สำรวจ
แนะนำ
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

ค้นหาด้วยเสียง
ค้นหาด้วยเสียงคลิกที่นี่

» » โจทย์วิชาสังคมมัธยมปลายพร้อมเฉลย

15 กันยายน 2559

โจทย์วิชาสังคมมัธยมปลายพร้อมเฉลย

แนวข้อสอบวิชาสังคม ม.ปลาย พร้อมเฉลยละเอียด Tutor Ferry : 099-823-0343

โจทย์วิชาสังคมมัธยมปลายพร้อมเฉลย





แนวข้อสอบวิชาสังคม ม.ปลาย

เฉลย

1. ชาวมุสลิมในประเทศไทย  มาเลเซีย  และอินโดนีเซียส่วนใหญ่นับถือนิกายใด
1.  ซูฟี
2.  ชีอะฮ์
3.  วาฮาบี      
        4.  ซุนนี

2. เทวทูตที่นำโองการของพระเจ้ามาประทานแก่นบีมูฮัมมัดจนเป็นพระคัมภีร์อัลกรุอานมีชื่อว่าอะไร
1.  อาลี
2.  มาลิก
3.  ญิบรออีล
4.  อิซรออีล

3. พิธีซะกาต  ของศาสนาอิสสาม  มีความมุ่งหมายให้ชาวมุสลิมรู้จักสิ่งใด
1.  การให้อภัย  
2.  การแบ่งปัน
3.  ความยุติธรรม
4.  ความอดทน

4. คัมภีร์พระเวทใดเก่าแก่ที่สุด
1.  ฤคเวท 
2.  ยชุรเวท
3.  สามเวท
4.  อถรรพเวท

5. วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ (Good Friday) ของศริสตศาสนิกชนหมายถึงวันใด
1.  วันที่พระเยซูสิ้นพระชนม์
2.  วันที่พระเยซูคืนพระชนม์
3.  วันที่พระเยซูประกาศศาสนา
4.  วันที่พระเยซูเสด็จกลับสู่สวรรค์

6. พระเยซูทรงสอนว่า “จงรักเพื่อนบ้าน เหมือนรักตนเอง”  เพื่อนบ้านในที่นี้หมายถึงใคร
1.  มนุษย์ทุกคน
2.  ผู้นับถือศานาอื่น
3.  สาวกของพระเยซู
4.  คริสตศาสนิกชน

7. พิธีเข้าเป็นพุทธมามกะ  เปรียบได้กับพิธีใดในศาสนาคริสต์
1.  พิธีรับศีลมหาสนิท
2.  พิธีรับศีลล้างบาป
3.  พิธีรับศีลกำลัง
4.  พิธีรับศีลแก้บาป

8. การที่ผู้ปกครองประเทศตัดสินใจดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยคำนึงถึงความเห็นของคนส่วนใหญ่  เป็นการดำเนินตามหลักการใดในพระพุทธศาสนา
1.  อัตตาธิปไตย
2.  โลกาธิปไตย
3.  ธรรมาธิปไตย
4.  ประชาธิปไตย

9. ในพระพุทธศาสนา สิ่งใดเป็นมูลเหตุของการเวียนว่ายตายเกิด
1.  ชาติ
2.  ตัณหา
3.  นามรูป
4.  อวิชชา

10. การจัดกลุ่มธรรมในหลักอริยสัจ 4 ในข้อใดไม่ถูกต้อง
1.  ทุกข์  ขันธ์  5  โลกธรรม  8
2.  สมุทัย  นิวรณ์  5  อุปาทาน  4
3.  นิโรธ  ปฏิจจสมุปบาท  กรรม  12
4.  มรรค  อปริหานิยธรรม 7  มงคล 38

11. การใช้หลักโยนิโสมนสิการข้อใด  สามารถดับทุกข์จากการหลงยึดติดในรูปกายได้มากที่สุด
1.  การคิดพิจารณาหาเหตุปัจจัย
2.  การคิดพิจารณาแยกแยะส่วนประกอบ
3.  การคิดพิจารณาแบบสามัญลักษณะ
4.  การคิดพิจารณาเห็นคุณ – โทษและทางออก

