Home School ครอบครัวเนาว์ธีรนนท์
1. ข้อมูลพื้นฐานของครอบครัว
บิดา นายชาตรี เนาว์ธีรนนท์ ปริญญาตรี นิติศาสตร์ อายุ 50 ปี อาชีพ สำนักงานกฎหมายและบัญชีมารดา นางธนาธิป เนาว์ธีรนนท์ ปริญญาตรี การบัญชี อายุ 44 ปี อาชีพ สำนักงานกฎหมายและบัญชี
ที่อยู่ 7/107 หมู่บ้านยิ่งรวย ซอย 2/2 ถนนนางแว่นแก้ว ต.ท่าพี่เลี้ยง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 72000
เหตุผลในการจัดการศึกษาของครอบครัว
ครอบครัวมีความเชื่ออย่างเต็มเปี่ยมว่า เด็กในช่วงอายุระหว่าง 1-10 ปี ควรมีชีวิตประจำวันอยู่ภายใต้ความรัก การดูแล เลี้ยงดูเอาใจใส่ และปลูกฝังให้การเรียนรู้ของพ่อแม่มากกว่าที่จะให้ไปอยู่ในความดูแลจัดการของสถานรับเลี้ยงเด็กเล็กหรือโรงเรียน เพราะเด็กในช่วงอายุดังกล่าวมีภาวะจิตใจที่บอบบาง ต่อเรื่องราวและสิ่งต่าง ๆ ที่จะเข้ามากระทบ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อระบบสมองและสภาพจิตใจของเด็กในระยะยาว ดังนั้น อ้อมอกอันอบอุ่นของพ่อแม่จึงเป็นเกราะกำบังที่สำคัญและจำเป็นต่อภาวการณ์อันไม่พึงประสงค์ทั้งปวงความเชื่อที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ความเชื่อที่ว่าการศึกษาในระบบปัจจุบันไม่สามารถตอบสนองต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเต็มตามศักยภาพที่แท้จริงของแต่ละคน ครอบครัวมีความเชื่อว่าการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว น่าจะเป็นแนวทางที่รองรับการเรียนรู้ของลูกได้ เพราะการจัดการศึกษาโดยครอบครัว (ตามความเห็นของข้าพเจ้า) เป็นการศึกษาที่เป็นไปตามธรรมชาติของมนุษย์ เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกโอกาส ทุกสถานที่ และเกิดได้กับทุก ๆ คนตามสภาพความเป็นจริง เป็นการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต เพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ที่หลากหลายได้ด้วยตัวเองโดยพ่อแม่ทำหน้าที่เพียงเป็น “ผู้จัดการศึกษา” ที่มุ่งเน้นให้ “ลูกเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้” ตามความสนใจและตามความถนัด และมีหน้าที่ส่งเสริมให้ลูกสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ด้วยความเป็นผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความกตัญญูกตเวที มีเมตตาธรรมต่อ เพื่อนมนุษย์ และที่สำคัญคือ ไม่ยึดติดในค่านิยมแห่งปริญญาบัตรใด ๆ
2. ข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียน
ด.ช.ธีรวีร์ เนาว์ธีรนนท์ อายุ 6 ปี 10 เดือน (เกิดวันที่ 1 เมษายน 2541) สูง 130 เซนติเมตร น้ำหนัก 38 กิโลกรัม มีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานด้านต่าง ๆ พอสรุปได้ดังนี้ระดับการศึกษาที่จัด ระดับประถมศึกษา ช่วงชั้นที่ 1
พัฒนาการด้านต่าง ๆ
ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ- การเขียน สามารถเขียนตัวอักษรได้ครบทุกตัว โดยเฉพาะแบบตัวพิมพ์ใหญ่และตัวเขียนเล็ก
- การอ่าน สามารถอ่านหนังสือภาษาอังกฤษได้ทุกประเภท (ยกเว้นคำศัพท์ที่มีหลายพยางค์ หรือคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ยาก ๆ ยังสะกดไม่ค่อยถูกต้องนัก)
- การพูด สามารถสนทนา โต้ตอบ ด้วยประโยคและคำศัพท์ง่าย ๆ ได้
หมายเหตุ สำเนียงในการอ่านและพูด จัดอยู่ในเกณฑ์ดี
ความรู้ด้านภาษาไทย
- การเขียน อยู่ระหว่างการหัดเขียนตามแบบ แต่ยังเขียนไม่ได้
- การอ่าน ยังสะกดคำอ่านไม่ได้ แต่ชอบให้พ่อแม่อ่านให้ฟัง โดยเฉพาะหนังสือประเภทนิทาน
