เทคนิคพิชิตแอดมิชชั่น
ของน้องพี-พีรพงศ์ ตะวันทวีกิจ
พี-พีรพงศ์ ตะวันทวีกิจ นักเรียนที่ได้คะแนน Admissions สูงสุดของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
น้องพีเล่าเรื่องการเรียนให้ฟังว่า
ให้ใส่ใจการเรียนให้ห้องทุกวิชา การเรียนที่โรงเรียนและอ่านหนังสือทบทวนเองก็เพียงพอแล้ว ฝึกฝนด้วยตัวเอง ทำโจทย์และข้อสอบเก่าเยอะมาก! มีกี่ปีก็พยายามหามาทำหมด เป็นคนไม่ย่อท้อง่าย ๆ การตั้งเป้าหมายไว้ชัดเจน ทำให้มุ่งไปได้สุด และถูกทาง ความตั้งใจทุกอย่างทำให้พิชิตคะแนน Admissions สูงสุดของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้สำเร็จ!ช่วยเล่าเทคนิคการเรียนในห้องเรียนให้ฟังหน่อยครับ ?
เลือกที่จะนั่งประมาณกลางห้อง บางครั้งก็นั่งหน้าห้องเลย ตั้งใจเรียนตั้งแต่คาบแรก พยายามจด พยายามจำเนื้อหาสาระสำคัญในวิชานั้น ๆ หลังจากจบคาบ ถ้ามีเวลาก็จะสรุปเนื้อหาในคาบนั้นให้เข้าใจเลย เทคนิคเฉพาะตัวก็คือ เราเอาเนื้อหาทั้งหมดที่เรียน กลับมาทบทวน อ่านจากหนังสือ อ่านจากสมุดที่เราจด และสรุปเนื้อหา ให้ได้เนื้อหาที่เป็นของฉบับเรา จะทำให้เราอ่านแล้วเข้าใจมากขึ้น จะทำเป็น mind map ตาราง หรือรูปภาพ ที่เหมาะกับวิชานั้น ๆ และเหมาะกับตัวเราด้วยน้องพีค้นหาตัวเองอย่างไร ?
เริ่มจากลิสต์รายชื่อคณะที่เราสนใจ ตอนนั้นมีประมาณ 5 คณะ เริ่มหาข้อมูลทีละคณะ หาข้อมูลจาก อินเทอร์เน็ต ไปงาน Open House ของแต่ละมหาวิทยาลัย หาข้อมูลการเรียนการสอนในแต่ละมหาวิทยาลัย คุยกับรุ่นพี่ ปรึกษาอาจารย์ห้องแนะแนวบ้าง และศึกษาแนวทางการทำงาน เหมาะกับบุคลิกนิสัยและความชอบของเราไหม คณะไหนที่ไม่ใช่ก็ตัดทิ้งไปเรื่อย ๆ ซึ่งก็เลือกจากความชอบและความถนัด ผมถนัดวิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และสนใจการเขียนโปรแกรม อยากเป็นโปรแกรมเมอร์ ก็เลยเลือกเรียนวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ครับเตรียมตัว Admissions อย่างไรครับ ?