12.   ผู้ปกครองประเทศที่มีเล่ห์เหลี่ยม  ฉ้อราษฎร์บังหลวง  ขาดทศพิธราชธรรมในข้อใด
1.  ทาน
2.  อักโกธะ
3.  อาชชวะ
4.  อวิหิงสา

13.  ข้อใดคือการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามหลักประชาธิปไตย
1.  สมโชคไม่เล่นการพนันทุกชนิด
2.  สมชายไม่จอดรถในที่ห้ามจอด
3.  สมชาติไม่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล
4.  สมชัยไม่ซื้อสินค้าต่างประเทศ

14. การใช้หลักการใดทำให้รัฐสามารถดำเนินการให้ความคุ้มครองสิทธิมนุษยชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.  หลักเหตุผล    
        2.  หลักนิติธรรม
3.  หลักความเสมอภาค
4.  หลักสิทธิเสรีภาพและหน้าที่

15. กฎหมายใดมีที่มาแตกต่างจากกฎหมายอื่น
1.  พระราชบัญญัติ
2.  พระราชกำหนด
3.  พระราชกฤษฎีกา    
        4.  กฎกระทรวง

16. ผู้ที่ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดจนสำเร็จต้องได้รับโทษอย่างไร
1.  รับโทษเหมือนเป็นตัวการ
2.  รับโทษมากกว่าเป็นตัวการ
3.  รับโทษกึ่งหนึ่งของโทษสำหรับความผิดนั้น
4.  รับโทษสองในสามของโทษสำหรับความผิดนั้น

17. ทรัพย์สินในข้อใดถือว่าเป็นสินส่วนตัว
1.  ดอกผลของสินส่วนตัว
2.  รายได้จากการประกอบอาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
3.  ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยการรับมรดก
4.  อสังหาริมทรัพย์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรส

18. เหตุใดสังคมจึงต้องมีบรรทัดฐาน
1.  เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาสังคม
2.  เพื่อรักษามรดกของสังคมให้ดำรงอยู่
3.  เพื่อกำหนดรูปแบบวัฒนธรรมทางสังคม
4.  เพื่อควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกในสังคม

19. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะทั่วไปของสังคมไทย
1.  มีการแบ่งชนชั้นในสังคม
2.  มีทั้งสังคมเมืองและสังคมชนบท
3.  มีบรรทัดฐานทางสังคมที่เคร่งครัด
4.  มีการเปิดรับวัฒนธรรมตะวันตกอย่างกว้างขวาง

20.  ประเพณีใดเป็นที่นิยมทั้งในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1.  การวิ่งควาย  
        2.  การทำขวัญข้าว
3.  การไหลเรือไฟ
4.  การตักบาตรเทโว

21.  ประเทศในข้อใดมีประมุขของรัฐแบบเดียวกัน
1.  ญี่ปุ่น  เกาหลี
2.  อังกฤษ  ฝรั่งเศส
3.  เวียดนาม  กัมพูชา
4.  อินโดนีเซีย  ฟิลิปปินส์

22. ความสำเร็จของการปกครองระบอบประชาธิปไตย  ขึ้นกับปัจจัยสำคัญข้อใดมากที่สุด
1.  การมีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศ
2.  การกำหนดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเหมาะสม
3.  การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนอย่างกว้างขวาง
4.  การกำหนดขอบเขตอำนาจของสถาบันการเมืองอย่างรัดกุม

23.  จุดอ่อนในการบริหารประเทศตามระบอบเผด็จการตรงกับข้อใด
1.  มีค่าใช้จ่ายสูง 
2.  ดำเนินการยาก
3.  ขาดความเป็นเอกภาพ
4.  เกิดความผิดพลาดได้ง่าย

24.  พระมหากษัตริย์ในระบบรัฐสภาทรงมีฐานะใด
1.  องค์อธิปัตย์   
        2.  ผู้นำรัฐบาล
3.  ประมุขแห่งรัฐ
4.  ผู้ปกครองประเทศ

25.  สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช  2540  มีอำนาจหน้าที่แตกต่างกันในเรื่องใดมากที่สุด
1.  การตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี
2.  การให้ความเห็นชอบในร่างกฎหมาย
3.  การอภิปรายในการแถลงนโยบายของรัฐบาล
4.  การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี

