แนวข้อสอบโอเน็ต วิชาสังคม มัธยม 6 ชุดที่ 1
1. ชาวมุสลิมในประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซียส่วนใหญ่นับถือนิกายใด
1. ซูฟี 2. ชีอะฮ์3. วาฮาบี 4. ซุนนี
2. เทวทูตที่นำโองการของพระเจ้ามาประทานแก่นบีมูฮัมมัดจนเป็นพระคัมภีร์อัลกรุอานมีชื่อว่าอะไร
1. อาลี 2. มาลิก3. ญิบรออีล 3. อิซรออีล
3. พิธีซะกาต ของศาสนาอิสสาม มีความมุ่งหมายให้ชาวมุสลิมรู้จักสิ่งใด
1. การให้อภัย 2. การแบ่งปัน3. ความยุติธรรม 4. ความอดทน
4. คัมภีร์พระเวทใดเก่าแก่ที่สุด
1. ฤคเวท 2. ยชุรเวท3. สามเวท 4. อถรรพเวท
5. วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ (Good Friday) ของศริสตศาสนิกชนหมายถึงวันใด
1. วันที่พระเยซูสิ้นพระชนม์ 2. วันที่พระเยซูคืนพระชนม์3. วันที่พระเยซูประกาศศาสนา 4. วันที่พระเยซูเสด็จกลับสู่สวรรค์
6. พระเยซูทรงสอนว่า “จงรักเพื่อนบ้าน เหมือนรักตนเอง” เพื่อนบ้านในที่นี้หมายถึงใคร
1. มนุษย์ทุกคน 2. ผู้นับถือศานาอื่น3. สาวกของพระเยซู 4. คริสตศาสนิกชน
7. พิธีเข้าเป็นพุทธมามกะ เปรียบได้กับพิธีใดในศาสนาคริสต์
1. พิธีรับศีลมหาสนิท 2. พิธีรับศีลล้างบาป3. พิธีรับศีลกำลัง 4. พิธีรับศีลแก้บาป
8. การที่ผู้ปกครองประเทศตัดสินใจดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยคำนึงถึงความเห็นของคนส่วนใหญ่ เป็น
การดำเนินตามหลักการใดในพระพุทธศาสนา1. อัตตาธิปไตย 2. โลกาธิปไตย
3. ธรรมาธิปไตย 4. ประชาธิปไตย
9. ในพระพุทธศาสนา สิ่งใดเป็นมูลเหตุของการเวียนว่ายตายเกิด
1. ชาติ 2. ตัณหา3. นามรูป 4. อวิชชา
10. การจัดกลุ่มธรรมในหลักอริยสัจ 4 ในข้อใดไม่ถูกต้อง
1. ทุกข์ ขันธ์ 5 โลกธรรม 82. สมุทัย นิวรณ์ 5 อุปาทาน 4
3. นิโรธ ปฏิจจสมุปบาท กรรม 12
4. มรรค อปริหานิยธรรม 7 มงคล 38
11. การใช้หลักโยนิโสมนสิการข้อใด สามารถดับทุกข์จากการหลงยึดติดในรูปกายได้มากที่สุด
1. การคิดพิจารณาหาเหตุปัจจัย 2. การคิดพิจารณาแยกแยะส่วนประกอบ3. การคิดพิจารณาแบบสามัญลักษณะ 4. การคิดพิจารณาเห็นคุณ – โทษและทางออก
12. ผู้ปกครองประเทศที่มีเล่ห์เหลี่ยม ฉ้อราษฎร์บังหลวง ขาดทศพิธราชธรรมในข้อใด
1. ทาน 2. อักโกธะ3. อาชชวะ 4. อวิหิงสา
13. ข้อใดคือการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามหลักประชาธิปไตย
1. สมโชคไม่เล่นการพนันทุกชนิด 2. สมชายไม่จอดรถในที่ห้ามจอด3. สมชาติไม่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล 4. สมชัยไม่ซื้อสินค้าต่างประเทศ
14. การใช้หลักการใดทำให้รัฐสามารถดำเนินการให้ความคุ้มครองสิทธิมนุษยชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. หลักเหตุผล 2. หลักนิติธรรม3. หลักความเสมอภาค 4. หลักสิทธิเสรีภาพและหน้าที่
15. กฎหมายใดมีที่มาแตกต่างจากกฎหมายอื่น
1. พระราชบัญญัติ 2. พระราชกำหนด3. พระราชกฤษฎีกา 4. กฎกระทรวง
16. ผู้ที่ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดจนสำเร็จต้องได้รับโทษอย่างไร
1. รับโทษเหมือนเป็นตัวการ 2. รับโทษมากกว่าเป็นตัวการ3. รับโทษกึ่งหนึ่งของโทษสำหรับความผิดนั้น 4. รับโทษสองในสามของโทษสำหรับความผิดนั้น
17. ทรัพย์สินในข้อใดถือว่าเป็นสินส่วนตัว
1. ดอกผลของสินส่วนตัว2. รายได้จากการประกอบอาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
3. ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยการรับมรดก
4. อสังหาริมทรัพย์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรส
