นอนว่าครูตามพื้นที่ห่างไกล มีจำนวนน้อย ไม่เพียงพอต่อนักเรียน และอาจไม่ได้เชี่ยวชาญวิชาภาษาไทยที่จะสอนเด็ก แต่หากครูมีจิตวิญญาณของความเป็นครู ก็จะรู้จักขวนขวายหาวิธี หาเทคนิคในการสอนนักเรียนให้เข้าใจได้ อย่างวิชาภาษาไทย เด็กอาจไม่เข้าใจเรื่องการเปลี่ยนรูปแปลงร่างของสระ หากหาวิธีเทคนิคในการสอนมาทำให้เด็กเข้าใจได้ก็จะช่วยให้เด็กอ่านออกเขียนได้มากขึ้น
       
       “การที่เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้นั้น ไม่ใช่ความผิดของเด็ก แต่ครูควรกลับมาประเมินตัวเองใหม่ว่าเราทำหน้าที่ดีแล้วหรือยัง หากครูต้องการให้เด็กพัฒนาจริง ครูก็ต้องพัฒนาตัวเองก่อน ทำการบ้านเพิ่มที่จะมาสอนเด็กแล้วมาดูกันว่าการเรียนการสอนจะสัมฤทธิ์ผลมากขึ้นหรือไม่”
       
       ถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของ ศธ. เพราะแม้หลักสูตร ระบบการเรียนการสอนต่างๆ จะดี มีการบรรจุครูในพื้นที่ห่างไกลเพิ่ม แต่หากสร้างจิตวิญญาณครูขึ้นมาไม่ได้ก็ไม่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาวงการศึกษาของเด็กไทย
       
       นอกจากนี้ ปัญหาการ “อ่านน้อย” ของคนไทย ถือว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานอีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้เด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ รศ.พญ.นิชรา เรืองดารกานนท์ หัวหน้าหน่วยพัฒนาการเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี อธิบายว่า มีผลวิจัยมานานแล้วว่า หากพ่อแม่อ่านหนังสือให้เด็กฟังตั้งแต่แรกเกิด จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีกว่าเด็กที่ไม่ได้อ่านหนังสือให้ฟัง และยิ่งพ่อแม่ใช้เวลาอ่านหนังสือให้ลูกฟังมาก จนเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเด็ก ก็จะทำให้เด็กโตมาพร้อมกับการรักการอ่านหนังสือไปด้วย
       
       อย่างไรก็ตาม จากผลสำรวจดัชนีวัฒนธรรมการอ่านของคนไทย ภายใต้โครงการการสร้างตัวชี้วัดวัฒนธรรมการอ่านระยะที่ 2 ที่จัดทำโดยเครือข่ายเสียงประชาชน (We Voice) เสนอต่อแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการวางแผนส่งเสริมการอ่านนั้น พบว่า 

        กลุ่มประชาชนทั่วไปจำนวน 1,753 ตัวอย่าง ใช้เวลาอ่านผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์ โดยใช้เวลาอ่านผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ 166 นาทีต่อสัปดาห์ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 222.5 นาทีต่อสัปดาห์ ร้อยละ 44.6 ไม่ซื้อหนังสือเลย สาเหตุที่ทำให้ไม่อยากอ่านหนังสือหรือสื่ออ่านต่าง ๆ เพราะชอบฟังวิทยุ ดูทีวีมากกว่าคิดเป็นร้อยละ 30.7 ไม่มีเวลาอ่าน ร้อยละ 29 และสายตาไม่ดี ร้อยละ 19.4 นอกจากนี้ ร้อยละ 4.3 อ่านหนังสือไม่ออก เมื่อพิจารณาจากกำลังซื้อพบว่า ร้อยละ 18.2 มองว่า หนังสือมีราคาแพงเกินไป ร้อยละ 8.3 ไม่มีเงินซื้อ และร้อยละ 10.4 ไม่มีแหล่งให้ยืมหนังสือ ทั้งนี้ เมื่อนำผลทั้งหมดมาคำนวณดัชนีวัฒนธรรมการอ่านของประชาชนทั่วไปมีค่าเท่ากับ 40.4 หมายความว่าประเทศไทยยังมีวัฒนธรรมการอ่านที่น้อย หรืออาจเทียบเคียงได้ว่าคนไทยอ่านหนังสือเพียง 40.4 หน้าโดยเฉลี่ยแทนที่จะเป็น 100 หน้า
       