26.  การเปลี่ยนแปลงการปกครองใน  พ.ศ. 2475  ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายประการ  ยกเว้นข้อใด
1.  รูปแบบของรัฐ
2.  ผู้บริหารประเทศ
3.  ระบอบการปกครอง
4.  เจ้าของอำนาจอธิปไตย

27.  องค์กรในข้อใดเกิดจากการกระจายอำนาจ
1.  ตำบลนาดี
2.  เมืองพัทยา
3.  จังหวัดพิจิตร
4.  อำเภอหาดใหญ่

28.  ข้อใดไม่สมควรกำหนดไว้เป็นคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
1.  อายุ
2.  สัญชาติ
3.  ภูมิลำเนา
4.  การศึกษา

29.  การประชุมอาเซม (ASEM)  เป็นการประชุมระหว่างผู้นำจากภูมิภาคใด
1.  เอเชีย และ ยุโรป
2.  ยุโรป และ  อเมริกา
3.  อเมริกา และ เอเชีย
4.  เอเชีย ยุโรป และอเมริกา

30.  ปัญหาข้อใดเป็นปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของทุกประเทศ
1.  การเลือกผลิตสินค้าและบริการ  ต้นทุนการผลิต และการขาดแคลนเงินทุน
2.  คุณภาพของผลผลิต  การกระจายสินค้าและบริการ  และต้นทุนการผลิต
3.  การขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ  การขาดแคลนเงินทุน  และการเลือกวิธีการผลิต
4.  การเลือกผลิตสินค้าและบริการ  การเลือกวิธีการผลิต  และการกระจายสินค้าและบริการ

31.  ข้อใดเป็นความได้เปรียบของระบบเศรษฐกิจแบบผสมที่มีเหนือระบบเศรษฐกิจแบบอื่น
1.  บทบาทของรัฐบาลและเอกชนในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
2.  รัฐบาลและเอกชนต่างมีบทบาทในทางการค้าและการลงทุนได้ทัดเทียมกัน
3.  รัฐบาลและเอกชนต่างร่วมกันจัดสวัสดิการตามความต้องการของประชาชนได้มากขึ้น
4.  รัฐบาลและเอกชนสามารถใช้กลไกราคาเป็นเครื่องมือสำคัญในการตัดสินใจประกอบธุรกิจ


32.  ข้อใดแสดงว่าเงินทำหน้าที่ในการวัดมูลค่า
1.  สุธีเขียนเช็คส่วนตัวซื้อนาฬิกาข้อมือ  1  เรือน  ราคาเรือนละ  30,000  บาท
2.  พิศาลซื้อโทรทัศน์  1  เครื่อง  โดยการผ่อนชำระ  6  งวด  งวดละ  10,000  บาท
3.  แอนมีเงินแค่  20  บาท  ซื้อข้าวสารได้ไม่ถึง   1  กิโลกรัม
4.  สรชัยนำธนบัตรไทยชนิดราคา  100  บาท  ไปแลกธนบัตรชนิดราคา  50  บาทได้  2  ใบ

33.  สภาพการณ์ใดบ่งบอกว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในระบบเศรษฐกิจ
1.  ประชาชนมีรายได้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้น
2.  อำนาจซื้อของเงินที่อยู่ในมือของประชาชนลดลง
3.  สินค้าและบริการต่างๆ  มีราคาสูงขึ้น
4.  เงินจำนวนเท่าเดิมไม่สามารถซื้อสินค้าและบริการตามที่ต้องการได้

34.  การดำเนินการในข้อใดช่วยแก้ไขปัญหาเงินฟ้อได้
1.  ธนาคารกลางประกาศรับซื้อคืนพันธบัตร
2.  ลดอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย
3.  เพิ่มอัตราซื้อลดตั๋วเงินจากธนาคารพาณิชย์
4.  ผ่อนคลายการกำกับแผนการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์