18. เหตุใดสังคมจึงต้องมีบรรทัดฐาน
1. เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาสังคม 2. เพื่อรักษามรดกของสังคมให้ดำรงอยู่3. เพื่อกำหนดรูปแบบวัฒนธรรมทางสังคม 4. เพื่อควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกในสังคม
19. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะทั่วไปของสังคมไทย
1. มีการแบ่งชนชั้นในสังคม 2. มีทั้งสังคมเมืองและสังคมชนบท3. มีบรรทัดฐานทางสังคมที่เคร่งครัด 4. มีการเปิดรับวัฒนธรรมตะวันตกอย่างกว้างขวาง
20. ประเพณีใดเป็นที่นิยมทั้งในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1. การวิ่งควาย 2. การทำขวัญข้าว3. การไหลเรือไฟ 4. การตักบาตรเทโว
21. ประเทศในข้อใดมีประมุขของรัฐแบบเดียวกัน
1. ญี่ปุ่น เกาหลี 2. อังกฤษ ฝรั่งเศส3. เวียดนาม กัมพูชา 4. อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
22. ความสำเร็จของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ขึ้นกับปัจจัยสำคัญข้อใดมากที่สุด
1. การมีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศ2. การกำหนดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเหมาะสม
3. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนอย่างกว้างขวาง
4. การกำหนดขอบเขตอำนาจของสถาบันการเมืองอย่างรัดกุม
23. จุดอ่อนในการบริหารประเทศตามระบอบเผด็จการตรงกับข้อใด
1. มีค่าใช้จ่ายสูง 2. ดำเนินการยาก3. ขาดความเป็นเอกภาพ 4. เกิดความผิดพลาดได้ง่าย
24. พระมหากษัตริย์ในระบบรัฐสภาทรงมีฐานะใด
1. องค์อธิปัตย์ 2. ผู้นำรัฐบาล3. ประมุขแห่งรัฐ 4. ผู้ปกครองประเทศ
25. สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มีอำนาจหน้าที่แตกต่างกันในเรื่องใดมากที่สุด
1. การตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี2. การให้ความเห็นชอบในร่างกฎหมาย
3. การอภิปรายในการแถลงนโยบายของรัฐบาล
4. การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี
26. การเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายประการ ยกเว้นข้อใด
1. รูปแบบของรัฐ 2. ผู้บริหารประเทศ3. ระบอบการปกครอง 4. เจ้าของอำนาจอธิปไตย
27. องค์กรในข้อใดเกิดจากการกระจายอำนาจ
1. ตำบลนาดี 2. เมืองพัทยา3. จังหวัดพิจิตร 4. อำเภอหาดใหญ่
28. ข้อใดไม่สมควรกำหนดไว้เป็นคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
1. อายุ 2. สัญชาติ3. ภูมิลำเนา 4. การศึกษา
29. การประชุมอาเซม (ASEM) เป็นการประชุมระหว่างผู้นำจากภูมิภาคใด
1. เอเชีย และ ยุโรป 2. ยุโรป และ อเมริกา3. อเมริกา และ เอเชีย 4. เอเชีย ยุโรป และอเมริกา
30. ปัญหาข้อใดเป็นปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของทุกประเทศ
1. การเลือกผลิตสินค้าและบริการ ต้นทุนการผลิต และการขาดแคลนเงินทุน2. คุณภาพของผลผลิต การกระจายสินค้าและบริการ และต้นทุนการผลิต
3. การขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ การขาดแคลนเงินทุน และการเลือกวิธีการผลิต
4. การเลือกผลิตสินค้าและบริการ การเลือกวิธีการผลิต และการกระจายสินค้าและบริการ
31. ข้อใดเป็นความได้เปรียบของระบบเศรษฐกิจแบบผสมที่มีเหนือระบบเศรษฐกิจแบบอื่น
1. บทบาทของรัฐบาลและเอกชนในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม2. รัฐบาลและเอกชนต่างมีบทบาทในทางการค้าและการลงทุนได้ทัดเทียมกัน
3. รัฐบาลและเอกชนต่างร่วมกันจัดสวัสดิการตามความต้องการของประชาชนได้มากขึ้น