เริ่มเตรียมตัวตั้งแต่อยู่ ม.5 ค้นหาตัวเอง ค้นหาคณะที่เหมาะกับเรา และการอ่านหนังสือทบทวนบทเรียน พอเราอยู่ ม.5 เราก็ทบทวนเนื้อหา ม.4 เมื่อเราอยู่ ม.6 เราก็ทบทวนเนื้อหา ม.5 เพื่อเป็นการทบทวนไม่ให้เราลืมเนื้อหาที่เราเรียนมา สำหรับคณะวิศวกรรมศาสตร์ ใช้คะแนน GPAX + O-NET + GAT + PAT2 + PAT3 เริ่มตั้งแต่เกรดเฉลี่ย เกรดผมดีพอสมควร เพราะตั้งใจเรียนมาตลอด สำหรับ O-NET เป็นข้อสอบพื้นฐานที่ใช้วัดระดับนักเรียน ม.6 เนื้อหาครอบคลุม ถ้าเราตั้งใจเรียนมาตลอด 3 ปี ม.4 – ม.6 เราก็สามารถทำข้อสอบได้เทคนิคพิชิตข้อสอบ GAT/PAT
GAT เชื่อมโยง ผมรู้สึกว่าไม่ได้ยากเกินความสามารถ ส่วน GAT ภาษาอังกฤษ ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละคน ใครที่ไม่เก่งอังกฤษ ก็ต้องไปสู้กับไปทุ่มเท GAT เชื่อมโยง สำหรับใครที่พอมีพื้นฐานทางด้านภาษาอังกฤษ ให้เราเลือกทำส่วนที่เราถนัด อย่างเช่น conversation จะมีความง่ายที่สุด หรือใครที่ถนัด reading หรือ grammar เราก็สามารถเน้นในเรื่องนั้นได้ PAT 2 วิทยาศาสตร์ มีทั้งวิชา ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ โลกดาราศาสตร์ และจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ หรือเนื้อหาทั่วไปที่เกี่ยวกับวิทยาสาสตร์ในปัจจุบัน ผมจะเน้นไปที่การอ่านหนังสือพื้นฐาน เริ่มตั้งแต่ ม.4 - ม.6 ทบทวนไปเรื่อย ๆ PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ ถือว่าเป็น PAT ที่สำคัญของวิศวะ โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญก็คือ ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ เคมี และด้านวิศวกรรม เครื่องกล เขียนแบบ เซ้นทางวิศวกรรมฝึกทำโจทย์จากข้อสอบเก่า ๆ
ผมใช้วิธีการอ่านหนังสือและทบทวนเนื้อหาเองเป็นหลัก ถ้าไม่เข้าใจก็ถามเพื่อนบ้าง หรือเข้าไปปรึกษาอาจารย์ ทำข้อสอบเก่าเยอะมาก เมื่อทำข้อสอบเก่าเยอะ ๆ ก็จะรู้แนวทางข้อสอบ หลาย ๆ ปี มันค่อนข้างคล้าย ๆ กัน และดูสอนติวในยูทูป ในเว็บไซต์ที่สอนฟรีวิธีเอาชนะความขี้เกียจ
เครียดเป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นคณะในฝันของเรา ยังไงเราก็ต้องสู้ เราจะมีแรงบันดาลใจเกิดขึ้นเอง ส่วนเทคนิคที่จะไม่ให้ขี้เกียจ ต้องเขียนเป้าหมายไว้ ท่องจำเอาไว้เราอยากเป็นอะไร เราต้องไปให้ถึงให้ได้ เขียนโน๊ตแปะไว้ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ผนังในห้อง บนโต๊ะทำงาน ทำให้เรามีแรงสู้ขึ้นมาได้ฝากถึงน้อง ๆ ที่กำลังเตรียมตัว Admissions
ฝากถึงน้อง ๆ ที่กำลังเตรียมตัวแอดมิชชั่นปี 59 หรือปีต่อ ๆ ไป ไม่ว่าอยากเข้าคณะอะไรก็ตาม ขอให้น้องทำให้เต็มที่ สู้เพื่อพ่อแม่ สู้เพื่อตัวเอง เพื่อคณะในฝันของน้อง ๆ ถ้าน้องได้มันมาแล้ว น้องจะภูมิใจและดีใจมาก สู้นะครับ
ที่มา : ทรูปลูกปัญญา
Total Rating ✔
9.2 stars – 2,789 reviews
More Reviews
อ่านรีวิว ทั้งหมดคลิก
แสดงความคิดเห็น
+ เทคนิคการเรียน + เรียนอย่างไร ?ได้คะแนนอันดับ 1 คณะวิศวฯคอม
บทความจาก TutorFerry, แอดมิชชั่น