35.  ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สัดส่วนสินค้าอุตสาหกรรมในสินค้าส่งออกของไทยเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ มีหลายประการ  ยกเว้นข้อใด
1.  มูลค่าผลิตผลการเกษตรมีแนวโน้มต่ำลง
2.  แรงงานไทยมีทักษะความชำนาญในการผลิตมากขึ้น
3.  มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตมากขึ้น
4.  มีการพัฒนาผลิตผลอุตสาหกรรมใหม่ ๆ  เพื่อการส่งออก

36.  ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองฉลากเขียวแสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้นผ่านการประเมินใด
1.  มาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร
2.  มาตรฐานคุณภาพและสิ่งแวดล้อม
3.  มาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหาร
4.  มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม

37.  การกระทำของบุคคลใดยึดหลักการสร้างภูมิคุ้มกันตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1.  น้อยจัดสรรรายจ่ายให้สมดุลกับรายได้
2.  หน่อยซื้อรถจักรยานมาใช้ในภาวะที่น้ำมันมีราคาแพง
3.  นกใช้จ่ายเงินเดือนที่ได้รับอย่างรอบคอบโดยออมไว้ส่วนหนึ่ง
4.  นิดซื้อสินค้าและบริการเฉพาะที่ต้องการเท่านั้น

38.  สถาบันการเงินใดใช้หลักประชาธิปไตยควบคุมการบริหารงาน
1.  ธนาคารพาณิชย์
2.  บริษัทประกันชีวิต
3.  กองทุนประกันสังคม
4.  สหกรณ์ออมทรัพย์

39.  การเปลี่ยนแปลงของสินค้าในข้อใดเป็นไปตามกฎของอุปทาน
1.  ผลิตผลผักลดลงมาก  เพราะอุทกภัยทำให้สวนผักเสียหาย  ราคาผักจึงสูงขึ้น
2.  ราคาน้ำมันปาล์มาสูงขึ้น  พ่อค้าจึงสั่งน้ำมันปาล์มจากต่างประเทศเข้ามาขายมากขึ้น
3.  ยอดจำหน่ายน้ำส้มคั้นสูงขึ้น  เพราะมีผู้นิยมบริโภคเพิ่มขึ้น
4.  บ้านจัดสรรปรับราคาสูงขึ้น  เพราะต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น

40.  ภาวะดุลยภาพของตลาดจะเกิดขึ้นเมื่อใด
1.  จำนวนผู้ซื้อเท่ากับจำนวนผู้ขาย
2.  ปริมาณเสนอซื้อสมดุลกับราคาเสนอขาย
3.  อุปสงค์ส่วนเกินและอุปทานส่วนเกินมีค่าเท่ากับศูนย์
4.  ผู้ซื้อสามาถซื้อสินค้าได้ตามจำนวนที่ต้องการ

41.  ณ  ระดับราคาดุลยภาพ  ปรากฏว่าชาวไร่อ้อยเดือดร้อน  จึงทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องเข้าช่วยเหลือโดยกำหนดราคาประกัน  ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง
1.  โรงงานน้ำตาลจะซื้ออ้อยได้ในราคาที่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพ
2.  รัฐบาลจะต้องรับซื้ออ้อยส่วนเกินจากชาวไร่อ้อย
3.  โรงงานน้ำตาลจะรวมตัวกันต่อรองราคารับซื้ออ้อยในราคาตลาด
4.  ชาวไร่อ้อยจะต้องจัดสรรโควตาขายให้โรงงานน้ำตาล

42.  ข้อใดกล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการบริหารรายได้และรายจ่ายของภาคเอกชนและภาครัฐบาลได้ถูกต้องที่สุด
1.  ภาคเอกชนเน้นประสิทธิภาพในการใช้จ่าย  ภาครัฐบาลเน้นการแสวงหารายได้มาใช้จ่าย
2.  ภาคเอกชนเน้นการแสวงหาผลกำไร  ภาครัฐบาลเน้นประโยชน์ส่วนรวม
3.  ภาคเอกชนเน้นการประหยัดรายจ่าย  ภาครัฐบาลเน้นประสิทธิภาพในการใช้จ่าย
4.  ภาคเอกชนเน้นประโยชน์ที่จะได้รับ  ภาครัฐบาลเน้นประโยชน์ของรัฐบาล