       ขณะที่กลุ่มเด็กปฐมวัย สำรวจข้อมูล 398 ตัวอย่าง จากพ่อแม่ผู้ปกครองพบว่า ระยะเวลาที่ใช้ในการอ่านหนังสือให้เด็กฟังเท่ากับ 709.5 นาทีต่อสัปดาห์ แบ่งเป็นการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ให้เด็กฟังเฉลี่ย 615.8 นาทีต่อสัปดาห์ และอ่านผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 70.9 นาทีต่อสัปดาห์ โดยร้อยละ 74.6 มีการซื้อหนังสือให้เด็กอ่าน เมื่อสำรวจกิจกรรมที่ทำร่วมกันในครอบครัวที่ช่วยส่งเสริมการรักการอ่าน หรือการสร้างวัฒนธรรมการอ่านให้กับเด็กในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 62.6 มีการทำกิจกรรมร่วมกัน โดยร้อยละ 83.2 อ่านหนังสือให้เด็กฟัง รองลงมาเป็นการให้คำชมเวลาเด็กอ่านหนังสือ ร้อยละ 81.3 และใช้เวลาอ่านหนังสือด้วยกันร้อยละ 78.6 เมื่อคำนวณค่าดัชนีวัฒนธรรมการอ่านเด็กปฐมวัยเท่ากับ 49.6 คือ มีพ่อแม่การอ่านหนังสือให้เด็กฟังในระดับปานกลาง
       
       การแก้ปัญหาการอ่านน้อย รศ.พญ.นิชรา กล่าวว่า ต้องเริ่มตั้งแต่ช่วงแรกเกิดเลย โดยเด็กปฐมวัยอายุแรกเกิดจนถึง 6 ขวบ พ่อแม่จำเป็นต้องอ่านหนังสือให้ลูกฟัง แต่ไม่อยากให้พ่อแม่มองว่าอ่านเพื่อให้เด็กเรียนรู้หรือรักการอ่าน แต่อยากให้มองว่าหนังสือเป็นของเล่นชิ้นหนึ่งสำหรับเด็ก ใช้เป็นสื่อในการส่งเสริมพัฒนาการ เพราะเด็กเล็กยังไม่รู้หรอกว่าอันนี้คือของเล่น อันนี้คือหนังสือ อะไรคือบันเทิง อะไรคือความรู้ เขารู้เพียงว่าพ่อแม่นั้นสำคัญสำหรับเขา และมีอะไรที่อยู่รอบตัวเขา หากพ่อแม่อ่านหนังสือให้เขาฟังด้วยความสนุกสนาน รอบตัวเขามีแต่หนังสือ เขาก็จะรู้สึกสนุกและคลุกคลีอยู่กับหนังสือ 


        “การอ่านหนังสือให้ลูกฟังช่วยส่งเสริมพัฒนาการลูกในหลายด้าน อย่างกล้ามเนื้อมัดใหญ่ แม้จะดูว่าส่งเสริมได้น้อย แต่หากพ่อแม่อ่านหนังสือสำหรับเด็กแล้วเล่นไปกับเขาด้วย ทำให้เขาสนุกสนาน เช่น เนื้อหาในหนังสือสำหรับเด็กพูดถึงลูกบอล ก็ให้ลูกลองไปหยิบลูกบอล เป็นต้น และยังเป็นการเสริมสร้างสติปัญญาให้เด็กด้วย ให้เด็กได้เห็นว่าในรูปเป็นอย่างไร แล้วของจริงนั้นเป็นอย่างไร ส่วนกล้ามเน้อมัดเล็กอย่างการใช้มือหยิบจับ หนังสือสำหรับเด็กก็จะมีบางส่วนที่ทำลักษณะแบบป๊อปอัปให้เด็กได้พลิกเปิด ตรงนี้ก็ถือเป็นการช่วยเสริมพัฒนาการเช่นกัน และยิ่งอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่แรกเกิด เด็กก็จะมีโอกาสพัฒนาการมากกว่า”
       