- การพูด พูดภาษาไทยได้ฉะฉาน ชัดเจน (ยกเว้นตัว “ง” ยังออกเสียงไม่ค่อยชัด)
หมายเหตุ เนื่องจากเจ้าตัวไม่ค่อยชอบภาษาไทยเท่าภาษาอังกฤษ
ความรู้ / ความสามารถด้านอื่น ๆ
- คอมพิวเตอร์ มีความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องค่อนข้างดี สามารถใช้เครื่อง P.C. ได้คล่องแคล่วหลายโปรแกรม และใช้ Internet ได้เป็นอย่างดี
- คณิตศาสตร์ สามารถเขียนตัวเลขได้ครบทุกตัว นับจำนวนถึงหลักร้อยได้คล่อง บวก ลบเลข 2 หลักได้ ท่องและจำสูตรคูณได้บางแม่ เช่น แม่ 2 แม่ 3 แม่ 5 เป็นต้น
- วิทยาศาสตร์ มีความรู้เกี่ยวกับโลก คน สัตว์ สิ่งของ และธรรมชาติพอสมควร สามารถแยกแยะและบอกลักษณะความแตกต่างได้
- ศิลปะ มีความรู้เรื่องสีเป็นอย่างดี สามารถวาดรูปตามจินตนาการของตนเองได้
- กีฬา มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการเล่นกีฬาหลายประเภท เพราะมีความชอบและสนใจข่าวกีฬาทุกชนิด โดยเฉพาะการแข่งขัน Formula. 1 สามารถจำชื่อและหน้าตาของนักแข่งได้แทบทุกคนแต่ตัวเองไม่ค่อยชอบเล่นกีฬา (ชอบเล่นเป็นบางอย่าง เช่น ไดรฟ์กอล์ฟ ฟุตบอล เป็นต้น)
- ดนตรี/บันเทิง ไม่ค่อยให้ความสนใจด้านนี้ ร้องเพลงได้บ้างตามความชอบที่ได้ฟังจากโทรศัพท์ไม่สนใจเครื่องดนตรีทุกประเภท
3. จุดมุ่งหมายในการจัดการศึกษา
ครอบครัวมีความมุ่งหวังให้ลูก (ผู้เรียน) มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดีมีคุณธรรม มีความรู้ มีจิตใจที่สงบเยือกเย็นเป็นสุข มีความเมตตากรุณาต่อผู้อื่น มีความรักในความเป็นไทย และที่สำคัญคือมีศักยภาพในการศึกษาต่อ และหรือสามารถประกอบอาชีพพอเลี้ยงตัวได้ จึงกำหนดจุดหมายซึ่งถือเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ดังต่อไปนี้1. เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยในตนเอง ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือ ที่ตนนับถือ มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์
2. มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รักการอ่าน รักการเขียน และรักการค้นคว้า
3. มีความรู้อันเป็นสากล รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ มีทักษะในการจัดการ ปรับวิธีการคิด การทำงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์
4. มีทักษะและกระบวนการ โดยเฉพาะทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ทักษะการคิดการสร้างปัญญาและทักษะในการดำเนินชีวิต และเน้นเป็นพิเศษทางด้านภาษาอังกฤษ คือ นอกจากสามารถสนทนาโต้ตอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านคอมพิวเตอร์ให้สามารถมีความรู้ ความชำนาญ ถึงระดับเป็นโปรแกรมเมอร์
5. รักการออกกำลังกาย ดูแลตนเองให้มีสุขภาพและบุคลิกภาพที่ดี และให้มีทักษะด้านกีฬากอล์ฟ สามารถเป็นนักกอล์ฟสมัครเล่นในระดับเยาวชนได้
6. เข้าใจในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ภูมิใจในความเป็นไทย เป็นพลเมืองดี ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
7. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภาษาไทย ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา ภูมิปัญญาไทย ทรัพยากรธรรมชาติ และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
8. รักท้องถิ่น ชุมชน และประเทศชาติ มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามให้กับสังคมส่วนรวมเป็นสำคัญ
พร้อมกันนี้ ครอบครัวมุ่งเน้นคุณลักษณะทางด้านคุณธรรมจริยธรรมสำคัญที่เหมาะสมกับช่วงวัย 4 ประการ ดังนี้