43.  ในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ  รัฐบาลควรมีมาตรการทางการคลังอย่างไร
1.  เก็บภาษีเพิ่มขึ้น  เพื่อเพิ่มเงินคงคลัง
2.  ชะลอการปล่อยสินเชื่อ  เพื่อลดหนี้ของประชาชน
3.  ใช้จ่ายให้มากขึ้น  เพื่อกระตุ้นการผลิต
4.  กู้ยืมน้อยลง  เพื่อลดภาระงบประมาณ

44.  ข้อใดถือว่าเป็นมาตรการของนโยบายการค้าเสรี
1.  เก็บภาษีขาเข้าในอัตราต่ำ
2.  ให้เงินอุดหนุนผู้ผลิตในประเทศ
3.  ไม่เก็บภาษีสินค้าที่ส่งไปขายประเทศยากจน
4.  ให้นำเข้าสินค้าจากประเทศต่าง ๆ ได้ทุกชนิด

45.  การที่ประเทศมีดุลการชำระเงินขาดดุล  จะทำให้เกิดผลอย่างไร
1.  การลงทุนต่างประเทศลดลง
2.  ทุนสำรองระหว่างประเทศลดลง
3.  ดุลการค้าขาดดุลเพิ่มขึ้น
4.  ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเพิ่มขึ้น

46.  องค์การระหว่างประเทศในข้อใดมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาเสถียรภาพการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
1.  องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจแห่งเอเชียและแปซิฟิก
2.  ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนา
3.  กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
4.  องค์การการค้าโลก

47.  ข้อใดเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่แสดงให้เห็นการสร้างสรรค์อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมนุษย์ยุคหินใหม่ได้ชัดเจนที่สุด
1.  ขวานหินขัด  
        2.  เครื่องดนตรีสำริด
3.  ภาชนะเครื่องปั้นดินเผา
4.  การใช้กระดูกสัตว์  เขาสัตว์เป็นอาวุธ

48.  ข้อใดเป็นจุดเริ่มต้นของยุคโลหะ
1.  การหลอมดีบุก
2.  การหลอมทองแดง
3.  การหลอมเหล็ก
4.  การหลอมสำริด

49.  ถ้าในปัจจุบันประเทศไทยยังใช้ระบบศักราชแบบรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.)  ปีพุทธศักราช  2550  จะตรงกับรัตนโกสินทร์ศกใด
1.  ร.ศ.  224
2.  ร.ศ. 225
3.  ร.ศ.  226
4.  ร.ศ.  227

50.  ถ้าต้องการวิจัยเรื่อง  เรือกับวิถีชีวิตชาวเล  จะต้องใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในขั้นตอนใด  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์
1.  การตั้งประเด็นคำถามเรื่องราวที่อยากรู้
2.  การค้นหาและรวบรวมหลักฐาน
3.  การวิพากษ์และตีความหลักฐาน
4.  การสรุปข้อเท็จจริง

51.  ข้อใดเป็นลักษณะสำคัญของจดหมายเหตุ
1.  เป็นหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับศาสนา
2.  เป็นบันทึกจากการบอกเล่าต่อ ๆ กันมา
3.  เป็นข้อมูลที่ปราศจากความคิดเห็นของผู้บันทึก
4.  เป็นบันทึกที่มีเรื่องราวของเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง

52.  การศึกษาประวัติศาสตร์แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุต้องศึกษาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ข้อใด
1.  คัมภีร์พระเวท
2.  เมืองโบราณโมเฮนโจดาโรและฮารัปปา
3.  มหากาพย์รามายณะ  และมหาภารตะ
4.  เสาศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช

53.  ภูมิภาคใดได้รับอิทธิพลด้านการเมืองการปกครองของอารยธรรมอินเดีย
1.  เอเชียกลาง
2.  เอเชียตะวันออก
3.  เอเชียตะวันตกเฉียงใต้
4.  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

54.  ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูศิลปวิทยา
1.  การยกย่องความสามารถของมนุษย์
2.  การเน้นความเป็นปัจเจกชน
3.  การรื้อฟื้นความเชื่อทางศาสนา
4.  การคืนกลับมาของอารยธรรมกรีก

