สำรวจ
แนะนำ
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

ค้นหาด้วยเสียง
ค้นหาด้วยเสียงคลิกที่นี่

» » เด็ก4 แบบ กับ4 วิธีการสอน

02 พฤศจิกายน 2558

เด็ก4 แบบ กับ4 วิธีการสอน

Tutor Ferry Center : การสอนให้เด็กรู้จักเติมน้ำใส่ถังเองได้ ไม่ใช่คอยแต่จะเป็นผู้เติมน้ำใส่ถงให้อยู่ร่ำไป หมายถึงครูต้องสอนให้ได้รู้จักวิธีคิด หรือวิธีไปหาความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆเองได้ เพราะครูไม่อาจจะอยู่สอนเด็กไปได้ตลอด

จะทำอย่างไรเมื่อต้องเติมน้ำลงในถังน้ำทั้ง 4 แบบนี้


4 Bucket of Learning

จะทำอย่างไรเมื่อต้องเติมน้ำลงในถังน้ำทั้ง 4 แบบนี้


  1. ถังเปล่า
  2. ถังที่มีน้ำเต็ม
  3. ถังรั่ว
  4. ถังที่เต็มไปด้วยก้อนกรวด


จะสอนนักเรียนอย่างไร ? ถ้าเปรียบเทียบเด็กๆมีการเรียนรู้แบบถังน้ำ 4 แบบข้างต้น

วันนี้เรามาดูกันครับว่าถ้าเด็กๆหรือนักเรียนมีลักษณะการเรียนรู้เป็นแบบใด เราควรจะสอนและปรับการเรียนการสอนอย่างไรเพื่อให้การเรียนการสอนนั้นได้ประสิทธิภาพสูงสุด


1. ถังเปล่า 

ถ้าเราต้องเติมน้ำลงในถังเปล่าๆ ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะน้ำไม่มีก็ต้องเติม และถ้าเราเติมมากก็ได้น้ำมาก เติมน้อยก็ได้น้ำน้อย ถ้าเปรียบเทียบเป็นการเรียนรู้ของเด็กๆ ก็คือเด็กๆที่พร้อมจะเรียนรู้ พร้อมที่จะรับความรู้และเทคนิคการคิดแบบต่างๆได้อย่างเต็มที่ คุณครูที่สอนเด็กๆแบบนี้ ถือว่าค่อนข้างง่ายเพราะนักเรียนพร้อมที่จะรับอยู่แล้ว เพียงแต่ในเรื่องของการสอนก็ต้องสอนเหมือนกับเปิดน้ำผ่านสายยางให้น้ำค่อยๆไหลเข้าเติมลงในถัง ไม่ใช่ตักน้ำแบบจ้วงๆลงในถังเพราะต้องการความรวดเร็ว อาจจะทำให้น้ำขุ่นหรือน้ำอาจกระฉอกออกมาได้ 

2 . ถังที่มีน้ำเต็ม

ถังที่มีน้ำเต็มคงไม่ต้องเติมน้ำลงไปอีกแล้วเพราะว่ามีน้ำเต็มอยู่แล้วอย่างนั้นหรือ ! เปรียนบเทียบกับการเรียนรู้ของเด็กๆที่เป็นแบบนี้ คือ เด็กที่คิดว่าตัวเองรู้และเข้าใจในเรื่องที่ครูกำลังสอนอยู่แล้ว แบบว่าฉันเก่ง สิ่งที่ครูกำลังอธิบายอยู่นั้นช่างเป็นเรื่องที่ง่ายเสียเหลือเกิน บางทีก็โอเคนะก็นักเรียนเก่งอยู่แล้วครูก็ไม่รู้จะสอนอะไรเหมือนเติมนำ้ลงในถังที่มีน้ำเต็มถังเติมไปก็ล้นออกมาปล่าวๆ 
แล้วการสอนเด็กแบบนี้จะสอนแบบไหนและอย่าไรดี ?
การสอนเด็กเก่งและคิดว่าตัวเองเก่ง อยู่ที่ว่าครูจะสามารถรู้ได้อย่างไรว่าเด็กคนนั้นเก่งจริงรู้จริง และรู้พอที่จะนำไปใช้ (ในการสอบ) หรือนำไปต่อยอดความรู้ได้เองหรือไม่ เพราะบางครั้งถังที่มีน้ำอยู่เต็มนั้นอาจเป็นถังใบเล็กนิดเดียวเมื่อเปรียบเทียบกับถังใบอื่นๆ หรืออาจเป็นถังใบใหญ่แต่น้ำในถังเป็นน้ำที่ขุ่นมัวเต็มไปด้วยตะกอนก็ได้ ถ้าเป็นเด็กที่คิดว่าตัวเองเก่งแต่อาจยังไม่เก่งพอ ครูก็ต้องทำหน้าที่เปลี่ยนถังใบนั้นให้ใหญ่ขึ้นก่อนที่จะเติมน้ำลงไปอีก คือต้องทำให้นักเรียนรู้ว่าความรู้ที่ตัวเองมีและคิดว่าเก่งแล้วนั้นมันยังไม่พอ หรือถ้าเป็นนักเรียนที่คิดว่าตัวเองเก่งแต่จริงๆแล้วยังไม่เชี่ยวชาญพอหรือยังขาดเทคนิคอีกเยอะเหมือนกับถังที่เต็มไปด้วยน้ำที่มีตะกอนมากมาย ครูก็ต้องทำให้ตะกอนนั้นนอนก้นก่อนเพื่อให้น้ำที่มีสามารถน้ำไฟใช้ได้จริงๆเสียก่อน อาจจะโดยการเพิ่มความเข้าใจที่ไปที่มาของความรู้หรือเพิ่มวิธีคิดลงไป ไม่ใช่ใช้วิธีท่องจำหรือรู้แต่เพียงผิวๆจำแต่สูตรเท่นั้น เพื่อให้เด็กนำความรู้ที่มีไปใช้แก้ปัญหาหรือต่อยอดได้อีก

