รู้หรือไม่ว่าการเรียน ทำให้ผู้สูงวัยดูเด็กขึ้นได้
"เค้าบอกว่าบ้านที่สมบูรณ์แบบและมีความสุขจริงๆ คือบ้านที่มีเสียงร้องของเด็กและเสียงไอของผู้สูงวัย"
แต่จะสมบูรณ์แบบมากๆคือ ความสุขและสุขภาพของทั้งเด็กและผู้สูงวัย สำหรับเด็กๆคงไม่น่าห่วงเท่าไหร่แต่สำหรับผู้สูงวัยนั้นดูจะน่าเป็นห่วงในเรื่องของสุขภาพมากกว่าเพราะคนเราเมื่ออายุมากขึ้น อะไรๆก็ต้องเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา....
วันนี้เราจะมาทำให้ผู้สูงวัยสุขภาพดีขึ้น มีความสุขขึ้นโดยการเปลี่ยนผู้สูงวัยเหล่านั้นให้กลายเป็นนักเรียน ซึ่งการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงวัยนั้นเราสรุปมาได้เป็น 4 กิจกรรมด้วยกันคือ การเรียนรู้เกี่ยวกับ ดนตรี ,ศิลปะ ,เทคโนโลยี และด้านภาษา แต่ก่อนจะไปดูกิจกรรมเหล่านี้ เรามารู้กันถึงเรื่องสมองจาก ผศ.นพ.รุ่งนิรันดร์ ประดิษฐสุวรรณ กันก่อนนิดนึงนะครับ
" เมื่ออายุมากขึ้นสมองก็จะเริ่มแสดงอาการผิดปกติออกมาให้เห็น เช่น อาการหลงลืมเป็นครั้งคราว ซึ่งเราต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่ากระบวนการความจำในร่างกายมนุษย์จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามอายุที่มากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ผู้สูงอายุสูญเสียความสามารถในการปฏิบัติงานต่าง ๆ รวมถึงการช่วยเหลือตนเอง อย่างไรก็ตาม "ความเครียด" ถือได้ว่าเป็นศัตรูร้ายของอาการหลงลืมเช่นกัน เพราะยิ่งเครียดมากเท่าไหร่อาการหลงลืมก็จะทวีคูณขึ้นเท่านั้น ส่วนภาวะสมองเสื่อมนั้นถือว่าเป็นโรคชนิดหนึ่งไม่ใช่ภาวะปกติของผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมมักมีอาการหลงลืม นึกคำพูดไม่ออก หลงทาง และบุคลิกภาพแปรเปลี่ยนไปจากเดิมจนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เหมือนเดิม ซี่งสาเหตุหลักของโรคสมองเสื่อมก็คือ โรคอัลไซเมอร์ และโรคหลอดเลือดสมอง"
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการคล้ายสมองเสื่อม
1. รับประทานยาหลาย ๆ ชนิดพร้อมกัน และยาบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงต่อสมอง 2. ดื่มเครื่องดื่มที่มีแแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
3. ได้รับอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบกระเทือนศีรษะ
4. มีอาการเครียดเป็นประจำ และมีอาการซึมเศร้า
5. มีอาการของโรคต่อมไธรอยด์
6. เป็นโรคหลอดเลือดสมอง
หลีกเลี่ยงอาการสมองเสื่อมทำได้ดังนี้
1. งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ทุกชนิด2. ระวังเรื่องการใช้ยา ไม่ควรรับประทานยาสุ่มสี่สุ่มห้า ควรให้แพทย์เป็นผู้สั่งยาทุกครั้งและควรนำยาที่ท่านรับประทานเป็นประจำไปให้แพทย์ดูด้วยเพื่อหลีกเลี่ยงการสั่งยาซ้ำซ้อน
3. ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบกระเทือนศีรษะ
4. สำหรับผู้สูงอายุที่เดินลำบากควรมีคนดูแล เช่น เวลาเข้าห้องน้ำควรมีคนไปเป็นเพื่อน เพราะอาจเกิดการหกล้มในห้องน้ำได้
5. เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุควรหมั่นไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และไม่ควรลืมเจาะเลือดเพื่อตรวจหาเบาหวานและโรคไขมันในเลือดสูง
