ในห้องสอบ คิดโจทย์ไม่ออกมาดู
7 เทคนิคการทำข้อสอบแบบไม่มั่ว
HOTLINE
7 เทคนิคการทำข้อสอบที่คิดไม่ออกจริงๆ
เชื่อว่าน้องๆหลายคนคงต้องผ่านการทำข้อสอบกันมาอย่างโชกโชน วิชาไหนทำได้หมดทุกข้อก็ต้องยกย่องว่าเก่งมาก แต่เชื่อเหอะว่าต้องมีบ้างหละ ที่ทำข้อสอบบางวิชา บางครั้งที่ทำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง
น้องๆหลายคนเลยต้องใช้วิชา DAOZATIONS (เดาเซชั่น) ออกมาใช้ รู้แหละว่าคงไม่มีใครอยากใช้วิธีนี้หรอก แต่เมื่อถึงยามจำเป็นจริงๆก็คงหนีไม่พ้นต้องใช้ แต่ถ้าจะใช้วิชาเดาแล้วก็ขอให้ใช้แบบ มีเทคนิคกันหน่อย วันนี้ Tutor Ferry จึงขอนำเสนอ "7 เทคนิคการทำข้อสอบที่คิดไม่ออกจริงๆ" มาให้น้องๆได้นำไปใช้กัน ไปดูกันเลยดีกว่าครับ
1. ข้ามไปก่อน
เทคนิคพื้นฐานอย่างหนึ่งคือ เมื่ออ่านโจทย์แล้วเกิดอาการ "มึนตี๊บ" ไม่รู้ที่มาที่ไปจริงๆ ให้ข้ามข้อนั้นไปก่อน เพื่อกลับมาทำที่หลัง แต่การข้ามไปก่อนนี้ก็ต้องมีเทคนิคเหมือนกันนะครับ คือ
ต้องทำเครื่องหมายเอาไว้ด้วยว่าข้อนี้ยังไม่ได้ทำ เพราะมิเช่นนั้นแล้วเราจะต้องมาเสียเวลาหาข้อที่ยังไม่ได้ทำทั้งหลายในตอนหลัง ซึ่งไม่ใช่เรื่องจำเป็นเพราะเวลาทุกนาทีในห้องสอบมีค่ามาก และอีกอย่างหนึ่งคือ ถึงแม้ข้อนี้เราจะข้ามไปแต่ก็ควรอ่านโจทย์ให้เคลียร์เสียก่อน และรู้ว่าทำไม่ได้จริงๆด้วย ไม่ใช่ยังอ่านโจทย์ไม่เคลียร์ ยังไม่ได้ทำความเข้าใจกับโจทย์เลยก็เหมาเอาแล้วว่า ข้อนี้ทำไม่ได้แน่
และการอ่านโจทย์ให้เคลียร์ยังมีผลต่อเทคนิคข้อต่อไปด้วยครับ
2. โจทย์ของข้อหนึ่งอาจเป็นคำตอบของอีกข้อหนึ่ง
บางครั้งอาจารย์ที่ออกข้อสอบก็ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ที่จะทำให้โจทย์ข้อหนึ่งเป็นคำตอบของอีกข้อหนึ่ง หรืออาจจะเป็นไกด์ให้บ้างก็ได้ บางทีคนออกข้อสอบก็มีหลายคน บางทีคนออกข้อสอบก็ใช้เวลาออกข้อสอบเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน ดังนั้นจึงอาจจะมีลักษณะแบบนี้เกิดขึ้นได้ครับ ถ้าเราจำโจทย์ข้อที่ข้ามไปก่อนได้ และมาเจอโจทย์อีกข้อหนึ่งที่เป็นไกด์ให้หรืออาจเป็นคำตอบเลยก็สบายไปแต่ถ้าจำโจทย์ข้อที่ข้ามไปไม่ได้ ก็ถือว่าเสียโอกาสไป
3. ตัดช้อยท์
เทคนิคนี้ก็ถือเป็นเทคนิคการทำข้อสอบแบบพื้นฐาน คืออ่านโจทย์ อ่านคำตอบ ช้อยท์ข้อไหนรู้ว่าไม่ใช่แน่ๆก็ตัดทิ้งไปก่อน เหลือไว้แต่ช้อยท์ที่ไม่แน่ใจ ถ้าจำเป็นต้องเดาจริงๆ อย่างน้อยก็มีเปอร์เซนต์ถูกมากขึ้นหละน่า