       รศ.พญ.นิชรา กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ไม่ค่อยนิยมซื้อหนังสือสำหรับเพราะมีราคาแพง และหนังสือสำหรับเด็กที่ไทยทำเองนั้นหายากมาก ส่วนใหญ่เป็นหนังสือสำหรับเด็กแบบแปลภาษา หากจะทำให้พ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่เล็ก มองว่ากรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ควรฟื้นโครงการหนังสือเล่มแรกสำหรับเด็กแรกเกิดให้กลับมาอีกครั้งก็จะสามารถช่วยแก้ปัญหาการอ่านน้อย และช่วยวางรากฐานการเรียนรู้ให้แก่เด็กได้ นอกจากนี้ อยากสนับสนุนให้คนไทยซื้อหนังสือให้แก่กัน เพื่อสนับสนุนการอ่าน อย่างปีใหม่หากซื้อหนังสือเป็นของขวัญให้กันได้ก็ถือเป็นเรื่องดี 

        ขณะที่ นางศกุนตลา สุขสมัย รองผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (สวก.) สพฐ. ให้ความเห็นว่า ปัจจัยที่คนไม่อ่านหนังสือค่อนข้างซับซ้อน อย่างที่ระบุว่าหนังสือราคาแพง คนไม่มีเงินซื้อหนังสือจึงทำให้คนไม่ซื้อหนังสืออ่านนั้น ก็ไม่ได้แปลว่าหากหนังสือราคาถูกลง คนมีเงินจะซื้อหนังสือ ก็จะซื้อหนังสือมาอ่าน ประเด็นสำคัญ คือ จะต้องทำให้คนเห็นความสำคัญของการอ่านก่อน ซื้อหนังสือให้เป็นของขวัญ ชวนให้คนอยากอ่าน ส่วนในกลุ่มเด็กนักเรียนที่ผ่านมาจะมองว่าการอ่านหนังสือคืออ่านหนังสือสอบ เข้าห้องสมุดเพื่อหาความรู้ และห้องสมุดก็ไม่มีหนังสือที่เขาสนใจจะอ่าน สพฐ. ได้พยายามปรับห้องสมุดของโรงเรียนในสังกัดใหม่ โดยทำให้โรงเรียนเห็นความสำคัญในการทำให้นักเรียนเข้าห้องสมุด จัดทำห้องสมุดให้เด็กสนใจเข้าไปอ่าน มีหนังสือที่หลากหลาย นอกจากนี้ ยังต้องเดินหน้าการส่งเสริมการอ่านควบคู่ไปด้วย รวมถึงอาจหาต้นแบบของบุคคลที่เป็นแรงบันดาลมาช่วยส่งเสริมให้เด็กอยากอ่าน ก็จะสามารถช่วยให้เด็กนักเรียนอ่านหนังสือมากขึ้นได้
       

       ปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ และอ่านน้อย ถือเป็นวิกฤตใหญ่ที่ประเทศไทยต้องเร่งแก้ไข ก่อนที่ศักยภาพของคนไทยจะด้อยลง ที่สำคัญ การเพิ่มปริมาณการอ่าน หรือคนอ่านให้มากขึ้นไม่ใช่เพียงปัจจัยเดียวที่ต้องคำนึงถึง แต่การอ่านอย่างมีคุณภาพก็ต้องพัฒนาควบคู่กันไปด้วย โดยเฉพาะการอ่านไม่ละเอียด และจับใจความสำคัญไม่ได้ จนกลายเป็นประเด็นดรามากันอยู่เนืองๆ บนโลกโซเชียล












Total Rating ✔

9.2 stars – 2,789 reviews

More Reviews

แสดงความคิดเห็น

ผลสำรวจเด็กนักเรียนไทยกับการอ่านและการเขียนภาษาไทย

บทความจากหนังสือ