5 วิธีแก้ปัญหาลูกกดื้อลูกกซน
"ลูกดื้อลูกซนมากจะทำอย่างไรดี"
เป็นประโยคคำถามที่คุณพ่อคุณแม่หลายท่านคงจะอยากจะได้คำตอบอย่างมาก คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายอาจจะใช้วิธีปราบความดื้อความซนของลูกที่แตกต่างออกไป บางท่านก็อาจจะหมดหนทางและก็ปล่อยให้ลูกดื้อหรือซนไปตามวัย วันนี้เลยพาคุณพ่อคุณแม่มาดูวิธีแก้ปัญหาลูกดื้อลูกซนกันครับ โดย พญ.นลินี เชื้อวณิชชากร กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม โรงพยาบาลมนารมย์ อธิบายถึงลักษณะของเด็กซนกับเด็กดื้อว่าเด็กซน
คือ อาการที่เด็กเล็กๆ ไม่อยู่นิ่ง เคลื่อนไหวหรือหยิบฉวย สิ่งต่างๆ มาเล่นอยู่ตลอดเวลา วิ่งหรือเดินไปมา อาจรวมถึงช่างพูด พูดตลอดเวลา เด็กบางคนอาจมีอาการหุนหันพลันแล่นร่วมด้วย คือ ใจร้อนหรือรอคอยไม่ได้เด็กดื้อ
หมายถึง เด็กที่ไม่เชื่อฟัง ไม่ทำตามกฎกติกาหรือวินัยที่ทำข้อตกลงกันเอาไว้แล้วความหมายของเด็กดื้อกับเด็กซนจึงไม่เหมือนกัน แต่อาจมาพร้อมกัน ถ้าเราไม่แน่ใจว่าลูกเราซน หรือดื้อหรือเปล่า ก็ควรกลับมาทบทวนว่าเราได้ตั้งกฎกติกาในครอบครัวไหม ซึ่งกฎกติกาก็ต้องเหมาะสม ต้องเซตเวลากิน เวลานอน และการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆให้เป็นระบบ แต่ความจริงแล้วเราควรเซตสิ่งต่างๆ เหล่านี้ตั้งแต่ลูกยังเล็กๆ และเมื่อเขาโตขึ้นก็ให้เขาได้ร่วมคิดตัดสินใจว่าจะกำหนดตารางกิจวัตรประจำวันของตัวเองว่าเวลาไหนจะทำอะไร โอกาสที่เขาจะดื้อก็จะน้อยลง นั่นคือ การเพิ่มวินัยในครอบครัว เพราะบางบ้านที่ไม่มีวินัย เด็กก็ไม่รู้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ ส่งผลให้แสดงพฤติกรรมที่เป็นปัญหา (ดื้อ ซน) ทั้งนี้ ในบางช่วงของพัฒนาการ เด็กจะทดสอบและท้าทายผู้ใหญ่เพื่อดูว่า อะไรที่เขาทำได้หรือไม่ได้ หากผู้ใหญ่รับมือแบบผิดๆ เขาก็จะทำแบบนั้นต่อไป ดื้อดึง บางคนก็ดื้อกับพ่อแม่ที่บ้านไม่พอ ก็พาลออกมาดื้อนอกบ้าน ท้าทายกับครูและผู้ใหญ่คนอื่น หนักเข้าก็จะมีปัญหาการเข้าสังคม
หากเด็กซนดื้อไม่เชื่อฟังพ่อแม่ควรมีวิธีการจัดการ หรือรับมือดังนี้
1. หากเขาเล่นอยู่ และพ่อแม่ต้องการให้ลูกหยุดเล่นเพื่อไปทำอย่างอื่น ให้พูดคุยกับเขาโดยให้เขาเลือกว่าจะเล่นต่ออีก 10 หรือ 15 นาที พอหมดเวลาก็เดินเข้าไปบอกเขาว่าหมดเวลาแล้วและอาจนับ 1-10 ระหว่างรอให้เขาเก็บของเล่น2. พ่อแม่ควรต้องตามติด ไม่ใช่ว่าเราพูดแล้วก็ปล่อย เพราะเด็กบางคนเขาก็จับทางได้ดีว่าแม่คงพูด ไปอย่างนั้นแหละ เดี๋ยวแม่ก็ปล่อย เข้าทำนอง NATO - No Action Talk Only อย่างเดียว ต้องตามติดเพื่อกำกับว่าลูกทำตามกฎกติกา หรือข้อตกลงหรือไม่
3. ระบุขอบเขตว่าตรงไหนที่เราอนุญาตให้ทำ พื้นที่ไหนหรือกิจกรรมใดที่อนุญาตให้เล่นได้ ซึ่งในเด็กเล็กก่อน 6 ขวบก็ควรอยู่ในสายตาของผู้ใหญ่ตลอด แม้ว่าเขากำลังเล่นอยู่ในที่ที่ปลอดภัย และเรา