3. ถังรั่ว

ถ้าถังน้ำรั่วแล้วเราเติมน้ำลงไปเติมเท่าไหร่ก็คงไม่เต็มเสียที หรือถ้ารอยรั่วนั้นเล็ก อาจจะเติมน้ำลงไปจนเต็มได้ แต่ผ่านไปซักพักน้ำก็รั่วออกมาหมดเหมือนเดิม เปรียบกับการเรียนรู้ของเด็กก็เหมือนกับเด็กที่ไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียนหรือสมาธิสั้น คือเรียนรู้ได้รับได้ แต่ผ่านไปซักพักก็ลืม หรืออธิบายอย่างไรก็ไม่รู้ ไม่เข้าใจเสียที การจะเติมน้ำลงในถังที่รั่วนี้ ก็คงต้องอุดรอยรั่วนั้นเสียก่อนเพราะการเติมน้ำลงไปในถังที่มีรอยรั่วก็คงไม่เกิดประโยชน์อันใด การสอนเด็กที่ไม่มีสมาธิจะเรียนก็ต้องทำให้เด็กมีสมาธิเสียก่อน คุณครูไม่ควรตะบี้ตะบันสอนอย่างเดียวเพราะคิดว่าหน้าที่คือการสอนก็ต้องสอน ครูควรหาวิธีการสอนหรือการทำให้เด็กมีสมาธิที่จะเรียนเสียก่อน การนำเข้าบทเรียนที่ทำให้เด็กตื่นเต้นก็ช่วยได้ หรือการอธิบายที่มาที่ไป หรือประโยชน์ของเนื้อหาบทเรียนนั้นก็อาจช่วยได้ เด็กแต่ละคนอาจมีความสนใจที่แตกต่างกัน คุณครูผู้สอนก็ต้องค้นหาให้พบ เหมือนกับการค้นหารอยรั่วของถังใบนั้นๆและก็ทำการอุดเสียก่อน

4. ถังที่เต็มไปด้วยก้อนกรวด

ถังที่มีก้อนกรวดอยู่อาจจะมากหรือน้อยหรือมีอยู่เต็มถังเลยก็ได้ เมื่อเราเติมน้ำลงไปได้นิดเดียวก็เต็มถังแล้ว การจะเติมน้ำลงไปให้ได้น้ำมากก็ต้องเอาก้อนกรวดออกเสียก่อน เปรียบกับการเรียนรู้ของเด็กๆแบบนี้ก็คือเด็กที่เรียนรู้ได้ช้า อาจจะเข้าใจอะไรยากหน่อย สาเหตุอาจจะเป็นเพราะไม่มีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นๆเลย หรือบางครั้งอาจจะเข้าใจหรือรู้มาแบบผิดๆเลยก็เป็นได้ ดังนั้นการสอนเด็กแบบนี้ครูต้องดูให้ออกว่าในถังนั้นมีก้อนกวดอยู่หรือไม่มีมากน้อยขนาดไหน เหมือนกับที่เราพอยกถังที่มีน้ำหนักมากผิดปกติก็จะรู้ได้ทันทีว่าต้องมีอะไรที่ไม่ใช่น้ำอยู่ในถังนั้น และทำการนำออกมาเสียก่อน การสอนนักเรียนก็จำเป็นต้องรู้พื้นฐานของนักเรียนว่าเรื่องไหนที่นักเรียนยังไม่เข้าใจและทำการปรับให้เรียบร้อยเสียก่อน


เด็กทั้ง 4 แบบและวิธีการสอนทั้ง 4 วิธีข้างต้นที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นเอง จริงๆแล้วเด็กแต่ละคนก็จะมีลักษณะการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไป ในแบบที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว ที่กล่าวมานั้นเป็นแค่การรวมเป็นลักษณะที่พบกันได้บ่อยๆและทั่วไป การจะสอนเด็กแต่ละคนให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดนั้น จำเป็นต้องมีการสังเกตุและวิเคราะห์นักเรียนอย่างใกล้ชิด และที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดคือ

การสอนให้เด็กรู้จักเติมน้ำใส่ถังเองได้ ไม่ใช่คอยแต่จะเป็นผู้เติมน้ำใส่ถงให้อยู่ร่ำไป หมายถึงครูต้องสอนให้ได้รู้จักวิธีคิด หรือวิธีไปหาความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆเองได้ เพราะครูไม่อาจจะอยู่สอนเด็กไปได้ตลอด#พ่อแม่ก็เช่นกัน ^^

Total Rating ✔

9.2 stars – 2,789 reviews

More Reviews

แสดงความคิดเห็น

เด็ก4 แบบ กับ4 วิธีการสอน

บทความจาก TutorFerry