ที่นี่มีคำตอบ
สอบ 9วิชาสามัญประกอบด้วยข้อสอบวิชาสามัญ 7 วิชาและเพิ่มอีก 2 วิชา คือ วิชาคณิตศาสตร์ 2 และ วิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป เพื่อรองรับนักเรียนสายศิลป์
- วิชาคณิตศาสตร์
- วิชาฟิสิกส์
- วิชาเคมี
- วิชาชีววิทยา
- วิชาภาษาอังกฤษ
- วิชาภาษาไทย
- วิชาสังคมศึกษา
- วิชาคณิตศาสตร์ 2 (จัดสอบเพิ่ม)
- วิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป (จัดสอบเพิ่ม)
โดยการสอบนักเรียนไม่จำเป็นต้องสอบทุกวิชา เลือกสอบเฉพาะวิชาที่ทางมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งแต่ละคณะประกาศว่าจะต้องใช้คะแนนวิชานั้นๆ
กำหนดการสอบ 9 วิชาสามาญ ปี 59
- สมัครสอบ 1 - 20 ตุลาคม 58
- สอบวันที่ 26 - 27 ธันวาคม 58
- ประกาศผล 8 กุมภาพันธ์ 59
- ยืนยันสิทธิ์ รับตรงคณะและมหาวิทยาลัยที่ต้องการวันที่ 22 เมษายน 59
- คัดเลือกวันที่ 26 - 29 เมษายน 59
คะแนนจากการสอบ 9 วิชาสามัญเอาไว้ใช้สมัครสอบ รับตรงร่วมกันของมหาวิทยาลัยสมาชิกดังนี้
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยศิลปากร
- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช (การรับเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีโดยไม่ต้องสอบคัดเลือก)
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง (การรับเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีโดยไม่ต้องสอบคัดเลือก)
- สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (ไม่มีการรับเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี)
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- มหาวิทยาลัยบูรพา
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยนเรศวร
- มหาวิทยาลัยพะเยา
- มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- มหาวิทยาลัยนครพนม
- มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- มหาวิทยาลัยทักษิณ
- มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
แต่ละคณะ แต่ละมหาวิทยาลัยที่เปิดรับตรง นอกจากจะใช้คะแนนจากการสอบ 9 วิชาสามัญแล้ว อาจจะใช้คะแนนการสอบอื่นๆประกอบด้วยเช่น
- คะแนนจากการสอบ Onet
- คะแนนจากการสอบ GAT
- คะแนนจากการสอบ PAT
โดยมหาวิทยาลัยจะกำหนดสัดส่วนของคะแนนต่างๆ ในแต่ละคณะที่เปิดรับตรง
Total Rating ✔
9.2 stars – 2,789 reviews
More Reviews
อ่านรีวิว ทั้งหมดคลิก
แสดงความคิดเห็น
สอบ 9 วิชาสามัญ คืออะไร เป็นอย่างไรและนำไปใช้ทำอะไร?
บทความจาก TutorFerry, รับตรง