4. ไม่ควรห้ามเด็กทุกเรื่องทุกเวลา แต่ควรห้ามเมื่อเขาเริ่มจะทำอะไรที่อาจเป็นอันตราย
5. ควรให้ความสำคัญกับหน้าที่ของเด็ก เช่น เขามีหน้าที่ ที่ต้องอาบน้ำแปรงฟัน ถ้าเขายังเล็ก ผู้ใหญ่ก็ต้องช่วย ถ้าเขาดื้อดึงต่อต้าน เราก็ต้องหลอกล่อ ถ้าหลอกล่อไม่ได้ก็ต้องฝืนใจเขาหน่อย หรือเด็กโตขึ้นหน่อย ก็มีหน้าที่ไปเรียน หรือช่วยทำงานบ้านนิดหน่อย นอกจากนี้ แนะนำให้พ่อแม่เลือกเอาจริงเป็นบางเรื่อง และเฉพาะเรื่องที่จำเป็น อย่าเปิดแนวรบกับลูกทุกเรื่อง หรือเอาจริงกับทุกเรื่อง เพื่อลดโอกาสที่เขาจะต่อต้านและไม่เชื่อฟัง บางครั้งที่เด็กมีการต่อรองนั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่เชื่อฟัง แต่เขากำลังต่อรอง ซึ่งพ่อแม่ควรให้ลูกได้ต่อรองแต่ไม่ต่อต้าน
“ผู้ใหญ่ควรฟังเด็กให้มากขึ้น ไม่ได้ให้ตามใจเด็ก แต่ให้รับฟังเขา พอเขาต่อรองอะไรมา ถ้าทำได้เราก็ต่อรองกลับ ถ้าทำไม่ได้เราก็รับฟังแต่ไม่ได้ตามใจ อยากให้พ่อแม่ยุคใหม่เข้าใจเรื่องของการต่อรองกับลูก พูดคุยกัน เราไม่จำเป็นต้องไปสั่งเด็กทั้งหมด การฝึกให้ลูกต่อรองกับเราให้เป็น เขาก็จะมีทักษะเวลาเขาโตขึ้นแล้วไปเจออะไรที่ไม่เข้าที เขาก็สามารถต่อรองได้ เอาตัวรอดได้ ถ้าไม่เคยฝึกใครจะทำได้ นอกจากนี้พ่อแม่เวลาเลี้ยงลูกให้ลองดูว่าเราทำได้เหมาะสมหรือยัง แล้วลูกมีพัฒนาการที่เหมาะสมไหม ถ้าไม่เหมาะสม ไม่อยากให้พ่อแม่ใช้คำว่า เดี๋ยวโตขึ้นก็ดีเอง แต่อยากให้ทำปัจจุบันให้ดีก่อน บางคนมีปัญหากล้ามเนื้อเรื้อรังมานานก็มี ซน ไม่นิ่ง ซึ่งบางคนอาจจะเป็นมาตั้งแต่เล็ก”
สำหรับการแก้ไข หรือ รักษาอาการซน หรือ ดื้อ นั้น พญ.นลินี บอกว่า การบำบัดมีหลายแบบ ซึ่งส่วนใหญ่หมอก็จะดูตามขั้นตอนว่าตอนนี้ต้องทำอะไรบ้าง อย่างเด็กบางคนหมอก็จะเริ่มต้นที่ร่างกายก่อน ในขณะที่แก้เด็ก หมอก็จะคุยกับพ่อแม่ด้วย พยายามคุยให้พ่อแม่เข้าใจลูก และรู้วิธีที่จะรับมือที่ถูกต้องและเหมาะสม ถ้าดูเหมือนพ่อแม่จะมีปัญหาไม่ง่ายนัก อาจจะเลยตัวเขาเอง มีอะไรบางอย่าง เราก็จะส่งเขาไปหานักจิตวิทยา หรือบางคนอาจจะต้องเจอจิตแพทย์ แต่ถ้าในกรณีของซนผิดปกติ บางคนต้องรักษา เด็กบางคนก็อาจจะมีภาวะบางอย่างในตัวเขา เช่น อาจจะมีปัญหาพัฒนาการด้านภาษา ไม่เข้าใจเรื่องภาษา ปัญหาการรอคอยและ ควบคุมตัวเองไม่ได้ เราก็ต้องรักษาก่อน แนะนำให้ปรึกษา เพราะเด็กบางคนก็จำเป็นที่ต้องได้รับการฝึกฝน ได้รับการรักษา อย่ามองว่าการพาไปหาหมอลูกต้องผิดปกติ ให้มองว่าเราพาลูกมาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญให้ช่วยประเมินและแก้ปัญหาให้ลูก
ที่มา : https://www.facebook.com/HowToTeachYourKids/
Cr : http://www.manarom.com/
Total Rating ✔
9.2 stars – 2,789 reviews
More Reviews
อ่านรีวิว ทั้งหมดคลิก
แสดงความคิดเห็น
ลูกกดื้อลูกกซน คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร ?
บทความจาก TutorFerry