6. หมั่นไปตรวจความดันเลือดสม่ำเสมอตามที่แพทย์นัด หากพบว่าเป็นความดันโลหิตสูงก็ต้องปฏิบัติตนตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพราะมีผลกระทบต่อภาวะสมองเสื่อมได้
7. หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุจะต้องระมัดระวังไม่ให้หักโหมจนเกินไป แต่เพราะแทนที่จะเกิดประโยชน์อาจทำให้เกิดโทษได้
8. หากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูโทรทัศน์ หมั่นเข้าร่วมกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ และกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ตามสมควร
9. เมื่อสังเกตว่าตนเองเริ่มมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ มากผิดปกติ หรือมีอาการบ่งชี้อื่น ๆ ที่น่าสงสัยก็ควรรีบไปพบประสาทแพทย์ หรือแพทย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุทันที
เทคนิคและวิธีพัฒนาความจำ
1. พยายามตั้งสมาธิเมื่อปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ 2. พยายามนึกสร้างภาพในใจเมื่อต้องจดจำสิ่งหนึ่งสิ่งใด และถ้าภาพประทับใจก็ยิ่งทำให้จดจำได้ง่ายขึ้น
3. เลือกจำเฉพาะข้อมูลที่สำคัญเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
4. ควรมีสมุดบันทึกพกติดตัวตลอดเวลา เพื่อใช้จดข้อมูลต่าง ๆ กันลืม
5. พยายามจัดหมวดหมู่สิ่งของไว้เป็นพวก ๆ เก็บเป็นที่เป็นทางเพื่อความสะดวกในการใช้งานและไม่สับสน
6. ทำทุกเรื่องด้วยสติ และรอบคอบ ถ้าไม่แน่ใจก็ตรวจทานอีกครั้งเพื่อป้องกันความผิดพลาด
7. พยายามลดความตึงเครียด เช่น หางานอดิเรกทำในยามว่าง, ออกกำลังกาย , นั่งสมาธิ เป็นต้น
4 กิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้สูงวัย
กิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้สูงวัย ถ้าเป็นสิ่งที่ท่านชอบ และสนใจอยู่แล้ว จะเป็นการคลายเครียด ฝึกสมาธิได้อย่างดีอีกด้วย
- ดนตรี การร้องเพลงหรือการเล่นดนตรี ไม่ว่จะเป็นดนตรีไทย ดนตรีสากล เช่นระนาด ซอ เปียโน อูคูเลเล่ หรือเครื่องดนตรีชนิดไหนก็ได้ทั้งนั้น เพราะดนตรีจะทำให้ผู้สูงวัยอารมณ์ดี เพลิดเพลิน คลายความเครียด และช่วยในเรื่องของการออกกำลังกายเฉพาะที่ได้ด้วยเช่น ช่วยลดอากานิ้วมือล็อค กล้ามเนื้ออ่อนแรง มือเท้าชา และการเล่นดนตรียังเป็นการทำให้ผู้สูงวัยได้ใช้สมองทั้ง 2 ส่วนซึ่งจะทำให้ลดการเป็นโรคอัลไซเมอร์ด้วย
- ศิลปะทุกแบบ เช่นวาดรูประบายสี ปูนปั้น ปั้นดินน้ำมัน โดยเฉพาะที่เป็นศิลปะบำบัดซึ่งจะคล้ายๆกับการเรียนดนตรี คือช่วยในเรื่องของโรคสมอง และเป็นการออกกำลังกายไปในตัวอีกด้วย
- คอมพิวเตอร์ บางทีผู้สูงอายุอาจต้องการรู้จักเทคโนโลยีสมัยใหม่ๆบ้างเช่นการใช้งานคอมพิวเตอร์และการใช้งานอินเตอร์เน็ต นอกจากจะได้เพลิดเพลินกับการเรียนรู้และการใช้งานแล้วยังเป็นการลดช่องว่างระหว่างวัยของคุณปู่คุณย่ากับคุณหลาๆได้บ้าง
- การฝึกสนทนาภาษาต่างประเทศ เป็นการทำให้ผู้สูงอายุได้ใช้สมองทั้ง 2 ข้างเป็นอย่างดีจะทำให้ผู้สูงวัยได้นึกภาพตามซึ่งจะช่วยลดการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้เป็นอย่างดีทีเดียว
Total Rating ✔
9.2 stars – 2,789 reviews
More Reviews
อ่านรีวิว ทั้งหมดคลิก
แสดงความคิดเห็น
4 กิจกรรมการเรียนรู้ เปลี่ยนผู้สูงวัยเป็นนักเรียน ลดความเครียดเพิ่มความสุข
บทความจาก TutorFerry