นพ.สุทธิชัย จิตพันธ์กุล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กล่าวบรรยายพิเศษเรื่อง “สังคมไทยต้องดูแลผู้สูงอายุอย่างไร”
ในเวที ฟื้นพลังชุมชนท้องถิ่นสู่การอภิวัฒน์ประเทศไทย พลังชุมชนท้องถิ่น ปฏิรูปสังคม ครั้งที่ 5 เมื่อเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งจัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)นพ.สุทธิชัย บอกอีกว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้า คนวัยทำงานจะมีสัดส่วนลดลงอย่างรวดเร็ว คนหารายได้จุนเจือครอบครัวมีน้อยลง เท่ากับว่าจะจ่ายภาษีลดลงไปด้วย เช่นเดียวกัน ความขัดแย้งระหว่างวัยจะสูงขึ้นด้วย เนื่องจากปี 2545 เป็นต้นมา ลักษณะครอบครัวไทยเป็นแบบฝักถั่ว พ่อแม่ลูก ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งให้อยู่คนเดียว คนนิยมอยู่เป็นโสด ผู้สูงอายุจะถูกส่งไปดูแลในสถานบริการมากขึ้น และเต็มไปด้วยโรครุมเร้า เพราะปัจจุบันคนทุกกลุ่มเป็นโรคอ้วนมากขึ้น
ดังนั้น รัฐต้องสนับสนุนครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ ต้องจัดสวัสดิการเพื่อให้ลูกหลานได้ดูแลพ่อแม่ได้ ขณะเดียวกันโรงเรียนต้องส่งเสริมหลักสูตรให้เด็กเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอยู่กับคนแก่ เพื่อก่อให้เกิดความเกื้อหนุนระหว่างวัย เพราะเด็กในยุคปัจจุบันเปราะบาง อย่างน้อยต้องสร้างสังคมให้ดูแลผู้สูงอายุด้วยจิตอาสา เช่นเดียวกันการพัฒนาเมืองในอนาคต ต้องสร้างสิ่งสาธารณูปโภคให้ผู้สูงอายุเดินทางได้สะดวก นวัตกรรมหนึ่งเพื่อทำให้ช่วงบั้นปลายของชีวิตของคนไทยมีความสุข สสส.ได้ร่วมมือเครือข่ายที่มีอยู่ทั่วประเทศ ส่งเสริมให้จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุขึ้นในท้องถิ่น
สนใจคอร์สเรียนตัวต่อตัวสำหรับผู้สูงวัย เรียนที่บ้านคลิกเลย |
ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน สสส. กล่าวว่า โรงเรียนผู้สูงอายุไม่ใช่รูปแบบโรงเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ หลักสูตรจะเป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุสนใจเรียนไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร งานฝีมือ คอมพิวเตอร์ หรือหลักสูตรโภชนาการต่าง ๆ ให้คนในชุมชนช่วยร่างหลักสูตร
“อย่างน้อยเมื่อมาโรงเรียนผู้สูงอายุสนใจที่จะดูแลตนเอง ใส่รองเท้า ตัดเล็บ แปรงฟัน รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า มีเพื่อน ทำให้เกิดบรรยากาศแห่งการแบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลกัน”
ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน สสส. กล่าว
ตัวอย่างของโรงเรียนผู้สูงอายุที่เดินหน้าไปแล้ว ได้นำมาเล่าสู่กันฟังในเวทีฟื้นพลังฯ ด้วย ขยัน วิพรหมชัย นายกเทศมนตรีตำบลอุโมงค์ อ.เมือง จ.ลำพูน เล่าว่า “โรงเรียนผู้สูงอายุดอกซอมพอ” จัดตั้งเมื่อ เดือนธันวาคม 2556 วิชาที่เปิดสอนเรื่องดูแลสุขภาพ และจัดกิจกรรมทัศนศึกษานอกสถานที่ และทุกวันเสาร์ นร.ในโรงเรียนผู้สูงอายุจะรวมตัวกันออกเยี่ยมผู้สูงอายุที่ติดบ้านติดเตียง เพื่อสร้างกำลังใจ และยังสร้างความรู้สึกว่าหากไม่รู้จักดูแลสุขภาพ ไม่ออกกำลังกายจะสร้างภาระให้กับลูกหลาน
ด้าน นายวันชัย นารีรักษ์ นายกเทศมนตรีเมืองวังน้ำเย็น อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว กล่าวว่า การจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุเน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ลดการพึ่งพาด้านจิตใจ ลดความเหงา ให้มีโอกาสสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันด้านจิตปัญญา เช่น การรวมกลุ่มไปวัด เรียนวิชาคอมพิวเตอร์ เปตอง วารีบำบัด ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของผู้สูงอายุ
ขณะที่ วิศาล วิมลศิลป์ อดีตผู้อำนวยการ รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล อ.กงไกรลาส จ.สุโขทัย เล่าว่า ในพื้นที่ ผู้สูงอายุต้องรับภาระดูแลลูกหลาน เพราะคนหนุ่มสาวไปทำงานในเมือง ซึ่งก่อนหน้ามีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมในพื้นที่แต่ผู้สูงอายุไม่สนใจ เมื่อปรับมาเป็นรูปแบบของโรงเรียน มีหลักสูตรทำให้เกิดความต่อเนื่องในการทำกิจกรรม ทำให้ผู้สูงอายุได้ฝึกสมอง โหมดการปรับตัวสู่สังคมผู้สูงอายุของสังคมไทย เครือข่ายประชาชน หันมาทำงานเชิงรุกเรื่องการตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ
วัชรา ริ้วไพบูลย์ ผู้อำนวยการสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ มองว่าขณะนี้สังคมไทยภาครัฐต่างแยกกันทำงานรับสังคมผู้สูงอายุ เพราะมีหลายหน่วยงานที่จะต้องทำงานด้านนี้ได้แก่กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ขณะที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ต้องมาร่วมคิดว่าจะสร้างเทคโนโลยีให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตให้มีความสะดวกได้อย่างไร
ที่มา: เว็บไซต์เดลินิวส์
Total Rating ✔
9.2 stars – 2,789 reviews
More Reviews
อ่านรีวิว ทั้งหมดคลิก
แสดงความคิดเห็น
สังคมไทยต้องดูแลผู้สูงอายุอย่างไร
บทความจาก TutorFerry