4. รัฐบาลและเอกชนสามารถใช้กลไกราคาเป็นเครื่องมือสำคัญในการตัดสินใจประกอบธุรกิจ
32. ข้อใดแสดงว่าเงินทำหน้าที่ในการวัดมูลค่า
1. สุธีเขียนเช็คส่วนตัวซื้อนาฬิกาข้อมือ 1 เรือน ราคาเรือนละ 30,000 บาท2. พิศาลซื้อโทรทัศน์ 1 เครื่อง โดยการผ่อนชำระ 6 งวด งวดละ 10,000 บาท
3. แอนมีเงินแค่ 20 บาท ซื้อข้าวสารได้ไม่ถึง 1 กิโลกรัม
4. สรชัยนำธนบัตรไทยชนิดราคา 100 บาท ไปแลกธนบัตรชนิดราคา 50 บาทได้ 2 ใบ
33. สภาพการณ์ใดบ่งบอกว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในระบบเศรษฐกิจ
1. ประชาชนมีรายได้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้น2. อำนาจซื้อของเงินที่อยู่ในมือของประชาชนลดลง
3. สินค้าและบริการต่างๆ มีราคาสูงขึ้น
4. เงินจำนวนเท่าเดิมไม่สามารถซื้อสินค้าและบริการตามที่ต้องการได้
34. การดำเนินการในข้อใดช่วยแก้ไขปัญหาเงินฟ้อได้
1. ธนาคารกลางประกาศรับซื้อคืนพันธบัตร2. ลดอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย
3. เพิ่มอัตราซื้อลดตั๋วเงินจากธนาคารพาณิชย์
4. ผ่อนคลายการกำกับแผนการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์
35. ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สัดส่วนสินค้าอุตสาหกรรมในสินค้าส่งออกของไทยเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ มีหลายประการ ยกเว้นข้อใด
1. มูลค่าผลิตผลการเกษตรมีแนวโน้มต่ำลง2. แรงงานไทยมีทักษะความชำนาญในการผลิตมากขึ้น
3. มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตมากขึ้น
4. มีการพัฒนาผลิตผลอุตสาหกรรมใหม่ ๆ เพื่อการส่งออก
36. ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองฉลากเขียวแสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้นผ่านการประเมินใด
1. มาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร2. มาตรฐานคุณภาพและสิ่งแวดล้อม
3. มาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหาร
4. มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม
37. การกระทำของบุคคลใดยึดหลักการสร้างภูมิคุ้มกันตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1. น้อยจัดสรรรายจ่ายให้สมดุลกับรายได้2. หน่อยซื้อรถจักรยานมาใช้ในภาวะที่น้ำมันมีราคาแพง
3. นกใช้จ่ายเงินเดือนที่ได้รับอย่างรอบคอบโดยออมไว้ส่วนหนึ่ง
4. นิดซื้อสินค้าและบริการเฉพาะที่ต้องการเท่านั้น
38. สถาบันการเงินใดใช้หลักประชาธิปไตยควบคุมการบริหารงาน
1. ธนาคารพาณิชย์ 2. บริษัทประกันชีวิต3. กองทุนประกันสังคม 4. สหกรณ์ออมทรัพย์
39. การเปลี่ยนแปลงของสินค้าในข้อใดเป็นไปตามกฎของอุปทาน
1. ผลิตผลผักลดลงมาก เพราะอุทกภัยทำให้สวนผักเสียหาย ราคาผักจึงสูงขึ้น2. ราคาน้ำมันปาล์มาสูงขึ้น พ่อค้าจึงสั่งน้ำมันปาล์มจากต่างประเทศเข้ามาขายมากขึ้น
3. ยอดจำหน่ายน้ำส้มคั้นสูงขึ้น เพราะมีผู้นิยมบริโภคเพิ่มขึ้น
4. บ้านจัดสรรปรับราคาสูงขึ้น เพราะต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น
40. ภาวะดุลยภาพของตลาดจะเกิดขึ้นเมื่อใด
1. จำนวนผู้ซื้อเท่ากับจำนวนผู้ขาย2. ปริมาณเสนอซื้อสมดุลกับราคาเสนอขาย
3. อุปสงค์ส่วนเกินและอุปทานส่วนเกินมีค่าเท่ากับศูนย์
4. ผู้ซื้อสามาถซื้อสินค้าได้ตามจำนวนที่ต้องการ
Total Rating ✔
9.2 stars – 2,789 reviews
More Reviews
อ่านรีวิว ทั้งหมดคลิก
แสดงความคิดเห็น
แนวข้อสอบ Onet วิชาสังคมศึกษา ม.6 (ชุดที่ 1) พร้อมเฉลย
เฉลยแนวข้อสอบ, แนวข้อสอบ, O-NET, test