4. ไม่มีข้อใดถูก - ถูกทุกข้อ
ข้อสอบแบบช้อยท์ให้เลือก มักจะมีช้อยท์คำตอบแบบ "ไม่มีข้อใดถูก" และ "ถูกทุกข้อ" เสมอเทคนิคก็คือ คำตอบ "ไม่มีข้อใดถูก" มักเป็นตัวหลอก ส่วนคำตอบ "ถูกทุกข้อ" มักเป็นคำตอบที่ถูก ถ้าคิดได้ก็คิดนะครับ กรณีที่คิดไม่ออกจริงๆถึงจะใช้วิธีนี้นะครับ
5. มีคำตอบที่ขัดแย้งกัน 2 ข้อ
ช้อยท์คำตอบของโจทย์หลายๆวิชา อาจจะมี 2ช้อยท์ที่มีความขัดแย้งกันอย่างเห็นได้ชัด เช่น ดำกับขาว หรือส่วนบนกับส่วนล่าง หรือพระอาทิตย์กับพระจันทร์ อะไรแระมาณนี้ ถ้าเจอแบบนี้ให้คิดไว้ก่อนเลยว่า 1 ใน 2 ข้อนี้แหละที่เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
6. มีคำตอบที่ความหมายเหมือนกัน
และก็มีบ่อยๆที่ช้อยท์ของคำตอบ 2ช้อยท์ที่มีความหมายเหมือนกัน หรือถ้าข้อหนึ่งถูกอีกข้อก็ต้องถูกด้วย เช่น กระดูกกับฟัน ถ้าสารอาหารชนิดหนึ่งมีประโยชน์กับกระดูกก็ต้องมีประโยชน์กับฟันด้วย ซึ่งถ้าเจอช้อยท์ลักษณะแบบนี้ คิดไว้เลยว่า 2 ข้อนี้ผิดแน่ๆ นอกจากจะมีคำตอบถูกทุกข้อก็อาจจะใช่่เพราะถ้าไม่มีคำตอบ ถูกทุกข้อคงไม่มีคำตอบที่ถูก 2 ข้อเป็นแน่
7. เปอร์เซนต์ช้อยท์คำตอบมักเท่ากัน
สุดท้ายของการใช้วิชา เดาเซชั่น หลังจากที่ทำข้อสอบหมดแล้ว ข้ามไปก็แล้วกลับมาทำให่อีกรอบก็แล้ว ใช้เทคนิคทั้ง 6 ข้อข้างต้นไปจนหมดแล้ว แต่ก็ยังมีข้อที่คิดไม่ออก ทำไม่ได้อยู่อีก ก็จำเป็นต้องมาใช้เทคนิควิธีนี้ดู
คือ ส่วนมากช้อยท์คำตอบที่ถูกต้องมักมีเปอร์เซนต์เท่าๆกัน เช่น ข้อสอบ 100 ข้อ คำตอบที่ถูกมักจะเป็นข้อ ก. - ข. - ค. - ง. - จ. อย่างละ 20 ข้อ (แต่ก็เอาแน่เอานอนอะไรไม่ได้) ดังนั้นคำตอบที่เราได้ตอบไปแล้วเป็นคำตอบข้อใดบ้าง
ข้อไหนเป็นคำตอบน้อยที่สุดก็ลุยไปเลยครับ อย่างน้อบการมั่วครั้งนี้ก็ยังมีหลักการอยู่น่า
เทคนิคทั้ง 7 ข้อนี้จริงๆแล้วอาจไม่จำเป็นต้องใช้เลย ถ้าน้องๆทุกคนตั้งใจเรียน ทบทวนเนื้อหาอย่างสม่ำเสมอ ตรงไหนไม่เข้าใจก็ถาม ถามครูก็ได้ถามเพื่อนเก่งๆก็ได้ครับ ไม่ได้จริงก็ดูในเน็ต หรือหาที่เรียนพิเศษเอา อ่านหนังสือทำบันทึกสั้นๆไว้ทบทวนก่อนสอบ
พี่เชื่อว่าน้องๆทุกคนก็จะทำข้อสอบได้สบายๆ ไม่ต้องใช้วิชาเดาให้ต้องลุ้นกันนะครับ สู้ๆกันทุกคนนะครับ
Total Rating ✔
9.2 stars – 2,789 reviews
More Reviews
อ่านรีวิว ทั้งหมดคลิก
แสดงความคิดเห็น
7 เทคนิคการทำข้อสอบที่คิดไม่ออกจริงๆ แบบไม่มั่ว
บทความจาก TutorFerry, แอดมิชชั่น