55.  สมัยสุโขทัยสามารถเทียบกับสมัยประวัติศาสตร์สากลในข้อใด
1.  สมัยแห่งการค้นพบและสำรวจ
2.  สมัยแห่งสงครามเพโลพอนนีเซียน
3.  สมัยจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลาย
4.  สมัยจักรพรรดิคอนสแตนตินแห่งโรมัน

56.  ประวัติศาสตร์ยุโรปตะวันตกร่วมสมัยเริ่มต้นเมื่อใด
1.  ภายหลังสงครามโลกครั้งที่  1
2.  ภายหลังสงครามโลกครั้งที่  2
3.  ภายหลังสงครามเย็น
4.  ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต

57.  ความตกลงเชนเกนเกี่ยวข้องกับเรื่องใดในกลุ่มสหภาพยุโรป
1.  การขอวีซ่าเข้าประเทศ
2.  การไม่จำกัดปริมาณสินค้านำเข้า
3.  การให้บริการด้านสถาบันการเงินข้ามชาติ
4.  การเคลื่อนย้ายสินค้าโดยไม่ต้องผ่านศุลกากร

58.  “ไพร่”  ในสังคมอยุธยามีฐานะใกล้เคียงกับบุคคลกลุ่มใดในปัจจุบัน
1.  แรงงานรับจ้าง
2.  สามัญชน
3.  ทหารเกณฑ์
4.  กระฏุมพี

59.  ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยกับต่างชาติเรื่องใดที่รัฐต้องตัดสินใจใช้วิธีการทางทหารในการแก้ปัญหา
1.  กรณีหัวเมืองมลายูกับอังกฤษสมัยรัชกาลที่  5
2.  วิกฤตการณ์ ร.ศ.  112  กับฝรั่งเศสสมัยรัชกาลที่  5
3.  ญี่ปุ่นเคลื่อนกองทัพเข้าไทยช่วงสงครามโลกครั้งที่  2
4.  กรณีพิพาทเรื่องเขาพระวิหารในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่  2

60.  วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการก่อตั้งขบวนการเสรีไทยในระหว่างสงครามโลกครั้งที่  2  ตรงกับข้อใด
1.  เพื่อต่อสู้กับกองทัพญี่ปุ่น
2.  เพื่อแสดงออกถึงความรักชาติ
3.  เพื่อแสดงตนเป็นฝ่ายพันธมิตร
4.  เพื่อช่วยเหลือคนไทยในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา


61.  ขรัวอินโข่ง  มีผลงานเด่นด้านใด
1.  การประดิษฐ์ลายปูนปั้น
2.  การวาดภาพ  3  มิติ
3.  การแกะสลักบานประตูพระอุโบสถ
4.  การปั้นพระพุทธรูป

62.  บุคคลใดมีบทบาทสำคัญในการเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาเบาว์ริง
1.  ดร.ฟรานซิส บี. แซร์
2.  ดร.แดน บีช บรัดเลย์
3.  วิลเลียม คลิฟตัน ดอด์ด
4.  สมเด็จ ฯ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ

63.  ข้อใดเป็นลักษณะของการสร้างบ้านเรือนในภาคเหนือของไทย
1.  การสร้างบ้านโดยใช้แท่งหินเป็นฐาน
2.  การสร้างบ้านใต้ถุนสูง  หน้าต่างน้อย
3.  การสร้างบ้านหลายหลังเชื่อมต่อกัน
4.  การสร้างบ้านที่มีใต้ถุนต่ำ  หน้าต่างรอบ

64.  ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความหลากหลายของพืชพรรณธรรมชาติทั่วโลก
1.  ละติจูด
2.  ลองจิจูด
3.  ปริมาณน้ำฝน
4.  ระดับความสูงของพื้นที่

65.  น้ำจืดบนผิวดินในโลกส่วนใหญ่อยู่ในลักษณะใด
1.  น้ำในทะเลสาบ
2.  น้ำที่พืชดูดซึมไว้
3.  น้ำในแม่น้ำลำธาร
4.  น้ำในรูปความชื้นในดิน