การจัดสาระ / ความรู้
จัดเนื้อหาความรู้ 8 กลุ่มสาระ ตามหลักสูตรการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ โดยครอบครัวกำหนดจุดเน้นในแต่ละกลุ่มสาระ ดังนี้- ภาษาไทย ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้ ความคิดไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต และสร้างนิสัยรักการอ่าน ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสาร รายงานข้อมูล เรื่องราว ความรู้ ความคิด อย่างมีประสิทธิภาพ ให้เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรม สังคม ชีวิตประจำวัน นำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตจริงได้
- คณิตศาสตร์ ให้เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง เข้าใจถึงผลที่เกิดจากการดำเนินการของจำนวน และความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่างๆ และสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหาได้ ให้มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมาย การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ การเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- วิทยาศาสตร์ ให้เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน ให้เกิดกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารถึงสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองได้ เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ นำความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน เข้าใจคุณสมบัติของสาร คุณสมบัติของพลังงาน ความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้
- ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ให้เข้าใจถึงความสำคัญของหลักธรรม คำสอนในทุกศาสนา สามารถนำหลักธรรมมาใช้เป็นหลักปฏิบัติในการอยู่ร่วมกัน ให้ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม การกระทำความดี และปฏิบัติตนตามสิทธิ หน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี ตามกฎหมาย ประเพณี วัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข
- สุขศึกษาและพลศึกษา ให้เข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบและพัฒนาการของมนุษย์ เข้าใจและมีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย รักการออกกำลังกาย มีน้ำใจนักกีฬา มีทักษะในการป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ สารเสพติด และความรุนแรง เข้าใจและเห็นคุณค่าของตนเอง ครอบครัว สังคม เพศศึกษา มีทักษะชีวิตเพื่อการสื่อสารและสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล
- ศิลปะ ให้เข้าใจ สร้างสรรค์และถ่ายทอดงานทัศนศิลป์ตามจินตนาการได้ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ดนตรี นาฎศิลป์กับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
- การงานอาชีพและเทคโนโลยี ให้เข้าใจในการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน การจัดการ การแก้ปัญหา การทำงานร่วมกัน และการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม การใช้เทคโนโลยี ฯ เพื่อการดำรงชีวิตของตนเองและครอบครัว
- ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ให้เข้าใจและใช้ภาษาฯ ตามบริบท วัฒนธรรมของเจ้าของภาษาได้อย่างเหมาะสม ตีความเรื่องที่อ่านจากสื่อประเภทต่าง ๆ ได้ เข้าใจและใช้ทักษะทางภาษาฯ ในการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้ภาษาเป็นพื้นฐาน การเตรียมการเข้าสู่อาชีพ การพัฒนาตนเอง พัฒนาชุมชนและสังคม