66.  มวลอากาศร้อนชื้นจากทะเลจีนใต้เคลื่อนที่ผ่านประเทศไทยมาปะทะกับมวลอากาศเย็นและแห้งจากประเทศจีนอย่างรวดเร็วจะทำให้เกิดลักษณะอากาศอย่างไร
1.  ท้องฟ้าแจ่มใส  ลมพัดแรง
2.  ท้องฟ้ามืด  มีฝนตกเล็กน้อย
3.  อากาศแปรปรวน  มีฝนตกมาก
4.  อากาศอบอ้าว  ท้องฟ้ามืดครึ้มตลอดวัน

67.  ในแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1 : 500,000  วัดความยาวของแม่น้ำปิงได้  4  เซนติเมตร  และแม่น้ำเจ้าพระยาได้  2  เซนติเมตร  ความยาวของแม่น้ำทั้งสองรวมกันเป็นเท่าใดในพื้นที่จริง
1.  30  กิโลเมตร
2.  40  กิโลเมตร
3.  50  กิโลเมตร
4.  60  กิโลเมตร

68. ข้อใดไม่ควรใช้  Remote Sensing   ในการสำรวจ
1.  นิคมอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน
2.  อุบัติเหตุทางรถยนต์จังหวัดนครราชสีมา
3.  แหล่งแร่ทองคำจังหวัดพิจิตร
4.  แผ่นดินถล่มที่จังหวัดอุตรดิตถ์


69.  ถ้าต้องการศึกษาว่าประเทศไทยมีเมืองโบราณจำนวนเท่าใด  และกระจายอยู่ในภาคใดบ้าง  ท่านควรเลือกเครื่องมือประเภทใดจึงจะเหมาะสมที่สุด  มีประสิทธิภาพ  และประสิทธิผลสูงสุด
1.  ภาพถ่ายทางอากาศ
2.  ภาพถ่ายจากดาวเทียม
3.  แผนที่ภูมิประเทศและการสำรวจภาคสนาม 
        4.  แผนที่ประวัติศาสตร์และฐานข้อมูลทางโบราณคดี

70.  บริเวณใดในภาคกลางที่ได้รับการกำหนดให้เป็นพื้นที่ผืนป่ามรดกโลก
1.  เขตภูเขาด้านตะวันออก
2.  เขตที่ราบเชิงเขาตอนกลาง
3.  เขตที่ดอนและเขาโดดตอนกลาง
4.  เขตภูเขาและลาดเขาตะวันตก

71.  การทอดผ้าป่าขยะเป็นความพยายามของชุมชนในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับหลักการในข้อใดมากที่สุด
1.  reuse
2.  repair
3.  reduce
4.  recycle

72.  นักเรียนจะมีส่วนรวมในการแก้ปัญหาเรื่องการกำจัดขยะมูลฝอยในชุมชนของตนเองได้มากที่สุดอย่างไร
1.  เป็นสมาชิกของธนาคารขยะ
2.  ทิ้งหลอดไฟที่เสียแล้วให้ถังขยะสีฟ้า
3.  แนะให้เพื่อนในชุมชนนำขยะมาใช้ประโยชน์
4.  คัดแยกขยะตามประเภทของขยะก่อนนำไปทิ้ง

73.  โครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวข้อใดช่วยแก้ปัญหาให้ประชากรในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำได้มากที่สุด
1.  โครงการแก้มลิง
2.  โครงการแกล้งดิน
3.  โครงการฝายทดน้ำ
4.  โครงการปลูกหญ้าแฝก

74.  ข้อใดเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีนตอนล่าง  มีน้ำเน่าเสียอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง
1.  การปนเปื้อนในน้ำของสารเคมีจากพื้นที่เกษตรกรรมและอาคารบ้านเรือน
2.  การปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำจากอาคารบ้านเรือและโรงงาน
3.  การปล่อยน้ำทิ้งจากอาคารบ้านเรือนและฟาร์มเลี้ยงสุกร
4.  การปล่อยน้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงสุกรและโรงงาน

75.  การที่รัฐบาลไทยส่งลิงอุรังอุตังกลับคืนไปให้ประเทศอินโดนีเซียเป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงใด
1.  อนุสัญญาเวียนนา
2.  พิธีสารมอนทรีออล
3.  อนุสัญญาไซเตส
4.  พิธีสารเกียวโต

76.  ข้อใดไม่ใช่สาเหตุโดยตรงของการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศของโลก
1.  การทับถมของขยะมูลฝอย
2.  การถางป่าเป็นบริเวณกว้าง
3.  การสลายตัวของปุ๋ยเคมีประเภทไนเตรต
4.  การย่อยสลายของมูลสัตว์

77.  บุคคลใดนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาช่วยในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ดีที่สุด
1.  นายชมใช้สมุนไพรรักษาโรค
2.  นายคงใส่ปุ๋ยคอกในนาข้าว
3.  นายจันทน์ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเป็นรายได้เสริม
4.  นายแสนผลิตไข่เค็มด้วยสูตรของคุณยาย

78.  ทุ่งมะขามหย่อง  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  มีบทบาทอย่างไรในการจัดการน้ำช่วงฤดูฝน พ.ศ. 2549
1.  เป็นพื้นที่รับน้ำเพื่อชะลอน้ำที่จะไหลไปท่วมกรุงเทพมหานคร
2.  เป็นที่ลุ่มน้ำขังที่ต้องระบายออกเพื่อป้องกันน้ำท่วมตัวจังหวัด
3.  เป็นแนวกั้นน้ำเพื่อไม่ให้แม่น้ำเจ้าพระยาไหลล้นตลิ่ง
4.  เป็นที่ที่กันไว้เพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำในโครงการเจ้าพระยาตอนล่าง

79.  นายดำได้รับเงินค่าทดแทนจากเทศบาลกรณีที่โรงงานกำจัดขยะสร้างมลพิษทางอากาศบริเวณบ้านนายดำ  แสดงว่านายดำได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายใด
1.  พระราชบัญญัติสาธารณสุขพุทธศักราช  2535
2.  พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคพุทธศักราช  2522
3.  พระราชบัญญัติโรงงานพุทธศักราช  2535
4.  พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมพุทธศักราช  2535

80.  หน่วยงานใดควรเป็นผู้รับผิดชอบในการจ่ายค่าชดเชยแก่ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากเสียงเครื่องบินขึ้นลงสนามบินสุวรรณภูมิ
1.  กระทรวงคมนาคม
2.  กระทรวงมหาดไทย
3.  บริษัทท่าอากาศยานไทย  จำกัด (มหาชน)
4.  ท่าอากาศยานกรุงเทพ



เฉลยแนวข้อสอบวิชาสังคม

เรียนสังคมที่บ้าน กรุงเทพ นนทบุรี สมุทรปราการ ชลบุรี โคราช ขอนแก่น เชียงใหม่ ภูเก็ต สงขลา

โจทย์วิชาสังคมมัธยมปลายพร้อมเฉลย

โจทย์วิชาสังคมมัธยมปลายพร้อมเฉลย

เรียนวิชาสังคมที่บ้านย่านสยาม สาทร พระราม2 สุขุมวิท บางนา รามคำแหง บางกะปิ ลาดพร้าว รัชดา มีนบุรี รามอินทรา รังสิต ดอนเมือง ปิ่นเกล้า

โจทย์วิชาสังคมมัธยมปลายพร้อมเฉลย

โจทย์วิชาสังคมมัธยมปลายพร้อมเฉลย

โจทย์วิชาสังคมมัธยมปลายพร้อมเฉลย

โจทย์วิชาสังคมมัธยมปลายพร้อมเฉลย

โจทย์วิชาสังคมมัธยมปลายพร้อมเฉลย

โจทย์วิชาสังคมมัธยมปลายพร้อมเฉลย

โจทย์วิชาสังคมมัธยมปลายพร้อมเฉลย

โจทย์วิชาสังคมมัธยมปลายพร้อมเฉลย

โจทย์วิชาสังคมมัธยมปลายพร้อมเฉลย

โจทย์วิชาสังคมมัธยมปลายพร้อมเฉลย

โจทย์วิชาสังคมมัธยมปลายพร้อมเฉลย









Total Rating ✔

9.2 stars – 2,789 reviews

More Reviews

แสดงความคิดเห็น

โจทย์วิชาสังคมมัธยมปลายพร้อมเฉลย

แนวข้อสอบ, วิชาสังคม ม.ปลาย, test