การจัดกระบวนการเรียนรู้ จัดให้มีการเรียนรู้โดยยึดหลักและวิธีการที่สำคัญ ดังนี้
1. มุ่งเน้นให้พ่อ – แม่ - ลูก เรียนรู้ร่วมกัน จากแหล่งความรู้ทุกประเภท จากการทดลอง จากประสบการณ์ตรงตามแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ซึ่งจะทำให้ลูกเกิดแรงจูงใจ อยากเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต
2. มุ่งเน้นตามความต้องการและความสนใจของลูกเป็นหลัก การเรียนรู้เรื่องใด อย่างไร จะไม่มีการกำหนดเวลาและวิธีการที่ตายตัว แต่จะปรับเปลี่ยนยืดหยุ่นตามความพร้อมของลูกและตามสถานการณ์
3. เน้นการเรียนรู้เชิงวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถคิดค้นหาต้นเหตุของปัญหา และวิธีการแก้ปัญหานั้นๆ ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาความสามารถในการคิดได้อย่างเป็นระบบ
4. พ่อแม่อยู่ในฐานะ “ผู้จัดการศึกษา” ให้ลูก มีหน้าที่จัดหาอุปกรณ์ สื่อการเรียนรู้ต่างๆ และพาลูกไปยังแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้ลูกแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการของตัวเอง
แผนการเรียนรู้ เดือนพฤษภาคม – ธันวาคม 2549 |
แนวทางการประเมินผล
หลักการที่ใช้คือ “การประเมินผลตามสภาพจริง” เน้นพัฒนาการจริงที่เกิดขึ้นกับตัวผู้เรียนจากผลงาน จากพฤติกรรม จากสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งได้มาจากการสังเกตโดยละเอียดของ
พ่อแม่ ไม่ใช้ข้อทดสอบหรือการสอบที่ไม่สามารถประเมินความเป็นจริงอย่างรอบด้านของตัวผู้เรียนได้
แนวทางการประเมินผล มุ่งให้เห็นถึงพัฒนาการของลูกอย่างแท้จริง เพื่อให้ลูกได้ค้นพบวิถีทางของการพัฒนาตนเองเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการประเมินผลตัวเองด้วย มีความต่อเนื่องเห็นตลอดทั้งกระบวนการ มากกว่าดูเพียงชิ้นงานที่เป็นผลลัพธ์ในขั้นสุดท้าย มีความหลากหลายในวิธีการทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ทุกสิ่งล้วนเป็นการเรียนรู้และสามารถใช้เป็นประจักษ์พยานแสดงผลของการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น
หลักฐานที่ใช้ประกอบการประเมินผล สมุดบันทึกของพ่อ-แม่ แสดงปัญหา การแก้ปัญหา พัฒนาการในการจัดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการของลูก แฟ้มสะสมงาน สมุดภาพของลูก แสดงประสบการณ์และเนื้อหาความรู้ ผลงานในลักษณะโครงงาน ทั้งโดยบุคคลและโดยกลุ่ม
โครงสร้างหลักสูตรครอบครัวเนาว์ธีรนนท์ ช่วงชั้นที่ 1
การจัดทำโครงสร้างหลักสูตรของครอบครัวเนาว์ธีรนนท์ วิเคราะห์จากข้อมูลในแผนที่จัด การศึกษาที่ครอบครัวนำเสนอซึ่งพบว่า ครอบครัวเน้นมากที่กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยบูรณาการ ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เน้นรองลงไป ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ จึงให้เวลาเรียนที่กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมากที่สุด คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ให้เวลาเรียนอันดับรองลงไปโครงสร้างหลักสูตรครอบครัวเนาว์ธีรนนท์ ช่วงชั้นที่ 1 |
Total Rating ✔
9.2 stars – 2,789 reviews
More Reviews
อ่านรีวิว ทั้งหมดคลิก
แสดงความคิดเห็น
ตัวอย่างแผนการจัดการศึกษาบ้านเรียนของครอบครัวเนาว์ธีรนนท์
การศึกษาทางเลือก, Home School, News